May 15, 2024   12:04:46 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > "ดาวเด่น" ของตลาดทุนไทย ปี 2549
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 25/12/2006 @ 09:58:20
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

นับตั้งแต่ต้นปี 2549 ที่ผ่านมา ในแวดวงตลาดทุนไทย มีบุคคลที่สร้างผลงานและพฤติกรรมที่โดดเด่น เป็นที่กล่าวถึงแบบ talk of the town รวมถึงมีผลต่อการพัฒนาของตลาดทุนไทย มากมาย จากการรวบรวมข้อมูลของ ข่าวหุ้นธุรกิจ พบว่า มีบุคคลที่ถือเป็นดาวเด่นที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทยประจำปี 2549 อาทิ ภัทรียา เบญจพลชัย โชติกา สวนานนท์ จเรรัฐ ปิงคลาศัย สดาวุธ เตชะอุบล และ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ซึ่งลักษณะเรื่องความโดดเด่น และผลงานของผู้บริหารเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน ตามสไตล์ของแต่ละคน

-อ่อนสยบแข็ง

สำหรับบุคคลที่โดดเด่นที่สุดในแวดวงตลาดทุน คงไม่พ้น ภัทรียา เบญจพลชัย เพราะหลังจากที่เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ไม่นานก็ได้แสดงอำนาจ โดยให้บอร์ดตลาดฯอนุมัติการปรับโครงสร้างผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ฯและบริษัทย่อย

โดยโยกย้ายให้ โสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ สายงานศูนย์ระดมทุนไปดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) และให้วิเชฐ ตันติวานิช เข้ามาดูแลด้านการขยายฐานผู้ลงทุนและการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนของตลาดฯแทน

นอกจากนี้ยังได้ย้าย นงราม วงษ์วานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ จำกัด มาดำรงตำแหน่ง รองผู้จัดการ ดูแลสายงานกิจกรรมองค์กร หรือในฐาน Chief Operating office :COO ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

สาเหตุของการปรับเปลี่ยนองค์กรภายในตลท. ช่วงนั้น มีกระแสข่าวว่าเป็นการปรับเพื่อดันคนรู้ใจเข้ามาร่วมทำงานด้วย ซึ่งทางภัทรียาก็ชี้แจงว่าการโยกผู้บริหารครั้งนั้น ไม่มีความขัดแย้งกับบุคคลใด แต่เป็นเพราะต้องการให้เกิดความก้าวหน้า และคล่องตัวในการบริหารงาน

ทั้งนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าการปรับเปลี่ยนโยกย้ายคนภายในองค์กรของตลาดหลักทรัพย์ฯนั้นจะเป็นการกระทำเพื่อสร้างบารมีให้กับภัทรียาเองหรือไม่

เพราะช่วงที่เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯใหม่ๆ ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงลักษณะบุคลิกของภัทรียาว่า เป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมตน และคงจะเป็นไปได้ยากที่จะมีบารมีในการควบคุมบรรดาสมาชิกโบรกเกอร์ให้ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของปัญหาการย้ายงานของมาร์เก็ตติ้งที่เคยเกิดขึ้นเป็นเรื่องราวใหญ่โตในสมัยที่ กิตติรัตน์เป็นผู้บริหาร

ถึงแม้ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน แต่สิ่งที่น่าชมเชย ภัทรียา ในฐานะผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ได้แสดงปฏิกิริยาไม่เห็นด้วยกับมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ซึ่งไม่บ่อยนักที่ผู้บริหารตลท. จะออกความเห็นที่ขัดแย้งกับทางธปท.

บทบาทการปกป้องตลาดทุนของภัทรียาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าได้แสดงหน้าที่สมกับการเป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจริงๆ เลย

-เจ้าความคิดเมื่อพูดถึงนักลงทุนสถาบันการออกกองทุนที่สร้างความฮือฮา และช่วยปลุกกระแสกองทุน ให้ตื่นตัวอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนคงหนีไม่พ้นการออกกองทุนทองคำแห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทย รวมทั้งการออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทลโกรท ที่มีขนาดใหญ่สุดในประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดเป็นผลงานของ โชติกา สวนานนท์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย ล้วนๆ

โดยเฉพาะการออกกองทุนทองคำถือเป็นทางเลือกใหม่ของการลงทุนที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อนพร้อมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในทองคำเป็นอย่างมาก เพราะการลงทุนซื้อทองคำในต่างประเทศจะต้องแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ การเปิดตัวกองทุนดังกล่างถึงเรียกเสียงฮือฮาจากคนทั่วไปได้เป็นอย่างดี

เนื่องจากสถานการณ์ทองคำมีความผันผวนค่อนข้างสูง อันเป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลักที่เข้ามาผลกระทบ คือ ความต้องการของตลาด (Demand) และปริมาณของสินค้า (Supply) โดยล่าสุดกองทุนดังกล่าวมีขนาด 1186.33 ล้านบาท

ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท (CPNRF) ถือเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพราะเข้ามาลงทุนในโครงการศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา พระราม 2 และศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา รัชดา-พระราม 3

ซึ่งล่าสุดมีขนาดกองทุนใหญ่ถึง 11134.21 ล้านบาท[/color:b699a93b32">[/size:b699a93b32">


.000005

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 25/12/2006 @ 09:59:18 : re: "ดาวเด่น" ของตลาดทุนไทย ปี 2549
-ต้นตำรับ แคชกัมปะนี

จเรรัฐ ปิงคลาศัย กับการเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท ไดอาน่า ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ จำกัด(มหาชน)หรือDIANA ถือเป็นกรณีใหม่ของตลาดหุ้นไทย ที่ไม่ค่อยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น โดยประกาศซื้อหุ้นเดิมจากผู้ถือหุ้นใหญ่ กลุ่มตระกูลจันทรัศมี ซึ่งมีข้อตกลงในการซื้อว่าจะรับเพียงคุณสมบัติการเป็นบริษัทจดทะเบียนเท่านั้น โดยไม่นำสินทรัพย์หรือหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหลายที่มีอยู่มาด้วย

การซื้อกิจการ รวมถึงการปรับโครงสร้างภายในองค์กรใหม่ ให้เป็นบริษัทโฮลดิ้ง พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ดราก้อน วัน จำกัด(มหาชน)หรือD1 โดยเรียกตัวเองว่า Cash Company หรือบริษัทที่มีแต่เงินสดนั้น ทำให้หน่วยงานอย่างตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องวิ่งวุ่นศึกษาการเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ไม่มีสินทรัพย์ หรือหนี้สินของชายคนนี้เลย

เพราะนับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหุ้นมา ยังไม่เคยมีบริษัทจดทะเบียนใดประกาศว่าตนเองเป็น Cash Company เลย จากกรณีนี้ถือเป็นกรณีศึกษาที่จะพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีการพัฒนาไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี สำหรับบทพิสูจน์ความเป็น ดาวเด่นของจเรรัฐ ถือเป็นสิ่งที่พึ่งเริ่มต้น ซึ่งเส้นทางที่ตนเองประกาศจะว่าเทคโอเวอร์ หรือร่วมทุนกับบริษัทต่างๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ฯปีละประมาณ 12 บริษัท หรือตกเดือนละ 1 บริษัท ถือเป็นสิ่งที่ต้องติดตามกันต่อไป

ผลงานที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่านับตั้งแต่ที่จเรรัฐ เข้ามาเทกโอเวอร์ DIANA และเปลี่ยนชื่อเป็นD1 นั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้ลั่นไว้ตั้งแต่ต้นปี ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดคือการเข้าซื้อกิจการและเข้าร่วมทุนประมาณ 5-6 บริษัท ดังนี้ 1.การเทคโอเวอร์ บริษัท แอพพลิเคชั่น โฮสติ้ง เซอร์วิส จำกัด 2.การเข้าร่วมลงทุนในบริษัท ไชโย โปรดักชั่นส์ จำกัด 3. การให้บริษัท แอพพลิเคชั่น โฮสติ้ง เซอร์วิส ในฐานะบริษัทย่อยเข้าลงทุนในบริษัท เอวิชั่น จำกัด 4. การลงทุนถือหุ้นในบริษัท โปรเฟสชั่นแนล เอ้าท์ซอสซิ่ง โซลูชั่นส์ จำกัด

จากระยะเวลาเพียง 4 เดือนหลังจากที่จเรรัฐประกาศแผนธุรกิจการไล่ล่าเทกโอเวอร์ กับผลงาน 4 บริษัทที่เห็นเหล่านี้ ถือเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายเป็นอย่างมาก ซึ่งคงจะไม่มีปฏิเสธ และพร้อมยอมรับในฝีมือลายมือของ จเรรัฐ ปิงคลาศัย คนนี้

-เทกโอเวอร์การบริหาร

สำหรับในกรณี ของ สดาวุธ เตชะอุบล ที่เข้ามาเป็นผู้บริหารในบริษัทหลักทรัพย์ แอ๊คคินซัน จำกัด(มหาชน)หรือASL เมื่อต้นปี 2549 ที่ผ่านมา ถือเป็นการเข้ามาเทกโอเวอร์การบริหาร ที่แต่เดิมเคยอยู่ในมือของกลุ่มตระกูล คิ้วคชา ในลักษณะการยึดอำนาจบริหารแบบเบ็ดเสร็จ

การยึดอำนาจบริหารครั้งนี้ ถือเป็นการวางแผนที่แยบยลมากของกลุ่มเตชะอุบล ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ขนาดที่ว่าจะมีอำนาจลดตำแหน่งกลุ่มตระกูลคิ้วคชา ลงกลางที่ประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อเดือนเมษายน 2549 ที่ผ่านมา

สิ่งที่ทำให้บทบาทของ สดาวุธ โดดเด่นขึ้นมาทันที เพราะเป็นคนสั่งยุบสาขาที่ไม่ทำกำไร รวมถึงเข้ามาตรวจสอบเม็ดเงินในส่วนของค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ผู้บริหารชุดเดิม ใช้ไปแบบนี้ฟุ่มเฟื่อย และไม่สมเหตุสมผล นอกจากนี้ ในอีกมุมมองหนึ่งของคนนอก ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการเข้ามาของสดาวุธ มีเป้าหมายต้องการฮุบ ASL เนื่องจากโบรกเกอร์แห่งนี้มีกระเงินสดคงเหลือที่มากเกือบ 3 พันล้านบาท ซึ่งถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างเห็นได้ชัด นั่นยังไม่รวมเม็ดเงินกำไรที่ได้จากขายใบอนุญาตหลักทรัพย์อีกหลายร้อยล้านบาท

สำหรับผลงานของสดาวุธ นอกเหนือจากการเข้าควบตำแหน่งผู้บริหาร 2 ตำแหน่ง รวมถึงการดึงคนในกลุ่มเตชะอุบลเข้ามาร่วมบริหารด้วยนั้น ยังมีการประกาศตั้งเป้าพลิกฟื้นให้ASL มีกำไรได้ภายในปี 2550 ซึ่งเป็นผลจากการบริหารจัดการ และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป

การเข้ามาปรับโครงสร้างองค์กรของสดาวุธ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่นั้น ปีหน้าคงจะได้เห็นว่าจะเป็นไปในทิศทางใด

-กลับมาผงาด

ข่าวการนำทุนสำรองตามกฎหมายและส่วนเกินมูลค่าหุ้นมาล้างขาดทุนสะสม 300 ล้านบาท พร้อมประกาศลดพาร์จากหุ้นละ 5 บาท เหลือ 1 บาท โดยหวังเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขาย รวมทั้งบริษัทมีแนวโน้มจ่ายปันผลจากผลการดำเนินงานปี 49 ไม่ต่ำกว่า 50% ทำให้ชื่อของ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง

เนื่องจากการทำให้บริษัทกลับมาทำกำไรอย่างมั่นคง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ประสบปัญหาขาดทุนเรื้อรัง เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถผู้บริหารระดับสูงอย่างมาก และการที่เฮียฮ้อปรับโครงสร้างบริษัทจนกลับมาทำกำไรอย่างบูรณการ ย่อมไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างแน่นอน

โดยโมเดลธุรกิจใหม่ขอบริษัทยังเน้นเรื่องการเป็นผู้นำทางด้าน Entertainment Content Provider ด้วยการนำคอนเทนต์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเพลง ละคร ภาพยนตร์ รายการทีวี วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ อีเว้นต์มาร์เก็ตติ้ง ฯลฯ มาต่อยอดธุรกิจให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเป็นการบริหารสินทรัพย์เพื่อให้เกิดรายได้ 360 องศารอบตัว

พร้อมทั้งยังคงรายได้รวมปีนี้ตามเป้าที่วางไว้ประมาณ 3.2-3.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 25%เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีรายได้รวม 2.7 พันล้านบาท แบ่งสัดส่วนรายได้มาจาก ธุรกิจเพลงหรือคอนเทนต์ 45% ธุรกิจสื่อ ได้แก่ ทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ 45% และธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ รับจ้างผลิต รับจ้างจัดงานอีก 10% ผลงานเหล่านนี้ทำให้ปี 2549 ชื่อของ เฮียฮ้อ ดังกระฉ่อนจนกลับรัศมี อากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ลงอย่างราบคาบ เพราะถือเป็นการกลับมาที่ยิ่งใหญ่จริงๆ [/color:fb3b8c140c">[/size:fb3b8c140c">

.000005
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com