May 19, 2024   6:08:23 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เลี่ยวไพรัตน์"เทหน้าตัก "หมื่นล้าน รักษาTPIPL
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 08/07/2006 @ 17:14:51
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

หลังจากตระกูล เลี่ยวไพรัตน์ ต้องเสีย ทีพีไอ ไปให้แก่กลุ่มปตท. ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ จึงยอมถอยออกมาหนึ่งก้าว...เพื่อคอยจังหวะรีเทิร์น ตะลึงคลังกระสุนกว่า หมื่นล้าน เตรียมลงเดิมพันใน ทีพีไอ โพลีน เพื่อรักษาฐานที่มั่นสุดท้ายแห่งนี้ไว้ให้ได้



แผนการเพิ่มทุน 16,780 ล้านบาท ของ ทีพีไอ โพลีน (TPIPL) น่าจะเป็นความพยายามอีกครั้ง เพื่อให้บริษัทแห่งนี้ยังคงอยู่ในอาณาจักรของครอบครัวเลี่ยวไพรัตน์ต่อไป

เพราะเมื่อครั้งพ่ายศึกจากทัพแรกที่ ทีพีไอ (TPI) ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ก็เริ่มตั้งหลักอีกครั้งกับที่พึ่งสุดท้ายที่ TPIPL ซึ่งเป็นสมบัติใหญ่ชิ้นเดียวที่เหลืออยู่ เพราะถือเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ และยังเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติก LDPE (Low Density Polyethylene) รายใหญ่เช่นกัน

แต่ด้วยกองหนี้ (เงินต้นคงค้าง) ที่สะสมไว้นับมูลค่าได้ถึง 23,111 ล้านบาท ทำให้บริษัทแห่งนี้ยังมีภาระที่จะต้องเร่งหา แหล่งเงิน เพื่อนำมาชำระคืนหนี้เก่า ซึ่งกำลังจะครบกำหนดชำระหนี้ภายในปี 2550 ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

ขณะที่กำลังการผลิตปูนซีเมนต์จากโรงปูนทั้งหมด 3 แห่ง (กำลังผลิตรวม 9 ล้านตันต่อปี) ก็อยู่ในช่วงเต็มกลืน เพราะกำลังการผลิตรุดขึ้นมาถึง 92% จนแทบจะชนเพดาน ...โดยที่ TPIPL ก็ไม่สามารถที่จะเดินแผนขยายกำลังการผลิตในโรงปูนแห่งที่ 4 (Line 4) ซึ่งจะมีกำลังผลิตปูนมากถึงปีละ 3 ล้านตัน และต้องใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท

ยิ่งกว่านั้น ด้วยการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนใหญ่ของ TPIPL ก็ยังเป็นดอกเบี้ยลอยตัว (MLR+1.5%) ที่เพิ่มภาระหนักให้แก่ฐานะการเงินยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ด้วยสถานะการเงินที่ค่อนข้างอ่อนไหวอย่างมาก ส่งผลให้มูลหนี้จำนวน 23,111 ล้านบาท ถือเป็น หนามยอกอก ต่อการขยายการลงทุนของ TPIPL ล่าสุด ทริสเรทติ้ง เพิ่งทบทวนการจัดอันดับเครดิตองค์กรใหม่ ให้แก่ TPIPL เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549 ที่ระดับ BBB-

แม้สถานการณ์ที่หมิ่นเหม่เช่นนี้ ถือเป็นเกมที่ยิ่งบีบให้ ประชัย ต้องเดินแผน เทหน้าตัก ผ่านวิธีอนุมัติการขายหุ้นสามัญ เพิ่มทุน ให้แก่กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วน 1 หุ้น(เดิม) ต่อ 1 หุ้น(ใหม่) เป็นจำนวน 807.50 ล้านหุ้น ที่ราคา 10 บาท

นอกจากนี้ ยังมีการอนุมัติขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ เฉพาะเจาะจง (PP) อีกจำนวน 857.76 ล้านหุ้น ให้แก่กลุ่มคนในตระกูล เลี่ยวไพรัตน์ ในราคา 10.15 บาท โดยขีดเส้นกำหนดให้ต้องชำระเงินค่าหุ้นภายในวันที่ 21 สิงหาคม 2549 และห้ามขายหุ้นส่วนนี้ออกมาภายในระยะ 2 ปี

เท่ากับว่า เครือข่ายของ ประชัย จะต้องหาเงิน(สด)มาถมในกองหุ้นเพิ่มทุนเป็นจำนวนถึง 10,450 ล้านบาท

ส่วนแรก..เข้าไปซื้อหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง 8,706 ล้านบาท

ส่วนที่สอง..รักษาสิทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นเดิม ผ่านทาง บ.ทีพีไอ โฮลดิ้ง บ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ บ.ทีพีไอ อีโออีจี ประชัย-ประทีป-ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ และ บ.เลียวไพรัตนวิสาหกิจ ซึ่งทั้งหมดถือหุ้นอยู่ใน TPIPL รวมกันประมาณ 175 ล้านหุ้น (ณ 20 มี.ค.2549) ซึ่งต้องใช้เงินอีกไม่ต่ำกว่า 1,750 ล้านบาท

คำถาม ก็คือ ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ นำเงินสดมากกว่า หมื่นล้านบาท มาจากไหน นี่คือ กรุสมบัติจำนวนมหาศาลที่ ประชัย รอวันนี้ที่จะเปิดเผยแก่สาธารณะ

...คำตอบส่วนหนึ่งย้อนกลับไปที่พอร์ตหุ้น TPI ของเครือข่ายเลี่ยวไพรัตน์ ในช่วงหลายปีที่เข้ามาเทรดหุ้น และทยอยขายหุ้น TPI ออกมาอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อแรงกดดันราคาหุ้น TPI ในระยะนี้

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตกันว่า กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์อาจสะสมทุนส่วนหนึ่งมาจาก TPI...ในสมัยที่ครอบครัวเลี่ยวไพรัตน์ยังมี อำนาจ ควบคุมการบริหารงานอยู่ภายในบริษัท ก่อนที่กลุ่มผู้ถือหุ้นชุดใหม่จะเข้ามา

แต่ถึงอย่างไร ประชัยต้องมองแล้วว่าแผนเพิ่มทุนกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท คราวนี้ถือเป็นทางเลือกเดียวที่ครอบครัวเลี่ยวไพรัตน์ จะสามารถกุมอำนาจ และรักษาบ้านหลังสุดท้ายไว้ได้

ไม่เช่นนั้นอาจเสี่ยงต่อการที่เจ้าหนี้เงินกู้ (11 ราย) อาจรวมหัวกันเพื่อ ยึด กิจการ TPIPL หรืออาจดำเนินการ ขายหนี้ ไปให้แก่กลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออุดมการณ์ของตระกูลเลี่ยวไพรัตน์

เพราะหลังการเพิ่มทุนเสร็จสิ้น กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์จะกลับเข้าถือหุ้นอยู่ใน TPIPL เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 21.60% เป็น 49% ขณะที่กลุ่มเจ้าหนี้ (ทั้ง 11 ราย) จะถูกลดสัดส่วนหุ้นลงจาก 30.80% เหลือเพียง 20% เท่านั้น

ขณะเดียวกัน เงินทุนจากการเพิ่มทุนก็ยังจะช่วยให้ TPIPL สามารถกลับมาสู่แผนขยายการลงทุนใน โรงปูนแห่งที่ 4 ได้ตามแผนที่วาดกันไว้ก่อนหน้านั้น หลังจากสามารถปลดหนี้จาก 23,111 ล้านบาท ให้เหลือเพียง 7,111 ล้านบาท และจะสามารถเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้สูงขึ้นได้ในอนาคต ทั้งยังช่วยลดภาระดอกเบี้ยไปได้อีกจำนวนมาก

กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มองภาคต่อของ TPIPL หลังผ่านการเพิ่มทุน ภายใต้การบริหารโดยครอบครัว เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งก่อนหน้านั้นผู้บริหารของ TPIPL ได้เคยชี้แจงว่าบริษัทมีแผนที่จะ รีไฟแนนซ์ หนี้ก้อนเดิม โดยอยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงินหลายแห่ง...เพียงแต่กองหนี้ที่มีอยู่ยังใหญ่เกินไป

เพราะฉะนั้น หลังผ่านการเพิ่มทุนไปแล้วจะส่งผลให้มูลหนี้ที่เหลืออยู่ ไม่สูงเกินกว่าความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ซึ่งอาจจะได้เห็น TPIPL ใช้วิธี รีไฟแนนซ์ ต่อจากแผนเพิ่มทุนแล้วเสร็จ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป

แม้หัวเรือใหญ่อย่าง ประชัย ยังคงต้องคำกล่าวโทษ ให้ต้องหลุดจากฐานะกรรมการของบริษัท ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็ยังจ้องที่จะเอาผิดกับกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ ในประเด็นสัญญาเช่าพื้นที่ของอาคารทีพีไอ ทาวเวอร์

และอุปสรรคที่มองไม่เห็นของ TPIPL จะยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หากสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

...จุดนี้เองที่ทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่แนะนำให้นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงกับหุ้นที่ยังถูกแขวนไว้กับอุดมการณ์และศักดิ์ศรีในเชิงการเมือง แต่กระนั้นก่อนถึงวันใส่เงินเพิ่มทุน หุ้น TPIPL จะสร้างปาฏิหาริย์ชนิดค้านสายตาท่านผู้ชม

******************************************************

 กลับขึ้นบน
mr.w
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 490
#1 วันที่: 08/07/2006 @ 20:51:37 : re: เลี่ยวไพรัตน์"เทหน้าตัก "หมื่นล้าน รักษาTPIPL
น่า สงสาร กลุ่ม ประชัย จัง

ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#2 วันที่: 20/12/2006 @ 01:05:06 : Re: เลี่ยวไพรัตน์"เทหน้าตัก "หมื่นล้าน รักษาTPIPL
[quote:de115ddb06=อาฟง">หลังจากตระกูล เลี่ยวไพรัตน์ ต้องเสีย ทีพีไอ ไปให้แก่กลุ่มปตท. ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ จึงยอมถอยออกมาหนึ่งก้าว...เพื่อคอยจังหวะรีเทิร์น ตะลึงคลังกระสุนกว่า หมื่นล้าน เตรียมลงเดิมพันใน ทีพีไอ โพลีน เพื่อรักษาฐานที่มั่นสุดท้ายแห่งนี้ไว้ให้ได้



แผนการเพิ่มทุน 16,780 ล้านบาท ของ ทีพีไอ โพลีน (TPIPL) น่าจะเป็นความพยายามอีกครั้ง เพื่อให้บริษัทแห่งนี้ยังคงอยู่ในอาณาจักรของครอบครัวเลี่ยวไพรัตน์ต่อไป

เพราะเมื่อครั้งพ่ายศึกจากทัพแรกที่ ทีพีไอ (TPI) ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ก็เริ่มตั้งหลักอีกครั้งกับที่พึ่งสุดท้ายที่ TPIPL ซึ่งเป็นสมบัติใหญ่ชิ้นเดียวที่เหลืออยู่ เพราะถือเป็นผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ และยังเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติก LDPE (Low Density Polyethylene) รายใหญ่เช่นกัน

แต่ด้วยกองหนี้ (เงินต้นคงค้าง) ที่สะสมไว้นับมูลค่าได้ถึง 23,111 ล้านบาท ทำให้บริษัทแห่งนี้ยังมีภาระที่จะต้องเร่งหา แหล่งเงิน เพื่อนำมาชำระคืนหนี้เก่า ซึ่งกำลังจะครบกำหนดชำระหนี้ภายในปี 2550 ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

ขณะที่กำลังการผลิตปูนซีเมนต์จากโรงปูนทั้งหมด 3 แห่ง (กำลังผลิตรวม 9 ล้านตันต่อปี) ก็อยู่ในช่วงเต็มกลืน เพราะกำลังการผลิตรุดขึ้นมาถึง 92% จนแทบจะชนเพดาน ...โดยที่ TPIPL ก็ไม่สามารถที่จะเดินแผนขยายกำลังการผลิตในโรงปูนแห่งที่ 4 (Line 4) ซึ่งจะมีกำลังผลิตปูนมากถึงปีละ 3 ล้านตัน และต้องใช้เงินลงทุนไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท

ยิ่งกว่านั้น ด้วยการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับดอกเบี้ยเงินกู้ส่วนใหญ่ของ TPIPL ก็ยังเป็นดอกเบี้ยลอยตัว (MLR+1.5%) ที่เพิ่มภาระหนักให้แก่ฐานะการเงินยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

ด้วยสถานะการเงินที่ค่อนข้างอ่อนไหวอย่างมาก ส่งผลให้มูลหนี้จำนวน 23,111 ล้านบาท ถือเป็น หนามยอกอก ต่อการขยายการลงทุนของ TPIPL ล่าสุด ทริสเรทติ้ง เพิ่งทบทวนการจัดอันดับเครดิตองค์กรใหม่ ให้แก่ TPIPL เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549 ที่ระดับ BBB-

แม้สถานการณ์ที่หมิ่นเหม่เช่นนี้ ถือเป็นเกมที่ยิ่งบีบให้ ประชัย ต้องเดินแผน เทหน้าตัก ผ่านวิธีอนุมัติการขายหุ้นสามัญ เพิ่มทุน ให้แก่กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมในอัตราส่วน 1 หุ้น(เดิม) ต่อ 1 หุ้น(ใหม่) เป็นจำนวน 807.50 ล้านหุ้น ที่ราคา 10 บาท

นอกจากนี้ ยังมีการอนุมัติขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ เฉพาะเจาะจง (PP) อีกจำนวน 857.76 ล้านหุ้น ให้แก่กลุ่มคนในตระกูล เลี่ยวไพรัตน์ ในราคา 10.15 บาท โดยขีดเส้นกำหนดให้ต้องชำระเงินค่าหุ้นภายในวันที่ 21 สิงหาคม 2549 และห้ามขายหุ้นส่วนนี้ออกมาภายในระยะ 2 ปี

เท่ากับว่า เครือข่ายของ ประชัย จะต้องหาเงิน(สด)มาถมในกองหุ้นเพิ่มทุนเป็นจำนวนถึง 10,450 ล้านบาท

ส่วนแรก..เข้าไปซื้อหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง 8,706 ล้านบาท

ส่วนที่สอง..รักษาสิทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นเดิม ผ่านทาง บ.ทีพีไอ โฮลดิ้ง บ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ บ.ทีพีไอ อีโออีจี ประชัย-ประทีป-ประมวล เลี่ยวไพรัตน์ และ บ.เลียวไพรัตนวิสาหกิจ ซึ่งทั้งหมดถือหุ้นอยู่ใน TPIPL รวมกันประมาณ 175 ล้านหุ้น (ณ 20 มี.ค.2549) ซึ่งต้องใช้เงินอีกไม่ต่ำกว่า 1,750 ล้านบาท

คำถาม ก็คือ ตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ นำเงินสดมากกว่า หมื่นล้านบาท มาจากไหน นี่คือ กรุสมบัติจำนวนมหาศาลที่ ประชัย รอวันนี้ที่จะเปิดเผยแก่สาธารณะ

...คำตอบส่วนหนึ่งย้อนกลับไปที่พอร์ตหุ้น TPI ของเครือข่ายเลี่ยวไพรัตน์ ในช่วงหลายปีที่เข้ามาเทรดหุ้น และทยอยขายหุ้น TPI ออกมาอย่างต่อเนื่อง และถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อแรงกดดันราคาหุ้น TPI ในระยะนี้

นอกจากนี้ ยังมีการตั้งข้อสังเกตกันว่า กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์อาจสะสมทุนส่วนหนึ่งมาจาก TPI...ในสมัยที่ครอบครัวเลี่ยวไพรัตน์ยังมี อำนาจ ควบคุมการบริหารงานอยู่ภายในบริษัท ก่อนที่กลุ่มผู้ถือหุ้นชุดใหม่จะเข้ามา

แต่ถึงอย่างไร ประชัยต้องมองแล้วว่าแผนเพิ่มทุนกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท คราวนี้ถือเป็นทางเลือกเดียวที่ครอบครัวเลี่ยวไพรัตน์ จะสามารถกุมอำนาจ และรักษาบ้านหลังสุดท้ายไว้ได้

ไม่เช่นนั้นอาจเสี่ยงต่อการที่เจ้าหนี้เงินกู้ (11 ราย) อาจรวมหัวกันเพื่อ ยึด กิจการ TPIPL หรืออาจดำเนินการ ขายหนี้ ไปให้แก่กลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออุดมการณ์ของตระกูลเลี่ยวไพรัตน์

เพราะหลังการเพิ่มทุนเสร็จสิ้น กลุ่มเลี่ยวไพรัตน์จะกลับเข้าถือหุ้นอยู่ใน TPIPL เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 21.60% เป็น 49% ขณะที่กลุ่มเจ้าหนี้ (ทั้ง 11 ราย) จะถูกลดสัดส่วนหุ้นลงจาก 30.80% เหลือเพียง 20% เท่านั้น

ขณะเดียวกัน เงินทุนจากการเพิ่มทุนก็ยังจะช่วยให้ TPIPL สามารถกลับมาสู่แผนขยายการลงทุนใน โรงปูนแห่งที่ 4 ได้ตามแผนที่วาดกันไว้ก่อนหน้านั้น หลังจากสามารถปลดหนี้จาก 23,111 ล้านบาท ให้เหลือเพียง 7,111 ล้านบาท และจะสามารถเพิ่มความสามารถในการทำกำไรให้สูงขึ้นได้ในอนาคต ทั้งยังช่วยลดภาระดอกเบี้ยไปได้อีกจำนวนมาก

กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มองภาคต่อของ TPIPL หลังผ่านการเพิ่มทุน ภายใต้การบริหารโดยครอบครัว เลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งก่อนหน้านั้นผู้บริหารของ TPIPL ได้เคยชี้แจงว่าบริษัทมีแผนที่จะ รีไฟแนนซ์ หนี้ก้อนเดิม โดยอยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงินหลายแห่ง...เพียงแต่กองหนี้ที่มีอยู่ยังใหญ่เกินไป

เพราะฉะนั้น หลังผ่านการเพิ่มทุนไปแล้วจะส่งผลให้มูลหนี้ที่เหลืออยู่ ไม่สูงเกินกว่าความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ซึ่งอาจจะได้เห็น TPIPL ใช้วิธี รีไฟแนนซ์ ต่อจากแผนเพิ่มทุนแล้วเสร็จ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยและยืดระยะเวลาชำระหนี้ออกไป

แม้หัวเรือใหญ่อย่าง ประชัย ยังคงต้องคำกล่าวโทษ ให้ต้องหลุดจากฐานะกรรมการของบริษัท ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ก็ยังจ้องที่จะเอาผิดกับกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ ในประเด็นสัญญาเช่าพื้นที่ของอาคารทีพีไอ ทาวเวอร์

และอุปสรรคที่มองไม่เห็นของ TPIPL จะยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หากสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

...จุดนี้เองที่ทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่แนะนำให้นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงกับหุ้นที่ยังถูกแขวนไว้กับอุดมการณ์และศักดิ์ศรีในเชิงการเมือง แต่กระนั้นก่อนถึงวันใส่เงินเพิ่มทุน หุ้น TPIPL จะสร้างปาฏิหาริย์ชนิดค้านสายตาท่านผู้ชม

******************************************************[/quote:de115ddb06">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com