May 5, 2024   1:46:39 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ฝันไกลถึง 1000 จุดแน่
 

samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
วันที่: 09/11/2006 @ 00:31:04
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

4 โบรก ประสานเสียงหุ้นไทยอนาคตรุ่ง เดือนพ.ย.นี้ SEt INDEX ทะยานต่อเนื่องจนถึงปีใหม่ เหตุได้แรงหนุนเงินนอกไหลเข้า-นโยบายเศรษฐของรัฐบาลชุดใหม่ชัดเจน -ปรากฎการณ์ December Effect, January Effect แถมหุ้นไทยยังราคาถูก - P/E ต่ำน่าดึงดูด มองยาวปี 51 มีสิทธิ์เห็น SET INDEX แตะ 1000 จุด เซียนหุ้นแนะซื้อหุ้นแบงก์-อสังหาฯ-รับเหมาก่อสร้าง

หลังจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศของไทยเริ่มคลี่คลายดูเหมือนว่า ตลาดหุ้นจะตอบรับข่าวนี้ยังเด่นชัดที่สุด จะเห็นได้จากช่วงหลังการปฎิรูปการปกครองตลาดหุ้นไทยก็ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยหนุนจากเงินทุนนอกที่ไหลเข้า ด้วยเหตุว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ผลมาจากเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลง การขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น ยิ่งในช่วงตั้งแต่เดือนพ.ย.เรื่อยไปจนถึงเดือนแรกของปีใหม่ของทุกปี ตลาดหุ้นจะได้รับแรงหนุนจากปรากฎการณ์ December Effect และ January Effect ดัน SET INDEX ให้ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง

และหากเปรียบเทียบตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นในแถบภูมิภาคเอเชียอาทิเช่น อินเดีย, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ราคาหุ้นบ้านเรายังถูกกว่าตลาดหุ้นในประเทศเหล่านี้มาก ซึ่งจากปัจจัยสนับสนุนข้างต้นทำให้นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างมองว่ากลางปี 50 ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะทดสอบระดับ 800 จุดแน่นอน และในปี 2551 อาจมีโอกาสที่จะได้เห็นดัชนีตลาดหุ้นไทยทะยานขึ้นทดสอบระดับ 1000 จุด

****บล.ฟินันซ่า มองช่วง พ.ย.48-ม.ค.50 SET INDEX แตะ 700-777 จุด

บทวิเคราะห์ของบล.ฟินันซ่าระบุว่า ตลาดไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.3% ในเดือนที่แล้ว และปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.3% จากระดับจุดต่ำสุดหลังการปฏิรูปการปกครองเมื่อ 19 ก.ย. เฉพาะใน ต.ค.นักลงทุนต่างประเทศได้มีการซื้อสุทธิไปแล้ว 1.82 หมื่นล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิสะสม 1.13 แสนล้านบาทในช่วง 10M06 ขณะที่นักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ 3.1 และ 8.2 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาปิดทำการสิ้นเดือนที่ 36.67 THB/USD หรือคิดเป็นการแข็งค่า 2.3% MoM และแข็งค่าขึ้น 10.6%จากสิ้นปีที่แล้ว

ขณะที่ผลประกอบการ 3Q06 ได้ทยอยประกาศออกมา เริ่มตั้งแต่กลุ่มธนาคารพาณิชย์แสดงผลกำไรที่ลดลง 10%YoY และกำไร 9M06 ลดลง 9%YoY เช่นเดียวกันกับผลประกอบการของ SCC ที่ค่อนข้างทรงตัว สะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลจากปัจจัยการเมือง และราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น ซึ่งเราคาดว่าจะยังคงดำเนินต่อไปจนถึง 4Q06

สำหรับบรรยากาศการลงทุนโดยรวมปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจเสร็จสิ้นลง ขณะที่ความพยายามในการอธิบายถึงความจำเป็นในการปฏิรูปการปกครองต่อนักลงทุนต่างประเทศส่งผลให้ความมั่นใจในการลงทุนเพิ่มขึ้นดังเห็นได้จาก กรณีของ GE ที่อนุมัติการซื้อหุ้นเพิ่มทุนให้กับ BAY เรียบร้อยแล้ว และในเดือนนี้จะมีการจัดงานกระทรวงเศรษฐกิจพบนักลงทุนต่างประเทศ (Open House with EconomicsMinisters)ในวันที่ 10 พ.ย. ซึ่งน่าจะส่งผลให้เงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าไทยเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดีเรายังคงมีความเห็นว่าการคงกฏอัยการศึกไว้จะเป็นตัวเหนี่ยวรั้งบรรยากาศการลงทุนในไทย ซึ่งอาจสะท้อนมุมมองอีกขณะว่า การเมืองไทยแม้จะดูจะราบเรียบขึ้น แต่เนื้อในแล้วยังคงมีความความเคลื่อนไหวเชิงลึกอยู่

อย่างไรก็ดี ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ต่อเนื่องไปถึง ม.ค.ของปีถัดไป มักจะเป็นช่วงของการลงทุนที่มีสีสันแตกต่างจากเดือนอื่นๆ จากข้อมูลสถิติย้อนหลัง 7 ปี ตั้งแต่ 2000-2006 พบว่า ในช่วง 3 เดือนนี้ (1 พ.ย.?31 ม.ค.) ดัชนีไทยเคยให้ผลตอบแทนสูงที่สุด 28% ต่ำสุดคือ -6% และเฉลี่ยที่ 15% ดังนั้น ในปีนี้เราจึงคาดว่าตลาดไทยจะได้รับอานิสงส์จากปัจจัยด้านฤดูกาลเช่นเดียวกันกับทุกปี บนสมมุติฐานที่แย่ที่สุดคือดัชนีปีนี้จะปรับตัวขึ้นเพียงครึ่งหนึ่งของค่าเฉลี่ย 7 ปี หรือ ดัชนีจะมีการปรับขึ้นเพียง 7.5% นั้นก็คือกรอบการเคลื่อนไหวในช่วง 3 เดือนนี้น่าจะอยู่ที่ บริเวณ 700-777 จุด รูปแบบที่น่าจะเกิดขึ้นคือการปรับตัวดัชนีจะเป็นทิศทางขาขึ้นสลับการขายทำกำไรในช่วงต้นพ.ย. ก่อนที่จะปรับตัวซึมขึ้นในช่วงปลาย ธ.ค.

ทั้งนี้ เพราะดัชนีไทย (SET) ปรับตัวขึ้นมามากในระยะเวลาเพียงหนึ่งเดือน 5.3% และ 6.3% สำหรับ MSCI-Thailand แม้จะเป็นไปตามทิศทางในภูมิภาคที่ได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ดูเหมือนว่าจะปรับตัวสูงกว่า MSCI-Ex Japan ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 3.1% (ปิด 27 ต.ค.06) เหตุผลมาจากเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลง การขาดดุลการค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ย 6.5 หมื่นล้านเหรียญ/เดือน และทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่คงตัวจนถึงอาจปรับลดลงในปีหน้า กดดันค่าเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าลงโดย US Dollar Index ปรับตัวลดลง 0.83% และในเวลาเดียวกันได้ส่งผลให้ค่าเงินสกุลเอเชีย ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.8% จึงมีกระแสเงินทุนที่จะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะเข้าสู่เอเชียเพื่อหนีการเสื่อมค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยมีปัจจัยเรื่องการปรับแข็งค่าเงินหยวนเป็นตัวหนุน

ผลที่ตามมาก็คือค่าเงินบาทที่แข็งเร็วและแรงจนเกินไปยังผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐปรับตัวสูงขึ้นสูงกว่าผลตอบแทนในรูปเงินบาทกระตุ้นแรงขายทำกำไรในระยะสั้น ซึ่งหากพิจารณาจากผลตอบแทน MSCIThailand ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาจะให้ผลตอบแทน 6.4% เทียบกับผลตอบแทนในรูปดอลลาร์ที่สูงถึง 9% และหากย้อนมองไปตั้งแต่ต้นปีผลตอบแทนในรูปดอลลาร์สหรัฐจะสูงถึง 14.3% เทียบกับผลตอบแทนในรูปเงินบาทที่เพิ่มขึ้นเพียง 2.3%
เนื่องด้วยเหตุผลค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีแนวโน้มจะอ่อนค่า จึงทำให้เงินทุนจะยังคงไหลเข้าสู่ไทยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยภายในประเทศได้แก่

งบประมาณแผ่นดินที่เตรียมไหลเข้าสู่ระบบในช่วงกลาง ม.ค.ปีหน้า ส่งผลต่อตัวแปรทวีคูณทางเศรษฐกิจ(Multiplier) ให้ทำงานอีกครั้งอีกครั้ง ซึ่ง BANK อย่าง BBL, SCB, KBANK KTB และ BAY จะได้รับประโยชน์จากการเริ่มลงทุนใหม่ คู่กับ Contractors อย่าง ITD และ STEC จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการรถไฟฟ้าที่มีความชัดเจนขึ้นเพราะอย่างน้อยที่สุด 1 สายต้องเกิด มากสุดไม่เกินสามสาย อัตราดอกเบี้ยไทยที่มีแนวโน้มปรับลดลงในกลาง 1Q07 และอัตราเงินเฟ้อที่อ่อนแรงลงจะกระตุ้นความมั่นใจผู้บริโภคซึ่ง PROP อาทิ PS, AP, LPN และ QH น่าจะได้รับประโยชน์จากความมั่นใจที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ TRANS, CONMAT, Contractors จะได้รับผลบวกจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง

อัตราผลตอบแทนของตลาดปัจจุบันยังอยู่ในระดับสูงคือ 8.35% มากกว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปีที่ให้ผลตอบแทน 5.15% เมื่อรวมกับ Performance ของตลาดหุ้นไทยที่ยังคงด้อยกว่าเพื่อนบ้าน ซึ่งพิจารณาจาก MSCI-Thailand ในรูปดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 14.3% ต่ำกว่า MSCI-Asia Ex Japan ที่เพิ่มขึ้นถึง 16.3% สะท้อนถึงความเสี่ยงของตลาดไทยในระดับที่ต่ำ ซึ่งนั่นหมายความว่านักลงทุนมีมุมมองที่เลวร้ายต่อตลาดไทยมากเกินไป

จึงแนะนำนักลงทุนถือครองหุ้นต่อไป อย่าตระหนกกับการปรับตัวระยะสั้น โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหว สำหรับเดือนพ.ย.ที่ 700-730 จุด ไม่หลุด 700 จุด ไม่ควรตกใจ แนะนำซื้อลงทุนหุ้นเด่น 5 บริษัท ที่คาดว่าผลประกอบการจะปรับตัวแบบโดดเด่นในครึ่งหลังปีนี้จนถึงต้นปีหน้า ได้แก่ BAY, TRUE, PLE, HEMRAJ และ JTS

สำหรับหุ้น The Stars ทั้ง 5 บริษัทที่ฝ่ายวิเคราะห์ได้แนะนำไปให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ย 7.8% สูงกว่า SET ที่ให้ผลตอบแทน 5.3% โดย ROJANA (+24%) และ EGCOMP (+6.5%) เป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด ขณะที่ SCC, THAI และ DELTA ให้ผลตอบแทน 4.3%, 3.2% และ 1.1% ตามลำดับ

****บล.นครหลวงไทย เชื่อหุ้นไทยทะยานต่อ เหตุระดับราคายังต่อกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาค

บทวิเคราะห์ของบล.นครหลวงไทย ระบุว่า ฝ่ายวิเคราะห์มีมุมมองในเชิงบวก (Positive) ต่อแนวโน้มของตลาดในเดือนพฤศจิกายน โดยคาดว่า ดัชนีฯจะปรับตัวเพิ่มจากอิทธิพลของเงินทุนจากต่างประเทศ และเงินทุนใหม่จากกองทุน RMF LTF โดยมีปัจจัยความชัดเจนในเรื่องการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจในประเทศเป็นปัจจัยสนับสนุน คาดว่าหุ้นในกลุ่มที่มีผลประกอบการโดดเด่นในครึ่งปีหลังจะเป็นกลุ่มที่มีราคา Outperform ตลาดฯ ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มโรงแรม กลุ่มเกษตร กลุ่มปิโตรเคมี เดินเรือ และ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนหุ้นใน กลุ่มหลัก ได้แก่ แบงก์ พลังงาน วัสดุก่อสร้าง สื่อสาร จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับตลาดฯจากอิทธิพลของเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นมีโอกาสที่จะไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ได้ หากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากจะมีผลให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาเป็นผู้ขายสุทธิ

เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่อ่อนค่าในระยะยาว จากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯมีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือน พ.ค.2550 เม็ดใหม่จากกองทุน RMF และ LTF ที่จะเข้าลงทุนในช่วงปลายปี

การปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2550 เพิ่มขึ้นอีก 0.50% คาดว่าจะทำให้นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มประมาณการผลประกอบการปี 2550 เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน หลังจาก บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ประกาศผลการดำเนินงานเสร็จสิ้นภายในวันที่ 15 พ.ย.
การ Road show ให้กับนักลงทุนต่างประเทศ คาดว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้เพิ่มมากขึ้น การปรับปรุงดัชนีรายไตรมาสของ MSCI มีโอกาสนำหุ้นใหม่เข้าจดทะเบียน ปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายส่งผลดีต่อภาคเกษตรกรรมและวัสดุก่อสร้าง

การที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯกลับมาแข็งค่าขึ้นจะส่งผลกระทบต่อทิศทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติให้ชะลอตัวหรือเกิดการขายทำกำไร ค่าเงินบาทหากแข็งค่าเร็วเกินไปจะกระทบต่อธุรกิจการส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 4/49 การก่อการร้ายในตะวันออกกลางจะส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ ความผันผวนของตลาดหุ้นสหรัฐฯหลังจากปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน ต.ค. ซึ่งอาจส่งผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อตลาดหุ้นทั่วโลก

แนวโน้มของดัชนีตลาดในเดือนนี้มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของเดือน พ.ย. และ คาดว่าจะมีการปรับฐานที่แนว 750 จุด ในกรอบ 720-750 จุด

ปรากฏการณ์ที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนธันวาคม และ มกราคม : โดยปกติเดือนธันวาคมของทุกปีจะเป็นเดือนที่ตลาดหุ้นของไทยให้ผลตอบแทนไม่สูงมาก เนื่องจากเป็นเดือนที่มีปัจจัยสำคัญ 2ประการ คือ การซื้อของกองทุนเพื่อทำ Window dressing ช่วงสิ้นปี ทำให้มีแรงซื้อเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันจะเป็นช่วงที่นักลงทุนบางกลุ่มขายหุ้นที่มีผลขาดทุนเพื่อใช้ผลประโยชน์ทางภาษี [/color:368ec6658a">

 กลับขึ้นบน
samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
#1 วันที่: 09/11/2006 @ 00:32:43 : re: ฝันไกลถึง 1000 จุดแน่
อย่างไรก็ตาม จะมีบางปีที่นักลงทุนชะลอการขายหุ้นในช่วงเดือน ธ.ค. เพื่อไปขายในเดือน ม.ค. ของปีถัดไปเพื่อจะได้เสียภาษีช้าไปอีก 1 ปี รวมถึงมีโอกาสได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นด้วยปรากฏการณ์ดังกล่าว เรียกว่า?December Effect? สำหรับ ?January Effect? เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นปกติในตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งเกิดจากการที่กองทุนต่างๆกลับมาเข้ามาซื้อหุ้นเพื่อปรับพอร์ตการลงทุนในช่วงต้นปี หลังจากที่ขายหุ้นออกไปในช่วงเดือน ธ.ค. ดังนั้นโดยทั่วไป ราคาหุ้นทั่วโลกจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเดือนม.ค.

ตลาดหุ้นไทย เกิด December Effect น้อยกว่า January Effect : จากการศึกษาของ ฝ่ายวิเคราะห์ต่อปรากฏการณ์ December และ January effect ของตลาดหุ้นไทยในระหว่างเดือน ธ.ค. 2543 ถึง ม.ค.2549 พบว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. เป็นระยะเวลา 4 ครั้งในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.71% ในเดือน ธ.ค. (ยกเว้นเดือน ธ.ค. 2546 เนื่องจากมีกำไรมากผิดปกติ) ส่วนเดือน ม.ค. ดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้ง 5 ครั้ง ในระหว่างปี 2544 ? 2549 โดยดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 8.43% ยกเว้นเดือน ม.ค. 2547 ซึ่งมีกำไรสูงผิดปกติซึ่งเป็นเดือนที่ราคาปรับตัวลดลง เนื่องจากดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในเดือน ธ.ค. 2546 นอกจากนี้ในช่วงดังกล่าวยังเป็นช่วงที่นักลงทุนต่างประเทศมีการซื้อสุทธิ โดยมูลค่าการซื้อสุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ 179 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนธ.ค. ของปี 2543 ? 2548 และได้เพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นเฉลี่ย 593 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือน ม.ค. ของปี 2544 ? 2549

ฝ่ายวิเคราะห์คาดว่าในปี 2549/2550 จะเกิดทั้ง December และ January Effect จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองส่งผลให้ SET มีความผันผวน อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นของนักลงทุนค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น หลังมีการประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ ฝ่ายวิเคราะห์ประเมินว่า SET จะค่อยๆปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวเพียง 2.4% นับตั้งแต่ปลายปี 2548 แต่ยังคงต่ำกว่าตลาดหุ้นที่สำคัญอื่นๆเช่น อินเดีย และ สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ เมื่อพิจารณาในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ SET ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคอื่นๆ เช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นเพียง 14.5% เมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค เช่น จีน (+63.7%), ฮ่องกง (+23.7%), อินเดีย (+39.1%), อินโดนีเซีย (+47.8%)

อย่างไรก็ตาม SCIBS คาดว่า SET จะปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. 2549 และ ม.ค. 2550 โดยคาดว่าราคาหุ้นจะลดลงมากเนื่องจากการขายหุ้นในช่วงเดือน ธ.ค. เพื่อรับรู้ผลขาดทุนจากการลงทุนและใช้ประโยชน์ในทางภาษี รวมถึงการทำ Window Dressing หลังจากนั้นคาดว่าจะมีการกลับเข้าลงทุนเข้าซื้อหุ้นที่มีการขายออกมา ในช่วงเดือน ม.ค. 2550 โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาดัชนีตลาดหุ้นของไทยมีการปรับฐานในเดือนธ.ค. และปรับตัวเพิ่มอย่างมากในเดือน ม.ค. เป็นเวลา 4 ปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ยกเว้นเดือน ธ.ค. 2543 และเดือนม.ค. 2547
เนื่องจากผลกำไรและขาดทุนที่มากผิดปกติ) ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การเกิด December and January Effects มีโอกาสเกิดขึ้นถึง 80% ดังนั้น SCIBS จึงแนะนำ ?ซื้อสะสม? หุ้นในเดือน ธ.ค. ในกลุ่มที่คาดว่าประกาศผลประกอบการของ Q3/49 จะปรับเพิ่มขึ้นสูง และ หุ้นเงินปันผลสูง

****PHATRA คาดเห็น SET Index แตะ 1,000 จุดในปี 51 เหตุการเมืองดีขึ้น-น้ำมันเริ่มทรงตัว เชื่อการลงทุนฟื้น

แหล่งข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ PHATRA เปิดเผยกับ eFinanceThai.com ว่าในปี 2551 SET Index คงจะแตะ 1,000 จุด เนื่องจากปัจจัยทางการเมืองเริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้นรวมทั้งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเริ่มทรงตัว ซึ่งทำให้นักลงทุนคลายความกังวลและน่าจะส่งผลให้การลงทุนเริ่มฟื้นตัวในทิศทางที่ดีขึ้น

เป้าหมายดัชนีฯ ปีนี้เราไม่ได้มองไว้ แต่เรามองไปอีก 2 ปีข้างหน้าคือปี 2008 ซึ่งจากการวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดหุ้นเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ประเมินว่า SET Index น่าจะแตะ 1,000 จุด ได้เพราะปัจจัยต่างเริ่มคลี่คลายทั้งการเมืองน้ำมัน แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว

****บล.ไซรัส มองเดือนพ.ย.ดัชนีตลาดหุ้นทะยานแน่ แนะซื้อหุ้นแบงก์-อสังหาฯ-อิเลคทรอนิคส์

บทวิเคราะห์ของบล.ไซรัส ระบุว่า แม้ในช่วงที่เหลือของปี 2549 ไม่มีปัจจัยใหม่ที่จะกระตุ้นให้ SET อย่างไรก็ตามจากการประเมินสถิติในอนาคต SET มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นในเดือนพ.ย. ของทุกปี โดย 10 ปีย้อนหลัง มีเพียงปี 2540 และ 2548 ที่ไม่ปรับตัวขึ้นโดยปี 2540 เป็นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ขณะที่ปี 2548 คือปีที่แล้ว SET กลับมาบวกแรงในเดือนธ.ค. โดยในปี 2547 และ 2548 SET ปรับตัวเพิ่มประมาณ 5-6% ในช่วงเดือน พ.ค. -ธ.ค.

โดยฝ่ายวิเคราะห์ประเมิน SET ปี 2549 จะค่อยๆ ปรับตัวขึ้นสู่ 720-740 จุด (+2.9-5.7% จากปัจจุบัน) โดยเฉพาะในเดือนพ.ย. ซึ่งคาดว่าจะเริ่มปรับตัวขึ้นอย่างจริงจัง สำหรับปี 2550 SYRUS ประเมิน SET ที่ 800 จุด (P/E 11.5x P/BV 1.9x อัตราปันผลตอบแทน 3.6%)
เนื่องจากประเด็นการเมือง คาดว่าจะไม่สามารถส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับขึ้นแรง ๆได้ แต่จากการประเมินแนวนโยบายของรัฐบาล ซึ่งให้ความสำคัญต่อการสร้างรากฐานของสังคม และเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างมั่นคง และยั่งยืน ตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง คาดว่าจะช่วยส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นให้ค่อยๆ ปรับตัวขึ้นตามปัจจัยพื้นฐาน โดยคาดว่าความผันผวนของ SET จะลดน้อยลง และคาดว่า SET จะค่อยๆ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานของประเทศอย่างมั่นคงและยั่งยืนเช่นกัน

ส่วนราคาน้ำมันจะไม่ลดลงไปกว่านี้มากแล้ว เนื่องจาก 1)จากความเป็นไปได้ที่กลุ่มโอเปกจะเข้ามาพยุงราคา 2) ช่วงปลายไตรมาส 4/49 ซึ่งปกติจะมีความต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะ Heating oil คาดว่าราคาหุ้นพลังงานจะเริ่มทรงตัว แต่จะไม่ปรับตัวขึ้นรุนแรง
ขณะที่ดอกเบี้ยผ่านจุดสูงสุดแล้ว และในปี 2550 มีโอกาสปรับลดลง แต่ตลาดรับรู้ข่าวพอสมควรแล้ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่อ่อนไหวกับอัตราดอกเบี้ย หลัก ๆได้แก่ ธนาคาร เช่าซื้อ อสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ธปท. ได้ปรับลดเป้าการเติบโตของ GDP เป็น 4-5% ในปี 2549 และ 4-5.25% ในปี 2550 ทั้งนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง/49 จะชะลอลงจากครึ่งแรก/49 โดยเฉพาะทางด้านส่งออก แต่สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์ ยังไม่เห็นสัญยาณที่ชะลอลง

ทั้งนี้ แนะนำทยอยซื้อหุ้นปัจจัยพื้นฐาน โดยแนะนำหุ้นในอุตสาหกรรมธนาคาร (BAY, SCB) อสังหาริมทรัพย์ (GOLD , SYNTEC) อิเลคทรอนิคส์ (DELTA) Defensive (LANNA, BECL) อื่นๆ (KSL, GSTEEL, TOP)

**** ชำแหละตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย พบตลาดหุ้นญี่ปุ่นทะยานขึ้นน้อยสุด

ตารางแสดงการเปลี่ยนแปลงของดัชนีตลาดหุ้นประเทศในแถบภูมิภาคเอเซียตั้งแต่ ส.ค.-พ.ย.49

ประเทศ ดัชนีปิด ณ 29 ส.ค.(จุด) ดัชนีปิด ณ 8 พ.ย.(จุด) เปลี่ยนแปลง %
อินเดีย 11707 13072.51 1365.51 11.66
ฮ่องกง 17080 18811.24 1731.24 10.14
จีน 1651.02 1866.82 215.8 13.07
มาเลเซีย 953.22 1007.29 54.07 5.67
สิงคโปร์ 2455.33 2735.3 279.97 11.4
ญี่ปุ่น 15890.56 16215.74 325.18 2.05
เกาหลีใต้ 1344.61 1380.07 35.46 2.64
ไต้หวัน 6479.91 7178.34 698.43 10.78
อินโดนีเซีย 1432.93 1646.07 213.14 14.87
ไทย 686.24 738.93 52.69 7.68

ที่มา : eFinanceThai.com [/color:74cd57f1e5">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com