May 19, 2024   11:29:11 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > KIMENG เสียแชมป์แล้ววววว
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 14/02/2007 @ 10:06:23
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

การกลับมาลงทุนของนักลงทุนต่างชาตินับตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม เห็นได้ชัดว่ามีการทยอยเก็บหุ้นเข้าพอร์ตอย่างต่อเนื่องหลังจากที่มีการปรับพอร์ตการลงทุนไปก่อนหน้านี้โดยมียอดซื้อสะสมไปแล้วจำนวน 11,810.90 ล้านบาท ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยทะยานขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะวัดจากดัชนีต่ำสุดของเดือนมกราคมที่ระดับ 622.27 จุด จนถึงปลายเดือนมกราคม ดัชนีอยู่ที่654.04 จุด หรือได้มีการปรับตัวขึ้นไปแล้วกว่า 31.80 จุด

แรงซื้อของต่างชาติที่เข้ามาอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลดีให้กับโบรกเกอร์ที่มีฐานลูกค้าเป็นนักลงทุนต่างชาติ โดยจะเห็นได้ชัดในกรณีของบริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส (ประเทศไทย)จำกัด หรือ CS ที่สามารถปรับตัวขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโบรกเกอร์ที่มีจำนวนมูลค่าการซื้อขายประจำเดือนมกราคมได้อย่างพลิกความคาดหมายเลยทีเดียว

ในทางกลับกันเมื่อหันมาดูมูลค่าวอลุ่มของโบรกเกอร์ที่เคยเป็นอันดับ 1 อย่างบริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง(ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) หรือ KIMENG ก็คงจะถูกปรับลดอันดับไปตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เนื่องจากฐานนักลงทุนส่วนใหญ่ของ KIMENG โดยมากจะเป็นนักลงทุนรายย่อยทั้งนั้น การที่อันดับมูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยที่ปรับลดลงนั้นอาจจะเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น

ข่าวหุ้นธุรกิจได้รวบรวมข้อมูลของโบรกเกอร์ทั้ง 37 แห่ง ระหว่างวันที่ 31 ธ.ค.2549 -31 ม.ค. 2550 โดยเรียงลำดับจากส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นสูงสุดๆไปหาน้อยสุด เพื่อให้ทราบการเปลี่ยนแปลงมูลค่าการซื้อขาย และส่วนแบ่งการตลาดของโบรกเกอร์ ของเดือนมกราคม 2550

สำหรับโบรกเกอร์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ 1 ประจำเดือนมกราคมเป็นของ บริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CS ซึ่งมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นเป็น 44,202.19 ล้านบาท(31 ม.ค.50) จากเดิม30,706.68 ล้านบาท (31ธ.ค. 49) และมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 7.75 %(31 ม.ค.50) จากเดิม 4.74%(31 ธ.ค. 49) เนื่องจากโบรกเกอร์รายนี้มีฐานลูกค้าที่เป็นนักลงทุนต่างชาติเป็นหลักประกอบกับช่วงที่ผ่านมาแรงซื้อต่างชาติจะผ่านเข้ามาจากโบรกเกอร์แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่อดีตโบรกเกอร์วอลุ่มหนาอันดับ 1 อย่าง KIMENG หรือ บริษัทกิมเอ็ง (ประเทศไทย) ต้องเสียแชมป์และตกมาอยู่ที่อันดับ 2 โดยมีมูลค่าการซื้อขายลดลงเป็น 39,446.15ล้านบาท จากเดิม49,887.14 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงมาที่ 6.92 %จากเดิม7.70%

ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า KIMENG มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นรายย่อยถึง80% ขณะที่ฐานลูกค้าต่างประเทศและสถาบันในประเทศอยู่ที่20%เท่านั้น ทำให้ KIMENG เสียเปรียบในเรื่องนี้มาก แต่ทั้งนี้เหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเท่านั้น

ถึงกระนั้นทาง KIMENG ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจกับประเด็นดังกล่าว เพราะที่ผ่านมาบริษัทก็ประกาศแผนงานทางด้านการวอลุ่มการซื้อขาย ที่คาดว่าจะเพิ่มสัดส่วนลูกค้าสถาบันจากเดิมที่มีอยู่ 15% เป็น 25% โดยลดนักลงทุนรายย่อยจากเดิม 80% เหลือเพียง 75% แต่ทั้งนี้ ก็ถือเป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่อาจจะทำยาก ตราบใดที่สัดส่วนนักลงทุนสถาบันไม่ใช่จะหากันง่ายๆ เพราะส่วนใหญ่จะมีเจ้าของกันอยู่แล้ว

อันดับ 3 เป็นของ PHATRA หรือ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร มีมูลค่าการซื้อขายลดลงเป็น36,619.31 ล้านบาท จากเดิม37,804.15 ล้านบาท มาร์เก็ตแชร์เท่ากับ6.42 % จากปี2548 อยู่ที่ 5.83% สำหรับโบรกเกอร์รายนี้น่าจับตามาก เพราะมีการเติบโตได้รวดเร็วเพราะบริษัทได้รับแรงซื้อขายจากนักลงทุนต่างชาติและสถาบันสูง ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดผลประกอบการบริษัทปี 2549 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 719,503 ล้านบาทจากงวดเดียวกันปี 2548 อยู่ที่ 417,859 ล้านบาท เนื่องรายได้ค่านายหน้าที่ถือเป็นรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,234.79 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ63.23 ของรายได้รวม จากปี 2548อยู่ที่ 987.03 ล้านบาท โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1,899.04 ล้านบาท จากปี 2548อยู่ที่ 1,649.62 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทฯยังมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.97 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 5.79 ในปี 2549

อันดับต่อมาคือ บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) หรือ ASP ทีหลุดมาอยู่ที่อันดับ 4 ด้วยมูลค่าการซื้อขายลดลงเป็น 35,099.92 ล้านบาท จากเดิม 40,532.09ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดลดลงเป็น 6.15 % จากเดิม 6.25 % เนื่องจากนโยบายของผู้บริหารที่ผ่านมา ได้ลดความสำคัญในเรื่องของการเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ลงไปมากเมื่อเทียบกับในอดีต โดยผู้บริหารหันไปเน้นที่การบริหารพอร์ตลงทุน การจัดการกองทุน มากกว่าส่งผลให้การเพิ่มมาร์เก็ตแชร์หรือเพิ่มจำนวนบัญชีลูกค้าทำได้ไม่เต็มที่

อย่างไรก็ดีในปีนี้ ASP พยายามรักษามาร์เก็ตแชร์ให้อยู่ในอันดับ 2 โดยจะมีการกระจายฐานรายได้อื่นๆ มากขึ้นหลังจากรายได้จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงงานนี้ก็ถือเป็นบททดสอบการทำงานอีกครั้ง ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส ว่าจะสามารถทวงอันดับ 2 คืนมาได้อีกครั้งหรือไม่

ด้าน บล.ไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)หรือSCBS อยู่อันดับ 5 แม้มูลค่าการซื้อขายจะลดลงเป็น 33,124.44 ล้านบาท จากเดิม 42,131.90 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดลดลง5.81% จากเดิมอยู่ที่ 6.50 % แต่สำหรับ SCBS นับว่าเป็นโบรกเกอร์ที่น่าจับตาอีกรายเนื่องจากช่วงที่ผ่านมา SCBS ได้มีการสร้างฐานลูกค้าให้หลากหลายมาอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่สัดส่วนของนักลงทุนที่ซื้อขายผ่าน SCBS พบว่า จะเป็นนักลงทุนรายย่อยประมาณ55% และลูกค้าที่เป็นนักลงทุนสถาบันและต่างประเทศอยู่ที่ 45% ซึ่งฐานลูกค้านักลงทุนสถาบันและต่างชาติ SCBS จะมีคำสั่งซื้อเข้ามาค่อนข้างมาก

ส่วนอันดับ 6-13 ประกอบด้วย UBS,ZMICO,CLSA,KGI,TSC,DBSV,TNSและJPM ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 5.76%,4.41%,4.24%,3.64%และ3.48% ตามลำดับซึ่งโบรกเหล่านี้มีเพียง KGI,TSC และTNSส่วนแบ่งการตลาดลดลง

ทางด้าน บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด(มหาชน)หรือ BSEC โบรกเกอร์น้องใหม่และพึ่งเข้าตลาดได้ไม่ถึง 3เดือน อยู่ที่อันดับ 16 มีมูลค่าการซื้อขายลดลงเป็น15,215.90ล้านบาท จากเดิม19,969.08 ล้านบาท ส่วนแบ่งการตลาดลดลง 2.67% มาที่ 3.08%เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนของ BFITSEC ส่วนใหญ่เป็นรายย่อยถึง 90% และอีก5-6 %เป็นสัดส่วนของนักลงทุนสถาบันและต่างชาติ

สำหรับผลการดำเนินงานปี 2549 ที่เพิ่มขึ้นเป็น 247.42 ล้านบาท จากปี 2548อยู่ที่ 222.28 ล้านบาท เนื่องจากค่านายหน้าจาการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เพเมขึ้นเป็น 694.342 ล้านบาท จากงวดปี2548อยู่ที่ 606.18 ล้านบาท โบรกเกอร์รายนี้ก็น่าจับตาอย่างมาก

สำหรับโบรกเกอร์ที่มาร์เก็ตแชร์ลดลงอยู่ในระดับ 0.05%-1.79% ประกอบด้วย PST,SICSEC,TRINITY,FINANSA,KKS,BTSEC,GLOBLEX,FES,US,SCIBS,MERCHANT,IVG,SYRUS,KTBS,KS และPSS นอกจากนี้มีโบรเกอร์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ในระดับ2.04%-2.85 % ประกอบด้วย BLS,TMBMACQ,AYS,ASL,ACLS,UOBKHSTและCNSเป็นต้น





.00020

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com