May 4, 2024   10:14:34 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > PICNI-EWC-POWER เต่าใหญ่ไข่กลบของตลท.
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 09/03/2006 @ 05:07:31
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

การที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ขึ้นเครื่องหมายSP (Suspension)เพื่อห้ามการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ภายในช่วงระยะเวลาที่ทางตลาดหลักทรัพย์กำหนดรวมถึงการขึ้นเครื่องหมายALERT เพื่อเตือนนักลงทุนทราบถึงข้อมูลสารสนเทศ และให้ความระมัดระวังในการลงทุน หลังจากที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของ บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)PICNI และบริษัท เพาเวอร์-พี จำกัด(มหาชน)หรือPOWER[/color:ca4c84ef0e">

รวมถึงการแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขของผู้ตรวจสอบ เกี่ยวกับรายการของบริษัทอีสเทิร์นไวร์ จำกัด(มหาชน)หรือ EWC ในกรณีให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทอื่น เหมือนเป็นการกระทำที่ตรงกับสุภาษิตไทยที่ว่า เต่าใหญ่ไข่กลบ

เพราะเมื่อย้อนความไปในอดีตที่ผ่านมา บริษัททั้ง 3 เหล่านี้ ล้วนมาจากบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในกระบวนการแผนฟื้นฟูกิจการ หรืออยู่ในหมวดฟื้นฟูกิจการ(รีแฮปโก้)ทั้งนั้น โดยตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นผู้อนุมัติให้บริษัทเหล่านี้สามารถออกมาซื้อขายในหมวดปกติได้

กรณีปัญหาของ PICNI-EWC-POWER ที่ถูกผู้ตรวจสอบตั้งคำถามกับงบการเงินของปี2548 จะแบ่งได้เป็นดังนี้1.ปัญหาเรื่องจริยธรรมของผู้บริหาร 2.ปัญหาเรื่องการบริหารธุรกิจ

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯให้ความสำคัญถึง 2 ประเด็นมากน้อยเพียงใด แต่ถือเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ตลาดหลักทรัพย์ฯจะให้เวลาในการเพิ่มมาตรการเพื่อคุมเข้มการออกจากหมวดฟื้นฟูกิจการ โดยที่ไม่ต้องมาเสียเวลาตามล้างตามเช็ด หรือทำความสะอาดบริษัทเหล่านี้ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นภายหลัง รวมถึงเป็นการคัดสรรบริษัทที่ดีให้นักลงทุนเลือกลงทุนได้อย่างสบายใจ ดีกว่าพูดได้เพียงแค่ว่า การลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนลงทุน

-ผลงานชิ้นโบว์ดำ
เหตุการณ์ที่ประจวบเหมาะของการไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน รวมถึงการแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขของผู้ตรวจสอบบัญชีที่มีต่องบการเงินปี 2548 ของ PICNI -EWC-POWER นั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกัน โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า บริษัททั้ง 3 นี้ล้วนมาจากหมวดรีแฮปโก้ ที่ได้รับความเห็นชอบจากตลาดหลักทรัพย์ฯให้สามารถเปิดการซื้อขายในหมวดปกติได้ทั้งนั้น

โดยมีประวัติความเป็นมาอย่างคร่าวๆ ดังนี้ บมจ. ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น (PICNI )ได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเมื่อเดือนก.ย. 2546 โดยมีกลุ่มร่วมทุนรายใหม่ คือ บริษัท ยูเนียนแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด เป็นใส่เงินเพิ่มทุนเข้ามาหลังจากนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯมีมติเห็นควรให้ย้ายออกจากหมวดฟื้นฟูกิจการ(รีแฮปโก้) และกลับมาซื้อขายตามปกติในหมวดพลังงานเมื่อเดือนต.ค. 2546

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2548 บริษัทมีผลขาดทุน 3,059.50 ล้านบาท หรือขาดทุน1.65 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับปี 2547 ที่มีกำไรสุทธิ 234.93 ล้านบาท หรือ 0.36 บาทต่อหุ้น

ด้านบมจ. อีสเทิร์นไวร์ (EWC) ได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการกิจในเดือนมี.ค. 2547 โดยมีนายภิรมย์ ปริยวัต เป็นกลุ่มนักลงทุนที่เพิ่มทุนให้กับบริษัท จนกลับเข้ามาซื้อขายตามปกติในหมวดวัสดุก่อสร้าง ตามคำอนุมัติของตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อเดือนก.ย. 2547

สำหรับผลการดำเนินงานในปี 2548 บริษัทมีกำไรสุทธิ 89.97 ล้าน
บาท หรือ 1.02บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับปี 2547 ที่มีกำไรสุทธิ 257.17 ล้านบาท หรือ 4.26 บาทต่อหุ้น

สำหรับบมจ.เพาเวอร์-พี (POWER)ตลาดหลักทรัพย์ฯมีมติเห็นควรให้ย้ายออกจากหมวดฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2548 และกลับมาเปิดการซื้อขายตามปกติในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 2548 ส่วนผลการดำเนินงานในปี 2548 ของบริษัทมีขาดทุน 50.34 ล้านบาท หรือขาดทุน 0.24 บาทต่อหุ้น เมื่อเทียบกับปี 2547 ที่มีกำไรสุทธิ 1,634 ล้านบาท หรือ 16.01 บาทต่อหุ้น

บ่อยครั้งที่คนทั่วไปมักจะเปรียบบริษัทที่เพิ่งย้ายจากหมวดรีแฮปโก้มาสู่หมวดปกติ นั้นเหมือนกับคนที่เพิ่งฟื้นจากอาการป่วยในห้องไอซียู แต่สามารถกลับมามีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิม แต่ทั้งนี้ก็ต้องรู้ด้วยว่าหุ้นที่เพิ่งฟื้นไข้ย่อมมีความเสี่ยงที่จะกลับไปป่วยได้อีกเหมือนเดิมเช่นกัน

คงไม่ใช่เรื่องแปลกนัก ถ้าบริษัทที่เพิ่งออกจากหมวดรีแฮปโก้ และมีผลการดำเนินงานที่ไม่แข็งแรงจริง จนทำให้ต้องหวนกลับไปมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนอีกเหมือนเดิม เพราะเมื่อดูจากผลการดำเนินงานของบริษัทเหล่านี้ เป็นบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์ฯอนุมัติให้เข้ามาเทรดในหมวดปกติ และเป็นบริษัทสร้างปัญหาให้กับตลาดหลักทรัพย์มากที่สุดเช่นกัน

-แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ
นโยบายของตลาดหลักทรัพย์ฯที่พยายามผลักดันบริษัทจดทะเบียนที่มีอยู่ในหมวดรีแฮปโก้ย้ายไปสู่หมวดปกติภายในปี 2549 นั้น ถือเป็นสิ่งที่ดีที่จะสามารถพัฒนาตลาดหุ้นไทยให้มีแต่บริษัทที่ดี เพื่อเป็นสิ่งที่จะชักนำให้เกิดนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นกว่าปัจจุบัน

แต่การเร่งรีบที่จะล้างภาพของบริษัทในหมวดรีแฮปโก้ที่มีอยู่จำนวน 38 บริษัท ให้หมดภายในปี 2549 นี้ ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่อาจจะเป็นไปได้ในแง่ของปริมาณ แต่ถ้าพูดถึงการตรวจสอบคุณสมบัติบริษัทที่จะออกจากหมวดรีแฮปโก้นั้น ดูแล้วคงต้องทำงานหนักกันพอสมควร

เพราะปัญหาของ PICNI จะเกิดจากความไม่โปร่งใสของตัวผู้บริหารเอง ที่ใช้วิธีในการฉ้อโกงบริษัท ซึ่งแต่เดิมธุรกิจของบริษัทถือเป็นธุรกิจที่ดี แต่หลังจากที่มีปัญหาดังกล่าว ทำให้ธุรกิจของบริษัทพลอยประสบปัญหาไปด้วย
ส่วน EWC พบว่ามีปัญหาทางด้านธุรกิจ ซึ่งมีการนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยนำไปปล่อยกู้ให้กับบริษัท เจ เจ แลนด์ ดีเวลลอปเมนท์ ซึ่งเป็นมีความสัมพันธ์กับกลุ่มของEWC เป็นอย่างมาก จนล่าสุดบริษัทก็ปล่อยกู้ให้กับบริษัท สยามเจเนอรัลแฟตตอริ่ง จำกัด(มหาชน)หรือ SGF
สำหรับ POWER จะมีปัญหาตั้งแต่ก่อนออกมาจากรีแฮปโก้ ในเรื่องของรายได้หลักของบริษัท ว่าจะสร้างกำไรได้จริงหรือไม่ แต่เมื่องบการเงินของปี 2548 ออกมาก็แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีปัญหาเรื่องการสร้างกำไร และเนื้อแท้ของธุรกิจหลักของบริษัท

มาตรการของตลาดที่ไม่ได้ลงลึกไปถึงการมองโครงสร้างรายได้ในการทำธุรกิจว่ามาจากการทำธุรกิจจริงหรือใช้การแต่งงบการเงินก่อนเข้ามา

-ช่องว่างของเกณฑ์ตลาด
การย้ายจากบริษัทในหมวดรีแฮปโก้มาสู่หมวดปกตินั้น จะมีเพียงแค่การทำกำไรจากการดำเนินได้แค่ 3 ไตรมาสติดต่อกัน ก็เพียงพอแล้ว (ดูล้อมกรอบ) ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวถือว่าง่ายเกินไปหรือไม่ เพราะลำพังแค่ผลกำไรจากการดำเนินแค่ 3 ไตรมาส ไม่ได้บ่งบอกว่าบริษัทนั้นจะมีความแข็งแรงได้ในระยะกลาง หรือระยะยาว

สำหรับเกณฑ์การผ่านรีแฮปโก้ของตลาดฯดูเหมือนจะให้ความสำคัญเพียงแค่ตัวเลขผลประกอบการเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีการตรวจสอบที่ละเอียดเพียงพอ อาทิ ระบบตรวจสอบความโปร่งใสความถูกต้องของข้อมูลต่างๆ การสัมภาษณ์ หรือพูดคุยกับผู้บริหารของบริษัท รวมถึงการเยี่ยมชมกิจการ ว่าธุรกิจที่บริษัทนำเสนอนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด อีกทั้งไม่จำเป็นต้องแจ้งรายการที่เกี่ยวโยงกัน

ความเข้มงวดของการตรวจสอบการกลับมาเทรดของหุ้นรีแฮปโก้ เมื่อเทียบกับการเข้ามาเทรดของหุ้นสามัญเพิ่มทุนครั้งแรก (ไอพีโอ)จะมีความแต่งต่างกันมาก เนื่องจากการเข้ามาเทรดของหุ้นไอพีโอจะมีสำนักงานก.ล.ต.ซึ่งเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่จะช่วยกลั่นกรองว่ามีความเหมาะสมที่จะสามารถกระจายสู่นักลงทุนได้หรือไม่

ทั้งนี้ตลาดมีการมาตราการใดที่จะเข้ามาดูแลว่าตัวธุรกิจของบริษัทเหล่านี้จะแข็งแรงได้ในอนาคต รวมถึงตลาดจะให้ความสำคัญในการตรวจสอบจริยธรรมของผู้บริหารบริษัทเหล่านี้มากน้อยเพียงไร
เพราะเมื่อเหลียวมองกลับไปดูผลการดำเนินงานของบริษัททั้ง 3 แห่งข้างต้นนั้น ถ้าจะพูดว่ากฎของตลาดหลักทรัพย์ฯมีช่องว่างมากมายให้ผู้ที่มีเจตนาไม่ดี เข้ามาแสวงหาประโยชน์จากเกมราคาหุ้น แทนที่จะเข้ามาช่วยเหลือบริษัทที่ประสบปัญหาให้ฟื้นกลับคืนมาดีเหมือนเดิม
ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ น่าจะเพิ่มมาตรการตรวจสอบอย่างเข้มงวดก่อนที่จะมีอะไรเสียหายมากกว่านี้

เกณฑ์การข้อย้ายกลับสู่หมวดอุตสาหกรรมปกติ
1. เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาจากงบการเงินรายไตรมาสหรืองบการเงินประจำปีที่ผ่านการสอบทานหรือตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี โดยมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้
1) มีส่วนของผู้ถือหุ้น (ภายหลังปรับปรุงความเห็นผู้สอบบัญชี)
2) มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานในธุรกิจหลัก 3 ไตรมาสติดต่อกัน หรือ 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ
3) ปรับโครงสร้างหนี้ได้มากกว่าร้อยละ 75 ของมูลหนี้ทั้งหมดของบริษัท และในช่วงเวลาที่พิจารณาผลการดำเนินงานตาม 2) บริษัทสามารถจ่ายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินได้ตามกำหนดเวลา
4) สามารถแสดงได้ว่าบริษัทจะมีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่มั่นคงตามสภาพธุรกิจของบริษัทไปอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณากระแสเงินสดของกิจการประกอบด้วย

ที่มา ข่าวหุ้น[/color:ca4c84ef0e">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com