May 4, 2024   5:43:38 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ฟันธง! แบงก์ชาติ.ลดดบ.วันนี้
 

samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
วันที่: 16/01/2007 @ 22:58:19
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ธปท. กัดฟัน ลดดบ.แน่วันนี้ 0.25% เหลือ 4.75% หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ-การลงทุนของประเทศ รวมถึงบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นคึกคักขึ้น เหตุนลท.โยกเงินลงทุนหุ้น หากผลตอบแทนดอกเบี้ยลดลง ระบุเงินเฟ้อที่ไม่สูงนัก ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มดิ่ง ขณะค่าบาทไม่อ่อนค่าสมใจ เหตุผลหลักยอมลดดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 3 ปี SCIB-KTB นักวิชาการ เชื่อลดแน่ เพราะมาตรการกันสำรองไม่ได้ผล อีกทั้งยังหนุนจิตวิทยาของนักลงทุนทั้งใน-ต่างประเทศได้ดีที่สุด หลังตลาดหุ้นลดฮวบตั้งแต่ออกมาตรการเมื่อ 19 ธ.ค. 49 ขณะที่วงการ เสียงแตก มีทั้งลดและไม่ลด CNS เชื่อยังรูมลดได้อีก ส่วน KGIไซรัส-เคทีบี ประสานเสียงยังไม่จำเป็น หวั่นกดดันสภาพคล่องในปท.

กลายเป็นประเด็นที่น่าจับตามองอีกหนึ่งเรื่องสำหรับเริ่มต้นปีหมู 2550 สำหรับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันนี้ (17 ม.ค.) ว่าจะตัดสินใจอย่างไรกับนโยบายอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศ หลังจากในช่วงปลายปี 2549 ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ทำให้ กนง. จะต้องตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับการประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะหลังการประกาศมาตรการกันสำรอง 30% เพื่อสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาทของนักลงทุนต่างประเทศ ที่มองว่าเป็นสาเหตุในค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปในรอบ 9 ปี จนทำให้ธปท. จำต้องหักดิบกับการดำเนินการดังกล่าว

อย่างไรก็ตามปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มาตรการที่ดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม จนถึงขณะนี้ ยังใช้ไม่ได้ผล ค่าเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าลงมากนัก ในขณะที่ยังบั่นทอนความมั่นใจการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นการพิจารณาของ กนง.ในวันนี้ จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจับตามองว่าการตัดสินจะออกมาอย่างไร ถูกต้องและแก้ปัญหาได้ตรงจุดหรือไม่

ทั้งนี้เพราะมีการคาดการณ์ว่า สถานการณ์ปัจจุบันเหมาะที่สุดที่ กนง. จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ย หากต้องการให้ค่าเงินอ่อนค่าลง จากเม็ดบางส่วนที่จะไหลออกไป นอกจากนั้นยังช่วยกระตุ้นการลงทุนในประเทศให้ฟื้นคืน ทั้งการลงทุนโดยตรง และที่ขาดไม่ได้ก็คือการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะเมื่ออัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยลดลง ทางเลือกของนักลงทุนก็น่าจะหันเหไปลงทุนในตลาดฯแทน เพื่อหวังผลตอบแทนที่ดีกว่า และเท่ากับเป็นการกระตุ้นบรรยากาศการลงทุนไปด้วยในตัวเช่นกัน แม้การลดดอกเบี้ยอาจจะไม่ใช่มุ่งหวังผลในเรื่องของดัชนีตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก เพราะธปท. ในฐานะผู้ดูแลนโยบายการเงินของประเทศคงไม่ได้เน้นในจุดนั้น แต่น่าจะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ที่ทำท่าว่าจะชะลอตัวตั้งแต่เริ่มต้นปีเลยทีเดียว

ดังนั้นในฐานะที่เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การลดดอกเบี้ยครั้งนี้น่าจะกระตุ้นการลงทุนและการบริโภคของเอกชนในประเทศได้บ้าง เพราะถือเป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ให้ ขยายตัวได้ดีขึ้น ท่ามกลางกระแสข่าวการถอนทุนของนักลงทุนต่างประเทศออกไป การลดอกเบี้ยน่าจะช่วยในด้านของจิตวิทยานักลงทันทั้งในและต่างประเทศได้ด้วย
แม้ว่าการลดอัตราดอกเบี้ยจะมีผลเสียบ้างจากเม็ดเงินที่ต้องไหลออกไปยังตลาดเงินประเทศอื่น ในขณะที่ตอนนี้ประเทศอาจดูเหมือนสภาพคล่องจากเม็ดเงินที่ไหลออกไป ซึ่งอาจมองเป็นเรื่องเสี่ยงต่อการกดดันสภาพคล่องในประเทศให้น้อยลง

อีกทั้งทำให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยระยะสั้นลดลง แต่ตอนนี้หากมองกลับกันอีกด้าน สิ่งที่ กนง. จะต้องพิจารณาก็คือเสถียรภาพการเจริญเติบโตของประเทศด้วยเช่นกัน และหากพิจารณาตอนนี้ทั้งเรื่องค่าเงินบาท ปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง และอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่ไม่สูงมากนัก ก็น่าจะเป็นเหตุผลให้ กนง. พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ รวมไปถึงเรื่องข่าวการถอนเงินลงทุนของต่างชาติ ก็น่าจะเป็นอีกเหตุผลในการกดดันให้ลดดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นผลดีมากกว่าผลเสีย และไม่มีความจำเป็นที่ กนง.จะต้องรอการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด ที่จะประชุมในวันที่ 30-31 มกราคมนี้ด้วย เพราะควรจะคำนึงถึงสถานการณ์ในประเทศเป็นหลักก่อนมากกว่า หากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยทำให้ภาคธุรกิจในประเทศกลับมากระชุ่มกระชวยได้อีกครั้งก็น่าจะดีต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ เพราะการลดดอกเบี้ยของ กนง.เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์ต้องลดอัตราดอกเบี้ยตามดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง กระตุ้นภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยโดยตรงได้ ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ รับเหมาก่อสร้าง

ตลอดจนทำให้ประชาชนมีต้นทุนเรื่องค่าใช้จ่ายลดลงได้อีก หนุนให้เกิดการบริโภค การใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งถือเป็นผลพวงที่จะตามมาทันทีหาก กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยเชื่อว่าธปท.จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เหลือ 4.75% จากปัจจุบันอยู่ที่ 5% ซึ่งถือเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 3 ปี

นอกจากนี้การประชุมของ กนง. วันนี้ ยังถือเป็นครั้งแรกที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น อาร์/พี 1 วัน จากเดิม 14 วัน เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสะท้อนการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นของสถาบันการเงินในตลาดเงินได้ดีขึ้น และเป็นการเปิดโอกาสให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเคลื่อนไหวตามการคาดการณ์ทิศทางอัตราดอกเบี้ยด้วย

เพราะฉะนั้นเมื่อพิจารณาจากการปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ กนง. จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันให้สอดคล้องกับการไปใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายใหม่ด้วยเช่นกัน โดยปกติแล้วอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วันจะห่างจากอาร์/พี 14 วันอยู่ที่ 0.10% โดยหากดูจากค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วัน ล่าสุด (16 ม.ค.)อยู่ที่ 4.93% โดยระหว่างวันขึ้นไปสูงสุดที่ 4.96% ต่ำสุดที่ 4.93% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับอาร์/พี 14 วัน ซึ่งอยู่ที่ 5% ซึ่งแนวโน้มของอาร์/พี 1 วัน ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงสัปดาห์นี้ปรับขึ้นมาในระดับที่ใกล้เคียงกับอาร์/พี 14 วัน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.92% - 4.93% -4.94%

ดังนั้นต้องติดตามในวันนี้ว่าอาร์/พี 1 วัน จะขึ้นมาเท่ากับอาร์/พี 14 วันได้หรือไม่ เพราะหากอัตราที่ประกาศออกมาในวันพรุ่งนี้ต่ำกว่า 5% อาจจะเป็นการส่งสัญญาณไปยังตลาดได้ว่า ธปท.นั้นปรับลดดอกเบี้ยอาร์/พี

 กลับขึ้นบน
samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
#1 วันที่: 16/01/2007 @ 22:59:54 : re: ฟันธง! แบงก์ชาติ.ลดดบ.วันนี้
SCIB-KTB เชื่อ ธปท.ลดดบ.กระตุ้นค่าบาทอ่อน-หนุนจิตวิทยานลท.
นายประวิทย์ องค์วัฒนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB กล่าวกับ eFinanceThai.com ว่า โดยส่วนตัวมองว่าธปท.น่าจะปรับลดดอกเบี้ย 0.25% เพราะต้องการให้เงินบาทอ่อนค่า แต่จะช่วยได้มากน้อยแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการลดดอกเบี้ยแค่ 0.25% ถือว่าเป็นวิธีการที่ค่อนข้างนุ่มนวล และไม่รุนแรงเท่ากับมาตรการกันสำรอง30% ซึ่งช่วยลดแรงกดดันค่าเงินบาทไปพอสมควรแล้ว ดังนั้น การลดดอกเบี้ยน่าจะช่วยเสริมได้อีกทางหนี่ง เพราะการลดดอกเบี้ยจะทำให้แรงจูงใจในการนำเงินเข้ามาฝากในประเทศน้อยลง
สำหรับการประชุมในวันพรุ่งนี้ ธปท.จะใช้ดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วัน เป็นดอกเบี้ยนโยบายแทนอาร์/พี 14 วัน ซึ่งจะต้องมาลุ้นกันว่าอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วันที่ ธปท.ประกาศจะอยู่ที่ระดับเท่าใด จะเท่ากับอาร์/พี 14 วันหรือไม่ซึ่งอยู่ที่ 5%

ขณะที่ผู้บริหารจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)หรือ KTB กล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วสาเหตุที่มองว่าธปท.จะปรับลดดอกเบี้ย เพราะการดำเนินงานของรัฐบาลหลายมาตรการที่ผ่านมาไม่เป็นที่พอใจของนักลงทุน ดัชนีตลาดหุ้นปัจจุบันยังห่างจากวันที่ 18 ธ.ค.(ก่อนที่ ธปท.จะออกมาตรการสำรอง 30%)อยู่ถึง 50 จุด ดังนั้นการปรับลดดอกเบี้ย 0.25%แม้จะไม่ส่งผลให้บาทอ่อนทันทีหรืออ่อนมากเท่าที่ควรจะเป็นแต่อย่างน้อยที่สุดน่าจะส่งผลดีทางด้านจิตวิทยาของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้ดีที่สุด

?มาตรการ 30%ของแบงก์ชาติไม่ได้ผลหรอก บาทก็ไม่ได้อ่อนมากกลับกันทำให้นักลงทุนแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ นักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นได้แต่แบงก์ชาติไม่ใช่ผู้ปฏิบัติแค่ออกนโยบาย จึงรู้แค่ทฤษฎี ดังนั้น การลดอกเบี้ยก็น่าจะช่วยเสริมได้อีกทาง?



*แบงก์อิสลาม- KBANK เชื่อไม่ลดดบ.มองเร็วไป คาดลดครึ่งปีหลัง

นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ประธานกรรมการบริหารและรักษาการกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวมองว่า กนง. ไม่น่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลง เนื่องจาก ธปท.เพิ่งออกมาตรการกันสำรอง 30% สำหรับเงินทุนนำเข้าระยะสั้นเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าบาท ซึ่งถือว่าเป็นยาแรงและช่วยให้เงินบาทอ่อนค่าลงในระดับหนึ่งแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีลดดอกเบี้ยช่วยลดแรงกดดันค่าเงินบาทอีกทางหนึ่ง
?แบงก์ชาติคงไม่น่าจะผ่อนคลายทั้ง 2 ทาง เพราะเพิ่งออกมาตรการสกัดเงินทุนนำเข้าระยะสั้นไป เชื่อว่าจากนี้คงดูผลกระทบอีกสักระยะ คงไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการกระชุมพรุ่งนี้แต่ครึ่งปีหลังไม่แน่?นายธีรศักดิ์ กล่าว

ด้าน ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายสื่อสารและส่งเสริมงานบริหารองค์การ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ในความเห็นส่วนตัวมองว่า ธปท.ไม่น่าจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย เพราะถือว่าเร็วเกินไปที่จะใช้วิธีดังกล่าว ขณะที่เงินเฟ้อก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง แต่ธปท.น่าจะประเมินทิศทางเงินเฟ้อต่ออีกสักระยะหนึ่งว่าจะทรงตัวต่อไปนานแค่ไหนก่อนจะตัดสินใจลดดอกเบี้ยในครั้งต่อไป
? ไม่น่าจะลด น่าจะเป็นครั้งหน้ามากกว่า เพราะมีประเด็นให้แบงก์ชาติคิดอีกมาก ถ้าลดครั้งนี้ถือว่าเร็วเกินไป และเท่ากับว่าส่งสัญญาณเร็ว ดอกเบี้ยในตลาดก็จะลงเร็วเกินไปเช่นกันแต่หลักๆ แบงก์ชาติก็คงดูประเด็นเรื่องเงินเฟ้อมากกว่า? ดร.อดิศว์ กล่าว



* SCB ยังไม่ลังเล ไม่แน่ใจลดหรือไม่ลด
ดร.ภากร ปีตธวัชชัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายบริหารการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวว่า เป็นการเดาได้ยากว่าพรุ่งนี้ ธปท.จะปรับลดดอกเบี้ยหรือคงดอกเบี้ยไว้ที่เดิมเพราะมีหลายปัจจัยให้นำมาพิจารณา อย่างไรก็ตาม พรุ่งนี้ประเด็นที่จะต้องติดตามดูคือ อัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วัน ซึ่งแบงก์ชาติจะนำมาใช้เป็นดอกเบี้ยนโยบายแทนอาร์/พี14 วัน จะอยู่ที่ระดับเท่าใดเพราะอาร์/พี 1 วัน อยู่ที่ 5% แต่โดยปกติแล้วอาร์/พี 1 วัน จะอยู่ต่ำกว่าอาร์/พี 14 วัน ในขณะที่อีกด้านยังคงมองว่าแบงก์ชาติน่าจะปรับลดดอกเบี้ยในวันพรุ่งนี้ประมาณ0.25%


* โบรกฯ เสียงแตก มีทั้งลด และคงอัตราดอกเบี้ยเดิมไว้
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน กล่าวว่า การประชุม กนง. วันนี้ น่าจะมีการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ย R/P 14 วันลงจากปัจจุบันที่ 5% เนื่องจากคาดว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับธนาคารชาติญี่ปุ่น หรือ BOJ ที่จะมีการประชุมในวันที่ 17 - 18 ม.ค.นี้ ซึ่งมีผลารสำรวจว่ามีการปรับลดลงประมาณ 0.25%
มองว่าประเทศเรายังมีรูมของดอกเบี้ยที่ปรับลดลงได้อีก ซึ่งหากปรับลดลงจริงถือว่าเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 ปีเลย นายชัย กล่าว

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยประมาณ 0.25% ซึ่งหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจริง ก็ไม่น่ามีหุ้นกลุ่มใดได้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญนัก เนื่องจากเป็นการปรับลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ด้านนางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.เคทีบี กล่าวว่า ในวันนี้ กนง. คงจะไม่มีการปรับขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ย R/P 14วัน แต่จะเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 5% เช่นเดียวกับในปัจจุบัน เนื่องจากประเมินว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องรีบปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวลงในระยะเวลารวดเร็วนัก ซึ่งอาจจะใช้เวลาพิจารณาเพื่อประเมินสถานการณ์รอบด้าน โดยเฉพาะตัวเลขเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอีกสักระยะ

แน่นอนว่าเทรนด์ดอกเบี้ยเริ่มเป็นขาลง แต่มองว่าเร็วเกินไปที่จะปรับลดดอกเบี้ยลงพรุ่งนี้เลย ซึ่งหากใช้เวลา 1 - 2 เดือนจากนี้พิจารณาให้ถี่ถ้วน แล้วค่อยพิจารณาปรับดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงเดือนมีนาคมที่จะมีการประชุม กนง.อีกรอบก็ยังไม่สาย นางสาวสุภากร กล่าว

นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (มหาชน) กล่าวว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเท่าเดิมคือ 5% เนื่องจากมองว่าสถาบันการเงินต่างๆ ยังมีการแข่งขันทางด้านเงินฝาก และความต้องการเงินฝากยังมีอยู่ ซึ่งหากลดอัตาดอกเบี้ยลง ก็จะเป็นสัญญาณที่ไม่ดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม ประกอบกับเงินเฟ้อก็ยังไม่ได้ปรับลดลงมาก ดังนั้นจึงมองว่าไม่มีความจำเป็นที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ไม่น่าจะปรับลด เพราะยังมีการแข่งขันทางด้านเงินฝากอยู่ และความต้องการเงินฝากยังมีอยู่ อย่าง SCIB ก็มีการขึ้นดอกเบี้ยออมทรัพย์ ส่วนจะลดเพระเรื่องค่าเงินบาทแข็งค่า ก็คงจะมีการปรับลดไปนานแล้ว และเงินเฟ้อปีที่ผ่านมาก็ไม่ได้ลดลงอะไรมากมาย ดังนั้นจึงมองว่า ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลดดอกเบี้ยลง นายอดิศักดิ์ กล่าว
ด้านนางสาวสิริณัฎฐา เตชะศิริวรรณ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไซรัส กล่าวว่า กนง. คงจะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเช่นกัน เนื่องจากมองว่าสถาบันการเงินก็ไม่ได้มีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่ในระดับที่มากเกินไป


* บิ๊กบลจ.ไทยพาณิชย์ เชื่อ ธปท.ลดดบ.กระตุ้นลงทุน
นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ กรรมการผู้อำนวยการ บลจ.ไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เชื่อว่าการประชุมของ กนง. ในวันนี้ จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากปัจจัยกดดันในเรื่องของเงินเฟ้อนั้นปรับลดลง รวมถึงเป็นการกระตุ้นการลงทุน โดยประเมินว่าหากธปท.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย

โดยคาดว่าธปท. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้งปีที่ระดับ 0.5% แต่ในช่วงแรก คาดว่าจะมีการปรับลดลง 0.25% ซึ่งจะส่งผลทำให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น มีผลตอบแทนลดลง แต่จะส่งผลดีต่ออัตราดอกเบี้ยระยะยาว


* นักวิชาการคาด กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25%
นายธนวรรธณ์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ย ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% โดยไม่ต้องรอให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อัตราดอกเบี้ยปรับลดลงก่อน เนื่องจากปัจจัยหลักที่ส่งผลโดยตรง คือ การแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินบาท และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง

?ผลการประชุมของ กนง.ที่จะมีขึ้นภายในเดือนนี้ คาดว่ามีแนวโน้มที่จะปรับดอกเบี้ยลงได้ โดยไม่ต้องรอให้เฟดปรับดอกเบี้ยลงก่อน เนื่องจาก เงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนักบวกกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ เป็นเพียงแค่สมติฐานเท่านั้น ต้องรอดูแนวโน้มอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเฟดนั้น จากที่หลายคนมองว่าน่าจะมีการปรับดอกเบี้ยลงช่วงไตรมาสแรกของปีหน้านั้น ซึ่งในความเห็นส่วนตัวแล้ว มองว่าเฟดน่าจะปรับดอกเบี้ยลงช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้ามากกว่าเนื่องจากห่วงเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ ยอมรับว่ายังไม่มีความชัดเจนเท่าไหร่ ? นายธนวรรธณ์ กล่าว[/color:ecaec5dcf5">
 กลับขึ้นบน
เสี่ยปอ
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 72
#2 วันที่: 16/01/2007 @ 23:06:28 : re: ฟันธง! แบงก์ชาติ.ลดดบ.วันนี้
แหล่งข่าวของ..เสี่ยปอ..ในCNS กระวิบว่าลดแน่ๆ1หลึงครับ
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com