April 29, 2024   8:17:46 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เซียนหุ้นแนะเก็บแบงก์ใหญ่ปลอดภัยสุด
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 08/01/2007 @ 23:36:54
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

สลด ! งบ Q4/49 กลุ่มแบงก์กำไรรูดแน่ เหตุตั้งสำรองตามเกณฑ์ IAS39 นักวิเคราะห์ฟันธงงานนี้ TMB-BAY อ่วมสุด เหตุ NPL สูง-เงินสำรองส่วนเกินต่ำ แนะช่วงนี้อย่าพลีพล่ามเข้าซื้อหุ้นแบงก์ เหตุภาวะตลาดหุ้นไม่เอื้อ แถมผลงาน Q4/49 ไม่หนุนให้เข้าเก็งกำไร ระบุหากต้องการซื้อลงทุนให้เลี่ยงเก็บหุ้นแบงก์ใหญ่ BBL-KBANK-SCB


อีกไม่กี่วันกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 4 ของปี 2549 และงบการเงินประจำปี 2549 ซึ่งแน่นอนว่าทุกปีก่อนประกาศผลประกอบการจะมีนักลงทุนเข้ามาเก็งกำไรล่วงหน้า แต่ดูเหมือนว่าปีนี้นักลงทุนจะเทขายหุ้นแบงก์ล่วงหน้า เพราะบทวิเคราะห์หลายสำนักระบุชัดเจนว่ากำไรสุทธิของหุ้นกลุ่มแบงก์ในไตรมาส 4/49 มีสิทธิ์ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในไตรมาสนี้บรรดาแบงก์น้อยใหญ่จะต้องดำเนินการกันสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ (IAS 39) ที่จะประกาศใช้ในปี 2551

ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แบงก์ต่างๆเริ่มทยอยตั้งสำรองเฟสแรกไปแล้วในเดือนธ.ค.49 จึงส่งผลให้งบการเงินไตรมาส 4/49 กำไรลดลง และผลจากการตั้งสำรองดังกล่าวยังต่อเนื่องมายังงบการเงินปี 50 นอกจากนี้ บรรยากาศการลงทุนของตลาดหุ้นโดยรวมยังไม่เอื้ออำนวยในการเข้ามาลงทุนช่วงนี้อีกด้วย เพราะช่วงที่ผ่านมาผลกระทบจากมาตรการกันสำรอง 30% ของแบงก์ชาติ และเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพมหานคร ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ จึงน่าติดตามเป็นอย่างยิ่งว่าอนาคตหุ้นกลุ่มแบงก์จะเป็นเช่นไร แต่แน่นอนว่า งานนี้แบงก์ใหญ่จะได้รับผลกระทบมากกว่าแบงก์ขนาดเล็ก เพราะสถานะทางการเงินดีกว่า และมีความได้เปลี่ยนในการแข่งขัน


***เซียนหุ้นชี้ หุ้นแบงก์รูด เหตุนลท.กังวลเกณฑ์ IAS39 กระทบกำไรปีนี้หด

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง กล่าวว่า สาเหตุที่ราคาหุ้นแบงก์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลกระทบมาจากมาตรฐานการบัญชีใหม่ (IAS39) มีผลกระทบต่อกำไรของธนาคารพาณิชย์ในปีนี้ให้ปรับลดลงอย่างแน่นอน เพราะจากการตั้งสำรองตามเกณฑ์ใหม่ที่เข้มงวดมากขึ้นจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องกันเงินส่วนหนึ่งมาใส่สำรอง แต่จะกระทบกำไรมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสำรองส่วนเกินที่แต่ละแบงก์มีอยู่เดิม อย่างไรก็ตาม แม้ในระยะสั้นกำไรจะลดลงบ้างแต่การกันสำรองที่เข้มงวดขึ้นจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งในระยะยาวให้แก่ระบบธนาคารพาณิชย์ได้

ในขณะที่มาตรการดำรงเงินสำรองนำเข้าระยะสั้น 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ที่สั่งให้ธนาคารพาณิชย์กันเงินที่นำมาแลกไว้ 30% และยอมให้แลกเป็นเงินบาทได้แค่ 70%น่าจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อลูกค้าของธนาคารมากกว่า เพราะจะต้องทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินกับธนาคารซึ่งต่อนี้ไปอาจจะทำได้ยากขึ้นผลกระทบที่ตามมาคือ รายได้ค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมดังกล่าวอาจจะลดลงแต่ไม่ได้มีนัยยะสำคัญต่อผลประกอบการ

กำไรของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปีนี้คาดว่าจะปรับลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และขณะนี้เรากำลังทบทวนประมาณการใหม่ จากเดิมคาดว่ากำไรทั้งกลุ่มจะอยู่ที่ 77,000 ล้านบาทในปีนี้ แหล่งข่าวกล่าว
สำหรับการลงทุนหุ้นแบงก์ในปีนี้ แบงก์ขนาดใหญ่ยังคงมีความน่าสนใจ เพราะมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB และธนาคารกสิกรไทยจำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ราคาเป้าหมาย 144 บาท 69 บาท และ 76 บาท ตามลำดับ

ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า กำไรสุทธิไตรมาสแรกปีนี้ของกลุ่มแบงก์คาดว่าจะปรับลดลง เนื่องจากต้องเผชิญกับกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดของทางการ ทั้งมาตรฐานการบัญชีใหม่ (IAS39) การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำตามเกณฑ์ของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BASEL2) ซึ่งจะส่งผลให้ต้องมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้น

ดังนั้น ตัวที่จะชี้วัดผลการดำเงินงานของธนาคารที่แท้จริงจะต้องพิจารณาจากกำไรก่อนการตั้งสำรอง ซึ่งคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้น จากการที่แต่ละแบงก์หันมารุกสินเชื่อรายย่อยมากขึ้น เพราะถือว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจ และจะเพิ่มช่องทางการหารายได้ค่าธรรมเนียมได้มาก บริษัทจึงมองว่าในปีนี้หุ้นกลุ่มธนาคารยังคงน่าสนใจ แม้ว่ากำไรสุทธิจะลดลง แต่การดำเนินงานที่แท้จริงยังคงเพิ่มขึ้น

? เรามองว่าหุ้นแบงก์ยังคงน่าสนใจ แต่ยอมรับว่ากำไรสุทธิไตรมาสแรกปีนี้อาจลดลงบ้าง แต่ก็ยังน่าเล่นอยู่ เพราะสินเชื่อก็น่าจะขยายตัวได้ดีแม้จะไม่สูงมากหลายแบงก์ก็ตั้งเป้าหมายขยายสินเชื่อไว้สูง? นักวิเคราะห์กล่าว

นักวิเคราะห์จาก บล.กรุงศรีฯ กล่าวว่า มาตรสำรองเงินนำเข้าระยะสั้น 30% ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.49 เป็นต้นมา คาดว่า ไม่ส่งผลกระทบแบบมีนัยสำคัญต่อหุ้นในกลุ่มธนาคาร เพราะเป็นเรื่องของการสกัดการเก็งกำไรค่าบาท แต่จะมีผลทางอ้อมต่อแบงก์คือ รายได้ของธนาคารจากธุรกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราอาจลดลง แต่เป็นการลดลงไม่มาก เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดที่เข้ามา

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงแนะนำซื้อหุ้นกลุ่มธนาคารได้ เพราะราคาปรับลงมามากจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ปรับลดลง แต่ไม่ได้ลดลงเพราะปัจจัยพื้นฐานไม่ดี
หุ้นที่น่าสนใจได้แก่ BBL KBANK และ SCB


.00020

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 08/01/2007 @ 23:39:40 : re: เซียนหุ้นแนะเก็บแบงก์ใหญ่ปลอดภัยสุด
***โบรกฯ ชี้ TMB เละกำไรรูดหนัก เหตุเงินสำรองส่วนเกินน้อย

นักวิเคราะห์รายหนึ่งกล่าวว่า ผลประกอบการไตรมาส 4/49 ของกลุ่มแบงก์ส่วนใหญ่กำไรจะปรับตัวลดลง เนื่องจากต้องดำเนินการกันสำรองตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ (IAS 39) โดยคาดว่าธนาคารทหารไทย(TMB) จะมีกำไรลดลงมากที่สุด เนื่องจากมี NPL จำนวนมาก แต่มีเงินสำรองส่วนเกินต่ำ
รองลงมาได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เนื่องจาก NPL มีหลักประกันจำนวนมากจึงมีส่วนลดลงมาก ส่งผลให้ต้องตั้งสำรองสูง โดยคาดว่าไตรมาส 4/49 BAY จะขาดทุนสุทธิ 950 ล้านบาท ขณะที่ทั้งปีจะมีกำไรสุทธิ 4.4 พันล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 48 ขณะที่แนวโน้มปี 50 คาดว่าผลการดำเนินงานยังไม่ดีขึ้น แม้ว่าจะมีกลุ่มจีอีเข้ามาถือหุ้น เนื่องจากต้องกำนสำรองเฟสที่ 2 และ 3 ประกอบกับปีนี้ต้องเริ่มเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเต็มอัตรา อีกทั้งจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นส่งผลให้กำไรต่อหุ้นลดลง

ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คาดว่าไตรมาส 4/49 จะมีกำไรสุทธิ 763 ล้านบาท YOY ลดลง 82% ส่วนทั้งปีประมาณการณ์กำไรสุทธิไว้ที่ระดับ 1.3 หมื่นล้านบาท

สำหรับแนวโน้มผลประกอบการกลุ่มแบงก์ปี 50 ยังต้องติดตามเกณฑ์การตั้งสำรอง IAS39 จะส่งผลกระทบต่อกำไรของกลุ่มแบงก์ โดยช่วงนี้แนะนำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนหุ้นกลุ่มแบงก์ เนื่องจากมีความเสี่ยงจากบรรยากาศการลงทุนโดยรวม อย่างไรก็ดี หากนักลงทุนต้องการลงทุนแนะนำให้ซื้อหุ้นแบงก์ใหญ่ได้แก่ BBL, KBANK, SCB

***นักวิเคราะห์เชียร์ซื้อหุ้นแบงก์ใหญ่ BBL-SCB-KBANK

นางสาวอรุณรัตน์ จิวางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เคทีบี เปิดเผยว่า แนวโน้มของรายได้ในไตรมาส 4/49 ของหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง รวมทั้งนโยบายการตั้งสำรองเพื่อรองรับระบบ IAS39 ซึ่งใช้ในปี 49 และ 50 ส่วนตัวเลขของผลประกอบการในหุ้นกลุ่มดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดเผยได้เนื่องจากกำลังอยู่ระหว่างการประเมิน

ทั้งนี้ แนะนำซื้อหุ้นของธนาคารกรุงเทพ (BBL) และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เนื่องจากเป็นหุ้นขนาดใหญ่ และมีโอกาสเติบโตในทิศทางที่ดี โดย BBL ให้ราคาเป้าหมายไว้ที่ 157 บาท ส่วน KBANK ราคาเป้าหมาย 85 บาท

ด้านเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์อีกราย เปิดเผยถึงกรณีเดียวกันว่า รายได้ของหุ้นกลุ่มแบงก์ที่ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากนโยบายการตั้งสำรองเพื่อรองรับระบบ IAS39 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อรายได้ของกลุ่มแบงก์ค่อนข้างมาก โดยประเมินว่าทั้งระบบจะตั้งสำรองเพื่อรองรับระบบดังกล่าวในปี 2549 อยู่ที่ 56,000 ล้านบาท โดย ธนาคารทหารไทย (TMB) มีการตั้งสำรองมากที่สุดและรายได้ในไตรมาส 4 ก็ลดลงมากที่สุดเช่นกัน

ตัวรายได้และกำไรของหุ้นในกลุ่มแบงก์ขณะนี้ฝ่ายวิเคราะห์กำลังอยู่ระหว่างการทำประมาณการ ซึ่งยังไม่เสร็จ จึงยังเปิดเผยตัวเลขไม่ได้ แต่แนวโน้มคร่าวๆ แล้ว ผลประกอบการลดลง โดยเฉพาะ TMB ที่รายได้ลดลงมากที่สุด ในขณะที่ BBL และ SCB ก็ยังคงแนะนำซื้อ เพราะเป็นแบงก์ขนาดใหญ่ และมีความแข็งแกร่งในด้านการเติบโตและรายได้ แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว

***บล.ซิกโก้ SCB มีโอกาสตั้งสำรองอย่างมากในไตรมาส 4/49

บทวิเคราะห์ของบล.ซิกโก้ ระบุว่า SCB มีโอกาสตั้งสำ รองอย่างมากในไตรมาส 4 ภายหลังการ ประกาศใช้มาตรฐานบัญชี IAS39 โดยมีประเด็นสำคัญอยู่ที่ข้อกำหนดในการกันสำรองแบบ 100% สำหรับหนึ้เสียหรือNPL ซึ่งทางการให้สิทธิแก่ธนาคารในการเลือกวิธีการปรับเปลี่ยนเพื่อกันสำรองให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว ในเบื้องต้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ธนาคารต้องกันสำรอง 100%กับ NPL ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2550

และให้โอกาสธนาคารสามารถแบ่งกันสำรอง เป็น 3 ช่วงเวลาคือ ในช่วงแรก 4Q06 ให้เริ่มใช้กับNPLที่อยู่ในชั้นศาลหรืออยู่ในขั้นการฟ้องร้อง ในช่วงที่สอง 2Q07 จะเริ่มใช้กับ NPL ที่เกินกว่า 6 เดือน และในช่วงสุดท้าย 4Q07E ให้เริ่มใช้กับ NPL ที่เกินกว่า 3 เดือนและถือเป็นการใช้ตามมาตรฐาน IAS39 อย่างสมบูรณ์กับระบบธนาคารพาณิชย์

ในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ เนื่องจากธนาคารมีเงินสำรองต่อ NPLมากถึง 78% ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารจะกันสำรองจำนวนมากใน 4Q06E เพื่อให้ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในปี 2007 เราประเมินว่าหากธนาคารกันสำรองทั้งจำนวนธนาคารอาจต้องกันเงินประมาณกว่า1.3 หมื่นลบ. แต่เนื่องจาก SCB มีสำรองส่วนเกินที่สามารถนำมาใช้ได้

เราจึงคาดว่าการกันสำรองใน 4Q06E จะอยู่ที่ 8.9 พันลบ. จะทำให้การกันสำรองทั้งปีอยู่ที่ 1 หมื่นลบ. แต่หากธนาคารไม่กันสำรองในงวดเดียว(เหมือนที่เราคาด) เราก็ประเมินว่าธนาคารยังคงตั้งกันสำรองในระดับ 5-6 พันลบ. สำหรับในปี 2007 หากมีการกันสำรองเต็มจำนวนเสร็จสิ้นตามที่เราคาด ธนาคารจะกันสำรองประมาณเดือนละ 300 ลบ.เพื่อรองรับสินเชื่อใหม่
จากเหตุผลข้างต้นทำให้กำไรสุทธิของ SCB ในไตรมาส 4 ของปี 2549 ลดลงจากการกันสำรอง เราประเมินว่ากำไรสุทธิของธนาคาร FY06E จะอยู่ที่ 9.4 พันลบ. ซึ่งลดลงกว่า 50% YoY แม้ว่ากำไรสุทธิจะลดลงอย่างมากแต่หากพิจารณาถึงรายได้ปกติจากดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิยังคงเติบโตถึง 18.5%

อย่างไรก็ดี ฝ่ายวิเคราะห์คงคำแนะนำ ? ซื้อ ? ด้วยราคาเหมาะสม 70 บาท เพราะการตั้งสำรองที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อลดภาระการตั้งสำรองที่จะเกิดขึ้นใน FY07E จึงส่งผลให้มูลค่าที่เหมาะสมของ SCB ปรับตัวลดลงจาก 74 บาทเหลือ 70 บาท แต่เนื่องจากศักยภาพในการขยายสินเชื่อที่มีอยู่มากประกอบกับบริษัทในเครือสามารถทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง


ตารางเปรียบเทียบราคาหุ้นกลุ่มแบงก์กับราคาเป้าหมายของ Analyst Consensus

ธนาคาร ราคาปิดวานนี้(8 ม.ค.) Analyst Consensus เปลี่ยนแปลง %
1.BBL 99 138.14 39.14 28.33
2.KTB 10.50 14.28 3.78 26.47
3.KBANK 54.50 82.09 27.59 33.6
4.SCB 53 70.12 17.12 24.41
5.BAY 16.70 20.93 4.23 20.21
6.TMB 2.46 3.55 1.09 30.7
7.SCIB 16 23.67 7.67 32.4
8.BT 4.78 6.9 2.12 30.72
9.ACL 4.14 3.94 0.2 5.07
10.TISCO 20.50 26.95 6.45 23.93
11.KK 26.75 33.99 7.24 21.3
12.TBANK 8.9 - - -

ที่มา : eFinancThai.com รวบรวม
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com