May 16, 2024   7:23:01 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > 5 อันดับหุ้นที่ปรับตัวร้อนสุดในรอบ 4 เดือน
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 15/05/2007 @ 08:49:58
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

นับตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนเมษายน หากสังเกตการเคลื่อนไหวของดัชนีจะพบว่าเป็นไปในลักษณะ side way up และย่ำฐานเสียส่วนใหญ่ และกว่าดัชนีจะขึ้นมายืนเหนือแนวต้าน 700 จุดได้อย่างแข็งแกร่งก็ต้องลุ้นแล้วลุ้นอีกหลายรอบ

เนื่องจากเมื่อรวมระยะเวลาทั้งหมด 4 เดือน ในการพลิกแนวต้าน 700 จุดให้กลับมาเป็นแนวรับ ดัชนีก็ปรับตัวขึ้นได้แค่เพียง 19.32 จุด และที่น่าสนใจก็คือ ดัชนีเพิ่งจะปรับตัวขึ้นจริงๆ จังๆ ก็ในช่วงปลายเดือนเมาษายน ที่ผ่านนี้เอง

โดยตัวแปรหลักที่ทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงแรงหนุนจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อหุ้นมากถึง 4.23 หมื่นล้านบาทนับตั้งแต่ต้นปี ก็เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นอย่างมั่นคงกว่ารอบก่อนๆ

แม้นักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาไล่ซื้อหุ้นกลุ่มบลูชิพอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่มีการเคลื่อนไหวหวือหวา กลับพบว่าหุ้นขนาดเล็กเป็นกลุ่มหุ้นที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนมากกกว่าหุ้นกลุ่มบลูชิพ ซึ่งสังเกตได้จากหุ้น 3 ลำดับแรกที่ปรับตัวขึ้นสูงสุด ล้วนเป็นหุ้นที่มีการเข้ามาไล่ราคากันอย่างคึกคักพักใหญ่เลยก็ว่าได้

ที่สำคัญ คือ หุ้น 3 ลำดับแรกปรับตัวขึ้นขั้นต่ำประมาณ 140% ขณะที่ หุ้น 10 อันดับแรกปรับตัวขึ้นขั้นต่ำประมาณ 30% และเมื่อนับรวมหุ้น 50 อันดับปรับตัวสูงสุด ก็มีการปรับตัวขั้นต่ำอยู่ในระดับ 12% กว่าๆ และเมื่อจำแนกออกมาเป็นหุ้นกลุ่มบลูชิพก็มีเพียง 11 ตัวเท่านั้นที่ปรับตัวขึ้นมากสุดในรีอบ 4 เดือน

สำหรับหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงในรอบ 4 เดือน คือ TRAF หรือ บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 319.57% มาที่ระดับ 1.93 บาทจากเดิมอยู่ที่ 0.46 บาท สาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงเป็นผลมาจาก TRAF ได้ขอให้ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย"SP" เพื่อสั่งห้ามการซื้อขาย เป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา จนกว่ากระบวนการลดทุนจะเสร็จสิ้น

ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม 2550 TRAF ได้แจ้งกับตลาดฯ ว่าดำเนินการลดทุนตามกระบวนการลดทุนเสร็จสิ้นแล้ว แต่เนื่องจากบริษัทไม่สามารถนำส่งงบการเงินประจำปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ได้ทันตามกำหนด1 มีนาคม 2550 ตลาดหลักทรัพย์จึงขึ้นเครื่องหมาย SP ต่อไป

หลังจากนั้นในวันที่ 10 เมษายน 2550 TRAF ก็ได้นำส่งงบการเงินประจำปีดังกล่าวมายังตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อนุญาตให้ซื้อขายหุ้นตามปกติ แต่การลดทุนดังกล่าวส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่มีการกำหนดราคาสูงสุดและต่ำสุดในวันดังกล่าว

สำหรับอันดับ 2 และ 3 คือ PT หรือ บริษัท พรีเมียร์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)และ PE หรือ บริษัท พรีเมียร์เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ตามลำดับ โดยสาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้นทั้ง 2 ตัวปรับขึ้นแรงอย่างมาก ล้วนมาจากข่าวการควบรวมกิจการระหว่างPE และ PT แต่เนื่องจากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมา ทำให้ตลาดฯออกมาสั่งห้ามเล่นเน็ตและมาร์จิ้นหุ้น PT ตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค.-20 เม.ย. ที่ผ่านมา สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุดของราคาหุ้นทั้ง 2 ตัว ขณะนี้ได้อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ครบกำหนดคำสั่งห้ามเน็ตและมาร์จิ้น โดยเฉพาะในรายของ PT ราคาหุ้นยังคงอ่อนตัวลงมาเรื่อยๆ เพราะตัวบริษัทไม่มีปัจจัยหรือพัฒนาการใดๆ ที่สำคัญมารองรับ

รวมทั้งธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ก็ยังมีขาดทุนสะสมกว่า 5.8 พันล้านบาท และยังอยู่ในหมวดฟื้นฟูกิจการ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนจะต้องนำไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจว่าจะเสี่ยงเข้าลงทุนกับหุ้นตัวนี้อีกหรือไม่ เพราะสถานของบริษัทตอนนี้ยังไม่มั่นคงเท่าที่ควร

อันดับ 4 TBANK หรือ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาที่ 16บาท จากเดิมที่ 9.15 บาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 74.86% สาเหตุราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรงเนื่องมาจากก่อนหน้านี้ TBANKได้ตกลงขายหุ้นให้กับธนาคารแห่งโนวาสโกเทีย หรือScotiabank ในสัดส่วน 24.99% มูลค่ารวม 7.1 พันล้านบาท

ดังนั้น TCAP ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จะทำคำเสนอซื้อ หรือเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้นTBANK ในราคาเดียวกับที่ขายให้ Scotiabank ที่ 16.37 บาท จากนั้นจะถอน TBANKออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน ทำให้นักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรเรื่องนี้กันอย่างหนาแน่น

นอกจากนี้ภายใต้ข้อตกลงฉบับนี้ยังเปิดโอกาสให้ Scotiabank สามารถซื้อหุ้น TBANKในราคาเดิมเพิ่มขึ้นเป็น 49% แต่เรื่องนี้ยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากติดปัญหาเรื่องพ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และต้องรอการอนุมัติจาก ธปท.

โดยความคืบหน้าล่าสุด TCAP เตรียมจะขออนุญาตแบงก์ชาติ ให้พันธมิตรต่างชาติสามารถเข้ามาถือหุ้นในธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) หรือ TBANK ในสัดส่วน 49%

อันดับ 5 UCOM หรือ บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 74.81% มาที่ระดับ 59.00 บาท จากเดิม 33.75 บาท ล้วนมาจากข่าวการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ด้วยการแลกเปลี่ยนหุ้นกับดีแทค ส่งผลให้นักลงทุนเข้ามาไล่ราคาหุ้นยูคอมกันอย่างคึกคัก เพราะมองว่าราคาหุ้นของยูคอมต่ำกว่าราคาหุ้นแทคที่ประเทสสิงค์โปร์เป็นจำนวนมาก

สำหรับสาเหตุที่ดีแทคต้องใช้วิธีแลกหุ้นดีแทคกับหุ้นยูคอม ก็เพราะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสุด ขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นของยูคอมที่ต้องการเงินสด ก็สามารถขายหุ้นของยูคอมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ทุกวันทำการของตลาดหลักทรัพย์ฯ

โดยวัตถุประสงค์หลักของการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ด้วยวิธีนี้ ก็เพราะดีแทคต้องการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ดีแทคซึ่งเป็นบริษัทแกนของยูคอมห้ามมีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน ดีแทคจึงต้องทำการเพิกถอนหุ้นของยูคอมจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นของดีแทคและยูคอม

ทั้งนี้อย่าลืมว่า หุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงในคราวนี้ ใช่จะเป็นหุ้นพื้นฐานดีทุกตัว การเข้าลงทุนแต่ละครั้งถึงต้องใช้ข้อมูลพื้นฐานประกอบการลงทุนทุกครั้ง เพราะหุ้นที่ปรับตัวขึ้นอย่างหวือหวาในรอบ 4 เดือน ร้อยละ 70 เป็นหุ้นเก็งกำไร



 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com