May 4, 2024   10:36:35 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เอกชนลั่นศก.-ลงทุนไม่สะเทือนแม้รัฐฯ ลั่นดานสัมพันธ์สิงคโปร์
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 17/01/2007 @ 21:32:51
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เอกชนลั่น เศรษฐกิจและการลงทุนไทยไม่สะเทือน แม้รัฐฯ ตัดสัมพันธ์สิงคโปร์ ระบุเป็นคนละเรื่องกัน ด้านวงการโบรกฯ-แบงก์ ประสานเสียง เชื่อสิงคโปร์ไม่กล้าถอนทุนหนีไทย ตราบใดที่มีผลประโยชน์ในการลงทุน

* LH ยืนยัน ผถห. สิงคโปร์ไม่ทิ้งหุ้น
นายอดิศร ธนนันท์นราพูล รองกรรมการผู้จัดการและกรรมการ บริษัท
แลนด์แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH เปิดเผยว่า จากกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศของไทยออกมาตรการระงับความสัมพันธ์กับรัฐบาลสิงคโปร์ หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปยังประเทศดังกล่าว ว่า แม้บริษัทฯ จะมีผู้ถือหุ้นจากประเทศสิงคโปร์คือ GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION C โดยถือหุ้นจำนวน 1,073,019,300 หุ้น หรือคิดเป็น 12.71% ก็ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ เนื่องจากความสัมพันธ์ยังคงเหมือนเดิมไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

ผู้ถือหุ้นกับการบริหารงานมันคงละส่วนกัน ซึ่งเราก็ยังคงบริหารงานตามปกติไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ยังเหมือนเดิม และอีกอย่างของ LH มีผู้ถือหุ้นสิงคโปร์อยู่เพียง 12% เท่านั้น นายอดิศร กล่าว

* GL ชี้ปัจจัยลบแท้จริงเป็น พ.ร.บ.ต่างด้าว
ขณะที่ นายอำนาจ ประเสริฐวุฒิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ GL เปิดเผยว่า คงส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเพียงแค่ระยะสั้นเท่านั้นโดยมองว่าประเด็นดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ผลกระทบยังคงเป็นปัญหาทางการเมืองมากกว่า ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยและความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติจะเป็นเรื่องของ พ.ร.บ.ต่างด้าวฉบับแก้ไขใหม่มากกว่า

* SVI เชื่อไม่กระทบสัดส่วนผู้ถือหุ้นสิงคโปร์
ส่วน บริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) (SVI) ที่ปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ 1 มิ.ย.49 ที่พบว่า DBS สิงคโปร์ถือหุ้น SVI ในสัดส่วน 70.87% นั้น
นายโพธิ์ โล่ห์ทองคำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SVI กล่าวว่า กรณีนี้ที่คงไม่กระทบสัดส่วนผู้ถือหุ้นสิงคโปร์ของบริษัทฯ เนื่องจากผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของบริษัทเป็นชาวสหรัฐฯ แต่ได้มาฝากหุ้นไว้กับ บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส สิงคโปร์

* QH ยัน GIC ยังมีนโยบายถือหุ้นเหมือนเดิม
ด้านนางสุวรรณา พุทธประสาท รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH เปิดเผยว่า ประเมินว่าไม่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ เนื่องจากผู้ถือหุ้นสิงคโปร์ไม่ได้มีส่วนในการบริหารงาน รวมทั้งยังไม่มีการส่งสัญญาณที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ ลงแต่อย่างใด
เรื่องนี้มันไม่เกี่ยวกัน เพราะเราก็ยังคงบริหารงานตามปกติ ไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลย อีกอย่างผู้ถือหุ้นจากสิงคโปรก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานเป็นแค่ผู้ถือหุ้นและเข้ามาลงทุนเฉยๆ ซึ่งตอนนี้ก็ไม่ได้มีท่าทีที่จะขายหุ้นออกมาเลย นางสุวรรณา กล่าว
ทั้งนี้ QH มีกองทุน GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT
CORPORATION C จากประเทศสิงคโปรถือหุ้นอยู่จำนวน 817,281,200 หุ้น หรือคิดเป็น 13%

* วงการโบรกฯ เชื่อสิงคโปร์ไม่กล้าถอนทุนหนีไทย
นายพงศ์พันธ์ อภิญญากุล ผู้อำนวยการอาวุโส บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า แม้ทางรัฐบาลไทยจะแสดงเจตนาไม่พอใจรัฐบาลสิงคโปร์ จนมีปัญหาความสัมพันธ์ทางการทูต แต่ก็เชื่อว่าประเด็นดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประเทศและเศรษฐกิจโดยรวม หรือส่งผลให้นักลงทุนสิงคโปร์ถอนการลงทุนไปจากไทย เพราะมองว่ารัฐบาลสิงคโปร์ไม่น่าจะต้องการสร้างปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศกับไทย เพราะปัจจุบันรัฐบาลสิงคโปร์ก็ยังคงมีปัญหาอยู่เช่นกัน
ไทยแค่แสดงความไม่พอใจ ธุรกิจคงไม่กระทบ ตลาดหุ้นคงไม่กระทบและสิงคโปร์ไม่ได้ให้น้ำหนักเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ ดังนั้นคงยังไม่ถึงขั้นถอนการลงทุน นายพงศ์พันธุ์ กล่าว
สอดคล้องกับความคิดเห็นของ นายอดิพงษ์ ภัทรวิกรม ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ไทยพาณิชย์ ที่กล่าวว่า ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทยกับสิงคโปร์ ยังไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งการกระทำของทางการไทยที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการเริ่มเปิดเกมเท่านั้น ดังนั้นผลกระทบที่มีต่อการลงทุนของนักลงทุนสิงคโปร์จะเป็นอย่างไร คงจะต้องติดตามต่อไป โดยดูจากการตอบโต้ของทางการสิงคโปร์จะออกมาในรูปแบบใด ถึงจะสามารถประเมินได้

* วงการแบงก์ชี้สิงคโปร์ยังได้ประโยชน์
แหล่งข่าวผู้บริหารจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า เชื่อว่าสิงคโปร์ไม่น่าจะถอนการลงทุนจากไทย เพราะเจตนาทางการฑูตของไทยแค่แสดงความไม่พอใจสิงคโปร์ในบางเรื่องเท่านั้น แต่สัมพันธ์ทางการฑูตโดยรวมยังคงเหมือนเดิม และตามหลักการทางการฑูต ไม่น่าจะมีผลทางเศรษฐกิจ
ประกอบกับโดยภาพลักษณ์ของสิงคโปร์แล้วก็ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก เห็นได้
จากกรณีที่กองทุนเทมาเส็กเข้ามาซื้อหุ้นชินคอร์ปในไทยก็ถูกนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ตำหนิ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าเสี่ยงหากสิงคโปร์จะถอนการลงทุนจากไทยทั้งที่ยังประเทศตนเองก็ยังคงมีปัญหาอยู่
ตราบใดที่การลงทุนในไทยสิงคโปร์ยังได้ประโยชน์ แม้ไทยจะด่ายังไง เขาก็ยังถือว่าคุ้ม ตราบใดที่เขายังได้ผลประโยชน์จากเรา และจริงๆ มันมากกว่านั้น เพราะตอนนี้สิงคโปร์แทบจะเป็นนายประเทศไทยอยู่แล้วและเขาชอบอุปโลกน์ตัวเองว่ายิ่งใหญ่ แหล่งข่าว กล่าว
นายศรัณย์ทร ชุติมา ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ผลกระทบต่อการลงทุนของนักลงทุนสิงคโปร์ที่จะเกิดขึ้นเป็นอย่างไร คงจะต้องติดตามดูต่อไปว่าการตัดความสัมพันธ์ทางการฑูตของไทยเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะขณะนี้ยังไม่ได้ถึงขั้นนั้น ประกอบกับนักลงทุนสิงคโปร์ในไทยมีมาก ไม่ใช่ว่าจะตัดความสัมพันธ์ได้ในวันเดียว

* บิ๊ก BSEC เชื่อกระทบตลาดหุ้นระยะสั้น
นายเดชา แปงคำ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด
(มหาชน) หรือ BSEC เปิดเผยว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับสิงคโปร์ในเวลานี้จะกระทบภาคการลงทุนในระยะสั้นเท่านั้น และยังมองภาพรวมตลาดหุ้นไทยยังมีทิศทางที่ดีอยู่ ซึ่งในกรณีดังกล่าวหากมีความขัดแย้งกันรุนแรงกว่านี้ ในด้านการลงทุนสิงคโปร์จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนนักลงทุนชาติอื่นๆ หรือแม้กระทั่งนักลงทุนจากสิงคโปร์เอง เชื่อว่ายังคงจับตาสถานการณ์ในประเทศไทย โดยหากประเทศไทย สามารถขจัดปัญหาคอรัปชั่นและจัดการการเลือกตั้งได้ด้วยดี นักลงทุนเหล่านั้นย่อมจะกลับมาลงทุนในประเทศไทยอีกครั้งอย่างแน่นอน [/color:577be4c481">

.00020
[/size:577be4c481">

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 17/01/2007 @ 21:34:59 : re: เอกชนลั่นศก.-ลงทุนไม่สะเทือนแม้รัฐฯ ลั่นดานสัมพันธ์สิงคโ
* พบสิงคโปร์ลงทุนในไทยเป็นอันดับ 2 รองจากอังกฤษ
สำหรับผลสำรวจการลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนไทยผ่านผู้รับฝากหลักทรัพย์ ณ สิ้นเดือน ธันวาคม 2548 ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดที่ ธปท.รายงาน ในส่วนของประเทศที่ส่งเงินเข้ามาลงทุนมีทั้งสิ้น 61 ประเทศ พบว่าประเทศสิงคโปร์ลงทุนในไทยเป็นอันดับ 2 ที่ 17.9% ส่วนอันดับหนึ่งเป็นสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) 34.7% สหรัฐอเมริกา 17.2% และประเทศอื่นๆ 30.2%
โดยมูลค่าการลงทุนของประเทศสิงคโปร์อยู่ที่ 227,101 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ 240,265 ล้านบาท และปี 2546 ซึ่งอยู่ที่ 408,146 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากดูเป็นร้อยละจะเห็นว่าลดลงจากปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ 20.6% ปี 2546 อยู่ที่ 40.1%
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนสิงคโปร์ของปี 2549 เชื่อว่าอาจจะลดลงไปอีกจากปี 2548 เพราะในช่วงต้นปี 2549 ที่มีกรณีของเทมาเซ็กซื้อหุ้นชิน อาจจะทำให้สิงคโปร์ถอนการลงทุนออกไปอีก ซึ่งตัวเลขการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในหลักทรัพย์จะออกมาเป็นรายงานประมาณเดือนเมษายนปีนี้

* นายกฯ เผยชี้แจงสิงคโปร์แล้ว
ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มาตรการตอบโต้สิงคโปร์ของกระทรวงการต่างประเทศ กรณีที่สิงคโปร์เพิกเฉยปล่อยให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เคลื่อนไหวทางการเมือง นั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาและตัดสินใจแล้ว
ส่วนกรณีที่ประเทศสิงคโปร์ตอบโต้ประเทศไทยว่าไม่เคยแจ้งให้ทราบถึงสถานะทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก่อนเดินทางไปยังประเทศสิงคโปร์นั้น นายกฯ ระบุว่า เชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ชี้แจงให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสิงคโปร์ทราบล่วงหน้าแล้ว ส่วนมาตรการที่ได้ดำเนินการไปนั้นกระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้ชี้แจงให้สิงคโปร์ทราบแล้วเช่นกัน

* เชื่อไม่กระทบ ศก. เพราะเป็นมาตรการทางการทูต
ร้อยเอกนายแพทย์ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มั่นใจว่าการดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงการต่างประเทศ จะไม่ส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นมาตรการทางการทูต ไม่ใช่เรื่องของเศรษฐกิจ และมีความชัดเจน
เรื่องนี้เป็นการดำเนินการทางการทูตที่มีความเหมาะสม การดำเนินการต่อจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้พิจารณาต่อไป เรื่องผลกระทบคิดว่าคงไม่มีอะไรมาก เรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกับเศรษฐกิจ เป็นการดำเนินการทางการทูต ที่ด้านอื่นๆ ยังดำเนินต่อไปเหมือนเดิม เราหวังให้สิงคโปร์เข้าใจในมุมมองของไทยมากขึ้น ในเรื่องที่เราได้ชี้แจงไปแล้ว โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว
สำหรับมาตรการตอบโต้ทางการทูตของกระทรวงการต่างประเทศ ต่อประเทศสิงคโปร์นี้ ถือเป็นการดำเนินมาตรการที่เหมาะสม แต่ยอมรับว่าเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศบ้าง เพราะที่ผ่านมาทั้งไทยและสิงคโปร์ มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่จะต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป
กระทรวงการต่างประเทศได้กำหนดมาตรการที่เหมาะสมแล้ว ประเด็นที่สำคัญคือการเคลื่อนไหวของอดีตนายกฯ ที่มีการพบปะกับข้าราชการระดับสูงของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนต่อการเมืองของไทยในขณะนี้ เราเชื่อว่าสิงคโปร์จะเข้าใจเรามากขึ้น แต่เราก็เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะที่ผ่านมาเรามีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดี แต่ตอนนี้อาจสะดุดลงบ้าง แต่ก็ต้องติดตามกันต่อไป ร้อยเอกนายแพทย์ยงยุทธ กล่าว

* หม่อมอุ๋ย ชี้ เป็นคนละเรื่องระหว่างการเมือง-ศก.
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีนี้มั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากมาตรการดังกล่าวเป็นคนละเรื่องกันระหว่างการเมืองกับเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ยังยืนยันว่า ประเทศไทยไม่เคยลำเอียงกับการดำเนินมาตรการและนโยบายทางเศรษฐกิจของไทยกับประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากไทยเห็นว่านักลงทุนสิงคโปร์เป็นนักลงทุนที่สำคัญภายในประเทศไทย

* รมว.พาณิชย์ ชี้ ไทยแค่ส่งสัญญาณว่าไม่พอใจบางเรื่อง
นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การออกมาตรการตอบโต้รัฐบาลสิงคโปร์ของสิงคโปร์ไม่กระทบต่อการลงทุน เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเป็นเพียงการส่งสัญญาณจากประเทศไทย ว่าไม่พอใจในบางเรื่อง ซึ่งไทยก็ไม่ได้มีเจตนาในการตัดความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน กับสิงคโปร์
เป็นเพียงการส่งสัญญาณทางการเมือง ว่าเราไม่สบายใจในบางเรื่อง ไม่ได้มีเจตนาตัดความสัมพันธ์การลงทุน และเชื่อว่าสิงคโปร์เองก็เข้าใจว่าสิ่งใดควรดำเนินการ ส่วนการที่ทูตสิงคโปร์ถูกเรียกเข้าไปคุยนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะเวลามีเรื่องอะไรก็ต้องคุยกันผ่านตัวแทนประเทศเท่านั้นเอง นายเกริกไกร กล่าว

* เปิดพอร์ตกองทุนสิงคโปร์ พบถือหุ้น LH สูงสุด
จากการสำรวจข้อมูลการลงทุนของ GOVERNMENT OF SINGAPORE
INVESTMENT CORPORATION หรือ GIC ปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 ส.ค.49 พบว่า GIC ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นทั้งหมด 31 บริษัท คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 25,713.39 ล้านบาท (เปรียบเทียบจากราคาปิด ช่วงเช้าวันที่ 17 ม.ค.50) โดยบริษัทที่ GIC ถือหุ้นสูงสุด 5 อันดับแรกได้แก่ อันดับหนึ่งบมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) มีสัดส่วนการถือหุ้น 12.71% หรือ 1,073.01 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 6,599.01 ล้านบาท
อันดับสอง บมจ.ปตท.(PTT) มีสัดส่วนการถือหุ้น 0.54% หรือ 15.07 ล้านหุ้น มูลค่าเงินลงทุน 3,104.42 ล้านบาท
อันดับที่สาม บมจ.ปตท.สพ.(PTTEP) มีสัดส่วนการถือหุ้น 0.52% หรือ 17.08 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นมูลค่า 1,392.31 ล้านบาท อันดับที่สี่ บมจ.ซีพี เซเว่น อีเลฟเว่น (CP7-11) มีสัดส่วนการถือหุ้น 3.85% หรือ 248.44 ล้านหุ้น มูลค่าเงินลงทุน 1,490.64 ล้านบาท อันดับที่ห้า ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK มีสัดส่วนการถือหุ้น 1.05% หรือ 25.05 ล้านหุ้น มูลค่าเงินลงทุน 1,477.95 ล้านบาท

***********

ตารางแสดงการลงทุนของ GIC ณ ปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น 30 ส.ค.49

บริษัท จำนวนหุ้น (ล้านหุ้น) มูลค่าเงินลงทุน (ลบ.)
PSL 3.35 147.4
CPF 161.64 795.27
HMPRO 5.37 26.74
TCAP 7.75 95.33
MCOT 22.27 518.89
TOP 15.07 828.85
BECL 9.2 215.28
TUF 10.45 252.89
THRE 52.45 833.96
KBANK 25.05 1477.95
BANPU 1.63 277.1
PTT 15.07 3104.42
BBL 13.04 1382.24
BH 4.97 177.68
LH 1073.01 6599.01
CCET 32.63 142.92
MAJOR 25.68 359.52
GRAMMY 7.55 48.32
MAKRO 1.82 148.33
PTTEP 17.03 1592.31
STEC 18.82 83.94
TISCO18.33 397.76
GLOW 13.59 448.47
BCP 4.41 33.08
SCB 48.6 2867.4
QH 817.28 849.97
CP7-11 248.44 1490.64
ATC 6.95 250.2
TRUE 31.09 160.11
ITD 22.38 107.42
รวม 25713.39

ที่มา : eFinanceThai.com รวบรวม

.00020 [/color:2a3320c5b3">[/size:2a3320c5b3">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com