May 8, 2024   7:17:24 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ราคาของความยุติธรรม
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 13/11/2006 @ 19:17:18
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ก้าวย่างแห่งผลประโยชน์ครั้งใหม่ของประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหารของ IRPC จำกัด(มหาชน) หรือ TPI เดิม เป็นก้าวย่างที่ยืนยันชัดเจนว่าตัวเขาเป็นบุคคลประเภท นักอุดมคติ( Idealist) มากกว่า คนที่อยู่ในโลกของความจริง(Realist)

วันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เขาได้ยื่นหนังสือชี้แจง และขอความเป็นธรรม จากทั้ง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และ นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยเชื่อว่า จะได้รับความเป็นธรรมตอบแทน นั่นคือ การทวงคืนสมบัติของกลุ่มตนที่ถูกยึดไปกลับคืนมา
พร้อมกับประกาศว่าจะไปยื่นเรื่องต่อศาลปกครอง

รูปธรรมของการทวงคืนที่เขาต้องการคือ พร้อมที่จะรับซื้อหุ้นบริษัทที่อยู่ในมือของพันธมิตรที่นำโดย ปตท. และหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลังกลับคืนมา ในราคา3.30 บาท (อันเป็นราคาที่ พันธมิตรดังกล่าว ได้จ่ายไปเพ่อซื้อหุ้นเมื่อปี 2548)

ประชัย ยืนยันว่า ราคาที่เขาตั้งซื้อนั้น คือราคาที่ยุติธรรม ซึ่งตนเองพร้อมสำหรับการซื้อ เพราะมีกำลังเงินมหาศาล และว่า หากยังไม่สำเร็จกับรัฐบาลชุดนี้ ก็จะมายื่นใหม่กับรัฐบาลถัดไป เนื่องจากบริษัท?เป็นของเรา? และถูกความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลทักษิณเล่นงานด้วยการยึดเอาไป

ก้าวย่างของประชัย มีประเด็นให้พิจารณาหลัก 2 เรื่อง (ไม่นับประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ) ดังนี้

-การสูญเสียความเป็นเจ้าของและอำนาจการควบคุมบริษัทของประชัยและกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์เป็นส่วนหนึ่งของระบอบทักษิณอย่างเดียว?

-กระบวนการยุติธรรมที่ถึงที่สุดแล้วใน 2 ศาลคือ ศาลฎีกา และศาลล้มละลายกลาง จะถูกล้มล้างโดยอำนาจบริหารของคมช.และ รัฐบาล(รวมทั้งศาลปกครอง)ได้?

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นโดยนิตินัยและพฤตินัยเกี่ยวกับ กรณี ทีพีไอ.(ที่ปัจจุบันคือIRPC) ที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งบริษัทที่เคยถือหุ้นใหญ่โดยกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ มีหนี้กับเจ้าหนี้มูลค่านับแสนล้านบาทนับแต่เมื่อทศวรรษก่อน ได้ผ่านกระบวนการต่อสู้ที่ยาวนานในศาลล้มละลายกลางและศาลยุติธรรมมาแล้ว จนถึงที่สุด

คำถามก็คือ กระบวนการทางการศาลดังกล่าว จะนับเป็นส่วนหนึ่งของระบอบทักษิณได้หรือ? และถ้าหากเป็น นายประชัยก็ได้ใช้กระบวนการนี้อย่างเต็มที่แล้วเพียงแต่ผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่กลุ่มตนต้องการเท่านั้นมิใช่หรือ?

อย่างที่ทราบกัน ปัญหาเรื่องปรับโครงสร้างหนี้ของ ทีพีไอ.ที่เป็นหนี้เอกชนรายใหญ่สุดของไทยยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2541 ผ่านมือรัฐบาลชวน หลีกภัยมา และมาถึงจุดพลิกฟันเมื่อ ผู้บริหารแผนคนเก่าคือ เอฟเฟคทีฟ แพลนเนอร์ บริษัทต่างชาติ ถูกคำสั่งศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 ให้พ้นจากการเป็นผู้บริหารแผนฟื้นกิจการของทีพีไอ. ตามคำร้องของนายประชัย และศาลดังกล่าวมีคำสั่งใหม่ เมื่อวันที่ 11กรกฎาคม พ.ศ. 2546 แต่งตั้งกระทรวงการคลัง เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูชุดใหม่ มีคณะกรรมการ 5 คน พลเอกมงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธาน และกรรมการได้แก่นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา นายพละ สุขเวช นายทนง พิทยะ และ นายอารีย์ วงศ์อารยะ

แนวทางการฟื้นฟูของคณะกรรมการ 5 คนที่แต่งตั้งโดยกระทรวงการคลังคือ นำรัฐวิสาหกิจในเครือเข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุน ประกอบด้วย ปตท. เข้ามาถือหุ้น 31.5% และธนาคารออมสิน กบข. และ กองทุนวายุภักษ์ 1 ถือหุ้น 10%

ระหว่างนั้นนายประชัยก็ดำเนินการต่อสู้ 3 แนวทางคือ 1) คัดค้านผ่านกระบวนการศาลและนิติบัญญัติ 2) ใช้สื่อเพื่อเผยแพร่ความถูกต้องชอบธรรมของตนเอง3) พยายามหาทางซื้อหุ้นคืนในราคา 5.50 บาท

การต่อสู้อย่างแรกนั้น มีทั้ง ยื่นคำคัดค้านแผนฟื้นฟูกิจการฉบับแก้ไขของคณะผู้บริหารแผนในประเด็นต่างๆหลายระดับ ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย การยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตำแหน่ง ยื่นคำร้องต่อกรรมาธิการปกครอง และยื่นคำร้องให้ผู้บริหารแผนพ้นจากตำแหน่งเป็นครั้งที่ 2

ส่วนใหญ่ของการต่อสู้ด้านนี้ ไม่บรรลุเป้าหมาย มีเพียงเรื่องสุดท้ายเท่านั้นที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
ความพยายามซื้อหุ้นคืนครั้งสำคัญเกิดขึ้นในปี 2548 โดยได้ความสนับสนุนจากซิติก กรุ๊ป (CITIC)จากประเทศจีนเข้ามาซื้อหุ้น โดยฝ่ายนายประชัยเสนอที่จะชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทันที 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ(แต่ต่อมาข้อเสนอนี้ล้มไปเพราะ ทางฝ่ายจีนได้ประกาศถอนตัว)

ท้ายสุด เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ศาลฎีกา มีคำตัดสินว่าประชัยไม่มีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนก่อนกลุ่มปตท. ส่งผลให้ ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ทีพีไอและต่อมาศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งให้ทีพีไอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อวันที่ 27เมษายน พ.ศ. 2549 และมีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อเลือกตั้งกรรมการชุดใหม่ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมมีมติให้ปลดนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ออกจากทุกตำแหน่งในบริษัท

ทั้งหมดนี้ เห็นชัดเจนว่า สิ่งที่นายประชัยเรียกว่า?ความไม่ชอบธรรมของระบอบทักษิณนั้น จะเป็นความเชื่อส่วนตนมากกว่าข้อเท็จจริง และราคา 3.30 บาท(ไม่ใช่5.50 บาทอย่างของเดิมสมัยรัฐบาลทักษิณ) ก็ไม่อาจจะถือเป็น ราคายุติธรรม (justprice)

ประเด็นก็คือว่า ข้อเรียกร้องที่เป็นอุดมคติส่วนตนของนายประชัย ในยุคสมัยหลังรัฐบาลทักษิณ ที่คนส่วนใหญ่ในสังคมที่เคยผ่านความยุ่งเหยิงทางการเมือง กำลังเรียกร้องหาความสงบเรียบร้อย และความสมานฉันท์ครั้งใหม่ เพื่อฟื้นฟู ความมีเหตุมีผลสามัญสำนึกที่ถูกต้อง ดุลยภาพของความยุติธรรม และความโปร่งใสของนิติรัฐ จะเปิดทางให้กับราคาของความยุติธรรม( price of justice)ให้กลุ่มของนายประชัยได้มากแค่ไหน?

ทั้งหมดนี้ วิญญูชนคนไทยที่มีสติและสำนึก ย่อมรู้ดีว่า ข้อเรียกร้องของนายประชัยนั้น ไม่สมเหตุผลสมผมทั้งในเรื่องราคายุติธรรม และ ราคาของความยุติธรรมเอาเสียเลย
&nb

.00020
[/color:dca98cf35a">

 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#1 วันที่: 13/11/2006 @ 20:34:03 : re: ราคาของความยุติธรรม
ก็ระบอบทักษิณ รวมหัวกันโกงประชัย
เขาขอซื้อแล้วเป็นยังไง ไม่ได้หรือ
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#2 วันที่: 13/11/2006 @ 20:37:21 : re: ราคาของความยุติธรรม
กลุ่มซิติก กรุ๊ป (CITIC)จากประเทศจีน ขอถอนตัว
เนื่องจากระบอบทักษิณ ไปบอกให้ฝ่ายจีน ถอนตัวต่างหาก
ประชัย ผิดที่ไหน ที่เดิมเป็นเจ้าของธุรกิจ แล้วพยายามกู้บริษัทตัวเองคืนกลับมา
ถ้าเป็นผม ผมก็ทำแบบประชัย
 กลับขึ้นบน
บุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไป
#3 วันที่: 13/11/2006 @ 20:43:58 : re: ราคาของความยุติธรรม
คุณประชัย ขี้โกงๆๆ ไปติดตามดูพฤติกรรมย้อนหลังได้ โกงสุดๆ คนๆ นี้
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com