May 8, 2024   4:05:42 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > การบริหารความเสี่ยง..ภายใต้บาทแข็ง
 

samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
วันที่: 13/11/2006 @ 00:29:47
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

โดยท่าน ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ

ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ มีแนวโน้มชัดเจนว่าเงินบาทจะแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาทนี้เกิดขึ้นจากทั้งปัจจัยพื้นฐาน การเก็งกำไรและการกระแสเงินทุนไหลเข้า
สิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับการแข็งค่าเงินบาทในรอบนี้คือสภาวะการลงทุนที่คึกคักในตลาดหุ้น

สำนักวิจัยชั้นนำหลายแห่งได้ปรับประมาณการการคาดการณ์ค่าเงินบาทกันใหม่โดยค่าเฉลี่ยของอัตราแลกเปลี่ยนปีนี้น่าจะอยู่ที่ 39.50-40 บาทต่อดอลลาร์ หากเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาอ่อนตัวลงไปกว่านี้อีกพร้อมกับการยอมให้เงินดอลลาร์อ่อนตัว ผลก็คือ เงินในภูมิภาคก็จะแข็งค่าขึ้น
ทิศทางขาขึ้นของอัตราดอกเบี้ยสหรัฐอเมริกาน่าจะใกล้ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงกลางปีนี้ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยในไทยน่าจะยังปรับขึ้นได้ต่อเนื่องอย่างน้อยจนถึงไตรมาสสี่ ปัจจัยนี้ก็จะมีผลทำให้เงินบาทแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์
สิ่งที่น่าติดตามเวลานี้ คือ แรงกดดันที่เกิดขึ้นกับค่าเงินหยวนของจีน แรงกดดันจากตลาดการเงินระหว่างประเทศให้จีนปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนมีมากขึ้นเรื่อยๆและดังขึ้นเรื่อยๆ

แต่เสียงดังที่สุดน่าจะมาจากสหรัฐฯ ตั้งแต่ ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา เสนอแนะให้จีนใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตามด้วยนักการเงินในวอลล์สตรีทรวมทั้งนักธุรกิจทั้งหลาย และยังมีความเคลื่อนไหวเรียกร้องจากบรรดานักการเมืองสหรัฐฯให้จีนพิจารณาปรับเปลี่ยนค่าเงินเป็นระยะๆ
เสียงเรียกร้องนี้อยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าเกินจริงอาจส่งผลทำให้เกิดการเสียสมดุลของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลก
การปล่อยให้เงินหยวนมีความยืดหยุ่น ย่อมหมายถึงการแข็งค่าขึ้นของเงินหยวน เนื่องจากจีนมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ หมายถึง ราคาสินค้าจีนย่อมมีราคาแพงขึ้นจากค่าเงินที่ปล่อยให้แข็งขึ้น ซึ่งจีนได้เปรียบทุกประเทศสองต่อ คือ จีนมีต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ถูกและจีนมีค่าเงินหยวนที่อ่อนเกินจริง ปัจจุบัน รัฐบาลจีนได้ผูกติดค่าเงินไว้กับเงินดอลลาร์ ในระดับประมาณ 8.277 หยวนต่อดอลลาร์ เมื่อดอลลาร์อ่อนค่าลง เงินหยวนก็จะอ่อนค่าตามลงไปด้วย ทำให้สินค้าจีนยิ่งถูกลงในตลาดโลก
ก่อนหน้านี้ช่วงเงินบาทอ่อน แต่ ณ. วันนี้ สถานการณ์พลิกผันเงินบาทมีโอกาสแข็งแต่คงไม่ผันผวนมาก การเลือกวิธีในการเผชิญความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของค่าเงินและดอกเบี้ยมีแนวทางใหญ่ 4 ใหญ่ๆ

แนวทางแรก คือ การพยายามคาดการณ์ทิศทางของค่าเงินให้แม่นยำด้วยการติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิดหรือทำการค้าในเงินสกุลเดียวกัน

แนวทางที่สอง คือ การป้องกันความเสี่ยงในตลาดเงินตราล่วงหน้า (Hedge in the forward Market) จะเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาล่วงหน้า โดยอ้างจะทำสัญญาซื้อขายเงินตราเพื่อส่งมอบในอนาคต (Future Contract) หรือ ทำสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้า (Forward Contract) โดยการทำสัญญาทั้งสองอย่างมีการแตกต่างกันคือ สัญญาซื้อขายเงินตราเพื่อส่งมอบในอนาคต หมายถึง สัญญามาตรฐานที่ทำการซื้อขายในตลาดจดทะเบียน ผู้ซื้อผู้ขายสามารถพบหน้ากันในการซื้อขาย ขนาดของการซื้อขายและระยะเวลาครบกำหนดเป็นมาตรฐาน ผู้มีส่วนร่วมต่างคุ้นเคยกับรูปแบบของสัญญาทำให้การซื้อขายเงินตราทำได้สะดวก ส่วนสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าเป็นการซื้อขายกันเป็นส่วนตัวระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งจะติดต่อกันทางโทรศัพท์ การซื้อขายที่สามารถเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ซื้อผู้ขายจะต้องทำการค้ากัน ณ ห้องค้าเงินตรา ส่วนสัญญาซื้อขายเงินตราล่วงหน้าขนาดของการซื้อขายไม่เป็นมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล ปริมาณการซื้อขายของสัญญาซื้อขายเงินตราเพื่อส่งมอบในอนาคตเพิ่มขึ้นโดยตลอด และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในธุรกรรมระหว่างประเทศ Future Contracts สัญญาจะเป็นสัญญาที่มีลักษณะเฉพาะและเป็นมาตรฐานในการซื้อขาย

แนวทางที่สาม คือ การป้องกันความเสี่ยงในตลาดซื้อขายสิทธิที่จะซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (Hedge in Option Market) อาจจะไม่จำเป็นมากในสถานการณ์เวลานี้ เพราะเงินบาทไม่ได้ผันผวนมาก แต่ว่ามันจะแข็งค่าขึ้น ตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1982 ตลาดเงินและตลาดปริวรรตชั้นนำของโลก ได้เปิดให้มีการอนุญาตซื้อขายสิทธิที่จะซื้อขายเงินตราต่างประเทศ สิทธิที่จะซื้อขายเงินตราต่างประเทศจะไม่เหมือนกับสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าและสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศในอนาคต กล่าวคือ สิทธิที่จะซื้อขายเงินตราต่างประเทศ หรือ Currency Option เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อโดยไม่ถือเป็นภาระผูกพันที่จะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ในอนาคต ณ อัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ตกลงกันไว้ นั่นคือ ผู้ซื้อเอกสารสิทธิที่จะซื้อขายเงินตราต่างประเทศนั้นจะซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ ณ อัตราแลกเปลี่ยนตามที่กำหนดไว้ถ้าหากว่าการปฏิบัติดังกล่าว ผู้ซื้อจะได้รับประโยชน์ และจะปล่อยให้ Options หรือสิทธิที่จะซื้อขายเงินตราหมดอายุไป สิทธิในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศก็แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่

1. สิทธิที่จะซื้อเงินตราต่างประเทศ (Currency Call Options) สิทธิที่จะซื้อเงินตราต่างประเทศจะให้สิทธิแก่ผู้ซื้อที่จะซื้อเงินตราต่างประเทศตามราคาที่ระบุไว้และภายในระยะเวลาที่กำหนด

2. สิทธิในการขายเงินตราต่างประเทศ (Currency Put Options) ผู้เป็นเจ้าของสิทธิที่จะขายเงินตราต่างประเทศจะอนุญาตให้ใช้สิทธิที่จะขายเงินตราต่างประเทศตามราคาที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ข. จะต้องชำระหนี ้เงินกู้สกุลดอลลาร์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า ก็ อาจจะป้องกันความเสี่ยงเอาไว้ด้วยการซื้อ Call Option เพื่อซื้อเงินดอลลาร์ที่ระดับ 42.00 บาทต่อดอลลาร์

[/size:d65d18ae2a">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com