April 26, 2024   9:17:00 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > KPN เครือญาติ "รมช.พาณิชย์" สะสมเพิ่ม
 

?????????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 103
วันที่: 14/10/2005 @ 15:25:17
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ตอบโจทย์ราคาหุ้น KPN ร่วงหนัก สวนทางอนาคตธุรกิจ สิ้นมนต์ขลัง ทนายวิชัย ทองแตง ผู้บริหารเชื่อหุ้นตัวเองถูกกดราคา ทั้งๆ ที่ทิศทางธุรกิจเติบโตสดใส พบญาติ รมช.พาณิชย์ ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ เก็บหุ้นเพิ่มเป็น 2.94 ล้านหุ้น จากที่เคยได้รับไอพีโอ 1.5 ล้านหุ้น


บมจ.เคพีเอ็น ออโตโมทีฟ (KPN) เคยถูกเลื่องลือในฐานะไอพีโอน้องใหม่ ที่เทรดกันคึกคักตั้งแต่วันแรกที่เข้าตลาด เพราะเชื่อในฝีมือของ วิชัย ทองแตง นักปั้น KPN ตัวจริง ที่ซุ่มเป็นกุนซืออยู่เบื้องหลัง กฤษณ์ ณรงค์เดช ประธานกรรมการบริหารบริษัท

ราคาหุ้น ที่เคยวิ่งขึ้นไปชนระดับสูงสุดที่ 21.8 บาท จนราคาลด ต่ำจอง ลึกกว่า 15 บาท

ขณะเดียวกัน ยังปรากฏรายชื่อตระกูลดังอย่างกลุ่ม เลาหพงศ์ชนะ เครือญาติของ ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รมช.พาณิชย์ ร่วมทีมเก็บหุ้นด้วย

จากอนาคตที่ทอดยาว แต่วันนี้ราคาหุ้น KPN กลับเดินสวนอนาคต...ไถลลง อย่างต่อเนื่อง ส่วนทางกับแนวโน้มผลประกอบการของบริษัทที่ เติบโต เป็นเท่าตัว

จากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก KPN คว้ากำไรไปแล้ว 91.97 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตถึง 118% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2547 ที่มีกำไรเพียง 42.03 ล้านบาท

นักลงทุนอาจตั้งคำถามในใจว่า...หุ้นปั้นของ วิชัย ทองแตง กำลังเสื่อมมนต์ขลัง หรือถูกขายทำกำไรไปแล้วหรือยัง

ณัฐวุฒิ เภาโบรมย์ ประธานกรรมการปฏิบัติการ KPN ชี้แจงว่า ขณะนี้กลุ่มผู้ถือหุ้นที่เข้าจองหุ้นตั้งแต่ต้นปี บางกลุ่มก็ยังคงถือ KPN ติดพอร์ตไว้ ...โดยเฉพาะกลุ่ม เลาหพงศ์ชนะ

จากการค้นข้อมูลรายชื่อ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ครั้งล่าสุด (25 ส.ค.2548) พบว่าปัจจุบัน กลุ่มเลาหพงศ์ชนะ เข้ามาถือหุ้น KPN ทั้ง ทางตรง และถือผ่าน ไทยเอ็นวีดีอาร์ รวมเบ็ดเสร็จ 2,949,626 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 2.95%

นับเป็นการถือหุ้น เพิ่ม จากจำนวนเดิมที่เคยรับจัดสรรไอพีโอไปทั้งสิ้น 1,500,000 หุ้น

อย่างไรก็ตาม กลับไม่ปรากฏชื่อของกลุ่ม ทนายวิชัย ซึ่งทั้งบุตรชาย และบุตรสาว (อัฐ, อิฐ และ วิอร) เคยได้รับจัดสรรหุ้นรวมกันมากถึง 1.2 ล้านหุ้น

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า กลุ่มทนายวิชัยน่าจะขายหุ้นส่วนใหญ่ออกไปแล้ว

ยืนยันว่ากลุ่มลูกๆ ของคุณวิชัย ก็ยังคงถือหุ้น KPN อยู่...แต่คงไม่มาก ณัฐวุฒิ กล่าว พร้อมอธิบายทิศทางของบริษัทว่า

เกือบธุรกิจของใน กลุ่ม KPN ยังมีการเติบโต ทั้งในส่วนของธุรกิจหลัก (ชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูป) ซึ่งมีสัดส่วนรายได้กว่า 50% ของรายได้ทั้งหมด

ขณะที่รายได้จาก ธุรกิจเสริม ที่รับรู้รายได้ผ่าน บริษัทย่อย ทั้งในส่วนของ ธุรกิจชิ้นส่วนพลาสติก (สัดส่วนรายได้ 30%) และธุรกิจ คลังสินค้าและกระจายสินค้า ...ทั้งหมดยังอยู่ในทิศทางที่เติบโต

อาจมีเพียงธุรกิจค้าอะไหล่ส่งและปลีกรถจักรยานยนต์ ของ เคพีเอ็น พลัส เท่านั้น ที่รายได้ของเราหลุดเป้า แต่นั่นถือเป็นสัดส่วนรายได้เพียง 2% ของรายได้รวมปีนี้

ส่วนกรณีที่ ราคาหุ้น KPN ตกต่ำลงมา เนื่องจากช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ ได้รับผลกระทบเชิงจิตวิทยา...ทางด้านลบ

โดยเฉพาะ ราคาน้ำมัน ที่ปรับเพิ่มขึ้นสูง ขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคกลับลดลง

แต่ ณัฐวุฒิ เชื่อว่า เรียลดีมานด์ของรถยนต์...ยังมีอีกมาก

เฉพาะยอดการผลิตรถยนต์ในประเทศปีนี้ จะยังคงเติบโตมากถึง 1.2 ล้านคัน และกว่า 40% ของรถยนต์สำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศเป็นการผลิตเพื่อส่งออก เพราะฉะนั้น แม้ยอดขายรถยนต์ในประเทศอาจลดลง แต่ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของบริษัทเท่าไรนัก

ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของเรา ยังเป็นการผลิตเพื่อส่งออกโดยตรงมากกว่า 20%

ในมุมมองของ ณัฐวุฒิ เชื่อว่า ราคาหุ้น KPN ในปัจจุบันยังถือว่า ถูกมาก เนื่องจากบริษัทมีมูลค่าทางบัญชีถึง 840 ล้านบาท แต่ราคาปัจจุบัน (ประมาณ 14.70 บาท) ยังเทรดไม่ถึงไม่ถึง 2 เท่าของมูลค่าทางบัญชีของบริษัทเสียด้วยซ้ำ

และที่ผ่านมา กองทุนต่างชาติ หลายแห่งก็ยังให้ความสนใจ และสะสมหุ้น KPN เข้าพอร์ตแล้วรวมทั้งสิ้น 5.41% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

ล่าสุด หลังจากเราออกไปโรดโชว์ที่สิงคโปร์ ก็ยังมีนักลงทุนต่างชาติติดต่อเข้ามาเป็นระยะ แม้มาร์เก็ตแคปของเราจะเล็กประมาณ 1,500 ล้านบาท ก็ตาม

การที่ราคาหุ้นของเราตกต่ำขนาดนี้ อาจเพราะถูกต่างชาติ กดราคา เพื่อไล่เก็บของถูกก็เป็นได้ เพราะปัจจุบันหุ้น KPN ถือเป็นหุ้นขนาดเล็ก ...หากกวาดซื้อรวดเดียวราคาหุ้นก็มีโอกาสขยับขึ้นเร็ว ...การเข้าไปเก็บจึงต้องระวัง

นอกจากนี้ กองทุนต่างชาติที่มาเยี่ยม ส่วนใหญ่ยืนยันว่า...เขาจะยังไม่ขายหุ้นออกไป มีแต่จะทยอยเก็บเพิ่ม เพียงแต่ถ้าเก็บเร็วราคามันขึ้น

ส่วนทิศทางการขยายตัวของบริษัทนั้น ณัฐวุฒิ อธิบายว่า บริษัทยังคงเน้นการส่งออกเป็นหลัก...และจะให้น้ำหนักตรงนี้มากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา บริษัทประสบความสำเร็จในการเปิดตลาดไปสู่ต่างประเทศ

โดยเฉพาะการที่ บ.ดาน่า ออสเตรเลีย (ลูกค้าใหม่) ที่ KPN เพิ่งได้รับออเดอร์มาในปีนี้ และจะทำให้บริษัทสามารถขยายตลาดไปสู่ เมืองจีน และ แอฟริกาใต้

ปีหน้าเราจะมีคำสั่งซื้อ Forging เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับปี 2548 ที่มีคำสั่งซื้อประมาณ 300 ล้านบาท

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายตลาดใหม่ไปสู่ เยอรมนี และ อเมริกาเหนือ โดยคาดว่าส่งสินค้าได้ช่วงต้นปีหน้า แม้มูลค่าออเดอร์จะยังไม่มากเท่ากับ บ.ดาน่า ก็ตาม

แต่ KPN ก็ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในโอกาสที่จะขยายตลาดต่างประเทศ

ซึ่งขณะนี้ แม้บริษัทมีฐานลูกค้ารายใหญ่ รวม 10 ราย แต่เป็นการขายให้เพียง 30% เท่านั้น

เพราะฉะนั้น สัดส่วนการส่งออกของบริษัทในปีหน้า (2549) ของบริษัทจะเปลี่ยนไป โดยเพิ่มจาก 25% เป็น 30% และตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า เราจะต้องมีสัดส่วนการส่งออกให้ได้ถึง 50%

เราเน้นนโยบายการขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ...ในเชิงรุก เพราะต้องการอัพตัวเองไปสู่การเป็นผู้ส่งออกชิ้นส่วนระดับโลก ที่สำคัญ การขยายฐานลูกค้าออกไปมากเท่าไร ก็จะยิ่งทำให้บริษัทลดอัตราเสี่ยงจากการพึ่งพิงฐานลูกค้ารายใหญ่เพียงไม่กี่ราย

ปีนี้เรามีออเดอร์ที่สูง เราจึงจำเป็นต้องขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก โดยปัจจุบันกำลังการผลิต Forging อยู่ที่ 22,000 ตัน ซึ่งเป็นการขยายกำลังจากปีที่แล้ว 18,000 ตัน ...แต่ในปลายปี เราจะขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 25,000 ตัน

โดยคาดว่าปีนี้ ชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูปจะสามารถทำรายได้รวมถึง 1,200 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ทางบริษัทยังอยู่ระหว่างการศึกษางบประมาณในการขยายการลงทุนในเครื่องจักรภายในไตรมาส 4 ปีนี้ สำหรับผลิตลวดลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นส่วนโลหะขึ้นรูป จากกำลังการผลิต 4,000 ตัน เพิ่มเป็น 6,000 ตัน

โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณไม่เกิน 150 ล้านบาท [/color:e787cbeef2">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com