May 14, 2024   8:52:38 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > "ดาวร่วง"ของตลาดทุนไทย ปี 2549 เป็นของใครบ้าง.....
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 26/12/2006 @ 08:22:22
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

หลังจากที่มีการรวบรวมข้อมูลบุคคลที่เป็น ดาวรุ่ง ของตลาดทุนไทยปี 2549 ไปแล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะต้องมี ดาวร่วง ตามมาด้วย ซึ่งในตลาดทุนไทย มีบุคคลที่ขึ้นชื่อว่าเป็นดาวร่วงแห่งปี 2549 มากมาย จนไม่อาจจะนำเสนอได้ครบหมด โดย ข่าวหุ้นธุรกิจ จะทำการแบ่งเป็นการนำเสนอข้อมูลแบบ 3 ตอนจบ ซึ่งจะเริ่มจาก ประชัย เลี่ยวไพรัตน์

และ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ซึ่งผลงานทำให้เป็นดาวร่วงนั้น คงไม่ต้องบอกว่าเพราะอะไร เพราะได้ประกาศให้เห็นในตัวเองอยู่แล้ว

-ปิดตำนานหนี้แสนล้าน

ชื่อของ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นที่รู้จักโด่งดังมาร่วม 20 ปีแล้ว นับตั้งแต่ก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ ในฐานะเจ้าของ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด(มหาชน)หรือ

TPI โรงปิโตรเคมีครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยชื่อเสียงที่ได้ไปไกลถึงระดับโลกในช่วงปี 2540 หลังจากที่ไม่สามารถเจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้ที่มีกับสถาบันการเงินได้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของ ตำนานหนี้แสนล้าน ที่ยาวนานที่สุด

นับตั้งแต่ TPI ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ จนทำให้ปี 2543 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ และแต่งตั้งให้บริษัท เอ็ฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ส จำกัด (อีพี) เข้ามาเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอ ตามคณะกรรมการเจ้าหนี้เสนอ ซึ่งผู้บริหารทีพีไอคัดค้าน

จนกลางปี 2546 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้กระทรวงการคลังเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนชุดใหม่ของทีพีไอ โดยกระทรวงการคลังเสนอชื่อ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฎฐ์ (ประธาน) ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยาพละ สุขเวชดร.ทนง พิทยะ และ อารีย์ วงศ์อารยะ เป็นตัวแทนกระทรวงการคลังเข้าบริหารแผนฟื้นฟูฯ แทนอีพี การต่อสู้ของในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นการต่อสู้ที่ดุเด็ดเผ็ดมันระหว่างผู้บริหารแผนกับผู้ก่อตั้ง ที่กลายเป็นลูกหนี้อย่างกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานที่สุด ตั้งแต่มีการปรับโครงสร้างเลยก็ว่าได้ ซึ่งถือเป็นการต่อสู้ก่อนที่TPI จะออกจากแผนฟื้นฟูฯ

โดยช่วงต้นไตรมาส 2/48 ทางกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ ได้ประกาศไม้ตาย เรื่องการเป็นพันธมิตรกับCITICResources Holding บริษัทในเครือกลุ่ม CITIC ของจีน ที่ประกาศจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 50/50 เพื่อเข้าซื้อกิจการของบริษัท TPI พร้อมรับสภาพหนี้ทั้งหมดมูลค่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ที่มีอยู่กับเจ้าหนี้เดิมทั้งหมดภายใน 3 เดือน

การร่วมมือกันดังกล่าว เกิดขึ้นในระหว่างที่ ทางการไทยในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท ได้ทำความตกลงกับพันธมิตรในประเทศที่มี บมจ. ปตท. เป็นแกนนำเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ โดยรอเพียงขั้นตอนต่างๆเท่านั้น

การเข้ามาของ CITIC โดยมีหนังสือรับรองอย่างแข็งขันจากประธานกรรมการของบริษัท CITIC GROUP ที่ชื่อ หวัง หยุน (Wang Jun)ด้วยแล้ว ยิ่งไม่ธรรมดา เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่สุดของบริษัทนี้คือ กองทัพปลดแอกประชาชนจีน และถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือลงทุนหรือบริหารทุนในต่างประเทศของรัฐบาลปักกิ่งมานับแต่ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1979 โดยความเห็นชอบของเติ้ง เสี่ยว ผิง

อย่างไรก็ตามมีข้อเท็จจริงต่อมาว่า กลุ่มนายประชัย ได้ตกลงกับบริษัทในกลุ่ม CITIC ที่ไม่ใช่ CITIC Resources Holding แต่เป็น CITIC Petrochemical Investment Limited(CPIL)

แต่พันธมิตรใหม่ที่ว่าอย่าง CITIC ก็ทำให้ประชัยมีความดีใจเพียงประเดี๋ยวประดาว เนื่องจากเหตุการณ์ได้ถูกพลิกผันอย่างไม่น่าเชื่อ หลังจากที่ประชัยประกาศว่าจะมีพันธมิตรจากจีน จะเข้ามาใส่เงินเพิ่มทุนให้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อมีจดหมายยืนยันจากพันธมิตรที่เป็นความหวังจากจีน ว่า จะไม่เข้าซื้อกิจการ บมจ. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย หรือ TPI อีกแล้ว และจะเป็นไปแบบไม่มีกำหนดเวลา ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือ โอกาสที่หลุดลอยไปของกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ อย่างที่ยากจะเรียกคืนได้ เป็นความพ่ายแพ้อย่างชนิดเกินคาดหมาย และถือเป็นความพลิกผันที่ทำให้รัฐบาลไทยโล่งอกไปอีกเปลาะหนึ่ง เพราะความพ่ายแพ้ของผู้บริหารแผนในการขัดขวางกระบวนการทางศาลไม่มีนัยสำคัญต่อกระบวนการฟื้นฟูกิจการของ TPI อีกต่อไปแล้ว

การตัดสินชี้ขาดของศาลล้มละลายกลาง อาจจะหมายถึงชัยชนะทางนิตินัยเท่านั้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าชะตากรรมที่แท้จริงจะตัดสินกันที่คำสั่งศาล เพราะมีข้อมูลใหม่ที่ถูกเปิดเผยออกมาล่าสุด ว่า มีจดหมายยืนยันจากกลุ่ม CITIC ยืนยันว่า จะไม่ขอเป็นพันธมิตรกับกลุ่มนายประชัยอีกแล้ว

ความล้มเหลวในการดึงCITIC เข้ามาเพื่อเป็นพันธมิตรของประชัย ทำให้ต้องหาพันธมิตรใหม่อย่างเร่งด่วน ถ้าไม่เช่นนั้นจะมีการเปิดทางพันธมิตรรายอื่นที่จะเข้ามาทำการเพิ่มทุนแทน ซึ่งตอนนั้นประชัยก็ประกาศว่า ตนนั้นได้กลุ่มทุนใหม่เข้ามาลงทุนในTPI แทนCITIC แล้ว และอยู่ในระหว่างการตรวจสอบสินทรัพย์อยู่

โดยมั่นใจวว่าจะสามารถทำเสร็จและได้เงินเพิ่มทุนเข้ามาก่อนเวลาที่ศาลล้มละลายกลาย กำหนดว่าจะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 90 วัน หรือสิ้นสุดวันที่ 4 ตุลาคม 2548 และจะไม่มีการเปิดเผยชื่อผู้ร่วมทุนใหม่ โดยอ้างเหตุผลว่าอาจจะเหมือนกับครั้งแรก(CITIC)ที่ต้องมีการยกเลิกไป แต่แล้วเวลาผ่านไปจนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่มีพันธมิตรใหม่เข้ามาแทนCITICอย่างที่ประชัยเคยกล่าวไว้[/color:4cb094a697">

.00020

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 26/12/2006 @ 08:23:53 : re: "ดาวร่วง"ของตลาดทุนไทย ปี 2549 เป็นของใครบ้าง.
หลังจากที่ประชัยไม่สามารถนำเงินมาวางที่ศาลได้ตามกำหนด ซึ่งทำต้องเปิดโอกาสให้กลุ่มพันธมิตรใหม่ นำโดยบมจ.ปตท.(PTT)เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และนั่งบริหาร ซึ่งทางคณะทำงานผู้บริหารแผน TPI กล่าวว่าพันธมิตรที่จะเข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ TPI โดยเฉพาะผู้ร่วมทุนหลักคือ PTTได้ยืนยันกับผู้บริหารแผนฯ มาแล้วว่าจะใส่เงินเพิ่มทุน โดยเร็ว ซึ่งการใส่เงินดังกล่าวจะทำพร้อมกับพันธมิตรรายอื่นซึ่งได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) ธนาคารออมสิน และกองทุนวายุภักษ์

ทั้งนี้การดิ้นรนของประชัยยังไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อประชัยและประทีป เลี่ยวไพรัตน์ ผู้ถือหุ้นของTPI ได้ยื่นคำร้องให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาทั้ง 5 ฉบับ แต่ศาลพิจารณาว่าคำร้องทั้ง 5 ฉบับนั้น ซ้ำกับคำร้องที่เคยยื่นเมื่อ 31 ส.ค. และศาลได้ตัดสินยกคำร้องทั้งหมด

ตอนนั้น ประชัยอ้างว่า ตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากศาล ซึ่งการยื่นคำร้องให้ศาลพิจารณาลูกหนี้ไม่ได้ร้องเพื่อขอสิทธิ์ในการซื้อหุ้นเอง แต่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ขายหุ้นให้กับผู้ลงทุนที่เป็นอิสระและเป็นกลางในราคายุติธรรม ซึ่งการตัดสินของศาลไม่ตรงกับประเด็นที่ทางลูกหนี้ยื่นคำร้อง ทั้งนี้ ทางลูกหนี้จะยื่นอุทธรณ์คำร้องไปให้ศาลฎีกาพิจารณา และต้องการให้ขายหุ้นในราคายุติธรรมที่ 6.70 บาท

ทั้งนี้ เคราะห์ร้ายของประชัยยังไม่หมด เพราะในช่วงเดียวกัน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้แจ้งข้อหาที่อาจจะขึ้นบัญชีดำ (แบล็กลิสต์) คณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียน 3 แห่ง ที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ นั่งเป็นกรรมการอยู่ เพื่อห้ามกรรมการของบริษัททั้ง 3 แห่ง เข้าเป็นกรรมการ ของบริษัทจดทะเบียนอีก

ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น จากบมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด(มหาชน)หรือ TPI เป็น บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน)หรือ IRPC รวมทั้งได้มีการปลดประชัย และผู้บริหารทั้งหมดของกลุ่มตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ ออกการเป็นผู้บริหาร IRPC

ปฏิบัติการในการล้างภาพเก่าของกลุ่มผู้บริหารใหม่ ภายในบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน)หรือ TPI โดยทำการเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) นั้น คงไม่ใช่สาเหตุอื่น นอกจากความต้องการลบภาพในอดีตที่แต่เดิมเป็นธุรกิจของตระกูลเลี่ยวไพรัตน์

จากนี้ไปชื่อเสียงเรียงนามของบมจ. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย ที่เคยโด่งดังในอดีต คงจะเหลือเพียงตำนานเท่านั้น และจากนี้ไปคงจะไม่มีใครรู้จักชื่อเดิมของบริษัทนี้อีกแล้ว และกลุ่มที่จะต้องเสียใจที่สุดที่คงไม่พ้นตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะผู้ก่อตั้งที่สร้างบริษัทมากับมือ

8 ปีแห่งการต่อสู้ที่แสนจะวุ่นวายเพื่อแย่งชิง บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย จำกัด(มหาชน)หรือTPI ของชายที่ชื่อ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และพี่น้อง ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ลงรากก่อตั้ง ได้จบลงไปเรียบร้อยแล้ว หลังจากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการถือหุ้นและโครงสร้างผู้บริหาร

ตำแหน่ง ดาวร่วงของปีนี้ จึงตกมาอยู่ที่ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์

-เทวดาตกสวรรค์

คงไม่มีใครปฏิเสธคนเก่งอย่าง มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ในฐานะผู้พลิกโฉมการนำเสนอรายการโทรทัศน์แนวใหม่ ด้วยการชูจุดยืนด้านเนื้อหาสาระ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Edutainment TV ที่มุ่งนำเสนอเนื้อหา ข่าวสาร และความบันเทิงในเชิงสาระเป็นหลักชนิดที่ไม่มีละครน้ำเน่าทีวีก็ขายได้

โดยส่งผลให้ผังรายการโทรทัศน์ โมเดิร์นไนท์ ทีวี เต็มไปด้วยรายการข่าว และสาระเกือบ 80% และหนึ่งในนั้น คือรายการ ถึงลูกถึงคน และ คุยคุ้ยข่าว รายการคุยข่าวรูปแบบใหม่ที่เน้นการนำเสนอในรูปแบบสาระกึ่งบันเทิงมากขึ้น ด้วยการเติมน้ำจิ้ม ใส่สีสัน รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวในเชิงวิเคราะห์มากขึ้น

ด้วยวิธีคิดที่แตกต่างทำให้มิ่งขวัญ ซึมซับการบริโภคข่าวสารอยู่อย่างต่อเนื่อง และเกิดแรงบันดาลอยากนำเสนอสถานีโทรทัศน์ที่อัดแน่นไปด้วยสาระความรู้แก่สังคม หรือเรียกว่า knowledge base society โดยอาศัยความพร้อมของสถานีข่าวในเครือ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ สำนักข่าวไทย และเว็บไซต์ เพื่อมาต่อยอดการนำเสนอรายการข่าวได้แบบเต็มอิ่ม ทั้งแบบรายงานข่าว 24 ชั่วโมง และรายการข่าวเชิงวิเคราะห์

แต่ท่ามกลางสงครามชิงเรตติ้งบนจอแก้วในปัจจุบัน มิอาจทำให้สถานีโทรทัศน์อยู่ได้โดยปราศจากโฆษณา ส่งผลให้ มิ่งขวัญ ต้องเพิ่มสีสันให้รายการข่าวในเชิงวาไรตี้ มากขึ้น ด้วยการเทน้ำหนักให้รายการข่าวเชิงวิเคราะห์อย่าง ถึงลูกถึงคน จนกลายเป็นต้นแบบของ News talk ยามค่ำคืนที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน

สิ่งเหล่านี้คือความสามารถที่ผ่านมาของ มิ่งขวัญ แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปช่วงคืนวันที่ 19

กันยายน 2549 ซึ่งเป็นคืนที่คณะปฏิรูปการปกครองเพื่อระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.)ประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการ ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

โดยคืนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกประกาศพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ทางโทรศัพท์จากกรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านสัญญาณออกอากาศทางโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท เพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินการบริหารราชการ ควบคุมพื้นที่กรุงเทพฯ

แต่ยังไม่ทันที่จะประกาศจบ สัญญาณช่อง 9 ก็ถูกตัดลงหน้าจอโทรทัศน์ดับสนิทชั่วครู่ ก่อนจะตัดเข้าโฆษณา และรายการปกติ และมีรายงานข่าวว่ากำลังทหารได้บุกเข้าควบคุมห้องส่งสัญญาณออกอากาศ พร้อมควบคุมตัว มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท

ผลกระทบจากการที่สถานีโทรทัศน์ ช่อง 9 ภายใต้การดูแลและรับผิดชอบของบริษัท อสมท จำกัด(มหาชน)หรือMCOT ได้มีการเผยแพร่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตรักษาการนายกรัฐมนตรี ก่อนที่คณะปฏิรูปการปกครองเพื่อระบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.)จะเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการ

ทำให้ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ รวมถึงคณะกรรมการ ของบมจ. อสมท อีกจำนวน 8 คน ได้กระเด็นออกจากตำแหน่งทั้งหมด

ข่าวการควบคุมตัว มิ่งขวัญ แพร่กระจายออกไป ทำให้หลังจากเปิดให้มีการซื้อขายหุ้นMCOT วันแรก ( 21 ก.ย.) ราคาหุ้นMCOT ได้มีการปรับตัวขึ้นลงอย่างผันผวน หลังจากนั้นราคาหุ้นก็ร่วงลงอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันบริษัทยังมีปัญหาที่ยังไม่สามารถหาผู้บริหารเข้ามานั่งแทนมิ่งขวัญได้เลย

เหตุการณ์วันที่ 19 กันยายน ถือเป็นวันแห่งความทรงจำ แบบยากที่จะลืมของชายที่ชื่อ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เพราะชะตาชีวิตการเป็นผู้บริหารMCOT ถูกพลิกผันยิ่งกว่า เทวดาตกสวรรค์ เสียอีก [/color:4719b65daa">

.00020
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com