May 5, 2024   6:52:10 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > SF ขายฝัน..รายย่อย "หุ้นใหญ่" ทิ้ง..ตุนเสบียง เฉีย
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 02/07/2006 @ 13:07:07
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

โหมข่าว สยามฟิวเจอร์ คาดกำไรสุทธิปี 2549 ขยายตัวขั้นต่ำ 80% ผู้บริหารสัญญาจะไม่เพิ่มทุน (อีก) ภายใน 3 ปี หวังรายย่อยแห่ใช้สิทธิเพิ่มทุน ภายหลัง หุ้นใหญ่ เสือปืนไวคายหุ้นในพอร์ตล่วงหน้า เฉียด 35 ล้านหุ้น..ตุนเสบียงรอช้อนหุ้นเพิ่มทุนกลับ



เกมนี้ลึกกว่าที่คิด..สำหรับการเดินแผนเหนือชั้นของ บมจ.สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ (SF) ผู้ประกอบธุรกิจด้านการพัฒนาและบริหารศูนย์การค้า ประเภทศูนย์การค้าแบบเปิด (Open-air Shopping Center) ที่รับอานิสงส์รายได้ค่าเช่าเพิ่มขึ้น สวนทางเศรษฐกิจซบ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สมนึก พจน์เกษมสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ให้สัมภาษณ์ผ่านสำนักข่าวแห่งหนึ่งว่า บริษัทคาดว่ารายได้รวมและกำไรสุทธิปีนี้ จะเติบโตอย่างน้อย 80% จากปีก่อน

ผลประกอบการที่คาดว่าจะเติบโตขึ้น เป็นผลมาจากการมีพื้นที่เช่าเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ซึ่งหากปีนี้มีรายได้รวมถึง 855 ล้านบาท ถือว่าอยู่ในระดับที่พอใจแล้ว

ทั้งนี้ปี 2548 บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ มีรายได้รวม 475.30 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 107.56 ล้านบาท ส่วนผลการดำเนินงานไตรมาสแรกของปีนี้ มีกำไรสุทธิ 69.75 ล้านบาท หรือ 0.16 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 5.4 ล้านบาท หรือ 0.01 บาทต่อหุ้น

ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเช่าพื้นที่ศูนย์การค้า โดยปัจจุบันมีอัตราการเช่าเฉลี่ย 98% ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าระยะยาว 45% ระยะสั้น 55% และมีสัญญาการเช่าตั้งแต่ 15-30 ปี สมนึก กล่าว

เขาเปิดเผยอีกว่า ถึงสิ้นปี 2549 บริษัทคาดว่าจะมีพื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้นเป็น 1.85 แสนตารางเมตร จากสิ้นปี 2548 ที่มีพื้นที่ให้เช่า 9.68 หมื่นตารางเมตร และสิ้นปี 2550 คาดว่าจะมีพื้นที่ให้เช่าเพิ่มเป็น 2.06 แสนตารางเมตร โดยในครึ่งปีหลัง จะมีการเปิดโครงการใหม่ 3 โครงการ (แจ้งวัฒนะ-พหลโยธิน-รัชดาภิเษก) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนรายได้รวมในปี 2550 เติบโตขึ้นอีกอย่างน้อย 40%

ทั้งนี้ในไตรมาสแรกของปี 2549 บริษัทรับรู้รายได้ของศูนย์การค้าแห่งใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ โครงการเพชรเกษม พาวเวอร์ เซ็นเตอร์ และโครงการเอกมัย พาวเวอร์ เซ็นเตอร์

เราไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนอีกในเวลา 3 ปีข้างหน้า หลังจากที่คณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา ได้มีมติเพิ่มทุนจำนวน 84.83 ล้านหุ้น ราคา 5 บาท ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม โดยจะได้เงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว 424 ล้านบาท (จองซื้อระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม)

เป็นที่น่าสังเกตว่าก่อนที่บริษัทจะมีมติเพิ่มทุน (8 มิ.ย.) กลุ่มผู้บริหาร นำโดย พงศ์กิจ สุทธพงศ์ และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ได้ทยอยขายหุ้น SF ออกมาก่อนจำนวนมาก..รวมกว่า 34.85 ล้านหุ้น (เม.ย.-มิ.ย.2549) คิดเป็นมูลค่า 297.21 ล้านบาท

โดย เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ขายหุ้นออกมามากที่สุด จำนวน 16.55 ล้านหุ้น มูลค่า 149.26 ล้านบาท ที่ราคาขายเฉลี่ย 9.02 บาท ทำให้ล่าสุดเหลือหุ้นอยู่เพียง 90.11 ล้านหุ้น สัดส่วน 21.25% จากเดิมที่ถือหุ้นในสัดส่วน 25.02%

ทำให้เครือเมเจอร์ฯ จะต้องใส่เงินเพิ่มทุนเข้าไปอีก 90.11 ล้านบาท เท่ากับจำนวนหุ้นที่เหลือตามสิทธิ 5 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ ราคาหุ้นละ 5 บาท

พงศ์กิจ สุทธพงศ์ รองประธานกรรมการ และกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน ขายหุ้น SF ออกมาแล้ว จำนวน 12.80 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 97.84 ล้านบาท

เชิญชัย นิยมานุสร ผู้บริหารอีกคน ขายหุ้นออกมา จำนวน 3.67 ล้านหุ้น มูลค่า 34.72 ล้านบาท ขณะที่ วิชา พูลวรลักษณ์ ในฐานะกรรมการบริหาร สยามฟิวเจอร์ ขายหุ้นออกมาแล้ว 1.33 ล้านหุ้น มูลค่ารวม 11.35 ล้านบาท

ด้านแหล่งข่าวยืนยันว่า เกมนี้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มีแต่ได้กับได้ ที่ขายหุ้น SF ออกมา เพื่อเอากำไรไปซื้อหุ้นเพิ่มทุน และไม่ต้องการใส่ทุน (ใหม่) ของตัวเอง ทั้งนี้พบว่าเครือเมเจอร์ฯ ถือหุ้น SF ในราคาต้นทุนต่ำมาก เพียงหุ้นละประมาณ 2 บาท เท่านั้น

เมเจอร์ฯ ขายหุ้นออกมา 16.55 ล้านหุ้น มูลค่า 149 ล้านบาท เท่ากับมีกำไรทันทีหุ้นละ 7 บาท คิดเป็นกำไรราว 115 ล้านบาท แบ่งเอากำไรจาก SF มาซื้อหุ้นเพิ่มทุน SF (ตัวเอง) ประมาณ 90 ล้านบาท ยิ่งทำให้ต้นทุนหุ้นในพอร์ตของเมเจอร์ฯ ลดต่ำลงไปอีก (ต้นทุนเท่าเดิม แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น)

ขณะที่ พงศ์กิจ สุทธพงศ์ ที่ขายหุ้นออกมา ก็เป็นเหตุผลเดียวกันกับเมเจอร์ฯ ที่ต้องการเอากำไรไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนราคา 5 บาท (ขายแพงซื้อถูก) ขณะเดียวกันผู้บริหารก็ยังสามารถแปลง ESOP ที่ออกให้แก่กรรมการ และพนักงานกลับคืนได้อีก..ในราคาต่ำกว่าตลาด

ส่วนสาเหตุที่ต้องเพิ่มทุนก็เนื่องจากในงบการเงินล่าสุด (ไตรมาส 1/2549) สยามฟิวเจอร์ มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนที่สูง อีกทั้งยังมีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนค่อนข้างมาก ถ้าไม่หาทางออกด้วยการเพิ่มทุน จะทำให้บริษัทขยายตัวต่อไปลำบาก

แหล่งข่าวยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่ผู้บริหารออกมาคาดการณ์รายได้ และกำไรสุทธิปีนี้ จะเติบโตอย่างน้อย 80% จากปีก่อน น่าจะเป็นแผน พยุงราคาหุ้น และให้ความหวังกับ นักลงทุน (รายย่อย) ให้มาใช้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนเต็มจำนวนสิทธิที่ได้ ซึ่งถือเป็นการเดินเกมที่เหนือชั้นมาก

ที่มา กรุงเทพธุรกิจ[/color:ce99044eae">

 กลับขึ้นบน
mr.w
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 490
#1 วันที่: 25/07/2006 @ 21:09:30 : re: SF ขายฝัน..รายย่อย "หุ้นใหญ่" ทิ้ง..ตุนเสบียง
.0005 .0005 .0005
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com