May 18, 2024   4:41:14 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ทางเบี่ยง "เนาวรัตน์ฯ" ทางถอย "กรรณสูต
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 30/06/2007 @ 20:57:44
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

"ปีนี้ เนาวรัตน์ฯคงประสบภาวะขาดทุนราว 500 ล้านบาท (ปี 2549 ขาดทุน 113 ล้านบาท) หลังไตรมาส 1 ออกสตาร์ทด้วยตัวเลขขาดทุนไปแล้ว 475 ล้านบาท


สัญญาณแห่งความตกต่ำของ ?เนาวรัตน์พัฒนาการ? มาถึงขีดสุด เมื่อ "ตระกูลกรรณสูต" ตัดสินใจแตกธุรกิจเป็น 2 เส้นทาง จากธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง มีการแตกแขนงไปทำอสังหาริมทรัพย์..ทางสายนี้ ผู้บริหารมั่นใจว่าจะเป็น New Story ของบริษัท

-----------------------------------

ที่ผ่านมา Core Business ของ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ มีเพียงธุรกิจรับเหมาก่อสร้างเท่านั้น แต่ตอนนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ หลังพิสูจน์ได้แล้วว่าผลประกอบการที่ย่ำแย่ติดต่อกัน 3 ปีซ้อน เกิดจากธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ประสบปัญหาขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง "ปสันน สวัสดิ์บุรี" รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส แผนกธุรกิจใหม่ และวางแผนกลยุทธ์ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ กล่าวกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า

?...เราปูทางสู่ขุมทองไว้แล้ว?

คำกล่าวของ "ปสันน" คนสนิทของ "ตระกูลกรรณสูต" นับว่าค่อนข้างท้าทาย

เขาบอกว่า นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป สัดส่วนรายได้ของเนาวรัตน์ฯ "จะเปลี่ยนไป" โดยจะมีรายได้เข้ามา 2 ทาง แต่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างยังเป็นตัวหลักอยู่ แต่ตัวทำกำไรจะเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

"เราตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 3-5 ปีข้างหน้า จะมีรายได้จากธุรกิจอสังหาฯ 10-20% เพราะหากมองถึงกำไรขั้นต้นจะสูงถึง 25-30% ขณะที่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง มีกำไรขั้นต้นเฉลี่ยประมาณ 10% ถือว่าต่ำมาก"

ปสันนยอมรับโดยดุษฎีว่า ปีนี้ เนาวรัตน์ฯคงประสบภาวะขาดทุนราว 500 ล้านบาท (ปี 2549 ขาดทุน 113 ล้านบาท) หลังไตรมาส 1 ออกสตาร์ทด้วยตัวเลขขาดทุนไปแล้ว 475 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ก็ได้ปรับเป้ารับงานใหม่จาก 5,000 ล้านบาท เหลือ 3,200 ล้านบาท เพราะสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจยังไม่มีความชัดเจน

?ในปีนี้ เราจะรับรู้รายได้จาก Backlog ที่มีอยู่ในมือ 7,000 ล้านบาท (ต้นปี มี Backlog 8,000 ล้านบาท) ส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างถนน ทางด่วน สะพาน 59% และอีก 40% เป็นงานโครงสร้างแนวสูง เช่น อาคารสูง และโรงงาน ส่วนที่เหลือ 1% เป็นงานประเภทอื่นๆ?

สำหรับแผนการที่จะทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้บริหารรายนี้อธิบายว่า จะทำเป็นลำดับขั้น โดยช่วงแรกจะร่วมมือกับพันธมิตรที่มีประสบการณ์ก่อน ขณะนี้มีโครงการที่ทำในนาม "กิจการร่วมค้า" 3 แห่ง คือ โครงการหมู่บ้านริมทะเล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จำนวน 74 หลัง ราคาขาย 7.5-15 ล้านบาท ซึ่งดำเนินงานในนาม บริษัท วีเอสพีเอ็น พร็อพเพอร์ตี้ ที่มีเนาวรัตน์ฯ ถือหุ้น 25% ล่าสุดมียอดขายแล้วกว่า 500 ล้านบาท (จะเริ่มรับรู้รายได้ปี 2551)

นอกจากนี้ ยังมีโครงการวิลล่า สมุย จำนวน 28-45 ยูนิต ราคาขาย 1-3 ล้านเหรียญสหรัฐ โครงการนี้ร่วมลงทุนกับนักธุรกิจในพื้นที่ โดยเนาวรัตน์ฯ ถือหุ้น 87% คาดว่าจะเปิดจองได้ปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า อาจใช้เวลาในการขาย 2-3 ปี ล่าสุดอยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบ (จะเริ่มรับรู้รายได้ปี 2552)

อีกโครงการคือ คอนโดมิเนียม ดิ อิสสระ ลาดพร้าว สูง 51 ชั้น จำนวน 567 ยูนิต ราคาขายเริ่มต้น 65,500 บาทต่อตารางเมตร มูลค่าโครงการ 1,868 ล้านบาท ดำเนินงานโดย บริษัท ซี.ไอ.เอ็น.เอสเตท ร่วมทุนระหว่างเนาวรัตน์ฯ 40% และ บมจ.ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ 60%

ล่าสุด โครงการนี้มียอดขายแล้ว 180-200 ล้านบาท หรือประมาณ 10% คาดว่าจะเปิดขายอย่างเป็นทางการ วันที่ 6-8 กรกฎาคม นี้ ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน (จะเริ่มรับรู้รายได้ในปี 2553)

"อยากให้ผู้ถือหุ้นอดใจรออีกนิด ยังไงเรามีเงินปันผลให้ชื่นใจแน่ เพราะภายใน 2 ปี เรามีแผนจะล้างขาดทุนสะสม (จำนวน 789 ล้านบาท) จากผลการดำเนินงาน"

ปสันนมั่นใจว่า ภายหลังได้รัฐบาลชุดใหม่ เนาวรัตน์ฯ อาจได้รับงานภาครัฐมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีงานในส่วนนี้เพียง 30% ถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับในอดีตที่เคยได้รับงานภาครัฐสูงถึง 80% และตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป บริษัทมีแผนรุกงานในต่างประเทศมากขึ้น เช่น ในแถบแอฟริกา และตะวันออกกลาง เพราะงานในต่างประเทศมีกำไรขั้นต้นสูงกว่าที่ประมาณ 15-20%

"วันนี้เรามีงานต่างประเทศที่ยังไม่เซ็นสัญญา 1 งาน คือ โครงการในประเทศเวียดนาม มูลค่า 335 ล้านบาท ขณะที่งานในประเทศก็มีงานก่อสร้างเขื่อนมูลค่า 444 ล้านบาท และงานบ้านเอื้ออาทร มูลค่า 416 ล้านบาท (คิดเป็น 20,000 หน่วย คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จภายใน 2 ปีข้างหน้า) ส่วนโครงการที่มีโอกาสได้รับงานสูง ได้แก่ โครงการของการประปาส่วนภูมิภาค มูลค่า 1,500 ล้านบาท คาดว่าจะยื่นประมูลในอีก 1-2 เดือนข้างหน้า"

ส่วนโครงการที่มีแววว่าจะชนะการประมูลเพียงระดับ "ปานกลาง-สูง" ได้แก่ โครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย กรุงเทพฯ มูลค่า 4,500 ล้านบาท โครงการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มูลค่า 700 ล้านบาท โครงการร่วมทุนกับต่างชาติ เนาวรัตน์ฯถือหุ้น 40% และโครงการระบบไฟฟ้า สายสีแดง มูลค่า 8,000 ล้านบาท และสายสีม่วง มูลค่า 12,000 ล้านบาท จะร่วมประมูลกับ ?โอบายาชิ คอร์ปอเรชั่น? คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี

ปสันนบอกว่า วันนี้มีงานที่ยื่นประมูลแล้วเพียง 2 งานเท่านั้น คือ โครงการก่อสร้างสะพาน พนมเปญ มูลค่า 30 ล้านเหรียญ มีโอกาสได้งานในระดับ "ปานกลาง" เพราะมีคู่แข่งร่วมชิงชัย 4 ราย คาดว่าอีก 1-3 เดือนข้างหน้าจะสรุปได้ ขณะเดียวกันยังมีงานก่อสร้างถัง LPG จำนวน 2 ถัง ประเทศเกาหลี ซึ่งบริษัทเป็นผู้รับเหมาช่วง ให้ บมจ.ปตท.มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นงานมูลค่าขนาดเล็กๆ

------------------------------

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com