May 19, 2024   11:38:02 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ฟันธงกระทิงอ้วน
 

samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
วันที่: 01/02/2007 @ 11:12:23
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ที่มา : สมพงศ์ เบญจเทพานันท์

หัวคอลัมน์ : SET: Volume น้อยลงเรื่อยๆ
ดัชนีได้ปรับฐานราคาอยู่ในกรอบแคบระหว่าง 647-662 จุดมาถึง 3 สัปดาห์แล้วและ Volume ก็ได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจากหมื่นกลางๆจนไม่ถึงหมื่นล้านแล้วซึ่งเราเชื่อว่าดัชนีน่าจะอยู่ในช่วงท้ายของ After Shock ของวันที่ตก 140 จุดด้วย Volume 7 หมื่นล้านบาทและใช้เวลาในการกระเพื่อมมากว่า 7 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยในระยะสั้นๆดัชนีได้เคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง SMA 10 วันกับ EMA 25 วันที่บ่งบอกว่าหากมีการหลุดแนวรับที่ 647 จุดก็จะเป็นเพียงสัญญาณขายขนาดเล็กๆแต่ในทางกลับกันหากมี Break Out แนวต้านที่ 662 จุดขึ้นไปได้จะเป็นสัญญาณซื้อของแนวโน้มในระยะกลางที่เราเชื่อว่าน่าจะขึ้นได้อีกไม่น้อยกว่า 50 จุดจากจุดที่ Break ขึ้นและคงใช้เวลาอีกไม่นานก็จะมีสัญญาณที่ชัดเจนเกิดขึ้น
กลยุทธ์ สั้นๆ ลงซื้อขึ้นขาย โดยมีจุด Stop Loss หากหลุด 648 จุดลงไป
แนวรับ แนวต้าน
648 จุด 662 จุด
642 จุด 680 จุด
SYNTEC แผนการเล่น ?Trading ?
ตัดขาดทุนที่ 0.94 บาท
? แนวโน้มในระยะกลางของระดับราคาเริ่ม Turnaround กลับเข้าสู่ขาขึ้นอีกครั้งหลังจากตกต่ำอย่างแรงจาก 1.52 บาทเมื่อ 3 เดือนก่อน ในขณะที่แนวโน้มในระยะสั้นๆของระดับราคาจะมีแนวต้านแรกที่บริเวณ 1.02 บาทและหากสามารถผ่านขึ้นไปได้ก็จะเป็นการยืนยันแนวโน้มขาขึ้นที่เกิดขึ้น
? กลยุทธ์ ทยอยตั้งรับที่แนวรับและคุมจุด Stop Loss ให้ดี
แนวรับ แนวต้าน
0.97 บาท 1.02 บาท
0.95 บาท 1.05 บาท
PTTEP แผนการเล่น ?Trading ?
ตัดขาดทุนที่ 92.50 บาท
? ระดับราคาได้ยืนทรงตัวโดยมีแนวต้านที่ 95.50 บาทเป็นแนวต้านใหญ่มาเป็นเวลา 5 สัปดาห์แล้ว ในขณะที่ Indicator ในระยะสั้นๆเริ่มมีสัญญาณ Bullish Divergent ดังนั้นหากมีการ Break Out แนวต้าน 95.50 บาทได้จะเป็นสัญญาณซื้อระยะสั้นๆที่มีแนวต้านถัดไปที่บริเวณ 101.00 บาท
? กลยุทธ์ ซื้อในเชิงรุก โดยรอ Follow Buy ตอนผ่าน 95.50 บาทได้
แนวรับ แนวต้าน
94.00 บาท 95.50 บาท
93.50 บาท 101.00 บาท

 กลับขึ้นบน
samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
#1 วันที่: 01/02/2007 @ 11:14:08 : re: ฟันธงกระทิงอ้วน
ที่มา : วีระชัย ครองสามสี

หัวคอลัมน์ : ทรงๆ ซึมๆ และมีโอกาสทดสอบ 650 จุดอีกครั้ง

เผลอแป๊ปเดียวก้าวสู่เดือนที่สองของปี 50 แล้ว แต่ตลาดหุ้นไทยแทบไม่ได้ขยับไปไหนเลยได้แต่ย่ำอยู่กับที่ ซึ่งแตกต่างกับตลาดหุ้นทั่วโลกที่วิ่งรับปรากฏการณ์ January Effect กันล้วนหน้า แม้แต่ตลาดหุ้นที่เพิ่งเกิดใหม่อย่างตลาดหุ้นเวียดนาม แค่เพียงต้นเดือน ม.ค. ก็พุ่งทะลุแนวต้านระดับ 1,000 จุดไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนตลาดหุ้นในย่านภูมิภาคเอเชียพุ่งทำสถิติเป็นว่าเล่น เมื่อเห็นตลาดหุ้นทั่วโลกวิ่งแรงๆ แบบนี้แล้วก็รู้สึกอิจฉาตลาดหุ้นต่างประเทศเสียจริงๆ และหันมาดูตลาดหุ้นบ้านเราได้แต่ปลงแล้วก็ปลง ทำไม๊ ทำไม ไม่วิ่งเหมือนกับเขาบ้าง ยิ่งนับวันตลาดหุ้นบ้านเรายังคงย่ำอยู่กับตัวเลข 3 หลัก ไม่เหมือนกับตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียที่เคยอยู่ตัวเลข 3 หลักเหมือนกับเราในช่วงวิกฤต แต่เดี๋ยวนี้เขาพุ่งเป็นเลข 4 หลักไปแล้ว แม้แต่เวียดนามมาที่หลังยังแซงไปเรียบร้อย แถมช่วงหลังตลาดหุ้นเวียดนาม และเศรษฐกิจกำลังร้อนแรง ส่งผลให้บรรดานักลงทุนต่างชาติหันมาลงทุนในประเทศเวียดนามกันมาขึ้น ซึ่งจะเป็นคู่แข่งในย่านนี้ ส่วนเศรษฐกิจบ้านเราในสายตาเจโทรบ่งชี้ว่าไทยแย่ลง นายโยชิอิ คาโตะ ประธานคณะกรรมการวิจัยทางเศรษฐกิจ หอการค้าญี่ปุ่นกรุงเทพฯ (จีซีซี) และประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจโทร) ในไทย แถลงผลสำรวจของเจโทรเกี่ยวกับดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจหรือค่าดีไอใน 5 ชาติอาเซียน คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ประจำเดือน ม.ค. พบว่าประเทศไทยมีค่าดีไอต่ำที่สุด อยู่ที่ระดับ -12.9 ขณะที่สิงคโปร์มีค่าดีไออยู่ที่ +13.1 ดีที่สุดใน 5 ชาติอาเซียน ส่วนประเทศไทยตกต่ำต่อเนื่องมานานถึง 9 เดือน หากเปรียบเทียบกับผลสำรวจเมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งค่าดีไอของไทยแย่ลงจากเดิมที่มีตัวเลขอยู่ระดับเดียวกับฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย แต่ดีกว่าอินโดนีเซีย แต่พบว่าขณะนี้ไทยกลับแย่กว่าทุกประเทศ

หันมาดูการเคลื่อนไหวตลาดหุ้นบ้านเราเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากไร้ปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุน ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของตลาดแกว่งตัวอยู่ในช่วงแคบๆ บวก/ลบเล็กน้อย พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง ซึ่งถือว่ายังโชคดีที่ได้หุ้นกลุ่มพลังงานเข้ามาช่วยหนุนไม่ให้หลุดแนวรับที่ 650 จุด หลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งมายืนเหนือ 56 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งมาจากโอเปคจะปรับลดกำลังการผลิตในวันที่ 1 ก.พ. นี้ ส่งผลให้มีแรงซื้อคืนหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะ PTT PTTEP และ TOP ที่ปรับตัวลดลงก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี รูปแบบการเคลื่อนไหวของตลาดยังอยู่ในอาการที่ไม่ดีนัก เมื่อยังเคลื่อนไหวต่ำกว่าแนวรับ SMA 5 ? 10 วัน ที่ 655 จุด และหากยังไม่สามารถยืนเหนือไปได้ หรือวิ่งทะลุ 660 จุด เชื่อว่าตลาดยังมีโอกาสปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 650 จุด และหากหลุดอาจจะเห็นแรงตัดขาดทุนรอบใหม่ โดยมีเป้าหมายในการปรับตัวลงอยู่ที่ 630 จุดเป็นอย่างน้อย ฉะนั้นกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ เน้นติ๊ดชิ่งประเภทตีหัวเข้าบ้าน (ส่วนใหญ่มันมักจะตีหัวเรา แล้วลากเข้าบ้าน) หุ้นขนาดเล็ก และไม่ควรเพิ่มพอรต์ในช่วงนี้เด็ดขาด แต่จะเน้นถือเงินสดให้มาก และรอคอยจังหวะในการเข้าซื้อหากตลาดหลุดแนวรับที่ 650 จุด ส่วนในแง่สถิติย้อนหลัง 1 หรือ 2 ปีที่ผ่านมา หลังจากประกาศผลดำเนินงานหมด ตลาดหุ้นมักจะปรับตัวลดลงตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ. จนถึงเดือน มี.ค. ซึ่งก็ต้องมาดูว่าอดีตมักจะย้อนรอยอีกหรือไม่ และถ้าใช่ถือเป็นโอกาสในการเข้าซื้อของถูกและดี แต่จะดีมากหรือดีน้อยแค่ไหนก็ต้องเลือกซื้อให้ถูกตัวและถูกกลุ่มด้วย

หุ้นฟันธง : - สัญญาณ
*** บทความนี้ทำขึ้นด้วยหลักวิชาการทางเทคนิค และข้อมูลพื้นฐาน มิได้มีเจตนาชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด ***
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com