May 2, 2024   4:14:22 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > แกะรอยการลงทุนกลุ่มไทเก้น มีอะไรซ่อนอยู่หลังฮุบ RAIMON
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 27/05/2006 @ 13:12:58
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

หลังจากที่ 3 ทหารเสือ ไทเก้น ทั้ง โฟรเด้ -อาร์เน่-โอเล่ย์ ไทเก้นหันหลังให้กับธุรกิจขนส่งทางเรือภายใต้การดำเนินงานของ บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ หรือ TTA ด้วยการขายหุ้นออกไปหมดหน้าตักตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2547 ที่ผ่านมา หลายฝ่ายก็จับตามองว่าเป้าหมายการลงทุนต่อไปของนักธุรกิจกลุ่มนี้อยู่ที่ธุรกิจใด

และในที่สุดความสงสัยของหลายฝ่ายก็มีความชัดเจน เมื่อต้นปี 2548 ที่ผ่านมามีรายชื่อของ 2 พี่น้องกลุ่มไทเก้น คือ โฟรเด้ ไทเก้น และ โอเล่ย์ ไทเก้น เข้าไปถือหุ้นใน บมจ.ไรมอนด์แลนด์ หรือ RAIMON โดยจากข้อมูลที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์พบว่า ณ วันที่ 12 เม.ย.48 โฟรเด้ ถือหุ้นอยู่ใน RAIMON ที่ 5.02% ส่วนโอเล่ย์ ถืออยู่ที่สัดส่วน 4.98% ในขณะที่ไม่ปรากฎว่ามีชื่อของ อาร์เน่ ถือหุ้นอยู่ในบริษัทนี้

การเข้าลงทุนในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้บริษัท RAIMON ของกลุ่มไทเก้น อาจไม่ใช่เรื่องที่น่าประหลาดใจหรือน่าสงสัยใดๆ เพราะเป็นเรื่องปกติของนักลงทุน ที่ต้องลงทุนในธุรกิจต่างๆ หมุนเวียนกันไป ตามความพอใจในคาดการณ์ผลตอบแทนที่จะกลับมาในอนาคต แต่ในช่วงที่ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอยู่ในภาวะที่ไม่ดีนัก หลังจากได้รับแรงกดดันจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ราคาน้ำมันแพง และการปรับขึ้นสู่ทิศทางขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทำให้ภาพของอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ธุรกิจที่โดดเด่นจนน่าลงทุนมากกว่าธุรกิจอื่นๆ

จึงเกิดคำถามตามมามากมายว่า..แล้วทำไมนักธุรกิจกลุ่มนี้จึงเลือกที่จะลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และทำไมจะต้องเป็น RAIMON เป้าหมายจริงๆ ของการลงทุนครั้งนี้คืออะไร และอื่นๆ อีกมากมายที่ยังไม่มีความกระจ่างในขณะนี้

โดยเฉพาะประเด็นการลงทุนใน RAIMON ครั้งนี้ จะเป็นไปในลักษณะเดียวกับการลงทุนใน TTA ของกลุ่มไทเก้นที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้หรือไม่ นั่นคือ ขายหุ้นออกเมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุด หรือระดับที่พอใจ และคำถามก็คือ RAIMON มีปัจจัยอะไรที่ทำให้เห็นว่าสามารถลงทุนในลักษณะดังกล่าวได้

ก่อนหน้านี้กลุ่มไทเก้นได้เข้าลงทุน ใน TTA ตั้งแต่เริ่มเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2538 โดยการรายงานสัดส่วนการถือหุ้นครั้งแรกในปี 2539 พบว่า อาร์เน่ ไทเก้น ถือหุ้นที่สัดส่วน 2.17% โฟรเด้ ถือที่สัดส่วน 3.01% และโอเล่ย์ถือในสัดส่วน 3.01เท่ากัน ก่อนที่สัดส่วนการถือหุ้นจะขยับขึ้นเป็นลำดับ และหลังจากนั้นได้เริ่มขายออกอย่างชัดเจนในปี 2547 ซึ่งเป็นปีที่ค่าระวางเรือได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด เช่นเดียวกับราคาหุ้นที่ปรับขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี ที่ระดับราคาเฉลี่ย 40-45 บาท

และจากการรายงานการถือหุ้นต่อตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 29 พ.ย.47 พบว่า ผู้ถือหุ้นทั้ง 3 รายได้ขายหุ้น TTA ออกไปจนหมดแล้ว ซึ่งในช่วงดังกล่าวราคาหุ้น TTA ได้ปรับขึ้นสู่ระดับสูงที่ระดับ 35-45 บาท

นักวิเคราะห์รายหนึ่งได้แสดงความเห็นถึงการขายหุ้น TTA ของกลุ่มไทเก้นว่า เป็นเรื่องปกติของนักธุรกิจที่หวังกำไรจากการลงทุน เมื่อเห็นว่ามูลค่าหุ้นที่ได้ลงทุนไว้อยู่ในระดับที่พอใจก็สามารถขายหุ้นเพื่อทำกำไรได้ เช่นเดียวกับการขายหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) ของกลุ่มชินวัตร เมื่อเร็วๆ นี้ และการขายหุ้น TTA ของกลุ่มไทเก้น ก็ทำได้ถูกช่วงถูกเวลาไม่ต่างจากลุ่มชินวัตร โดยขายในเวลาที่ราคาหุ้นและธุรกิจ คือ ค่าระวางเรือพีคขึ้นสูงสุด ซึ่งเป็นธรรมดาของนักธุรกิจที่คร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจของตนมานานนับ 10 ปี จึงสามารถเข้าใจธรรมชาติของธุรกิจได้อย่างแจ่มแจ้งและสามารถหาประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและชำนาญนี้ได้อย่างเต็มที่

เช่นเดียวกับกลุ่มไทเก้น ที่ย่อมรู้ดีว่าธุรกิจขนส่งทางเรือเป็นธุรกิจที่หมุนเวียนเป็นวัฏจักร ค่าระวางเรือมีขึ้น-มีลงตามดีมานด์และซัพพลายส์ในตลาด การจะทำกำไรจากธุรกิจจึงไม่มีอะไรถูกต้องไปกว่าขายทำกำไรในช่วงที่ทุกอย่างพีคขึ้นสูงสุดดังกล่าว และจะเห็นได้ว่าหลังจากที่กลุ่มไทเก้นได้ขายหุ้นออกไปจนหมดแล้ว ช่วงที่วัฏจักรของค่าระวางเรือได้เริ่มปรับเป็นขาลงก็มาถึง ราคาหุ้นก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

จนกระทั่งถึงปัจจุบัน พบว่าเวลาผ่านไปไม่ถึง 2 ปี ราคาหุ้น TTA กลับลดลงกว่าครึ่ง โดยในปัจจุบันราคาหุ้น TTA อยู่ในระดับเพียง 19.50-20 บาทเท่านั้น จากที่เคยเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 40-45 บาท การตัดสินใจครั้งนั้นของกลุ่มไทเก้นจึงถือได้ว่าถูกจังหวะถูกเวลาเป็นที่สุด

การเริ่มเข้ามาถือหุ้นใน RAIMON ของกลุ่มไทเก้นในช่วงแรกอาจแม้จะเรื่องที่ชวนสงสัย เพราะเป็นการเปลี่ยนสนามการลงทุน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจมากนัก เพราะนักลงทุนที่แท้จริง ย่อมมองที่ผลตอบแทนเป็นหลักมากกว่าที่มาของผลตอบแทน เพราะนักลงทุนไม่ใช่มืออาชีพที่จะต้องลงไปคลุกวงใน หรือ ทำหน้าบริหารให้ธุรกิจเติบโตไปตามต้องการ แต่สัดส่วนการถือหุ้นที่เริ่มเพิ่มขึ้นจนสังเกตุได้ชัดอย่างต่อเนื่อง ได้ก่อให้เกิดความสนใจในการลงทุนครั้งนี้ติดตามมา

โดยโฟรเด้ ไทเก้น ได้มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใน RAIMON ที่สัดส่วน 5.02% ในขณะที่โอเล่ย์ถืออยู่ที่ระดับ 4.98% จากการรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 12 เม.ย.48 แต่จากนั้นสัดส่วนการถือหุ้นได้เพิ่มขึ้นชัดเจน โดยในวันที่ 25 ต.ค.48 พบว่าโฟรเด้ได้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 12.36% และโอเล่ย์ถือเพิ่มเป็น 11.57% ก่อนจะขยับขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในต้นปี 2549

จากการรายงานสัดส่วนการถือหุ้นพบว่าในวันที่ 7 เม.ย. 49 หรือ 1 ปีผ่านไป โฟรเด้ได้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 21.17% และโอเล่ย์ถือเพิ่มเป็น 19.43% และล่าสุดพบว่า โฟรเด้ถือหุ้นที่ 21.21% ในขณะที่ โอเลย์ถือหุ้น 20.10 % และถืออยู่ในไทยเอ็นวีดีอาร์อีก 0.84 และ 0.36 ตามลำดับ ดังนั้น เมื่อรวมการถือหุ้นของไทเก้นทั้งสองใน RAIMON จึงมีสัดส่วนถึง 42.51% เกือบจะเต็มเพดานการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติที่ 49% ในขณะที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายังมีการถือหุ้นผ่านนอมินีอื่นๆอีกหรือไม่

คำถามจึงเกิดขึ้นมาใหม่ว่า อะไรเป็นแรงจูงใจให้ทั้งสองพี่น้องในตระกูลไทเก้นตัดสินใจขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน RAIMON ซึ่งไม่ใช่บริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่เติบโตโดดเด่นอะไรนักและไม่ได้เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่โดดเด่นกว่าผู้ประกอบการรายอื่นในธุรกิจเดียวกัน

คำถามหลายอย่างเกิดขึ้นในใจนักลงทุนและยังไม่สามารถหาคำตอบได้ในขณะนี้ แม้ก่อนหน้านี้ผู้บริหารระดับสูงรายหนึ่งใน RAIMON เคยระบุถึงการเข้าลงทุนของกลุ่มไทเก้นว่าเป็นเพราะเห็นการเติบโตของธุรกิจ แต่ภาพที่เห็นก็ยังไม่สามารถตอบคำถามในข้อนี้ได้

อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์รายเดิมได้คาดการณ์การเข้าลงทุนใน RAIMON ของกลุ่มไทเก้นว่า อาจจะเห็นแนวโน้มการเติบโตและลู่ทางการทำเงินอย่างที่ผู้บริหารระดับสูงของ RAIMON เคยให้สัมภาษณ์ก็เป็นไปได้เพราะปัจจุบัน RAIMON ถือว่าเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบคอนโดฯหรู และเน้นจับกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ในขณะที่ทำเลบางแห่งโดดเด่นและเห็นอนาคตทางธุรกิจโดยเฉพาะคอนโดฯในจังหวัดภูเก็ต แม้จะยอมรับว่าในขณะที่ทำเลอื่นๆ ก็ไม่ได้โดดเด่นไปกว่าคู่แข่งรายอื่นที่จับลูกค้ากลุ่มเดียวกัน

ดังนั้น หากจะพยายามหาคำตอบถึงวัตถุประสงค์ของการเข้ามาลงทุนใน RAIMON ของกลุ่มไทเก้น ในประเด็นที่เคยบอกว่าเพียงเพื่อผลตอบแทนจากการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คำตอบที่ได้ก็ คือ อาจจะเป็นไปได้ แต่ก็คงต้องใช้กำลังภายในค่อนข้างมากหากจะหาผลตอบแทนอย่างเป็นกอบเป็นกำจากธุรกิจนี้ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี

อย่าว่าแต่ ธุรกิจนี้อสังหาริมทรัพย์จะไม่มีการปรับขึ้น-ลงเป็นวัฏจักรเหมือนกับธุรกิจเดิมที่เคยลงทุนทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นและผลตอบแทนจะเติบโตขึ้นโดดเด่น เพราะได้รับแรงหนุนจากฤดูกาลทางธุรกิจจะไม่มีอีกต่อไป โอกาสเดียวที่จะสร้างผลตอบแทนจากธุรกิจนี้ก็คือ ความสามารถของตัวบริษัท และ RAIMON มีอะไรที่ทำให้กลุ่มไทเก้นมั่นใจถึงขนาดทุ่มเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทนี้

แต่หากจะมองโลกในแง่ดีว่า ไทเก้นอาจรักจะลงทุนยาวถือหุ้นนานนับ 10 ปี อย่างที่เคยทำใน TTA เพื่อรอรับผลตอบแทนที่ดีในอนาคตก็ดูจะเป็นการมองโลกในแง่ดีจนเกินไป เพราะนักลงทุนก็คือนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนของตนอย่างคุ้มค่า ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดเท่านั้น และ RAIMON มีอะไรที่ทำให้ กลุ่มไทเก้นมีแรงบันดาลใจเข้าเป็นผู้ถือใหญ่และรอรับผลตอบแทนในระยะยาวมากๆ เช่นนั้น

แม้ว่าธรรมชาตินักลงทุนมืออาชีพ ย่อมมีสายตายาวไกล และย่อมเล็งเห็นผลตอบแทนกลับมาคุ้มค่าจึงจะตัดสินใจลงทุน แต่การยอมทุ่มลงทุนเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ก็ย่อมมาจากการมองเห็นอนาคตที่แจ่มชัดว่าการลงทุนปกติ..ไทเก้นเห็นอะไรใน RAIMON อย่างที่นักลงทุนอย่างเราท่านยังมองไม่เห็นเช่นนั้นหรือ?

หรือว่าในทางกลับกัน หากกลุ่มไทเก้นจะใช้วิธีรวยทางลัดเหมือนที่เคยทำกับ TTA คือดันจนธุรกิจเติบโตและราคาหุ้นปรับขึ้นจนถึงระดับที่พอใจและจากนั้นจึงขายเงินลงทุนเพื่อทำกำไรมหาศาลบานตะเกียงแบบที่เคยรับจากการลงทุนใน TTA ..ความเคลื่อนไหวของ RAIMON หลังจากนี้ก็คงน่าจับตามองและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ..ว่าไทเก้นจะใช้วิธีการใดทำให้มูลค่า-ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นใน TTA!!..


************************
ที่มา efinancethai.com..แองเจิลลิก้า[/color:29228923f7">

 กลับขึ้นบน
innocent
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 729
#1 วันที่: 27/05/2006 @ 20:26:00 : re: แกะรอยการลงทุนกลุ่มไทเก้น มีอะไรซ่อนอยู่หลังฮุบ RAIMON
สองพี่น้องบอกหน่อยสิ ....
เข้าไปลงทุนทำไมเยอะแยะขนาดนั้น..
ปล่อยให้เค้างงกานอยู่ได้ .....
สงสัยว่ายังรวย TTA ไม่เสร็จนิ...... .000b .[/color:f1c8d35458">
 กลับขึ้นบน
mr.w
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 490
#2 วันที่: 27/05/2006 @ 21:41:30 : re: แกะรอยการลงทุนกลุ่มไทเก้น มีอะไรซ่อนอยู่หลังฮุบ RAIMON
หง่ะ นั่น ซฺ มีอะไร ดี นะ

แต่ถ้าบอกเรา ง่าย ง่าย ราคาคงไม่อยู่ตรงนี้แล้ว คิก คิก

ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3 ฟฟฟฟ3
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com