April 26, 2024   1:28:27 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > PTTEPสำลักค่าเสื่อม!ฉุดกำไรทรุด16%
 

thaihoon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 14,583
วันที่: 31/10/2014 @ 08:36:22
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

"ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม" แจ้งกำไร Q3/57 ที่ 1.52 หมื่นลบ. ทรุด16% จากปีก่อนที่ทำได้ 1.78 หมื่นลบ. เหตุค่าใช้จ่ายสูงขึ้น แต่คาดปริมาณขายปีนี้เติบโตประมาณ 8% หลังโครงการซอติก้าเริ่มดำเนินการ และการเข้าซื้อกิจการ Hess Thailand หนุน แต่มองแนวโน้มราคาน้ำมันดิบยังผันผวนต่อเนื่อง ฟาก โบรกฯ ประสานเสียง ยังแนะซื้อ หลังมองระยะยาวยังแข็งแกร่ง ชี้สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 -การพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาหนุน ให้ราคาพื้นฐาน 177 บาท

* PTTEP ฟันกำไร Q3 ที่ 1.52 หมื่นลบ. ลดลง 16% เหตุค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่?บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/57 มีกำไรสุทธิ 15,283.89 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 3.84 บาท ลดลง 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 17,810.58 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 4.47 บาท ส่วนงวด 9 เดือนมีกำไรสุทธิ 45,905.35 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 11.52 บาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 48,742.37 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 12.22 บาท?
? โดยมีสาเหตุหลักจากค่าเสื่อมราคาที่สูงขึ้น 256 ล้านดอลลาร์ ในโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย ซึ่งเริ่มมีการขายน้ำมันดิบในเดือนสิงหาคม 2556 และจากโครงการคอนแทร็ค 4 ตามสินทรัพย์พร้อมใช้งานและปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น ??
นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการสำรวจปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น 77 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากค่าใช้จ่ายในการตัดจ่าหน่ายหลุมส่ารวจของโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย และโครงการเคนยา แอล 10 เอ ในขณะที่ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานลดลง 40 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือสัดส่วนของโครงการ แคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี ที่ได้ด่าเนินการตามเงื่อนไขเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม 2557 ตามสัญญาโอนคืนสิทธิหน่วยลงทุนในห้างหุ้นส่วน (Partnership Units Redemption Agreement หรือ PURA)
อย่างไรก็ดี รายได้จากการขายเพิ่มขึ้นจำนวน 183 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากปริมาณการขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเป็น 325,248 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน โดยเพิ่มขึ้นจากโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเชีย และโครงการซอติก้า (ไตรมาส 3 ปี 2556 : 286,578 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน) ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยลดลงเป็น 65.15 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ(ไตรมาส 3 ปี 2556 : 65.71 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ)
กำไรจากรายการ Non-Recurring ส่าหรับไตรมาส 3 ปี 2557 จ่านวน 51 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้น 85 ล้านดอลลาร์ สรอ.จากไตรมาส 3 ปี 2556 ที่มีขาดทุนจากรายการ Non-Recurring จ่านวน 34 ล้านดอลลาร์ สรอ.ส่วนใหญ่มาจากก่าไรจากอนุพันธ์ทางการเงินเพิ่มขึ้นจากการ mark-to-market ของสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันเนื่องจากราคาซื้อขายล่วงหน้า (forward price) ณ วันที่ 30 กันยายน 2557 ลดต่ำกว่าราคาที่ประกันความเสี่ยงไว้

*คาดปริมาณขายปีนี้เติบโตราว 8% มองแนวโน้มราคาน้ำมันดิบผันผวนต่อเนื่อง
นายเทวินทร์ คาดการณ์ว่า ในปี 2557 จากแผนงานและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา บริษัทคาดว่าปริมาณการขายจะเติบโตโดยรวมที่ประมาณร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่มาจากโครงการซอติก้า และการเข้าซื้อกิจการ Hess Thailand ในช่วงครึ่งปีแรกของปี ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ ปตท.สผ. มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องถึงปี 2558
ส่วน แนวโน้มราคาน้ำมันดิบซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท ยังคงมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยลบมาจากปริมาณน้ำมันดิบที่คาดว่ายังคงมีมากในตลาดจากการผลิตของลิเบียกลับมาผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น และความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะกลับมาส่งออกน้ำมันดิบอีกครั้ง หากสามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาด้านนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและ 6 ชาติมหาอำนาจในเดือนพฤศจิกายนนี้ ประกอบกับปัจจัยทางเศรษฐกิจของยุโรป ญี่ปุ่น และ จีน ที่ยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่องส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง สำหรับในแง่บวกมีปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นในฤดูหนาว รวมถึง โอเปคอาจจะปรับลดกำลังการผลิตสำหรับปี 2558 ในระหว่างการประชุมเดือนพฤศจิกายนนี้
ทั้งนี้ PTTEP มีผลิตภัณฑ์หลัก คือ ก๊าซธรรมชาติ คิดเป็นประมาณร้อยละ 67 ของปริมาณการขายทั้งหมด โดยราคาขายก๊าซธรรมชาติอ้างอิงราคาน้ำมันประมาณร้อยละ 30-50 และมีการปรับราคาตามสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ของแต่ละโครงการในทุก ๆ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ทำให้แนวโน้มการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในระยะสั้น ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาก๊าซฯมากนัก ส่วนน้ำมันดิบและคอนเดนเสท คิดเป็นประมาณร้อยละ 33 ของปริมาณการขายทั้งหมด ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่ราคาน้ำมันปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน โดยการทำอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของกลุ่มบริษัท โดยใช้ราคาน้ำมันดิบแบรนท์เป็นราคาอ้างอิง สำหรับไตรมาสที่ 4 นี้ ปตท.สผ. ได้ทำอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันประมาณร้อยละ 70 ของปริมาณการขายน้ำมันและคอนเดนเสท
นอกจากนี้ ภาวะเศรษฐกิจและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ปตท.สผ. ได้เริ่มโครงการ “SAVE … to be SAFE” โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีการบริหารการใช้จ่ายและการลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพเต็มที่ ซึ่งจะรวมถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ไม่จำเป็นในระยะสั้น และ มีการทบทวนแผนงานและงบประมาณให้สอดคล้องกัน

* เปิดโครงการสำคัญของ ปตท.สผ. ในไตรมาสที่ 3/57
ปัจจุบัน ปตท.สผ. มีโครงการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย และต่างประเทศ รวม 45 โครงการ ใน 11 ประเทศ โดยความก้าวหน้าของโครงการหลัก ๆ สามารถสรุปได้ ดังนี้
โครงการในประเทศไทย มีทั้งหมด 18 โครงการ ซึ่งโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ดำเนินการผลิตแล้ว ทั้งในอ่าวไทยและบนบก ซึ่งสามารถดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี มีบางโครงการที่มีการหยุดการผลิตชั่วคราวเพื่อซ่อมบำรุงตามแผน เช่น แหล่งบงกชใต้ โครงการคอนแทร็ค 4 และโครงการพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย-บี17
โครงการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีทั้งหมด 16 โครงการ โดย โครงการซอติก้า ได้เริ่มส่งก๊าซธรรมชาติและขายให้แก่ ปตท. เพื่อใช้ในประเทศไทยตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เมื่อรวมกับก๊าซฯที่ส่งให้ Myanma Oil and Gas Enterprise: MOGE เพื่อใช้ภายในประเทศเมียนมาร์ ทำให้โครงการซอติก้ามีปริมาณการผลิตโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 345 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นอกจากนี้ โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้างแท่นหลุมผลิตและเจาะหลุมประเมินผลเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียมและรักษาการผลิตในระยะยาว สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการสำรวจ เช่น โครงการเมียนมาร์ เอ็ม 3 ได้เริ่มดำเนินการเจาะหลุมประเมินผลเพิ่มเติมตามแผนงาน โครงการเมียนมาร์ พีเอสซี จี และอีพี 2 อยู่ระหว่างการศึกษาโครงสร้างทางธรณีวิทยา และได้มีการเจาะหลุมสำรวจตามแผนงาน นอกจากนี้ ปตท.สผ. ได้ลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตกับ Myanma Oil and Gas Enterprise: MOGE เพื่อรับสิทธิในการดำเนินการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงสำรวจบนบก MOGE 3 ด้วยสัดส่วนการร่วมทุนร้อยละ 85 และเป็นผู้ดำเนินการ
โครงการในออสตราเลเซีย มี 1 โครงการ ในประเทศออสเตรเลีย คือ โครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย ในไตรมาสนี้ แหล่งมอนทารา มีหยุดการผลิตชั่วคราวประมาณ 20 วัน ตามแผนการซ่อมบำรุงประจำปี ปัจจุบัน ได้กลับมาผลิตตามปกติแล้ว โดยคาดว่าปริมาณการผลิตโดยเฉลี่ยในปี 2557 จะอยู่ที่ประมาณ 17,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วนแหล่ง Cash Maple ได้เสร็จสิ้นการเจาะหลุมสำรวจ แต่ไม่พบศักยภาพเชิงพาณิชย์ ซึ่งได้ตัดจำหน่ายหลุมแล้วในไตรมาสนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบทางวิศวกรรม รวมทั้ง แนวทางการพัฒนาโครงการ นอกจากนี้ บริษัทได้ทำการคืนสิทธิในแปลงสัมปทานเอซี/พี 4 หลังจากที่เสร็จสิ้นการเจาะหลุมสำรวจ แต่ไม่พบศักยภาพเชิงพาณิชย์
โครงการในทวีปอเมริกา มี 3 โครงการ ในประเทศแคนาดา และสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดย โครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ คาดว่าจะเริ่มการเจาะสำรวจในไตรมาสที่ 4 นี้ และอยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบทางวิศวกรรมเบื้องต้น (Pre-FEED) รวมทั้ง แนวทางในการพัฒนาโครงการ Thornbury Phase 1 ส่วนการลงทุนในประเทศบราซิล ปตท.สผ. ได้ลงนามในสัญญาเพื่อเข้าซื้อสัดส่วนร้อยละ 20 ในแปลงสัมปทาน BM-ES-23 นอกชายฝั่งน้ำลึกของประเทศบราซิล จากบริษัท Shell Brasil Petroleo Ltda โดยจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลบราซิล
โครงการในแอฟริกาและตะวันออกกลาง มี 7 โครงการ ในประเทศโอมาน แอลจีเรีย โมซัมบิก และเคนยา โครงการแอลจีเรีย 433 เอ และ 416 บี อยู่ระหว่างการก่อสร้างกระบวนการผลิตและระบบท่อขนส่ง คาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตได้ภายในปลายปี 2557 ที่อัตราการผลิตประมาณ 20,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วนโครงการโมซัมบิก โรวูม่า ออฟชอร์ แอเรีย วัน มีแผนการเจาะหลุมสำรวจและประเมินผล เพื่อค้นหาและประเมินศักยภาพเพิ่มเติม ปัจจุบันเสร็จสิ้นการเจาะหลุมสำรวจ 1 หลุม ซึ่งอยู่ในระหว่างการประเมินผล และมีแผนที่จะเจาะหลุมประเมินในไตรมาส 4 ปีนี้ สำหรับการพัฒนาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) นั้น ได้ดำเนินการตามแผนการพัฒนาทางวิศวกรรมพื้นที่ก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตและขาย LNG ครั้งแรกได้ในปี 2562 โครงการเคนยา แปลงแอล 10 เอ เสร็จสิ้นการเจาะหลุมสำรวจ แต่ไม่พบศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดยได้ทำการตัดจำหน่ายหลุมในไตรมาสนี้ โดยจะนำผลของการสำรวจไปใช้ประโยชน์ทางธรณีวิทยาต่อไป

* "เคที ซีมิโก้" มองแนวโน้มระยะยาวยังแข็งแกร่ง แนะซื้อ ให้พื้นฐาน 177 บาท
บทวิเคราะห์ บล.เคที ซีมิโก้ แม้คาดจะมีความเสี่ยงเชิงบวกจากการขยายฐานปริมาณสำรองปิโตรเลียมของ PTTEP จากโครงการโมซัมบิก (คาดจะมีข้อสรุปการลงทุน “Final Investment Decision” ในปลายปี 58) และจากการปฏิรูปพลังงาน (เรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการต่อสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมที่กำลังจะหมดอายุ / การเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 / การเจรจาพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา) แต่ราคาน้ำมันที่อ่อนแอลง คาดจะเป็นปัจจัยกดดันกำไรของบริษัท เนื่องจาก 30% ของปริมาณการขายเป็นน้ำมัน ดังนั้น เราจึงชอบ PTT (มีความเสี่ยงเชิงบวก) มากกว่า PTTEPกำไรมีแนวโน้มลดลงใน 3Q57
เราคาด PTTEP มีกำไรสุทธิ 12.0 พันล้านบาท (-32.5% YoY, -34% QoQ) และกำไรปกติ 11.9 พันล้านบาท (-34% YoY, -36% QoQ) ใน 3Q57 หลังจากผลต่างสุทธิของขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (ราว 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์แคนาดา) และกำไรจากการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน (ราว 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามการลดลงของราคาน้ำมันดิบ ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของสัญญาป้องกันความเสี่ยง “zero cost collar” สำหรับปริมาณการขายน้ำมันที่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงไว้ราว 70%) ขณะที่สาเหตุหลักที่ผลการดำเนินงาน 3Q57 อ่อนแอ มาจาก 1) ราคาขายเฉลี่ยลดลงเป็น 65 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ (-1% YoY, -4% QoQ ตามราคาน้ำมันดิบลดลง)
2) ค่าตัดจำหน่ายหลุมแห้งสูงขึ้น (เคนย่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมเปิ้ล อีส 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 3) รายได้อื่นลดลง (เทียบกับผลบวกสุทธิจากการแลกสินทรัพย์ KKD ราว 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 2Q57) และ 4) อัตราภาษีจ่ายแท้จริงที่คาดจะสูงขึ้นเป็น 38% (จาก 33% ใน 3Q56 และ 30% ใน 2Q57 จากการปรับปรุงภาษีจ่ายลดลง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แม้ว่าปริมาณการขายปิโตรเลียม คาดจะสูงขึ้นเป็น 321.8 พันบาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบ/วัน ใน 3Q57 (+12% YoY, +2% QoQ) จากปริมาณการขายสูงขึ้นจากโครงการซอติก้า, ไพลิน และสินภูฮ่อมปรับลดกำไรสุทธิปี 57 – 59 จากการลดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ
ปรับลดกำไรสุทธิปี 57-59 ลง 9%/13%/8% ตามลำดับ หลักๆ มาจาก 1) การลดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปี 57-58 ลงเป็น 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ/92 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล (จากเดิม 105 ดอลลาร์สหรัฐฯ/100 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ตามลำดับ) จากตลาดน้ำมันที่ถูกกดดันจากความเสี่ยงของความต้องการใช้น้ำมันที่อ่อนแอ สวนทางกับอุปทานน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มประเทศนอกโอเปก อย่างไรก็ดี เราคงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบปี 59 ที่ 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล 2) การปรับลดปริมาณการขายลง 3% ในปี 57-59 โดยปัจจัยหลักมาจากการปรับลดปริมาณการขายของโครงการ S1 และ เวียดนาม 16-1 ราคาเป้าหมายปี 58 (DCF) ของเราถูกปรับลดลงเล็กน้อยเป็น 177 บาท/หุ้น (จากเดิม 185 บาท)

* "ธนชาต" ชี้สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 -การพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา หนุน
บทวิเคราะห์ บล.ธนชาต ระบุว่า เปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 การประมูลจะครอบคลุมถึงแปลงบนบก 23 แปลง และนอกชายฝั่ง 6 แปลง เรามองว่าเป็นบวก เนื่องจากอาจมีปริมาณสำรองใหม่ การจัดเก็บผลประโยชน์มากขึ้นภายใต้ Petroleum Law "Thailand III plus" ปัจจุบัน PTTEP ซื้อขายที่ระดับใกล้จุดเข้าซื้อที่ปลอดภัยของเรา "ซื้อ"
คณะกรรมการนโยบายและแผนพลังงานได้ประกาศเปิดประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 (แปลงบนบก 23 แปลง และนอกชายฝั่ง 6 แปลง) โดยเปิดให้เอกชนยื่นภายใน 18 ก.พ.15 การจัดเก็บผลประโยชน์ของรัฐที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจปิโตรเลียม สำหรับสัมปทานนี้น่าจะอยู่ภายใต้ Petroleum Law Thailand III Plus. ข่าวนี้เป็นบวกต่อ PTTEP เนื่องจากอาจจะทำให้มีปริมาณสำรองใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว
การจัดเก็บผลประโยชน์ของรัฐที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจปิโตรเลียม สำหรับสัมปทานนี้ภายใต้ Petroleum Law Thailand III Plus ได้แก่ 1) การเก็บค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15% จากรายได้การขายปิโตรเลียม 2) เก็บเงินภาษีเงินได้ 50% จากกำไรสุทธิ 3) การเรียกเก็บเงินผลตอบแทนพิเศษ หรือ Special Remuneratory Benefit (SRB) และจะจัดเก็บผลประโยชน์เพิ่มเติมอีก 2 ส่วน: 4) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือ Signature Bonus เมื่อมีการลงนามกับเอกชนที่ได้รับสัมปทาน และ 5) การเรียกเก็บผลประโยชน์เพิ่มเติมเมื่อเอกชนสามารถผลิตได้ตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนด หรือ Production Bonus ดังนั้นผู้ประกอบการจะมีต้นทุนที่สูงกว่าภายใต้ Thailand III ในปัจจุบัน การประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ล่าช้ามาเป็นเวลานาน (เนื่องจากกลุ่มผู้เคลื่อนไหวต้องการให้รัฐบาลตรวจสอบว่าระบบจัดเก็บผลประโยชน์ปัจจุบันภายใต้สัมปทาน หรือสัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าแก่รัฐบาล)
มองว่าราคาหุ้นปัจจุบันของ PTTEP อยู่ในระดับที่ใกล้จุดเข้าซื้อที่ปลอดภัยของเราที่ 140 บาท (สมมติราคาน้ำมันอยู่ที่ US$80/bbl หรือต้นทุน US Shale Oil เฉลี่ย) นอกจากการเร่งประมูลสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 แล้ว เรายังคาดว่าจะเห็นการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เป็นอีกปัจจัยบวกผลักดันในอนาคตอีกด้วย

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com