April 29, 2024   5:33:45 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > วิเคราะห์หุ้น
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 11/08/2008 @ 08:32:22
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

Distributor - Bisnews AFE

4-8 สิงหาคม 2551

* ภาวะตลาดทุน

ตลาดหุ้นไทย "ดัชนี SET ปิดสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์"
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปิดที่ 690.70 จุด ปรับตัวขึ้น 1.77% จาก 678.66 จุดในสัปดาห์ก่อน แต่ร่วงลง 19.51% จากสิ้นปี 2550 ขณะที่มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสัปดาห์เพิ่มขึ้น 63.69% จาก
48,835.24 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 80,055.03 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันที่เพิ่มขึ้นจาก 9,767.05 ล้านบาทในสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 16,011.01 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์
MAI ปิดที่ 250.52 จุด ขยับขึ้น 3.92% จาก 241.06 จุดในสัปดาห์ก่อน แต่ร่วงลง 8.02% จากสิ้นปีก่อน โดยนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนรายย่อยขายสุทธิที่ 3,133.49 ล้านบาท และ 130.38 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิที่ 3,263.88 ล้านบาท

ในช่วงต้นสัปดาห์ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากปัจจัยการเมืองในประเทศ รวมทั้งความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และแนวโน้มราคาน้ำมันที่ผันผวนทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน หลังจากนั้น ดัชนีฟื้นตัวขึ้นได้ในช่วงกลางสัปดาห์จากแรงซื้อเก็งกำไร ก่อนจะร่วงลงท้ายสัปดาห์ โดยในวันจันทร์ที่
ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลงเล็กน้อย หลังเคลื่อนไหวในกรอบแคบตลอดวัน ด้วยมูลค่าการซื้อขายไม่ถึง 6 พันล้านบาท ซึ่งต่ำสุดในรอบกว่า 16 เดือน ท่ามกลางแรงขายในหุ้นกลุ่มแบงก์และอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่มี
แรงซื้อหุ้นปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ซึ่งช่วยพยุงตลาดไม่ให้ปรับลงมากนัก อย่างไรก็ตาม ดัชนีปรับตัวลงต่อในวันอังคาร ตามทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศที่ร่วงลง ขณะที่มีแรงเทขายหุ้นใน
กลุ่มพลังงานออกมามากจากราคาน้ำมันดิบที่ร่วงลง ส่งผลให้ดัชนีปิดที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ หลังจากนั้น ดัชนีฟื้นตัวขึ้นได้ในวันพุธ หลังได้รับแรงหนุนจากการอ่อนตัวของราคาน้ำมันที่ช่วยคลายความกังวลต่อ
แนวโน้มเงินเฟ้อ โดยหุ้นในกลุ่มแบงก์เพิ่มขึ้นกว่า 3% ตามด้วยกลุ่มขนส่ง อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และ
เทคโนโลยี ส่วนในวันพฤหัสบดี ดัชนีทะยานขึ้น และปิดที่ระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ด้วยมูลค่าการซื้อขาย
หนาแน่น และสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน หลังการกลับเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติในวันพุธ นอกจากนี้ ยัง
ได้รับแรงหนุนจากกระแสเงินลงทุนระยะสั้นที่เข้าเก็งกำไรในตลาดหุ้นหลังผลตอบแทนจากสินค้าโภคภัณฑ์มี
แนวโน้มให้ผลตอบแทนลดลง ขณะที่มีแรงซื้อหุ้นเข้ามาทุกกลุ่ม นำโดยแรงซื้อในกลุ่มพลังงานและแบงก์ ตาม
ด้วยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยี ขนส่ง และวัสดุก่อสร้าง ส่วนในวันศุกร์ ดัชนีปรับตัวลดลง จากแรง
ขายทำกำไร หลังดัชนีดีดตัวขึ้นแรงในวันก่อนหน้า โดยมีแรงเทขายนำหุ้นในกลุ่มพลังงาน และแบงก์ ตาม
ด้วยอสังหาริมทรัพย์ เทคโนโลยี วัสดุก่อสร้าง และสื่อและสิ่งพิมพ์

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ (11-15 สิงหาคม 2551) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยและบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีน่าจะปรับตัวขึ้นต่อ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยลบใหม่ๆ เข้ามา ขณะเดียวกันน่า
จะมีแรงซื้อเก็งกำไรผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนต่อเนื่องในสัปดาห์นี้ โดยปัจจัยที่ต้องจับตาได้แก่ พ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ส.ค. และแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้ง
ประเด็นทางการเมือง ส่วนปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การปรับตัวของตลาดหุ้นในภูมิภาค และการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะ
มีแนวรับที่ 680 จุด และแนวต้านคาดว่าจะอยู่ที่ 722 และ 737 ตามลำดับ

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ "ดัชนี DJIA ปรับตัวผันผวน"
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม 2551 ดัชนี DJIA ปิดที่ 11,431.43 จุด ปรับตัวขึ้น 0.93% เมื่อ
เทียบกับ 11,326.32 จุดเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน แต่ร่วงลง 13.82% จากสิ้นปีก่อน ขณะที่ดัชนี NASDAQ ปิด
ที่ 2,355.73 จุด ปรับตัวขึ้น 1.94% เมื่อเทียบกับ 2,310.96 จุดปลายสัปดาห์ก่อน แต่ร่วงลง 11.18% จากสิ้นปีก่อนหน้า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดปรับตัวลงในวันจันทร์ โดยหุ้นในกลุ่มพลังงานและกลุ่มที่เกี่ยวกับสินค้า
โภคภัณฑ์ร่วงลงตามราคาน้ำมันและโลหะ ขณะที่นักลงทุนวิตกว่าการทรุดตัวของตลาดที่อยู่อาศัยอาจทำให้บริษัทด้านการเงินประสบภาวะขาดทุนมากขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ดัชนี DJIA พุ่งขึ้นในวันอังคาร หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า ยังไม่รีบร้อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมันยังคงร่วงลงต่อไป ซึ่งหนุนดัชนีดาวโจนส์ และดัชนี S&P พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน โดยหุ้นกลุ่มการเงิน
พุ่งขึ้น นำโดยหุ้นอเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป (AIG) หลัง UBS ปรับเพิ่มอันดับความน่าลงทุนหุ้น AIG จาก "ลงทุนปานกลาง" เป็น "ซื้อ" โดยระบุว่า AIG อยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งในการดูดซับภาวะขาดทุน และไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน ขณะที่ ดัชนี DJIA ปรับตัวขึ้นต่อในวันพุธ หลังได้รับแรงหนุนจากการร่วงลงของราคาน้ำมันและแนวโน้มผลประกอบการที่สดใสจากบริษัทซิสโก ซิสเทมส์ ได้ช่วยบดบังความวิตกเกี่ยวกับ
ภาวะสินเชื่อ หลังจากนั้น ดัชนี DJIA ร่วงลงในวันพฤหัสบดี หลังการเปิดเผยยอดขาดทุนที่ระดับสูงจากบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป (AIG) ได้ทำให้เกิดความวิตกเกี่ยวกับผลกระทบจาก
วิกฤตการณ์สินเชื่อ ขณะที่การคาดการณ์ยอดขายอย่างระมัดระวังของวอลล์-มาร์ท ได้เพิ่มความวิตกเกี่ยวกับการใช้จ่ายของผู้บริโภค

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น "ดัชนี NIKKEI ปรับตัวขึ้นหลังคลายความกังวลเงินเฟ้อ "
เมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2551 ดัชนี NIKKEI ปิดที่ 13,168.41 จุด ปรับตัวขึ้น 0.56% จากปิดตลาดที่ 13,094.59 จุด เมื่อสัปดาห์ก่อน แต่ร่วงลง 13.98% จากสิ้นปีที่ผ่านมา โดยในวันจันทร์ที่ผ่านมา
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปิดปรับตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยหุ้นกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ร่วงลงจากตัวเลขยอดขายในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 16 ปีในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนี NIKKEI ปรับตัว
ลงต่อในวันอังคาร ตามทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นเอเชีย โดยหุ้นกลุ่มเทรดดิ้งเฮาส์ เช่น หุ้นมิตซูบิชิ คอร์ป ได้รับผลกระทบจากราคาโลหะและน้ำมันที่ปรับตัวลง หลังจากนั้น ดัชนี NIKKEI ทะยานขึ้นในวันพุธ นำโดยหุ้นแคนนอน อิงค์ และหุ้นกลุ่มส่งออกที่ปรับตัวขึ้นหลังการร่วงลงอย่างหนักของราคาน้ำมันได้ช่วยผ่อนคลาย
ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าไม่รีบร้อนที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังจากนั้น ดัชนี NIKKEI ปรับตัวลงในวันพฤหัสบดี จากภาวะซบเซาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและแนว
โน้มผลประกอบการ โดยหุ้นกลุ่มแบงก์ร่วงลง หลังธนาคารสหรัฐฯ ยังคงรายงานผลประกอบการที่น่าผิดหวัง ส่วนในวันศุกร์ ดัชนี NIKKEI ฟื้นตัวขึ้นหลังร่วงลงในช่วงเช้า นำโดยหุ้นกลุ่มส่งออก เช่น หุ้นแคนนอน อิงค์
ที่ดีดตัวขึ้นจากการอ่อนค่าลงของเงินเยนเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ

:lol:

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 11/08/2008 @ 08:33:32 :
.--รอยเตอร์


ดัชนีตลาดหุ้นไทย(SET Index)สัปดาห์นี้ มีแนวโน้มแกว่งตัวผันผวน และมีทิศทางที่จะปรับ

ตัวลง โดยมองการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นสหรัฐ จะยังเป็นปัจจัยที่ชี้นำตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ ขณะที่

ปัจจัยการเมืองในประเทศ กรณีที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ยังเป็นปัจจัยที่กดดันตลาด

นักวิเคราะห์ มองว่าการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/51 ของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)

ทำให้นักลงทุนเลือกที่จะเล่นหุ้นเป็นรายตัว ทำให้ตลาดแกว่งตัวในกรอบที่จำกัด โดยสัปดาห์นี้ตลาดจะ

เคลื่อนไหวในกรอบ 670-720

เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ส.ค. ดัชนีหุ้นไทย ปิดที่ 690.70 จุด เพิ่มขึ้น 1.77% จากระดับปิด

เมื่อวันที่ 1 ส.ค.ซึ่งอยู่ที่ 678.66 จุด ขณะที่ตลอดสัปดาห์นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3.13 พันล้านบาท

"ตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ มีโอกาสผันผวน แต่มีแนวโน้มในทางปรับลงมากกว่าขึ้น" นายโกสินทร์

ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน(ประเทศไทย) กล่าว

เขา มองว่า ในสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นไทยจะแกว่งในกรอบที่มีแนวรับ 675 และ 670 ส่วน

แนวต้าน จะอยู่ที่ 705 และ 710 โดยปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อตลาด มาจากปัจจัยจากต่างประเทศ เช่น

ทิศทางตลาดหุ้นสหรัฐ ส่วนปัจจัยในประเทศ ยังเป็นสถานการณ์การเมือง

สำหรับปัจจัยจากต่างประเทศนั้น เชื่อว่าในช่วงต้นสัปดาห์ตลาดหุ้นสหรัฐ อาจมีทิศทางที่แกว่งตัวลง

เนื่องจากนักลงทุนความกังวลต่อปัญหาซับไพร์ม ซึ่งคาดกันว่ายังมีผลกระทบต่อสถาบันการเงินของสหรัฐ

ต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาส 3/51 และมีการคาดการณ์ว่า อาจมีสถาบันการเงินของสหรัฐได้รับความเสียหาย

และอาจล้มละลายมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ ตลาดหุ้นสหรัฐจะได้รับแรงหนุนจากการประกาศตัวเลข

ทางเศรษฐกิจหลายตัวประจำเดือนก.ค.และส.ค. เช่น ยอดค้าปลีก ดัชนีความเชื่อมั่น และเงินทุนไหลเข้า

ซึ่งคาดการณ์ว่า ตัวเลขส่วนใหญ่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดังนั้นช่วงกลางสัปดาห์เป็นต้นไป ตลาดหุ้น

ไทย ก็อาจได้รับปัจจัยบวกจากตลาดหุ้นสหรัฐ

นายโกสินทร์ กล่าวถึงปัจจัยการเมืองในประเทศ ว่า ประเด็นหลักต้องดูเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ซึ่งหากรัฐบาลยังเดินหน้าที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ต้องดูว่าจะมีการแก้ไขมาตราใดบ้าง ซึ่งเชื่อว่าหากเดินหน้า

เรื่องแก้รัฐธรรมนูญ กระแสการคัดค้านก็ต้องเกิดขึ้น ซึ่งก็จะเป็นตัวแปรหลักอย่างหนึ่งที่กดดันตลาด

ขณะที่กรณีข่าวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะลี้ภัยไปต่างประเทศ และไม่เดินทาง

กลับมาไทยนั้นมองว่า หากเป็นไปตามข่าวลือก่อนหน้านี้ คือไม่กลับมา ก็เป็นไปได้ว่าจะช่วยลดความร้อนแรง

ของสถานการณ์การเมืองในประเทศได้บ้าง แต่หากไม่เป็นไปตามข่าวลือ ก็คงให้ความกังวลเรื่องปัญหา

การเมืองมีมากขึ้นได้เช่นกัน

วานนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยามีกำหนดการเดินทางกลับไทย หลังจากที่

ได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้เดินทางออกนอกประเทศได้

หลังจากนั้นบุคคลทั้งสองจะต้องกลับมารายงานตัวต่อศาลฎีกาฯ ในวันที่ 11 ส.ค.

นายพิชัย เลิศสุพงศ์กิจ ผู้อำนวยการ ฝ่ายอาวุโสฝ่ายการตลาดลูกค้าบุคคล 15 บล. ธนชาต

กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ มีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ อดีตนายกรัฐมนตรีเดินทางกลับไทยหรือไม่

และผลประกอบการไตรมาส 2/51 ของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ที่ประกาศออกมา

"คงเป็นลักษณะการเลือกเล่นเป็นรายตัว ถ้า inline ก็ไม่มีอะไร แต่ถ้าดีกว่าคาด ราคา

หุ้นก็จะตอบสนองในทางบวก"นายพิชัย กล่าว

นอกจากนี้ ยังต้องติดตามดูปัจจัยจากต่างประเทศ คือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก หากปรับลง

ต่อเนื่อง ก็จะช่วยลดแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อ รวมทั้งยังต้องติดตามปัญหาซับไพร์มในสหรัฐด้วย ซึ่งจะมีผล

ต่อตลาดหุ้นสหรัฐ และกระทบตลาดหุ้นในภูมิภาค

"ความผันผวนของตลาดในสัปดาห์นี้ยังมี ระยะสั้นแนวต้านหลักยังเป็นระดับ 700...การ

รีบาวด์ระยะสั้นอาจมีบ้าง แต่โดยรวมมองว่ามีโอกาสปรับลงอยู่" นายพิชัย กล่าว

เขาให้กรอบการเคลื่อนไหวของหุ้นไทยสัปดาห์นี้ โดยมีแนวรับที่ 680 แนวต้าน 700


**มีโอกาสปรับขึ้น


นายอภิศักดิ์ ลิมป์ธำรงกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.นครหลวงไทย มองว่า ตลาดหุ้น

ไทยสัปดาห์นี้ มีโอกาสปรับขึ้น เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาหุ้นไทยปรับลงมามาก และราคาหุ้นอยู่ในระดับ

ที่ต่ำมาก จึงเชื่อว่าจะมีแรงซื้อทยอยเข้ามาเก็บหุ้น

นอกจากนี้ ยังมองว่าการที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับลง และมีแนวโน้มอ่อนตัวลงต่อเนื่อง

จะช่วยลดความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ และทำให้ต้นทุนพลังงานของผู้ประกอบการลดลง ซึ่งถือเป็นปัจจัยบวก

โดยสัปดาห์หน้า หุ้นไทยมีแนวรับที่ 680 ส่วนแนวต้าน 720


ปัจจัยที่น่าจับตา

วันที่ 11 ส.ค.-KASET พบผู้ลงทุน เวลา 11.00 น.

-กบข.ลงนามการลงทุนในกองทุน เวลา 13.30 น.

วันที่ 13 ส.ค.-QH พบผู้ลงทุน เวลา 9.00 น.

-TRC พบผู้ลงทุน เวลา 11.00 น.

-UMS พบผู้ลงทุน เวลา 13.30 น.

-NMG พบผู้ลงทุน เวลา 15.30 น.

-CSL แถลงงบ Q2/51 เวลา 14.30 น.

วันที่ 14 ส.ค.-THCOM แถลงงบ Q2/51 เวลา 10.30 น.

-KASET แถลงแผนการตลาด เวลา 10.00 น.

-BANPU แถลงงบ Q2/51 เวลา 14.00 น.

วันที่ 15 ส.ค.-TICON พบผู้ลงทุน เวลา 9.00 น.

-ILINK พบผู้ลงทุน เวลา 13.30 น.

-CCET พบผู้ลงทุน เวลา15.30 น.

-PF พบผู้ลงทุน เวลา 11.00 น.--จบ--


:lol:
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com