May 15, 2024   3:46:59 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > "ดาวร่วง" ของตลาดทุนไทย ปี 2549 (ตอนจบ)
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 29/12/2006 @ 06:15:25
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

-นักขายฝัน(กลางวัน)

สุดยอดดาวร่วงแห่งปี 2549 คงจะขาดไม่ได้ที่จะต้องบันทึกชื่อของ สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย อดีตCEO ของ บริษัท ทราฟฟิค คอนเนอร์ จำกัด(มหาชน)หรือTRAF รวมอยู่ด้วย ส่วนเหตุผลคงหนีไม่พ้น การยกธงขาว ที่จะนำพาบริษัทของตนไปถึงฝั่งฝันได้ อย่างที่เคยลั่นวาจาไว้

นับตั้งแต่ TRAF เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาเมื่อหลายปีก่อนได้เปิดเกมรุกธุรกิจอย่างมั่นใจ โดยทุกครั้งที่เปิดเกมรุกธุรกิจใหม่ๆ นายสุรพงษ์ จะประกาศเสมอว่า จะทำให้TRAF มีกำไรดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่น่าเสียดายที่บังเอิญ ผลประกอบการของบริษัท ไม่สะท้อนความมั่นใจดังกล่าวออกมา แต่กลับสวนทาง มีปัญหาขาดทุนให้เห็นต่อเนื่อง

โดยนับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น TRAF มีผลประกอบการที่เป็นบวกเพียงปีเดียว คือปี 2545 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทนำบริษัทเข้าตลาด แต่หลังจากนั้นบริษัทก็ขาดทุนมาโดยตลอด ซึ่งทางออกดูเหมือนเตรียมเอาไว้ล่วงหน้าก็คือ การหาพันธมิตรร่วมทุนใหม่ ที่จะมาทำให้ฐานะการเงินของบริษัทพลิกผันกลับขึ้นมาสู่ความรุ่งเรืองตามที่เคยประกาศเอาไว้

 ในปี 2547 พันธมิตรที่TRAF หามาได้ สร้างความฮือฮาไม่เบา เมื่อกลุ่มวงสวัสดิ์ โดยบุตรสาวของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ นักการเมืองชื่อดังน้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรี ได้เข้ามาซื้อหุ้นร่วมทุนบางส่วน แต่ก็น้อยเกินไปที่จะเพียงพอกับความต้องการเม็ดเงินมาเยียวยาบริษัท

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ช่วงนั้น สุรพงษ์เอง ได้แถลงข่าวเพิ่มเติมอีกว่า เขาคาดว่า ในปี 2547บริษัทตั้งเป้าจะมีกำไรไว้ประมาณ 60 ล้านบาทโดยเป็นกำไรที่มาจาก 3 ธุรกิจ โดยเริ่มมีกำไรตั้งแต่ไตรมาสที่สามเป็นต้นไป แต่ข้อเท็จจริงในเวลาต่อมาก็คือ บริษัทยังคงขาดทุนต่อไปเรื่อยๆในไตรมาสที่สาม 2547จนกระทั่ง มีข่าวก่อนที่งบการเงินงวดสิ้นปี 2547 เรื่องพันธมิตรใหม่ที่เข้ามาซื้อหุ้น TRAF ในส่วนที่เหลือแทนกลุ่มวงศ์สวัสดิ์

โดยในปี 2548 พันธมิตรร่วมทุนใหม่ของ TRAF ก็ปรากฎตัวขึ้นมาอีกครั้ง คราวนี้เป็นยักษ์ใหญ่ ด้านสิ่งพิมพ์จากสิงคโปร์ SPH ซึ่งผู้ถือหุ้นใหญ่คือรัฐบาลสิงคโปร์ ได้เข้ามาถือหุ้นในบริษัทด้วยสัดส่วน 9 % และถือหุ้น 49% ในกลุ่มธุรกิจสิ่งพิมพ์ของบริษัท

ตอนนั้นสุรพงษ์กล่าวว่า การเข้าร่วมมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทเอสพีเอช แม็กกาซีน จำกัด(SPHM)ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท สิงคโปร์ เพรส โฮลดิ้งส์ จำกัด จะทำให้บริษัทมีความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์มากขึ้น โดยหลังจากการร่วมทุนแล้วจะทำการศึกษาในการออกนิตยสารใหม่ให้เหมาะสมกับผู้อ่านมากขึ้น โดยในปีนี้อาจจะไม่เน้นออกนิตยสารเล่มใหม่แต่ยังคงเน้นนิตยสารเดิมให้เติบโตมากขึ้น

เท่านั้นยังไม่พอ ยังกล่าวว่า SPHMนั้น ไม่ได้ลงทุนในไทยกับTRAF เป็นรายแรก เพราะในอดีตที่ผ่านมา บริษัทกลุ่มนี้ ได้เคยเข้ามาถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ Business Day กับกลุ่มนายชาติชาย เย็นบำรุงมาก่อนหน้าแล้ว และไม่ถือว่าประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าเอาไว้

 จากการจับมือกับพันธมิตรใหม่จากสิงคโปร์นี้เอง ทำให้ สุรพงษ์ ดูมั่นใจอีกครั้งหนึ่งว่า ในช่วงไตรมาส 1 ปี 48 บริษัทคาดว่าจะสามารถพลิกจากขาดทุนมาเป็นกำไร เนื่องจากธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์มีอัตราเติบโตสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถทำกำไรได้เหมือนเดิม แถมยังมีผลขาดทุนอีก 148 ล้านบาท

น่าสังเกตก็คือว่าการกลับมาแถลงข่าวช่วงต้นปี 2549 เขาไม่พูดถึงกำไรเมื่อถึงงวดสิ้นปี 2548 เลย เพียงแค่บอกว่า โดยส่วนตัวคาดว่าจะสามารถล้างขาดทุนสะสมได้หมดภายในปีนี้

จนระยะเวลาผ่านไป 2 ไตรมาส สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ได้ประกาศขายหุ้นที่ตอนถืออยู่ทั้งหมดในTRAF ให้กับ พ.ต.อ.รวมนคร ทับทิมธงไชย เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 ในรายหุ้นละ 0.81 บาท

สำหรับผลการดำเนินงานของ TRAF ในงวดไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ปรากฏว่าขาดทุนสุทธิ 7.68 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.02 บาท ขาดทุนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 45.33 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิต่อหุ้น 0.18 บาท

ส่วนในงวด 6 เดือนแรกของปี 2549 บริษัทขาดทุนสุทธิ 19.68 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.06 บาท ขาดทุนลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 96.39 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 0.38 บาท

กลยุทธ์ขายฝันของชายที่ชื่อ สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ได้จบลงไปแล้ว แต่สำหรับผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ยังถือหุ้นอยู่คงต้องฝันร้ายอย่างแน่นอน เพราะล่าสุด พ.ต.อ.รวมนคร ก็ไม่สามารถมาอุดรอยรั่วที่ สุรพงษ์ได้สร้างไว้เลย[/color:c30ce00edb">


.00020

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 29/12/2006 @ 06:16:12 : re: "ดาวร่วง" ของตลาดทุนไทย ปี 2549 (ตอนจบ)
-LOBBER BARON

สำหรับ ดาวร่วง ของตลาดทุนปี 2549 อีกรายนี้คงจะตกเป็นของ ราชศักดิ์ สุเสวีเพราะความร้อนแรงของดาวรุ่งอย่างเขา ที่ไปซื้อซากกิจการของบริษัทที่อยู่ในหมวดรีแฮปโก้

มาแต่งตัว ก่อนที่จะมาปั้นใหม่ จนทำให้กลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯอีกรอบหนึ่ง เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา

แววตาของความตั้งมั่นในการฟื้นบริษัทที่ไร้อนาคต อย่าง บริษัท เพาเวอร์-พี จำกัด(มหาชน)หรือ POWER ในช่วงแรกๆของราชศักดิ์ ถือเป็นเจตนาที่ดีที่จะช่วยรักษาบริษัทนี้ให้กลายเป็นบริษัทที่ดีของตลาดหุ้นไทยต่อไป แต่กลับกลายเป็นว่าในเมื่อการกระทำกลับสวนทางกับสิ่งที่เป็นอยู่ จึงทำให้ราชศักดิ์ ถูกจับตาจากทางการ และสื่อมวลชนมากที่สุด

โดยเฉพาะการมีชื่อของนักการเมือง สมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เข้ามาถือหุ้นมากมาย เท่านั้นไม่พอประเด็นข้อสงสัยต่องบการเงินที่เกิดขึ้นในปี 2548 ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท ทำให้ตัวเลขผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของบริษัทที่ปรากฏในงบการเงินอาจไม่แสดงค่าที่แท้จริงของกิจการ ทำให้บริษัทต้องชี้แจงประเด็น การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 82.5 ล้านบาท ซึ่งเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 4 ปี 2548 จนทำให้ผลประกอบการในปี 2548 ของ บริษัทฯ ขาดทุน 50 ล้านบาท

โดยมีการชี้แจงเหตุผลการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากบริษัทดังนี้ คือ 1.รายการเงินทดรองจ่ายให้แก่ บริษัท ยูเนี่ยน อินฟาร์เทค จำกัด จำนวน 48.1 ล้านบาท เนื่องจากเห็นว่ายังปรากฏยอดคงเหลืออยู่ในบัญชี ซึ่งเป็นหนี้ค้างชำระที่เกินกว่า 1 ปีแล้ว

2. รายการเงินจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้างให้แก่ บริษัท พี.ไพรส์ ซัพพลายส์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด จำนวน 29.7 ล้านบาท 3. รายการดอกเบี้ยค้างรับ ที่คำนวณเอาจากต้นเงินทดรองจ่ายตามข้อ 1. จำนวน 4.7 ล้านบาทมีอัตราดอกเบี้ย MLR+ 1 % ต่อปี

นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวที่ตลาดหลักทรัพย์ฯออกมาสั่งให้ POWER ชี้แจงข้อมูลงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่อาจสรุปผลการสอบทานได้ ทำให้เห็นประเด็นข้อสงสัยที่ไม่ชอบมาพากล โดยมีประเด็นเรื่องที่ว่า 1.ทำไม POWER ต้องจ่ายเงินงวดแรกจำนวน 60 ล้านบาทเพื่อซื้อหุ้นบริษัท แอล.วี.ซี.ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด หรือ LVCD ทั้งที่ยังไม่มีการเข้าไปทำการตรวจสอบรายละเอียด (Financial Due Diligent)เลย

2.ทำไม POWER ยังจ่ายเงิน(งวดที่ 2) จำนวน 35 ล้านบาท ให้กับLVCD ทั้งๆ ที่รู้ว่ามูลค่าของ LVCD อยู่ต่ำกว่าราคาซื้อขายในครั้งนี้ ซึ่งมีสิทธิที่จะถูกยกเลิกดีลดังกล่าวได้ตลอดเวลา

3. ทำไม POWER จึงตีเงินค่าหุ้นที่จ่ายไปก่อนรวม 95 ล้านบาท ให้กลายเป็นลักษณะของเงินกู้ยืม ทั้งๆที่บุคคลที่รับเงินไป(ลูกหนี้) คือกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่กลุ่มตระกูลวิศวธีระนนท์ หาใช่ LVCD ไม่ทั้งนี้การลงบัญชีงบการเงินของ LVCD จะไม่สามารถบันทึกมูลเหตุแห่งหนี้ว่าได้กู้ยืมมาจากPOWER จริง เพราะในเมื่อเงินจำนวนดังกล่าวไม่ได้เข้าบริษัท

4.ความเสี่ยงจากข้อที่ 3 ที่มีการแปลงเงินค่าหุ้นให้กลายเป็นเงินกู้(หวังกินดอกเบี้ย) มีความชัดเจนมากขึ้นว่า เงินจำนวน 95 ล้านบาท เป็นเงินกู้ที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูง(มาก)ประเด็นนี้ผู้บริหารPOWER จะตอบคำถามนี้กับผู้ถือหุ้นและตลาดหลักทรัพย์ว่าอย่างไร

5.ทำไม POWER ถึงให้กลุ่มตระกูลวิศวธีระนนท์ ในฐานะผู้ขายหุ้น LVCD มีการผ่อนชำระคืนที่นานข้ามปี(12 งวด ตั้งแต่ 30 มิ.ย.49 - 11พ.ค. 50) ทั้งที่ตอนแรก POWER ได้จ่ายเงินให้ในลักษณะที่เป็นเงินก้อนโต และ 6.ในกรณีที่กลุ่มตระกูลวิศวธีระนนท์

ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ผู้บริหาร POWER จะตีเป็นหนี้สูญหรือไม่

หลังจากนั้นในไตรมาส 2 ปี 2549 สำนักงาน ก.ล.ต. ได้สั่งให้บริษัทแก้ไขงบการเงิน เนื่องจากไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ในประเด็นที่ไม่ได้บันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเงินจ่ายล่วงหน้าค่าหุ้นรอเรียกคืน ลูกหนี้เงินประกันผลงาน รวมทั้งไม่ได้บันทึกค่าเผื่อการด้อยค่าเงินจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้างและประมาณการผลเสียหายที่ผู้รับเหมาช่วงอาจเรียกร้องจาก POWER

ต่อมาไม่นาน สำนักงานก.ล.ต. ได้กล่าวโทษ ราชศักดิ์ สุเสวี ผู้บริหาร POWER และพรรคพวก ในการมีส่วนรู้เห็น และมีส่วนรวมในการจัดทำบัญชีของบริษัทในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง และไม่ตรงต่อความเป็นจริง เพื่อลวงบุคคลใดๆ ซึ่งการกระทำดังกล่าว เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดตามมาตรา 312 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

ก.ล.ต. จึงได้กล่าวโทษ ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อขอให้พิจารณาสอบสวนและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

การมอบตำแหน่ง ดาวร่วง ให้กับ ราชศักดิ์ สุเสวี คงไม่ถือว่าเป็นการยัดเยียดกันจนเกินไปนัก [/color:56369b80ee">

.00020
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com