May 7, 2024   11:26:50 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > แชมป์รีเทิร์น 10 เดือน
 

samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
วันที่: 13/11/2006 @ 17:42:16
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วย(เอ็นเอวี)ของกองทุนรวมในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2548 - 31 ตุลาคม 2549 พบว่ากองทุนที่ลงทุนในหุ้น และกองทุนผสมแบบยืดหยุ่น มีมูลค่าเอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

โดยเอ็นเอวีที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากภาวะตลาดหุ้นกลับมาคึกคักอีกรอบ หลังปัญหาทางการเมืองเริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้ในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. มีแรงซื้อเข้ามาในกองทุนหุ้นเป็นจำนวนมาก ขณะที่กองทุนผสม กองทุนตราสารหนี้ กองทุนตลาดเงิน และกองทุนรวมหน่วยลงทุน ยังคงมีเอ็นเอวีเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน

ส่วนกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดจากกองทุนรวม 7 ประเภท คือ กองทุนเอเชียคันทรีฟันด์ (ACF) ซึ่งเป็นกองทุนหุ้นสำหรับผู้ลงทุนต่างประเทศ ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทหารไทย จำกัด มีมูลค่าเอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้นสูงสุด 43.12%เดิมอยู่ที่ระดับ 9.5069 บาท ก่อนจะปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 13.6070 บาท

โดยการคำณวนครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบกองทุนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด 104 กองทุน ซึ่งพบว่า มีกองทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นถึง 75 กองทุน และมีกองทุนที่ลดลงเพียง 29 กองทุน

อันดับ 2 ของกองทุนหุ้น คือ กองทุนเปิดบัวหลวงธนคม ของ บลจ.บัวหลวง เอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น14.20 % อันดับ 3 คือกองทุนเปิด อเบอร์ดีนโกรท ของ บลจ.อเบอร์ดีน
เอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 12.66% จากระดับ 38.7543 บาท มาอยู่ที่ 34.3964 บาท

ส่วนกองทุนที่ปรับลดลงมากที่สุดของกองทุนหุ้น คือ กองทุนเปิดทุนวิวัฒน์ ของ บลจ.กสิกรไทย เอ็นเอวีต่อหน่วยปรับลดลงมาอยู่ที่ 4.7894 บาท จากเดิมที่ 5.5625 บาทหรือลดลง 13.89% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกองทุนได้จ่ายเงินปันผลเมื่อ 28 มี.ค. 49 ที่ผ่านมาจำนวน 1.23 บาทต่อหน่วยลงทุน อันดับ 2 ก็ยังคงเป็นกองทุนเปิดบัวแก้วปันผลของ บลจ.บัวหลวง จำกัด โดยมูลค่าเอ็นเอวีต่อหน่วยลดลง 9.49% มาอยู่ที่ 5.1725 บาทจากเดิมอยู่ที่ 5.7154 บาท

สำหรับกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ จากกองทุนทั้งหมด 77กองทุน มีกองทุนที่เพิ่ม 73 กองทุน ลดลงเพียง 4 กองทุน ซึ่งกองทุนที่มีมูลค่าเอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้นมากสุด 3 อันดับแรกในรอบ 10 เดือนไม่ต่างไปจากรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา

โดยอันดับ 1 ยังคงเป็น กองทุนเปิดอยุธยาตราสารอุดมทรัพย์ 2 ของ บลจ.อยุธยา

มีมูลค่าเอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 9.92% มาที่ 10.0372 บาท จากเดิม 9.1308 บาทอันดับ 2 กองทุนเปิด ไทยทนุทวีกำไร ของ บลจ.ยูโอบี (ไทย) จำกัด เพิ่มขึ้น 8.97%มาที่ 15.6510 บาท จากเดิม14.3616 บาท และอันดับ 3 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เฉพาะเจาะจง 6 ของ บลจ.ไทยพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 5.16% มาที่ 10.9642 บาท จากเดิม10.4259 บาท

ส่วนกองทุนที่ปรับลดลงมากสุดของกลุ่มนี้คือ กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี โกลบอลออพพอร์ทูนิตี้ บอนด์ ฟันด์ซึ่งเป็นกองทุนที่นำเงินไปลงทุนในต่างประเทศของ บลจ.เอ็มเอฟซีจำกัด(มหาชน) เอ็นเอวีต่อหน่วยลดลง 4.40 % มาที่ 9.6236 บาท จากเดิม 10.0671บาท รองลงมาคือกองทุนเปิด เทรสเชอรี อินคัม ของบลจ.ยูโอบี (ไทย) จำกัด เอ็นเอวีต่อหน่วยลดลง 2.54% เนื่องจากกองทุนได้จ่ายปันผลจำนวน 0.0635 บาทต่อหน่วยเมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมา

กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ระยะสั้นเอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ จากทั้งหมด6 กองทุน มีกองทุนเพิ่มขึ้น 5 กองทุน ลดลง 1 กองทุน สำหรับกองทุนที่เพิ่มขึ้นสูงสุดยังคงเป็นกองทุนเปิดทีแฟมชอร์ท เทอมฟิกซ์ อินคัม ของ บลจ.กสิกรไทย จำกัด ซึ่งครองแชมป์ต่อจาก 9 เดือนที่ผ่านมา มีเอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 3.69% มาอยู่ที่ 10.9818 บาทจากเดิม 10.5900 บาท ส่วนกองทุนที่ปรับลดลง คือ กองทุนเปิดรวงข้าวบริหารเงินปันผลของบลจ.กสิกรไทย จำกัด มีเอ็นเอวีต่อหน่วยลดลง 0.33 % มาที่ 4.3672 บาทจากเดิม 4.3817 บาท

ด้านกองทุนรวมตลาดเงินเพิ่มขึ้นทุกกอง โดยกองทุนที่ปรับขึ้นสูงสุดในกลุ่มนี้ยังคงเป็นกองทุนเปิดธนชาติตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ ของบลจ.ธนชาต จำกัด เอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 3.47% มาที่ 10.7312 บาท จากเดิม 10.3712 บาท รองมาเป็นกองทุนเปิดทหารไทยธนรัฐ ของบลจ.ทหารไทย จำกัด เอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 3.33%จากเดิม 10.8847 บาท จากเดิม 10.5333 บาท

สำหรับกองทุนรวมผสม มีทั้งหมด 11 กองทุน มีกองทุนปรับเพิ่มขึ้น 9 กองทุน ลดลงพียง 2 กองทุน โดยกองทุนที่เอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ กองทุนเปิด ฮาร์เวสท์ของบลจ.ยูโอบี(ไทย) จำกัด เอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 8.53% มาอยู่ที่ 17.0029 บาทจากเดิมที่ 15.6660 บาท และอันดับ 2 คือ กองทุนไพบูลย์ทรัพย์ปันผลของบลจ.ธนชาตเอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 7.16% มาที่ 6.7635 บาท จากเดิม 6.3114 บาท

ส่วนกองทุนที่ปรับลดลงในกลุ่มนี้คือ กองทุนเปิดไอเอ็นจีไทยบาลานซ์ฟันด์ ของบลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด โดยเอ็นเอวีต่อหน่วยลดลง 7.13% มาอยู่ที่ 10.6459 บาทจากเดิมที่ 11.4634 บาท

ด้านกองทุนผสมแบบยืดหยุ่นเป็นกองทุนประเภทหนึ่งที่ความเสี่ยงสูงรองจากกองทุนหุ้นขณะเดียวกันก็ให้ผลตอบแทนสูงเช่นกัน ทั้งนี้กองทุนที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในกลุ่มนี้ คือ กองทุนเปิดมอร์แกนสแตนลีย์คันทรีฟันด์ ของบลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) เอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 16.41% มาอยู่ที่ 26.9678 บาทจากเดิมที่23.1656 บาท ส่วนอันดับ 2-5 เป็นกองทุนของบลจ.อยุธยาเจเอฟ จำกัด ทั้งหมด มีมูลค่าเอ็นเอวีต่อหน่วยเพิ่มขึ้น 12.95%, 11.86%,11.12%,และ10.88% ตามลำดับ

สำหรับกองทุนที่ปรับลดลงมากที่สุดของกลุ่มนี้คือ กองทุนเปิดไทยทวีทุน ของบลจ.ไอเอ็นจี(ประเทศไทย) จำกัด เอ็นเอวีต่อหน่วยลดลง 9.87% มาที่ 1,688.5521 จากเดิม 1,873.5699 บาท

ปิดท้ายที่กองทุนรวมหน่วยลงทุน มีด้วยกัน 3 กองทุน ซึ่งมีกองทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น 2 กองทุน และลดลง 1 กองทุน โดยกองทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นมากที่สุดของกลุ่มนี้ยังคงเป็น กองทุนเปิดเอเจเอฟ โกลบอล คอนเวอร์ติเบิล บอนด์ ของบลจ.ของบลจ.อยุธยาเจเอฟ จำกัด เอ็นเอวีต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 3.89% และอันดับ 2 คือ =A

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com