May 19, 2024   5:22:53 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > 2 วันอันตราย! คนรู้ไส้-ค่าเงิน-หุ้น
 

Puu
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 476
วันที่: 21/12/2006 @ 08:39:52
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

?อังคารทมิฬ? บทเรียน แบงก์ชาติละเลยสมคบกันปล่อยเงินบาทแข็งซ้ำเติมด้วย ?หม่อมอุ๋ย? ต้นเหตุชี้นำค่าเงินจนเกิดการเก็งกำไร มาตรการแบงก์ชาติกลับไปกลับมาผิดพลาดจนหมดความน่าเชื่อถือ แฉเบื้องหลังสกัดค่าเงินโหดแบงก์ชาติหมกเม็ดกลบขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน จี้รมว.คลังและผู้ว่า ธปท.เปิดเผยข้อมูล รับผิดชอบและต้องลาออก

ภายหลังจากเย็นวันที่ 19 ธันวาคม ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของเงินทุนที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี ก็ได้ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวสูงเพิ่มขึ้น 69.41 จุดมาอยู่ที่ 691.45 จุด รับข่าวดังกล่าว แต่ได้ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าความเสียหายในวัน ?อังคารทมิฬ?นั้นมีเบื้องหลังอะไรและใครควรจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินชี้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความบกพร่องจากการทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่บริหารจัดการค่าเงินบาทที่ไม่มีประสิทธิภาพ จนเป็นผลทำให้ต้องใช้มาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินด้วยวิธีที่รุนแรงในที่สุด

มูลค่าตลาดหุ้นนั้นมีอยู่ถึง 1.5 ล้านล้านบาท ในปีหนึ่งๆจะมีการเปลี่ยนถ่ายมือกันประมาณถึง 1.1 ล้านล้านบาท นักลงทุนต่างชาติเป็นสัดส่วนที่มีความสำคัญอย่างมาก อดังนั้นการใช้มาตรการหักเงินลงทุนเอาไว้ร้อยละ 30 ฝากเอาไว้โดยไม่ได้รับผลตอบแทนถึง 1 ปี และหากถอนก่อนก็จะต้องหัก 1 ใน 3 ของเงินทุนสำรองคืนได้ทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความลังเลเป็นอย่างมาก

มาตรการรุนแรงที่ตัดสินใจเมื่อเย็นวันที่ 18 ธันวาคม และนำมาใช้วันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมาดัชนีตลาดหลักทรัพย์ร่วงลงไปถึง 108.41 จุด ดัชนีปิดที่ 622.14 จุด ปริมาณการซื้อขายมีถึง 72,131.55 ล้านบาท โดยต่างชาติเทขายถึง 25,000 ล้านบาท เป็นดัชนีที่ต่ำที่สุดในรอบ 2 ปี ทำให้นักลงทุนต้องเทขายขาดทุนวันเดียวเกือบ 20,000 ล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศเทขายกว่า 25,000 ล้านบาท และทำให้มาร์เก็ตแค็ปหายไปจากตลาดหุ้นไทยกว่า 800,000 ล้านบาท จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ามาตรการวันที่ 19 ธันวาคมนั้นมีคนที่ได้รับความเสียหายจากมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวนมาก

แม้มื่อวานนี้ (20 ธ.ค.) ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล จะได้อ้างว่าหลังจากยกเลิกมาตรการสำรองร้อยละ 30 แล้ว ไม่มีความเสียหายเพราะมาร์เก็ตแคปได้เพิ่มขึ้นมา 500,000 ล้านบาท แต่ในความเป็นจริงแล้วความเสียหายก็ยังไม่สามารถเยียวยาให้เหมือนเดิมได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคนที่ได้ผลประโยชน์จากการยกเลิกมาตรการ กับคนที่ได้เสียหายไปก่อนยกเลิกมาตรการสกัดค่าเงินบาทเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือไม่

ยิ่งไปกว่านั้น การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ตัดสินใจยกเลิกมาตรการการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาทในเย็นวันเดียวกัน ทำให้ไม่สามารถตอบได้ว่าการขาดทุนของนักลงทุนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมนั้นเป็นประโยชน์ต่อใคร และจะมีมาตรการอะไรที่จะทำให้สกัดเก็งกำไรค่าเงินบาทต่อไปในอนาคตได้

เบื้องหลังแบงก์ชาติทำค่าเงินบาทแข็งเอง

ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรากฏว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ไปทำการ ?กู้ยืมเงิน? และ ?ทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศ? กับสถาบันการเงินต่างประเทศ ในปี 2545 4,032 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2546 2,269 ล้านเหรียญสหรัฐ และปี 2547 อีก 3,065 ล้านเหรียญสหรัฐ

รวมมูลค่า 3 ปีตั้งแต่ปี 2545 ถึง ปี 2547 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ไปทำการกู้ยืมเงินและทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราระหว่างประเทศทั้งสิ้น 9,366 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีส่วนเป็น ?ผู้เล่น? ในการเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศและมีส่วนทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังปรากฏชัดเจนในการเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศที่ผิดปกติเป็นผลทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2549 เป็นต้นมา โดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีจาก 53,834 ล้านเหรียญสหรัฐ กลายมาเป็น 62,302 ล้านเหรียญสหรัฐ ทุนสำรองเพิ่มขึ้น 8,468 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16

การแข็งค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นปีถือได้ว่ามีความผิดปกติ นั่นคือเงินบาทแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 14.0, เงินวอนของเกาหลีใต้แข็งค่าขึ้น ร้อยละ 8.0, เงินดอลลาร์สิงค์โปร์แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.8, เงินเปโซของฟิลิปปินส์แข็งค่าขึ้นร้อยละ 6.3 , ในขณะที่ประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันเงินริงกิตก็ยังแข็งค่าขึ้นเพียงแค่ร้อยละ 4.0 จากการเปรียบเทียบข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนเพียงอย่างเดียวหากแต่เกิดจากการเก็งกำไรอีกด้วย

การแข็งค่าครั้งนี้สาเหตุหลักไม่ได้มาจากดุลการค้าหรือจากภาคบริการการท่องเที่ยวที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดถึงเดือนกันยายนเพียง 484 ล้านเหรียญสหรัฐ หากแต่รายการหลักที่ผลมากที่สุดก็คือ ?เงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ? ตั้งแต่ต้นปีที่ไหลเข้าประเทศถึง 7,300 ล้านดอลลาร์

ส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือการลงทุนจากต่างประเทศในหลักทรัพย์ อีก 4,476 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติจากปีที่แล้วประมาณ 2 เท่าตัว โดยส่วนหนึ่งมาลงทุนในพันธบัตรของไทยที่ให้อัตราผลตอบแทนถึงร้อยละ 4.7 -4.8 ในขณะที่พันธบัตรดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้ผลตอบแทนเพียงร้อยละ 4.5- 4.6 อีกส่วนหนึ่งก็ไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้ และส่วนสำคัญอีกส่วนก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้น โดยการลงทุนเหล่นี้หวังผลในเรื่องอัตราผลตอบแทนทั้งจากดอกเบี้ย การปันผล และการเก็งกำไรจากค่าเงินบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปล่อยปละละเลยในเรื่องของค่าเงินบาทมาเป็นเวลานานจนทำให้ต้องตัดสินใจใช้มาตรการรุนแรงในที่สุด

ทำบาทให้อ่อนเพื่อกลบการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน

ภายหลังค่าเงินบาทได้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ได้ทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมากและได้ออกมาเรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลค่าเงินบาทมิให้แข็งค่าเกินไป เพราะจะทำให้การส่งออกไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อค่าเงินแข็งค่ามากกว่าประเทศคู่แข่งทุกประเทศ

แต่ในขณะที่ค่าเงินบาทแข็งก็จะมีบางกลุ่มได้ผลประโยชน์ในเวลาเดียวกัน ได้แก่กลุ่มที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ กลุ่มผู้ประกอบการที่มีหนี้ต่างประเทศ และกลุ่มที่ขายหุ้นเพื่อให้ได้เงินเหรียญสหรัฐที่มากขึ้น อันรวมถึงผู้ถือหุ้นชินคอร์ปก็ได้ผลประโยชน์ที่เป็นเงินสกุลเหรียญสหรัฐที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไปในปี 2548 และปี 2549 ซึ่งปรากฏในคำสัมภาษณ์ความตอนหนึ่งของ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549 ว่า

?แบงก์ชาติได้ติดตามการเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด และยังมีมาตรการที่ออกมาอย่างต่อเนื่องหลังเข้าไปดูแลตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 ที่มีการเก็งกำไรอย่างหนัก?

ข้อความดังกล่าวทำให้วิเคราะห์ต่อได้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำธุรกรรมบางอย่างในการแทรกแซงค่าเงินบาทในช่วง ปี 2548 และ ปี 2549 ให้อ่อนค่าลง แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการแข็งค่าเงินบาทได้ และอาจจะทำให้การแทรกแซงค่าเงินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยต้องขาดทุนหากไม่สามารถทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงได้ แต่เมื่อปรากฏว่าการแทรกแซงค่าเงินบาทไม่สามารถทำให้ค่าเงินบาทอ่อนได้สำเร็จ จึงเชื่อได้ว่าการแทรกแซงของธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะมีการขาดทุน

ประกอบกับในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ที่สถานีโทรทัศน์เอเสทีวี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมานายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้ทวงถามให้เปิดเผยข้อมูลแสดงผลการกำไรหรือขาดทุนจากการแทรกแซงค่าเงินบาท ก็ยิ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศต้องรีบหามาตรการรุนแรงบางอย่างเพื่อทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างฉับพลันเพื่อกลบเกลื่อนการขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยหากมีแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

?นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้เสนอให้ควบคุมเงินทุนไหลเข้าใน 2 วิธี จึงได้มีผู้ใหญ่สั่งการให้ใช้มาตรการรุนแรงด้วยการหักสำรองเงินลงทุนจากต่างประเทศร้อยละ 30 แทนที่จะใช้วิธีให้นักลงทุนที่ขนเงินเข้ามาในเมืองไทยต้องซื้อป้องกันความเสี่ยงร้อยละ 50 เพื่อทำให้นักลงทุนค่อยๆปรับตัว? ผู้เชี่ยวชาญการเงินกล่าว

 กลับขึ้นบน
Puu
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 476
#1 วันที่: 21/12/2006 @ 08:40:32 : re: 2 วันอันตราย! คนรู้ไส้-ค่าเงิน-หุ้น
อุ๋ย ส่งสัญญาณค่าเงินแข็งให้นักเก็งกำไร

นักวิเคราะห์ทางการเงินรายหนึ่งให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า เรื่องนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยต้องรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ธนาคารแห่งประเทศไทยบกพร่องตรงที่ปล่อยให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาในรอบหลายปี และปล่อยให้ค่าเงินบาทถูกเก็งกำไรจนแข็งค่าอย่างผิดปกติมาตั้งแต่ต้นปีและไม่มีสติปัญญาแก้ไขปัญหานี้จนกลายเป็นปัญหาเกิดวิกฤติ ?การเก็งกำไรค่าเงินบาท? ในตอนปลายปี

ส่วนกระทรวงการคลังก็ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงต่อมาก็ตรงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล ออกมาให้สัมภาษณ์ ?ส่งสัญญาณว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น? ในปีหน้า ทำให้มีการนำเงินตราต่างประเทศไหลทะลักเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างฉับพลันทันที โดย ม.ร.ว.ปรีดียาธรได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาว่า:

?ในปี 2550 ค่าเงินบาทยังคงปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากปี 2549 โดยสาเหตุเกิดจากความกังวลของนักลงทุนต่างชาติที่กลัวว่าค่าเงินเหรียญสหรัฐจะปรับตัวอ่อนลง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว จึงเคลื่อนย้ายเงินทุนจากสหรัฐเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งให้ผลตอบแทนดีที่สุด?

?ผมได้แจ้งให้ผู้ประกอบการรับมือค่าเงินบาทแข็งมาตลอดโดยรายใหญ่ได้ทำใจไว้แล้ว ยกเว้นผู้ประกอบการส่งออกรายเล็กรายย่อยที่ยังต้องปรับตัวกับความเสี่ยงมากขึ้น?

นี่คือคำพูดที่ออกจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในการชี้นำค่าเงินบาทล่วงหน้า ทำให้เกิดการเก็งกำไรอย่างฉับพลัน

?ค่าเงิน? ?ดอกเบี้ย? ?ภาษี? เป็นสิ่งที่มีความละเอียดอ่อน จะออกรายงานหรือออกจากปากของนักวิเคราะห์ที่ไหนก็ได้เพราะเป็นเพียงการวิเคราะห์และคาดการณ์ของแต่ละบุคคลและแต่ละสำนักวิจัยเท่านั้น แต่ไม่สมควรอย่างยิ่งจะถูกชี้นำและออกจากปากผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพราะจะทำให้เกิดการเก็งกำไรได้ในที่สุด

เช่นเดียวกันกับนักลงทุนต่างชาติที่เชื่อสัญญาณรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ก็เร่งลงทุนในการเก็งกำไรค่าเงินบาทโดยทันที บางส่วนลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และตลาดพันธบัตรที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าพันธบัตรสหรัฐอเมริกา เพราะเหตุนี้เงินตราต่างประเทศจึงถาโถมเข้าประเทศเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาทจำนวนมหาศาลตั้งแต่วันศุกร์ต่อเนื่องมาจนถึงวันจันทร์ที่ผ่านมา

คำถามคาใจ 6 ช่วงเวลาใครได้ประโยชน์ค่าเงินบาทและหุ้น

อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์เชื่อว่ายังมีเหตุการณ์อีกหลายช่วงเวลาที่น่าสงสัยว่าจะมีคนรู้ข้อมูลในการแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องค่าเงินบาทและราคาหุ้นหรือไม่

ช่วงเวลาระหว่างปี 2545-2547 การ?กู้ยืม? และการซื้อเงินตราต่างประเทศช่วงระหว่าง ปี 2545-2547 ถึง 9,366 ล้านเหรียญสหรัฐนั้นเป็นการทำธุรกรรมประเภทใดและจำนวนเท่าใด กำไรหรือขาดทุนเท่าใด และการกระทำดังกล่าวได้ส่งผลทำให้เกิดการเพิ่มทุนสำรองระหว่างประเทศจนค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น เหตุใดธนาคารแห่งประเทศไทยจึงทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นจนเกิดปัญหาต่อการส่งออก มีใครได้ประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวหรือไม่

ช่วงเวลาในปี 2548-2549 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ทำการแทรกแซงทำให้ค่าเงินบาทหรือไม่ จำนวนเท่าใด และขาดทุนหรือกำไรเท่าใด?

วันที่ 14 ธันวาคม 2549 เหตุใด ม.ร.ว.ปรีดียาธร ตัดสินใจส่งสัญญาณค่าเงินบาทแข็งในปีหน้าอันเป็นเหตุทำให้เกิดการเก็งกำไรค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลทำให้ต้องออกมาตรการรุนแรงจนผู้ลงทุนในตลาดหุ้นต้องขาดทุนจำนวนมหาศาล มีใครได้ประโยชน์หรือไม่?

ช่วงเวลาวันที่ 19 ธันวาคม 2549 การออกมาตรการสกัดการเก็งกำไร เหตุใดราคาหุ้นจากติดลบ 145 จุด มาปิดตลาดที่ 108 จุด ในเวลาช่วงบ่ายมีคนรู้ข้อมูลภายในในการที่จะยกเลิกมาตรการสกัดการเก็งกำไรหรือไม่ และมีใครทีได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทและราคาหุ้นจากการรู้ข้อมูลภายในหรือไม่?

ช่วงกลางคืนวันที่ 20 ธันวาคม 2549 ภายหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศยกเลิกมาตรการสกัดการเก็งกำไร ในเช้าวันรุ่งขึ้นมีใครได้ประโยชน์จากการเทขายหุ้นที่ได้ช้อนซื้อจากวันที่ 19 ธันวาคม 2549 เพราะรู้ข้อมูลภายในหรือไม่?

และการกระทำที่กลับไปมาอันเป็นผลทำให้ต้องมีผู้เสียหายเกิดขึ้นแบบเหมารวมเช่นนี้ สถานีโทรทัศน์ต่างประเทศอย่างซีเอ็นบีซีให้ความเห็นว่า เป็นมาตรการที่ขาดความรู้และการตัดสินใจที่มีความเชี่ยวชาญ และทำให้เกิดปัญหาความน่าเชื่อถือถึงความสามารถในการบริหารเงินอย่างรุนแรง โดยเฉพาะรัฐบาลชุดนี้มาจากการัฐประหารแต่กลับใช้คำสั่งกลับไปกลับมาและออกนโยบายที่ขาดความเป็นมืออาชีพก็ยิ่งทำให้นักลงทุนเกิดความระแวงในการลงทุนประเทศ และยังไม่มีการยืนยันว่าจะมีการเก็งกำไรค่าเงินบาทต่อไปหรือไม่

?การจะดึงความเชื่อมั่นให้กลับมาได้นั้นอย่างน้อยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องเปิดเผยข้อมูลให้มีความโปร่งใส และสมควรจะต้องลาออกแสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น? ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินกล่าว
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com