May 14, 2024   2:36:50 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > "ดาวร่วง" ของตลาดทุนไทยปี 2549 (ตอนที่ 2)
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 27/12/2006 @ 09:39:43
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

สำหรับผู้บริหารที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ ล้วนเป็น ดาวร่วงแห่งปี ซึ่งการมอบตำแหน่งดังกล่าว จะยึดเกณฑ์ของคุณสมบัติในการสร้างผลประกอบการให้กับองค์กรที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จนกระทั่งต้องลาออก หรือ ไม่ก็หลบลี้หนีหน้าไป โดยไม่ออกมาให้ข่าวเหมือนก่อนอีกแล้ว อาทิ อรุณ จิรชวาลา อรรถวิชญ์ เอกธนิตพงษ์ +ประกายดาว เขมะจันตรี และกิตติ์ยาใจ ตรีเอกวิจิตร

-ไม่เข้าตากรรมการ

ถ้าหากย้อนเวลากลับไปเมื่อเมื่อปลายปี 2547 ที่ผ่านมา การเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด(มหาชน)หรือSCIB ของ อรุณ จิรชวาลา ถือเป็นเรื่องที่หลายคนไม่คาดฝัน จวบจนมาถึงวันนี้ การประกาศลาออกของเขา ก็ถือเป็นสิ่งหลายคนไม่คาดฝันด้วยเช่นกัน

โดยเฉพาะเนื้อหาในจดหมายเวียนภายใน ที่เขียนถึงผู้บริหารและพนักงานธนาคารนครหลวงไทย จำกัด(มหาชน) ระบุวันที่ 28 สิงหาคม 2549 นั้น ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า การทำงานระหว่างคณะกรรมการธนาคารกับ อรุณ นั้น มีความคิดในเรื่องการบริหารงานที่สวนทางกันอย่างโดยสิ้นเชิง

จากกระแสข่าวดังกล่าว ทำให้เกิดข่าวลือด้านต่างๆ โดยเฉพาะข้อมูลที่มาจากคณะกรรมการบริษัท ที่จะโจมตีอรุณ ในเรื่องการลาออกว่า ไม่ได้สนับสนุนนโยบายปล่อยสินเชื่อ ตามที่บริษัทได้วางไว้ หากแต่จะมุ่งเน้นการลงทุนในพันธบัตรเป็นหลัก ซึ่งทำให้ได้รับผลตอบแทนต่ำ และถูกมองว่าเป็นตัวฉุดกำไรของบริษัทให้ลดลงในช่วงที่ผ่านนั้น

มุมมองดังกล่าว ถือเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพียงข้างเดียว ซึ่งดูเหมือนอาจจะเป็นการใส่ร้ายอรุณเกินไป เพราะถ้ามองในอีกมุมมองหนึ่ง จะเห็นได้ว่าการลาออกของอรุณครั้งนี้ อาจตีประเด็นได้ว่า เขาไปขัดประโยชน์ของใครบ้างคน โดยที่อาจจะกระทำการปฏิเสธการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มคนสนิทของคณะกรรมการหรือไม่ ???เพราะประเด็นดังกล่าวยังไม่มีการยืนยันคณะกรรมการบริษัท

สำหรับเหตุการณ์ของผู้บริหารที่ไม่สามารถสนองความต้องการ(need)ของบอร์ดได้นั้น เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี 2544 กรณีของ สมชาย สกุลสุรรัตน์ เอ็มดี ของ ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน)หรือTMB ที่ถูกคณะกรรมการบีบให้ปล่อยสินเชื่อ ซึ่งเอ็มดีได้ปฏิเสธการอนุมัติสินเชื่อดังกล่าวไป จนทำให้สมชายต้องลาออกไปในที่สุด

จากกรณีดังกล่าว ยังไม่สามารถตอบได้ว่า ข้อมูลที่ปรากฏออกมา ของฝ่ายใดจะเป็นความจริง แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดและไม่สามารถบิดเบือนได้เลย คือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และผลกำไรไตรมาส 2 ที่ลดลงอย่างมาก

ความขุ่นข้องหมองใจระหว่างคณะกรรมการของ ธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด(มหาชน)หรือSCIB กับ อรุณ จิรชวาลา กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของSCIB เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ออกมาแล้วไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งมีอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าอุตสาหกรรมอย่างเห็นได้ชัด

ด้านแหล่งข่าวจากธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด(มหาชน) กล่าวถึงเหตุผลที่ อรุณ

จิรชวาลา ต้องลาออกว่า การทำงานของอรุณในช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถที่จะปล่อยสินเชื่อ ได้ตามนโยบายที่วางไว้ แต่จะให้ความสำคัญโดยเน้นไปที่การลงทุนในพันธบัตร(บอนด์)เป็นหลัก ซึ่งการลงทุนดังกล่าว ทำให้ผลตอบแทนที่ได้มาอยู่ในระดับต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศ ส่งผลให้กำไรของบริษัทปรับตัวลดลง

เขาเป็นคนที่ไม่ค่อยสนใจความคิดของผู้อื่น ถึงแม้จะเป็นผู้ใหญ่ที่นั่งอยู่ในบอร์ดของบริษัทก็ตาม และจะใช้วิธีที่จะยึดตัวเองเป็นหลักมากกว่า และคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำต้องถูกเสมอ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาการทำงานประสานกันระหว่างเขากับพนักงานของSCIB มักจะไม่ลงเอยด้วยดี จะมีความขัดแย้งกันอยู่เสมอ เพราะเขาต้องทำการทำตัวเป็นฮีโร่แหล่งข่าวจากSCIB กล่าว

เหตุผลของความขัดแย้งภายในองค์กร โดยนำเรื่องประเด็นการทำงานของ อรุณ จิรชวาลา ที่ทำให้ผลกำไรในไตรมาส 2 รวมถึงยอดการปล่อยสินเชื่อก็ลดน้อยลง มาเป็นประเด็นหลักนั้น

ทำให้เกิดมุมมองที่เป็นเหตุผล กรณีที่อรุณไม่ทำการเพิ่มยอดการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้น เพราะอาจจะมองว่าการปล่อยกู้ในบางโครงการมีความเสี่ยงสูง จึงทำให้มุ่งเน้นไปลงทุนในพันธบัตรเป็นหลักแทน ซึ่งประเด็นดังกล่าวถือว่ายอมรับได้

หรืออาจมีความเป็นไปได้ว่า อรุณไม่อนุมัติ การปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการบางแห่งที่คณะกรรมการมีความสนิทและคุ้นเคยกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นที่มาของรอยร้าวดังกล่าว

แต่ทั้งนี้ ยังไม่มีการยืนยันอย่างชัดเจนว่า การไม่ปล่อยสินเชื่อ หรือการให้สินเชื่อที่ลดน้อยลงในช่วงที่อรุณนั่งบริหารอยู่นั้นจะเป็นด้วยเหตุผลใดกันแน่ เพราะยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน [/color:99db67efa7">

.00020

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 27/12/2006 @ 09:40:40 : re: "ดาวร่วง" ของตลาดทุนไทยปี 2549 (ตอนที่ 2)
เส้นทางชีวิตที่ก้าวสู่การเป็นผู้บริหารระดับสูงธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ของอรุณ จิรชวาลา เกิดขึ้นอย่างที่ไม่คาดคิด เพราะจู่ๆ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ถูกรัฐขอร้องให้มารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย (KTB) แทน นายวิโรจน์ นวลแข เมื่อช่วงปลายปี 2547 ที่ผ่านมา

ประวัติการทำงานในสายแบงก์ของ อรุณ ถูกเริ่มเมื่อปี 2530 ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสายบริหารการเงิน ธนาคารกรุงเทพอรุณทำงานอยู่ที่ธนาคารกรุงเทพได้ 2 ปีกว่า ต่อมาไม่นานอรุณก็ได้กลับเข้ามาสู่แวดวงธนาคารอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นการเข้าร่วมทีมจัดตั้งธนาคารแห่งใหม่ ที่เพิ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลคือ ธนาคารราชสีมา นำโดยกลุ่มเอ็มบีเค ซึ่งเขารับบทบาทรองหัวหน้าทีมโดยมี นวพร เรืองสกุล รับหน้าที่ หัวหน้าทีม

ระหว่างที่เตรียมงานต่างๆ อยู่นั้นเป็นช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจเริ่มก่อตัว จนกระทั่งเริ่มเกิดปัญหาในบริษัทเงินทุน ทำให้ กลุ่มผู้ก่อตั้งตัดสินใจชะลอโครงการโดยไม่มีกำหนด เพื่อรอให้ภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น ทีมงานรุ่นก่อตั้งจึงสลายตัวกันไป

จังหวะเดียวกันนั้นเองที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมเข้าเทกโอเวอร์ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ หรือบีบีซี และอรุณก็ได้รับการทาบทามให้เข้ารับตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลงานด้านบริหาร เงินต่างประเทศและเทคโนโลยี ซึ่งที่นี่เองที่เขาได้ร่วมงานกับอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ เป็นครั้งแรก โดยอภิศักดิ์เป็นผู้บริหารที่ถูก โยกย้ายเข้าไปจากบรรษัทเงินทุนฯ รับหน้าที่รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลงาน ด้านสินเชื่อ

การทำงานที่บีบีซีของอรุณในช่วงนี้อยู่ในระหว่างที่มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งการลอยตัวค่าเงินบาท การปิด 56 สถาบันการเงิน เปลี่ยนตัวผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและสุดท้ายคือ มาตรการแก้ปัญหาสถาบันการเงิน 14 สิงหาคม ที่กำหนดให้ปิดกิจการบีบีซี จึงมีการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์การ หรือ BAM ขึ้นเพื่อทำหน้าที่บริหารสินทรัพย์ที่มีอยู่ โดยอรุณทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของ BAM โดยมีอภิศักดิ์เป็น กรรมการผู้จัดการ

-หมดราศี

ถ้ายังจำกันได้ช่วงปลายปี 2547 ชื่อของ ประกายดาว เขมะจันตรี กับ อรรถวิชญ์ เอกธนิตพงษ์ ถูกจัดให้ทั้งสองเป็นผู้บริหารดาวรุ่งในวงการผู้จำหน่ายเครือลูกข่ายโทรศัพท์มือถือ และวงการตลาดหุ้น โดยเฉพาะหลังจากที่ได้ผลักดัน บริษัท บลิส-เทล จำกัด (มหาชน)หรือBLISS เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จากประวัติการก่อตั้งองค์กรของผู้บริหารทั้งสอง ในปี 2532 ที่มีเงินทุนอยู่เพียง 3 ล้านบาท เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ขณะนั้นมีพนักงานประจำออฟฟิตเพียง 4 คน โดยใช้บ้านหลังเล็กๆ ของเพื่อนทำเป็นสำนักงาน ซึ่งช่วงเริ่มธุรกิจบริษัทมียอดขายเพียง 8 ล้านบาทต่อปี

ต่อมาตลอดระยะเวลาช่วง 15 ปีที่ผ่านมา จนถึงปี 2548 BLISS ภายใต้การต่อสู้ของ

ประกายดาว และ อรรถวิชญ์ ต้องเผชิญกับการล้มลุกคลุกคลานพอสมควร แต่ในที่สุดก็สามารถฝ่าฟันทำให้กิจการเติบโตขึ้นตามลำดับ โดยในปี 2547 บริษัทมีรายได้รวม 9140 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 129.77 ล้านบาท และในปี 2548 บริษัทมีรายได้รวม 9900 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 114.78 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการต่อสู้ที่น่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง

แต่เมื่อหันมาดูผลประกอบการในช่วง 9 เดือนของปี 2549 ที่ผ่านมา มีรายได้รวม 5754 ล้านบาท มีผลขาดทุนสุทธิ 380 ล้านบาท ตั้งแต่เข้าไปควบรวมกิจการกับ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือIEC

สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสตอรี่ที่ถูกปลุกปั้นจากสองผู้บริหารล้วนไม่สามารถทานกระแสการแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจมือถือในแง่ของการผลักดันสินค้าที่ขายอยู่มีมาร์จิ้นสูงขึ้นได้เลย ซึ่งแผนธุรกิจต่างๆ อาทิ การจับมือกับแกรมมี่ ในการเพิ่มรายได้โหลดเพลง การขายมือถือพ่วงประกันชีวิต การรุกตลาดภูธร การตั้งเป้าขยายสาขาใหม่ให้ครบ 1 พันสาขา การรุกธุรกิจมือถือ มือสอง รวมทั้งการลงทุนในธุรกิจอุปกรณ์กีฬา ก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก และไม่ดีเหมือนอย่างที่เคยคุยไว้ตั้งแต่ต้นเลย

สิ่งเหล่านี้ทำให้ผลประกอบการออกมาอย่างที่เห็น ส่วนความเขี้ยวประเภทลากดิน ที่เขาทั้งสองเคยถูกขนานนามในวงการมือถือแล้ว กับการที่ผลประกอบการร่วงลง และขาดทุนเละเทะแบบนี้ จะถือเป็นความเขี้ยวอีกประเภทหนึ่งได้หรือไม่ สิ่งนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันประเด็นดังกล่าวจากปากของประกายดาว เขมะจันตรี กับ อรรถวิชญ์ เอกธนิตพงษ์

ดาวรุ่ง ที่เคยเป็นเมื่อ 2 ปีก่อนวันนี้กลับกลายเป็น ดาวร่วง ไปแบบพลิกความคาดหมายเลยทีเดียว

-ลิขสิทธิ์พ่นพิษ

ความเสี่ยงเรื่องลิขสิทธิ์เพลงกับ ภาพยนตร์ รวมถึงการกระแสแผ่นก๊อบปี้ (แผ่นผี ซีดีเถื่อน ) ที่มีอยู่ให้เห็นเกลื่อนทุกแห่ง ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ กิตติ์ยาใจ ตรีเอกวิจิตร ไม่สามารถฝ่าฟันให้หลุดพ้นจากการเป็นดาวร่วงแห่งปีไปได้เลย โดยเฉพาะเมื่อดูผลประกอบการในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่บริษัท ป่องทรัพย์ จำกัด(มหาชน)หรือPSAP เข้าตลาดมาในปี 2547 บริษัทมีรายได้รวม 1547 ล้านบาท กำไรสุทธิ 100 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2548 มีรายได้รวม 1766 ล้านบาท กำไรสุทธิลดลงอย่างฮวบฮาบเหลือเพียง 4.34 ล้านบาทเท่านั้น

จากผลประกอบการอันน้อยนิด ทำให้นึกย้อนไปถึงปัจจัยความเสี่ยงเรื่องลิขสิทธิ์ ที่เคยมีการวิเคราะห์ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งปัญหาความเสี่ยงทางธุรกิจในกานจัดหาลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญต่อรายได้ และกำไรเป็นอย่างมาก

เพราะที่ผ่านมา บริษัทจัดซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายรายหนึ่งกว่า 60 % (สหมงคลฟิล์ม) ของสัดส่วนเงินลงทุนในลิขสิทธิ์ โดยทำสัญญาจัดซื้อลิขสิทธิ์เป็นรายปี ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์เกาะติดที่มีการเดิมพันสูงทีเดียว

สัญญาเช่นนี้ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า หากบริษัทไม่สามารถต่ออายุสัญญาจัดซื้อลิขสิทธิ์กับบริษัทดังกล่าวได้ อาจเกิดความเสี่ยงที่บริษัทอาจไม่สามารถจัดหาลิขสิทธิ์ใหม่เพื่อผลิตแผ่นวีซีดี และดีวีดี ภาพยนตร์ และส่งผลกระทบต่อรายได้อย่างรุนแรง เพราะตัวเลขรายรับระบุชัดว่า

บริษัทสร้างรายรับจากส่วนนี้คิดเป็น 58% ของรายได้รวม

ทั้งนี้โดยเห็นได้ชัดว่าผลประกอบการช่วง 9 เดือนของบริษัทที่ผ่านมามีรายได้รวม 864

ล้านบาท มีผลขาดทุน 346 ล้านบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาเรื่อง ลิขสิทธิ์ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้บริษัทขาดทุน และยังไม่นับรวมถึงเจอคู่แข่งละเมิดลิขสิทธิ์ ที่พร้อมจะปั๊มแผ่นผีออกมาได้ทุกเมื่อ และขายในราคาที่ต่ำกว่า

สำหรับประเด็นหุ้นถูก พีอีต่ำ ไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในหุ้น PSAP เลย เพราะช่วงก่อนเข้าตลาดหุ้นบริษัทได้มีการเพิ่มทุนในส่วนของ RO โดยให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อหุ้นในราคา 1 บาทต่อหุ้น ในขณะที่ราคาจองไอพีโอ 7 บาท นี่ยังไม่นับรวมการที่

กิตติ์ยาใจ โอนหุ้นออกไปให้กับสามี และน้องสาวจำนวน 25 ล้านหุ้น เมื่อช่วงเดือนพ.ค. 2548 ที่ผ่านมา

คงไม่แปลกใจเลยว่าราคาหุ้นยังไม่สามารถยืนเหนือจองได้เลยแม้แต่วันเดียว[/color:85301c4ecc">

.00020
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com