May 19, 2024   3:33:21 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เบื้องหลัง..การ Shift ของ "ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง"
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 10/06/2007 @ 14:00:40
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

หลายคนต่างตั้งข้อสังเกตกันว่า เหตุใดราคาหุ้น บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) จึงไม่เคยเคลื่อนไหวต่ำกว่าราคาจอง 1.80 บาท นับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550



หรือแท้จริงแล้ว จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดส่วนตัวกับ "เจ้าหน้าที่" ของกรุงเทพมหานครบางคน ทำให้ชนะการประมูลงานมาโดยตลอด เห็นได้จากเมื่อเดือนมกราคม 2549 "ประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย" อดีตประธานกรรมการบริหารของบริษัท ได้ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวหาในความผิดฐานสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐกระทำโดยทุจริต ในโครงการสร้างถนนกรุงเทพกรีฑา-ร่มเเกล้า ช่วงที่ 1 และ 1/1 มูลค่า 2,288 ล้านบาท

รวมถึงโครงการก่อสร้างทางลอดถนนศรีนครินทร์-ถนนสุขุมวิท 103 (อุดมสุข) มูลค่า 1,979 ล้านบาท ล่าสุดเรื่องได้ถูกส่งไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งยังไม่ได้ไต่สวน

หรือเป็นเพราะมีขาใหญ่ อย่าง "ชนะชัย ลีนะบรรจง" ที่เข้าซื้อหุ้นไอพีโอ คอยดันราคาอยู่ข้างหลัง

กรภัทร์ สุวิวัฒน์ธนชัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น อธิบายว่า งานที่บริษัทชนะการประมูลของ กทม. (ประมาณ 30% ของจำนวนโครงการทั้งหมด) เกิดจากความสามารถของเราเอง ถ้าหากเราร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐจริง ก็แปลว่าผู้เข้าร่วมประมูลรายอื่นๆ ที่ได้งานของ กทม. ไปอีก 14 โครงการ ก็กระทำความผิดเช่นกัน แต่ทำไมเรากลับโดนกล่าวหาเพียงรายเดียว

สาเหตุหลักที่ได้งานของ กทม.อย่างต่อเนื่อง เพราะเราเสนอราคาประมูลต่ำกว่าคู่แข่งรายอื่น หลังจากควบคุมต้นทุนได้ต่ำกว่าคู่แข่ง เนื่องจากบริษัทเลือกใช้เทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งผู้ประกอบการขนาดกลางรายอื่นๆ ไม่มี

เธอกล่าวอีกว่า ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง เชี่ยวชาญงานก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดกลางและขนาดใหญ่ มานานกว่า 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างสะพาน โครงสร้างเหล็ก งานก่อสร้างอุโมงค์รถยนต์ลอดใต้ทางแยก งานก่อสร้างเขื่อนและกำแพงกันดิน เป็นต้น

"เราเติบโตมาจากงานในส่วนนี้ เห็นได้จากงานชิ้นแรกของเรา คือ งานอุโมงค์แยกดินแดง ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะชนะการประมูลงานของ กทม.มาโดยตลอด"

ส่วนประเด็นที่ "ดีเอสไอ" ฟ้องร้องบริษัท กรภัทร์กล่าวว่า มั่นใจว่าไม่ได้ร่วมมือกับเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อให้ได้งานมาแน่นอน แต่เชื่อว่าเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นการเมือง ซึ่งเราก็รู้ๆ กันอยู่ว่าทำไม!

ส่วนประเด็นการกระจายหุ้นไอพีโอ ที่มีชื่อคนดังอย่างเช่น สมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้รับจัดสรร 3.25 ล้านหุ้น ชนะชัย ลีนะบรรจง 1.53 ล้านหุ้น อนุพงษ์ อัศวโภคิน 7 แสนหุ้น พิเชษฐ-ศิริรัตน์ วิภวศุภกร 1.35 ล้านหุ้น และ จรูญศักดิ์ บัณฑูรจินดา 6.5 แสนหุ้น

ทั้งนี้พบว่า "อนุพงษ์-พิเชษฐ-จรูญศักดิ์" ทั้ง 3 คน เป็นผู้บริหาร บมจ.เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์

บุคคลทั้งหมดมีส่วนช่วยให้ราคาหุ้นวิ่งหรือไม่?

ผู้บริหารหญิงรายนี้ตอบว่า ต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้ถือหุ้นเหล่านี้ เป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ดังนั้นคงไม่ได้มีส่วนผลักดันราคาหุ้น น่าจะเป็นเพราะเรามีปัจจัยพื้นฐานดีมากกว่า ดังนั้นการที่ผู้ถือหุ้นรายดังกล่าว ขายหุ้น UNIQ ออกมา ก็ถือเป็นเรื่องปกติ เมื่อได้กำไรจากการลงทุน ก็ถึงเวลาที่ต้องถอนทุนคืน

สำหรับคำถามที่ว่า ปีนี้ ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง มีแผนจะเข้าร่วมประมูลงานเท่าไร?

กรภัทร์สรุปให้ฟังว่า ปีนี้ ภาครัฐเปิดให้เอกชนเข้าประมูลงานรวมประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยหนึ่งในนั้น บริษัทหวังว่าจะได้ส่วนแบ่งงานประมูลของ กทม.ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากคู่แข่งงานลักษณะนี้มีน้อย เพราะงานต้องใช้เงินลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีสูง

นอกจากนี้ ก็หวังจะชนะการประมูลโครงการเมกะโปรเจค และรถไฟรางคู่เช่นกัน โดยในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา บริษัทได้เข้าประมูลงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง งานเขื่อนอ่างทอง และงานเขื่อนสมุทรปราการ มูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท

เธอยังเปิดเผยด้วยว่า การเข้าร่วมลงชิงเค้กในหลายๆ โครงการ จะไม่มีปัญหาเรื่องการเงิน เพราะมีสถาบันการเงินให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธนาคารทหารไทย และธนาคารกรุงไทย และบริษัทก็ยังมีกระแสเงินสด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 อีกถึง 294 ล้านบาท สามารถนำออกมาใช้ได้ทันที

ขณะเดียวกัน ก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องของอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) โดยจะพยายามรักษาไว้ไม่ให้เกิน 1 เท่า จากปัจจุบันอยู่ที่ 1.6 เท่า เมื่อส่งมอบงานเรียบร้อยก็สามารถนำเงินไปชำระหนี้กับสถาบันการเงินทันที

"เราเข้าตลาดหลักทรัพย์ก็เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริษัทสามารถรับงานขนาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจค"

เมื่อสอบถามถึงผลการดำเนินงานในปีนี้ กรรมการผู้จัดการ ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง กล่าวอย่างมั่นใจว่า ผลประกอบการปีนี้ จะเด่นที่สุดในรอบ 10 ปี โดยตั้งเป้าว่าจะมีรายได้มากกว่าปีก่อนที่อยู่ 1,277 ล้านบาท กำไรสุทธิ 40.14 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.08 บาท

"ปัจจุบันเรามียอดขายที่ยังไม่รับรู้รายได้ (Backlog) อยู่ในมือ มูลค่า 4,951 ล้านบาท ซึ่งในไตรมาส 1 รับรู้รายได้ไปแล้ว 490.73 ล้านบาท"

สำหรับงานที่ได้ลงนามในสัญญาการก่อสร้างแล้ว ได้แก่ โครงการประแสร์ 266.47 ล้านบาท สิ้นสุดโครงการมิถุนายน 2550 โครงการชัยนาท มูลค่า 86.04 ล้านบาท สิ้นสุดสิงหาคม 2550 โครงการ BRT มูลค่า 661.20 ล้านบาท สิ้นสุดธันวาคม 2550

โครงการแจ้งวัฒนะ 109 ล้านบาท สิ้นสุดมกราคม 2551 โครงการพระนั่งเกล้า 1,306.51 ล้านบาท สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2551 โครงการอ่างทอง (ย่านบางซื่อ) 192 ล้านบาท สิ้นสุดกันยายน 2551 โครงการรามอินทรา 1 มูลค่า 1,768 ล้านบาท และโครงการรามอินทรา 2 มูลค่า 1,839 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการเดือนพฤศจิกายน 2551 รวมมูลค่างานทั้งหมด 6,228 ล้านบาท

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com