May 4, 2024   6:09:00 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > KEST-TMB ควงแขนยันหุ้นใหญ่ไม่ถอนทุน
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 10/03/2006 @ 20:55:10
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

วงการฟันธงกระแสต้านสิงคโปร์แค่ไฟไหม้ฟาง ที่พร้อมจางหายเมื่อการเมืองคลี่คลาย บิ๊ก 2 บจ.ยักษ์ KEST-TMB ควงแขนยัน หุ้นใหญ่จากแดนลอดช่องไม่ถอนทุนแน่นอน บิ๊ก TMB มั่นใจการเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม 1.2 หมื่นล้านบาท ได้รับการสนับสนุนจาก DBS แน่นอน ขณะที่ ก.ล.ต.ยอมรับการเมืองไม่นิ่งอาจทำให้ต่างชาติโยกเงินหาประเทศที่น่าลงทุนมากกว่า แต่ยังมองปัญหาตอนนี้เกิดแค่ระยะสั้นเท่านั้น พร้อมเปิดโผหุ้นไทยในเงื้อมมือสิงคโปร์ พบแบงก์-สื่อสาร-อสังหาริมทรัพย์โดนเขมือบเรียบ

**วงการชี้กระแสต้านสิงคโปร์แค่ไฟไหม้ฟาง
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.นครหลวงไทย ให้ความเห็นว่า กระแสการต่อต้านสินค้าหรือนักลงทุนสิงคโปร์ เป็นเพียงกระแสความรู้สึกในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งคงไม่ส่งผลให้นักลงทุนสิงคโปร์ต้องถอนการลงทุนออกไปจากประเทศไทย เนื่องจากสิงคโปร์เองเป็นประเทศเล็กที่ต้องอาศัยการลงทุนในต่างประเทศเป็นตัวสร้างรายได้ ในขณะที่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเองก็ยังต้องการเงินทุนจากต่างประเทศ และในปัจจุบันสิงคโปร์ถือเป็นนักลงทุนที่มีการลงทุนในประเทศไทยมากที่สุด
ทั้งนี้มองว่ากระแสดังกล่าวสืบเนื่องมาจากการเมืองเป็นหลัก ซึ่งหากการเมืองคลี่คลายกระแสก็น่าจะเบาบางลงไป และมองว่ากระแสการต่อต้านในครั้งนี้คงไม่ทำให้รัฐบาลเปลี่ยนแปลงนโยบายการเปิดรับนักลงทุนต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามกระแสการต่อต้านดังกล่าวถือว่ามีส่วนที่ทำให้หุ้นที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นสิงคโปร์ปรับตัวลดลง อย่างเช่นหุ้น SHIN ที่ตระกูลชินวัตรจะขายหุ้นให้เทมาเส็ก หรือ LH ที่มีกองทุน GIC ของสิงคโปร์ถือหุ้นใหญ่ เป็นต้น
นายสุกิจกล่าวอีกว่า การที่ดัชนีปรับตัวลดลงประมาณ 30 จุด ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาถือเป็นเรื่องดีแสดงให้เห็นว่าตลาดหุ้นรับข่าวความเสี่ยงในเรื่องการเมืองไปแล้วต่อจากนี้มองว่าความเสี่ยงในขาลงมีไม่มากนักแต่จะกระทบในแง่ของมูลค่าการซื้อขายที่จะซบเซาลงไป ตราบใดที่การเมืองยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะในวันจันทร์ที่ 13 มี.ค. นี้ ซึ่งเป็นวันก่อนการนัดชุมนุมเพื่อปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลของพันธมิตรประชาธิปไตยในวันที่ 14 มี.ค.
แม้ว่ากระแสตอนนี้จะแรง แต่ผมเชื่อว่ารัฐบาลคงไม่เปลี่ยนนโยบายไปตามกระแส เรื่องการลงทุนของต่างชาติเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ไม่ใช่พอมีปัญหาแล้วก็มาเรียกร้องให้เค้าหยุดการลงทุน มันไม่ใช่นายสุกิจกล่าว

**บิ๊ก KEST-TMB ยันหุ้นใหญ่แดนลอดช่องไม่ถอนทุน
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) (KEST) ซึ่งมีกิมเอ็งโฮลดิ้ง จากสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ กล่าวกับ eFinaneceThai.com ว่า กระแสการต่อต้านสิงคโปร์ยังคงเป็นเรื่องเฉพาะรายการที่อาจมีผู้ไม่เห็นด้วยในการให้ต่างชาติเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อย่างเช่นธุรกิจสื่อสาร ดาวเทียม ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติมากกว่า โดยในส่วนของ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) แม้ว่าจะมีสิงคโปร์ถือหุ้นใหญ่ แต่ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากการต่อต้านแต่อย่างใดเนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เข้าใจว่าธุรกิจ บล.ไม่ใช่ธุรกิจที่สังคมกังวลว่าจะเกิดผลเสียต่อประเทศหากมีต่างประเทศถือหุ้นใหญ่
ทั้งนี้โดยส่วนตัวมองว่าบริษัทจดทะเบียนของไทยน่าจะยินดีต้อนรับเงินทุนจากต่างประเทศที่เข้ามา เพราะทำให้มูลค่าสินทรัพย์เพิ่มมากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวม
กระแสต้านตอนนี้น่าจะเป็นในส่วนของธุรกิจที่เป็นความมั่นคงปลอดภัยของประเทศมากกว่าเช่นสื่อสาร หรือดาวเทียม ส่วนธุรกิจอื่นๆคงไม่ได้รับผลกระทบ ซึ่งในส่วนของKEST เท่าที่ดูก็ไม่มีสัญญาณว่าผู้ถือหุ้นใหญ่จะถอนการลงทุนออกไปและลูกค้าก็ไม่ได้มีปัญหาการต่อต้านอะไร นายมนตรีกล่าว
ด้านนายสมหมาย ภาษี ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าวถึง กระแสข่าว ธนาคารดีบีเอสสิงคโปร์ จะถอนการลงทุนในธนาคารฯ เนื่องจากการเมืองในประเทศมีความไม่แน่นอนว่า ธนาคารฯได้มีการปรับฐานไปยังผู้บริหารของธนาคารดีบีเอสฯ ก็ยังมีการยืนยันว่าทางดีบีเอสฯ ยังลงทุนอยู่ในธนาคาร ดังนั้นกระแสข่าวดังกล่าวจึงเป็นเพียงข่าวลือ
ดร.สุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TMB กล่าวว่าการเพิ่มทุนของธนาคาร 12,000 ล้านบาท ที่จะจัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิมมั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วย กระทรวงการคลัง-3 เหล่าทัพ-ดีบีเอส-ไทยประกันชีวิต ทั้งนี้ เงินที่ได้จากการเพิ่มทุนนำไปไถ่ถอนแคปส์ 5 พันลบ.และชำระคืนเงินกู้ต้นท6นสูง และภายหลังการเพิ่มทุน TMB เป้าหมายให้มี บีไอเอส 12% และกองทุนขั้นที่ 1 ระดับ 8.5%

**ก.ล.ต.ยอมรับหากการเมืองไม่นิ่งฝรั่งอาจโยกเงินออก
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า กระแสการต่อต้านสินค้าของกลุ่มทุนสิงคโปร์ในปัจจุบันหากยืดเยื้อเป็นระยะเวลายาวนานอาจส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคระยะสั้น และอาจส่งผลกระทบด้านการลงทุน โดยกลุ่มทุนสิงคโปร์ถอนการลงทุนไปลงทุนในประเทศอื่นที่ไม่มีปัญหาแทน
?สถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้เป็นการปลุกกระแสของบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งทุกคนมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็น และเชื่อว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบรวมต่อเศรษฐกิจและการค้าในประเทศ ซึ่งเราก็ต้องติดตามและใช้ดุลพินิจพิจารณาว่ากระแสที่เกิดขึ้นในเวลานี้เป็นจริงหรือไม่ และมีนัยสำคัญอะไรหรือไม่ ซึ่งก็ได้แต่หวังว่ากระแสเหล่านี้จะยุติลงโดยเร็ว ?นายประเวชกล่าว

**เปิดพอร์ตกลุ่มทุนสิงคโปร์ ฮุบหุ้นแบงก์-สื่อสาร-อสังหาริมทรัพย์
จากการสำรวจของผู้สื่อข่าวพบว่าในปี 2548 ที่ผ่านมากองทุนและกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ของสิงคโปร์เข้ามาถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจธนาคารพาณิชย์ สื่อสาร และอสังหาริมทรัพย์ หลายบริษัท โดยกลุ่มผู้ลงทุนที่โดดเด่นและเป็นที่รู้จักอย่างกองทุน GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION หรือ GIC กลุ่มทุนใหญ่จากสิงคโปรค์เข้ามาลงทุนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั้งสิ้น 25
บริษัท โดยธุรกิจหลักที่ลงทุนได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 2 บริษัท ได้แก่ ถือหุ้นใน LH จำนวน 13.35% ถือหุ้นใน QH จำนวน 13.23%
ถือหุ้นในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง ได้แก่ ถือหุ้น TISCOจำนวน 2.14% ถือหุ้นBBL จำนวน 1.12% ถือหุ้น KBANK จำนวน
1.58% และถือหุ้น SCB จำนวน 2.13%
นอกจากนี้ยังถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจสื่อสาร 1 บริษัทได้แก่ ADVANC สัดส่วนการถือหุ้น 0.76%
ด้านกลุ่ม HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD ในปีที่ผ่านมาเข้ามาลงทุนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั้งหมด 75 บริษัท
โดยลงทุนธุรกิจธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง เช่น ถือหุ้น TMB จำนวน 0.78% ถือหุ้น BAY จำนวน 1.66% ถือหุ้น SCB จำนวน 3.21% ถือหุ้น TISCO จำนวน 2.87% ถือหุ้น ACL จำนวน 1.17% ถือหุ้น SCIB จำนวน0.78% ถือหุ้น BBL จำนวน 4.98% ถือหุ้น KK จำนวน0.81% ถือหุ้น KTB จำนวน 1.42% และถือหุ้น KBANK จำนวน 2.41%
นอกจากนี้ ยังถือหุ้นในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 7 บริษัทเช่น ถือหุ้น QH จำนวน 0.94% ถือหุ้น LH จำนวน 1.78% ถือหุ้น LALIN จำนวน 4.02% ถือหุ้น MBK จำนวน 1.30% ถือหุ้น AP จำนวน 1.47% ถือหุ้น LPN จำนวน 7.67% ถือหุ้น GOLD จำนวน 0.55%
และถือหุ้นในกลุ่มสื่อสาร 7 บริษัท เช่น ถือหุ้น UCOM จำนวน 1.55% ถือหุ้น SHIN จำนวน1.73% ถือหุ้น SAMART จำนวน 0.87% ถือหุ้น ADVANC จำนวน 1.97% ถือหุ้น TRUE จำนวน 4.16% ถือหุ้น SATTEL จำนวน 3.54% และถือหุ้น CSL จำนวน 0.99%
กลุ่ม CHASE MANHATTAN (SINGAPORE) NOMINEES PTE ในปีที่ผ่านมาเข้าลงทุนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั้งหมด 16 บริษัท โดยลงทุนในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ 1 บริษัท ได้แก่ ถือหุ้น SCB จำนวน 0.5% กลุ่มสื่อสาร 1 บริษัทได้แก่ ถือหุ้น TRUE จำนวน 0.59% และลงทุนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 2 บริษัท ได้แก่ ถือหุ้น AP จำนวน 1.34% ถือหุ้น LALIN จำนวน 0.63%


ที่มา efinancethai.com[/color:b206a05de5">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com