April 29, 2024   2:20:53 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > 5 อันดับกลุ่มแบงค์ที่กำไรสุทธิสูงสุดในไตรมาสแรก
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 23/04/2008 @ 12:56:36
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

นับเป็นเรื่องน่ายินดียิ่งสำหรับผลประกอบการไตรมาสแรกกลุ่มแบงก์ หลังผลการสำรวจกำไรสุทธิไตรมาสแรก สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 พบว่าประสิทธิภาพในการทำกำไรของหุ้นกลุ่มดังกล่าวดีขึ้น และส่งผลให้กำไรต่อหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจน

โดยเฉพาะแบงก์เล็กที่มีทีเด็ดไม่แพ้แบงก์ ใหญ่อย่าง SCIB หรือ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งสามารถทำกำไรสุทธิสูงถึง 1,334.02 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2550 ระดับ 204.59 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรต่อหุ้น 0.63 บาท จากเดิม 0.10 บาท หรือกำไรต่อหุ้นพุ่งขึ้น 530% เนื่องจาก SCIB ได้รับปัจจัยหนุนจากการบันทึกกำไรขายธุรกิจนอนคอร์กว่า 360 ล้านบาท หลังคณะกรรมการของแบงก์มีมติให้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก(นอนคอร์)ออกไป ซึ่งในช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมาธนาคารก็ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทเอส.เอ.เอส.เทรดดิ้ง จำกัดและบริษัทภาคใต้เชื้อเพลิง

โดยในส่วนของบริษัทเอส.เอ.เอส.เทรดดิ้ง ธนาคารได้ขายหุ้นออกไปจำนวน 39.246 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 34.18% ในราคา 208.005 ล้านบาท ขณะที่บริษัทภาคใต้เชื้อเพลิงขายออกไปจำนวน 37.546 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 30.04% ในราคา 154.317 ล้านบาท ซึ่งการขายทั้งสองรายการสามารถบันทึกเป็นกำไรได้ทันที เนื่องจากธนาคารได้หุ้นของทั้งสองบริษัทมาจากการปรับโครงสร้างหนี้

นอกจากนี้ปี 2551 ธนาคารมีเป้าหมายสร้างกำไรจากธุรกิจรายย่อยให้อยู่ที่ 1,250 ล้านบาท หรือเติบโต 25% จากปี 2549 แบ่งเป็นรายได้จากค่าธรรมเนียม 250-300 ล้านบาท และรายได้ดอกเบี้ย 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากผลิตภัณฑ์สินเชื่อบุคคลมากสุด ส่วนรายได้จากธุรกิจบัตรเครดิตน่าจะชะลอลงเนื่องจากธุรกิจบัตรเครดิตในปีนี้เชื่อว่าจะชะลอลงและการแข่งขันในการให้บริการยังมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 2 TMB หรือธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) แบงก์ที่หลายๆ คนมองว่าขี้โรค ซึ่งกลับมาโดดเด่นอีกครั้ง หลังการปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารเสร็จสิ้นลง โดยส่งผลให้ไตรมาสนี้มีกำไรสุทธิสูงถึง 1,590.10 ล้านบาท จากช่วงปีที่แล้ว 220.16 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรต่อหุ้น 0.04 บาท จากเดิม 0.01 บาท

กำไรสุทธิที่ปรับตัวขึ้นดังกล่าวเป็นผลมาจาก การเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 330 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการบริหารจัดการด้านเงินฝาก และเงินให้สินเชื่อ โดยเน้นการปรับโครงสร้างของเงินฝาก โดยเพิ่มสัดส่วนเงินฝากกระแสรายวันและเงินฝากออมทรัพย์เป็นร้อยละ 40 ในไตรมาส 1 ปี 2551 จากร้อยละ 30 ในไตรมาส 1 ปี 2550

ประกอบธนาคารตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญลดลง 409 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารและบริษัทย่อยได้ตั้งสำรองตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อรองรับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS 39) ครบถ้วนแล้วตั้งแต่สิ้นปี 2550

อีกทั้งธนาคารได้รับปัจจัยบวกจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 230 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียม และกำไรจากเงินลงทุน

รวมถึงการลดลงของค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 449 ล้านบาท เนื่องจากธนาคารและบริษัทย่อยได้มีการตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจจะเกิดจากการขายสินทรัพย์ให้ บสท. อย่างเหมาะสม จึงไม่ต้องตั้งสำรองดังกล่าวเพิ่มเติมในไตรมาส 1 ปี 2551 และธนาคารได้ตัดจำหน่ายค่าความนิยมจากการควบรวมกิจการกับธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ และบรรษัทฯ ทั้งหมดในไตรมาส 2ปี 2550 จึงไม่ต้องตัดจำหน่ายค่าความนิยมดังกล่าว

อันดับ 3 SCB หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นอีกธนาคารระดับแนวหน้าของไทยที่มีประสิทธิภาพในการทำกำไรได้ไม่เป็นรองใคร โดยในไตรมาสมีกำไรสุทธิ 6,787 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,088 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 83.49% จากจำนวน 3,699 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 2.00 บาท จากเดิม 1.09 บาท

เนื่องจากการเติบโตอย่างมากของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จากรายได้ค่าธรรมเนียมและกำไรจากเงินลงทุน ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากต้นทุนเงินฝากที่ลดลงและการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลจากเงินลงทุน นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายดำเนินงานค่อนข้างทรงตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 2,763 ล้านบาทหรือร้อยละ 68.7 จากการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย รวมถึงกำไรจากเงินลงทุน และการลดลงของค่าใช้จ่ายดำเนินงาน

อันดับ 4 KK หรือ ธนาคารเกีรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นธนาคารจิ๋วแต่แจ๋ว จากฝีมือแนวทางการดำเนินงานที่ผ่านมาสามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะงวดนี้ที่มีกำไรพุ่งขึ้นถึง 452.70 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่ระดับ 301.56 บาท ส่งผลให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 0.87 บาท จากเดิม 0.58 บาท หรือคิดเป็น 50%

เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของธนาคารและบริษัทยังคงมุ่งเน้นใน 5 ธุรกิจหลักอันได้แก่ สินเชื่อ เช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย สินเชื่อธุรกิจการบริหารเงินลงทุนในสิทธิเรียกร้องและทรัพย์สินรอการขาย และธุรกิจหลักทรัพย์

ขณะที่ธุรกิจสินเชื่อของธนาคารเติบโตร้อยละ 8.7 ในไตรมาส 1 ปี 2551 โดยมียอดสินเชื่อรวม 71,386 ล้านบาท ทั้งนี้ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เติบโตถึงร้อยละ 14.5 โดยเป็นผลมาจากการที่ธนาคารเพิ่มเจ้าหน้าที่การตลาดและเปิดสาขาเพิ่ม 8 สาขาในปี 2550 รวมทั้งยอดขายรถยนต์ใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2551 โดยมียอดขายรวม 94,687 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2550

ประกอบกับในไตรมาสนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยได้บริหารจัดการเงินลงทุนในสิทธิเรียกร้องสุทธิลดลงร้อยละ 5.1 ทำให้เหลือเงินลงทุนในสิทธิเรียกร้องสุทธิ 6,526 ล้านบาท

โดยส่วนหนึ่งมีการตีทรัพย์ชำระหนี้ส่งผลให้ทรัพย์สินรอการขายสุทธิของธนาคารและบริษัทย่อยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมียอด ณ สิ้นไตรมาสจำนวน 9,322 ล้านบาท

อันดับ 5 TISCO หรือ ธนาคาร ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) กำไรปรับตัวเพิ่มขึ้น 429.08 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ 355.84 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรต่อหุ้น 0.53 บาท จากเดิม 0.43 บาท หรือคิดเป็น 23.26%

ทั้งนี้กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากธนาคารสามารถเพิ่มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของเงินให้สินเชื่อจากร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 4.0 จากความสามารถในการปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ และหนี้สิน ให้สอดคล้องกับภาวะอัตราดอกเบี้ย

โดยธนาคารมีกลยุทธ์ในการขยายตัวในธุรกิจสินเชื่อที่มีผลตอบแทนสูง ภายใต้การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี ในขณะที่ต้นทุนเงินทุนลดลง จากการขยายฐานเงินฝากลูกค้ารายย่อยผ่านการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากซึ่งหลากหลายตรงกับความต้องการของลูกค้า

ประกอบกับในไตรมาสนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย จำนวน 565.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วจำนวน 64.78 ล้านบาท (ร้อยละ 12.9)

จากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากธุรกิจจัดการกองทุนเพิ่มขึ้นจำนวน 34.08 ล้านบาท (ร้อยละ

44.3) ตามการเติบโตอย่างมากของสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร

นอกจากนี้ รายได้จากธุรกิจธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น จากธุรกิจประกันชีวิตธนกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องจากการร่วมมือกับบริษัทอเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์

จำกัด (ประเทศไทย)

อย่างไรก็ตามแม้แบงก์ที่มีกำไรสุทธิปรับตัวขึ้นติด 5 อันดับแรก จะไม่ใช่ธนาคารใหญ่ระดับแนวหน้าของไทย แต่ในที่นี้ BBL หรือธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แบงก์ใหญ่อันดับหนึ่งของกลุ่ม ก็ยังคงความแข็งแกร่งในด้านการทำกำไรได้ต่อเนื่อง ด้วยกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 21.40% มาอยู่ที่ระดับ 5,603.44 ล้านบาท จากช่วงปีที่แล้วอยู่ที่ 4,662.63 ล้านบาท หรือมีกำไรต่อหุ้น 2.95 บาท จากเดิม 2.43 บาท

เป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้นหลายด้านของธนาคาร โดยเฉพาะรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อและจากต้นทุนเงินฝากที่ลดลง และมีรายได้ค่าธรรมเนียมและกำไรจากการปริวรรตเงินตราที่สูงขึ้น ในขณะที่ธนาคารสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้พอสมควร ขณะที่ KBANK หรือ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) อีกหนึ่งแบงก์ใหญ่ที่ยังคงความสดใสในเรื่องการทำกำไรและการบริการที่เป็นเลิศเสมอมา ขณะที่กำไรสุทธิงวดนี้เพิ่มขึ้น 14.20% มาอยู่ที่ระดับ 4,437.93 ล้านบาท จากช่วงปีที่แล้ว 33,876.79 ล้านบาท

หรือมีกำไรต่อหุ้น 1.85 บาท จากเดิม1.62 บาท

ทั้งนี้ BT หรือ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ถือเป็นธนาคารที่ประสบผลขาดทุน 1,678.67 ล้านบาท จากช่วงปีที่แล้วมีกำไรสุทธิ 558.60 บาท

เนื่องจากผลประกอบการถูกกระทบจากรายการพิเศษ ทำให้ต้องตั้งสำรองจำนวน 2,006 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ใช้วิธี Markto Market ตามราคาของผู้จัดหา ที่ธนาคารได้ใช้ราคาดังกล่าวมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม ผลขาดทุนจากการตีราคาเงินลงทุน CDO ดังกล่าว หากราคาMark to

Market จากผู้จัดหากลับดีขึ้น ธนาคารก็สามารถกลับรายการสำรองฯ ดังกล่าวเป็นรายได้

เหล่านี้คือประสิทธิภาพการดำเนินงานไตรมาสแรกของกลุ่มแบงก์ ซึ่งผลที่ได้ออกมาดีตามคาดไว้เกือบทุกธนาคาร และมีแนวโน้มว่าจะเบิกบานไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งปี นี่จึงเป็นหุ้นกลุ่มิที่น่าลงทุนมากสุดในปีนี้ก็ว่าได้

:lol:

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com