May 19, 2024   2:35:30 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > สัญญาณหุ้น
 

Puu
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 476
วันที่: 18/06/2007 @ 11:55:34
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บล.โกลเบล็กแนะนำซื้อPSราคาเป้าหมาย 8.30 บาทPS มีจุดแข็งในการผลิตที่อยู่อาศัยสำหรับลูกค้าระดับล่างที่เป็น real demand เนื่องจากมีความได้เปรียบคู่แข่งด้านต้นทุนการผลิต จากการปรับกลยุทธ์มาผลิตคอนโดมิเนียมในเมืองที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทำให้ PS ยังมีศักยภาพในการเติบโตของยอดขายและกำไรต่อเนื่องบนฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง เราคาดกำไรต่อหุ้นปีนี้จะพลิกกลับจากที่ลดลง 18%ในปีที่แล้วเป็นเติบโตราว 13% นอกจากนี้ PS มีแนวโน้มจะได้เข้าคำนวณดัชนี SET50 ในช่วงครึ่งปีหลังอีกด้วย ทำให้เรายืนยันคำแนะนำ "ซื้อ" โดยปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 8.30บาท (เดิม 7 บาท)ประเด็นสำคัญในการลงทุนยอดขาย presaleในช่วง Q2/50 มีแนวโน้มสูงเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง ในช่วงเม.ย.-พ.ค.มียอดขาย presale 2,010 ล้านบาทจากยอดขายคอนโดมิเนียม"ไอวี่-รัชดา" 650 ล้านบาท ที่เหลืออีกราว 1.3 พันล้านบาทเศษเป็นโครงการแนวราบ ยอดขายpresaleจนถึงปัจจุบันทำได้แล้ว 4.4 พันล้านบาท ทั้งนี้โครงการไอวี่-รัชดาเป็นคอนโดมิเนียมในเมืองโครงการแรกของบริษัทได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเนื่องจากอยู่ห่างสถานีรถไฟฟ้าสุทธิสารเพียง 170 ม.เริ่มเปิดขายเมื่อปลายเดือนพ.ค.ปัจจุบันมียอดขายแล้ว85% มีกำหนดโอนราวปลายปี 51 สำหรับในไตรมาส 3/50บริษัทมีแผนจะเปิดขายโครงการใหม่อีก 7 โครงการเป็นคอนโดมิเนียม "ไอวี่ ริเวอร์" 1โครงการจำนวน 1,257 ยูนิต มูลค่ารวม 2,850 ล้านบาทมีกำหนดโอนราวต้นปี 52 เราเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยขาลงจะช่วยให้ยอดขายฟื้นตัวชัดเจนในครึ่งปีหลังและมียอดขายpresale ตามเป้าหมายที่ 11,000 ล้านบาทได้ไม่ยากนัก คงประมาณการณ์ยอดขายที่จะรับรู้เป็นรายได้ปี 50 และกำไรสุทธิเท่าเดิม

บล.ซิกโก้แนะนำถือQ-CONราคาเป้าหมาย 1.97 บาทบริษัทประกาศผลขาดทุนต่อเนื่องใน 1Q07A โดยมีผลขาดทุนที่ 22 ลบ. ขาดทุนเพิ่มขึ้น 340.0% YoY เนื่องจากปัจจัยเดิมๆ ได้แก่ อัตรากำไรขั้นต้นที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเพียง 14.1%ลดลงจาก 24.1% ใน 1Q06A และ 17.1% ใน 4Q06A เพราะต้นทุนวัตถุดิบมีการปรับขึ้นราคา รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องโดยคิดเป็นสัดส่วนต่อยอดขายที่ระดับ 18.6% และภาระดอกเบี้ยจ่ายจากเงินกู้ที่นำมาลงทุนในโรงงานที่ 4 จำนวน17 ลบ. ผลจากราคาขายที่อยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาด ส่งผลให้ SSEC ทำการปรับสมมติฐานราคาขายลงมาอยู่ที่ระดับ 120 บาท/ตร.ม.หรือลดลง 11.0% จากประมาณการเดิมส่งผลให้บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิหลังปรับประมาณการที่ 82 ลบ. ขาดทุนเพิ่มขึ้น 1.8% YoY แม้ว่าบริษัทจะพยายามเพิ่มสัดส่วนการส่งออกให้มากขึ้น แต่เรามองว่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นยังคงมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อยและไม่สามารถช่วยหนุนผลประกอบการของบริษัทให้ดีขึ้นได้ขณะเดียวกันความต้องการผลิตภัณฑ์คอนกรีตมวลเบาที่ยังไม่เติบโตมากนักทำให้บริษัทไม่สามารถลดต้นทุนในการผลิตให้อยู่ในระดับที่ต่ำได้ นอกจากนี้ บริษัทยังคงมีค่าใช่จ่ายในการขายและบริหารที่อยู่ในระดับสูงคือคิดเป็นสัดส่วนต่อยอดขายที่ระดับ 21.0% เพราะบริษัทยังคงมีนโยบายที่จะขยายตลาดโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และภาระดอกเบี้ยจ่ายจากการกู้ยืมเงินเพื่อก่อสร้างโรงงานที่ 4

บล.บัวหลวงแนะนำขายTMBราคา: 1.89 บาทผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่า TMB จะไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้ด้อยสิทธิหรือไฮบริดบอนด์ได้เนื่องจากธนาคารยังมีผลขาดทุนอยู่ในปี 2549 โดยธนาคารมีกำหนดจ่ายดอกเบี้ยของตราสารหนี้กึ่งทุน (Hybrid Tier 1) จำนวน 200 ล้านบาทในเดือนหน้า เป็นไปตามเงื่อนไขตราสาร: ตามเงื่อนไขตราสารหนี้กึ่งทุน (Hybrid Tier 1)ของ TMB ธนาคารมีสิทธิที่จะไม่จ่ายดอกเบี้ยในกรณีที่มีมีผลขาดทุน ซึ่งธนาคารมีผลขาดทุนในปีก่อนและคาดว่าผลขาดทุนจะอีกในปี 2550 เราคาดว่า TMB จะไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยของไฮบริดบอนด์ได้ ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมา Moodys ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารดังกล่าวของ TMB ด้วยเหตุผลดังกล่าวเราเชื่อว่าการที่ TMB ปฏิเสธการจ่ายดอกเบี้ยของไฮบริดบอนด์ได้นั้นจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยเนื่องจากธนาคารยังมีสภาพคล่องสูงและเป็นไปตามเงื่อไขของตราสารดังกล่าว แต่เรามองว่าปัญหาแผนการเพิ่มทุนของธนาคารเป็นสิ่งที่สำคัญและจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนไตรมาส 3/50 เราคาดว่า TMB จะตั้งสำรองหนี้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาทในปีนี้ตามเกณฑ์ IAS 39 ดังนั้น อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (CAR) จะปรับตัวลดลงจาก 10.4% มาอยู่ที่ 9% ใกล้เคียงกับข้อกำหนดขั้นต่ำที่ 8.5% ซึ่งทำให้ธนาคารไม่สามารถขยายพอร์ตสินเชื่อได้ เรายังคงแนะนำขายสำหรับTMB

บล. เอเชีย พลัสแนะนำซื้อSCBราคาเป้าหมาย -ฝ่ายวิจัยได้พบผู้บริหาร SCBL เพื่อรับทราบภาพรวมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ในกลุ่ม SCB (ถือหุ้น 96.83%) พบว่าในแง่ของ Synergy ทางธุรกิจภายหลังการเข้าถือหุ้นโดย SCBเต็มตัวนั้น เป็นไปค่อนข้างดีมาก โดยเฉพาะการใช้เครือข่ายสาขา (826 สาขา) และ ATM(ราว 4 พันเครื่อง) ของ SCB ในการขยายสินเชื่อและช่องทางการชำระเงิน อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ SCB คื่อ SCBL ได้ปรับลดเป้าหมายการขยายสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ณ สิ้นปี 2550 ลงเหลือเพียง 8 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้นสุทธิ 3 หมื่นล้านบาท) จากเดิมที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.1 แสนล้านบาท (เพิ่มขึ้นสุทธิ 6 หมื่นล้านบาท)เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยในงวด 1Q50 สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นเพียง 5พันล้านบาท จากสิ้นปี 2549 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายเดิมมาก และคิดเป็นเพียง 17% ของเป้าหมายใหม่ โดยบริษัทฯ ยังเน้นการขยายสินเชื่อรถยนต์ใหม่เป็นหลัก (เน้นรถกระบะ จากฐานลูกค้าส่วนใหญ่ของ SCBL เดิมที่มีอยู่ในต่างจังหวัด อีกทั้งยังอาศัยเครือข่ายสาขาของ SCB)เนื่องจากคุณภาพสินเชื่อที่สูงกว่ารถยนต์เก่า (พอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้น 1Q50 ประกอบด้วยรถใหม่: เก่า เท่ากับ 58:42) ทั้งนี้ SCBL มี Spread ในงวด 1Q50 ราว 3.43% และกันสำรองครบถ้วนแล้วตามเกณฑ์ IAS 39 แล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อ SCB ในงบการเงินรวมคือจะทำให้เป้าหมายการขยายสินเชื่อสุทธิของธนาคารฯ ลดลงจากเดิมที่ตั้งเป้าเติบโตสุทธิ 21% yoy ซึ่งจากการสอบถามผู้บริหาร SCB ล่าสุดพบว่าธนาคารฯ อาจต้องทบทวนเป้าหมายการขยายสินเชื่อสุทธิภายหลังประกาศงบการเงิน 2Q50 แล้ว อย่างไรก็ตาม คาดว่าเป้าหมายใหม่ยังเติบโตในระดับที่สูงเกิน 10% yoy ซึ่งหากเทียบกับประมาณการของฝ่ายวิจัยที่คาดไว้เพียง 15% yoy (ตามหลักความระมัดระวังตั้งแต่แรก) หรือเพิ่มขึ้นสุทธิ 1 แสนล้านบาท พบว่ายังมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูง จึงยังคงประมาณการผลการดำเนินงานปี 2550-51 ไว้เท่าเดิม ราคาหุ้น SCB ในช่วงที่ผ่านมาค่อนข้าง outperform กลุ่มฯ มากจากความคาดหวังของนักลงทุนในเรื่องการตั้งเป้าการเติบโตในปี 2550 ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมอย่างมาก แม้ในปี 2549 ธนาคารฯ จะสามารถขยายสินเชื่อได้สูงเกินเป้าหมายมาก แต่สถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวให้ต่ำกว่าเป้าหมายโดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อ และอาจรวมถึงสินเชื่อประเภทอื่นๆ ด้วย

ที่มา ข่าวหุ้น[/color:3062b615a0">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com