May 6, 2024   3:44:22 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ASPข้องใจหุ้นไทยถูกแน่หรือ
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 27/10/2006 @ 10:37:50
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ASP ออกบทวิเคราะห์ ฟันธงตลาดหุ้นไทยไม่ถูกจริง ระบุแม้ PER ต่ำสุดจริง แต่หาก PER มาหารด้วย EPS growth (PEG) พบว่าตลาดไทยมีค่า PEG สูงสุดกว่าประเทศเพื่อนบ้าน สะท้อนให้เห็นว่าตลาดไทยไม่ได้ถูกอย่างที่คิด ส่วนทางหลายองค์กรยังมองหุ้นไทยถูกสุดๆ แนะนำกลยุทธ์เดือน พ.ย. นี้ ปรับพอร์ตขายทำกำไรระยะสั้น ส่วนการลงทุนระยะปานกลาง แนะดัชนีที่ 730 จุดหรือ PER ที่ 10 เท่า เป็นจังหวะปรับพอร์ต แต่แนะลงทุนบางตัว เช่น AOT- ATC- BECL- BGH- EGCOMP-ERAWAN- MINT- SPALI- TOP และ VIBHA ด้าน ส.นักวิเคราะห์ ยัน ตลาดหุ้นไทยยังน่าสนใจ PER ต่ำเฉลี่ยที่ 8.4 เท่า ขณะที่เดียวกันแนวโน้ม EPS ดีต่อเนื่อง คาดปีหน้าอยู่ที่ 4.4%

ในกว่า 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดหลักทรัพย์ของอยู่ในช่วงขาขึ้น ดัชนีตลาดฯปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม จนถึงวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมาจากระดับ 710.74 จุด มาอยู่ที่ 732.80 จุด หรือปรับตัวขึ้นไป 3.1% ถึงแม้ว่าดัชนีจะปรบตัวลดลงมาเมื่อวานนี้ (26 ต.ค.) โดยมาปิดที่ระดับ 728.49 จุด ลดลง 4.36 จุด มีมูลค่าการซื้อขาย 14,941.49 ล้านบาท แต่เมื่อพิจารณาจากเม็ดเงินไหลเข้าของต่างประเทศที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นไปีะดับ 37 บาทต้นๆ ซึ่งถือว่าแข็งค่าที่สุดในรอบเกือบ 7 ปีแล้วก็ถือว่าดัชนีฯยังสามารถปรับตัวขึ้นได้อีก เพราะปัจจัยที่ตลาดฯปรับลดลงวานนี้น่าจะมาจากการขายทำกำไรในหุ้นตัวใหญ่หลายตัวของนักลงทุนมากกว่า หลังจากที่ราคาปรับตัวขึ้นไปในระดับสูงหลายวันแล้ว เพราะฉะนั้นแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้จึงยังสดใส โอกาสในการปรับตัวขึ้นไปทะลุแนวต้านครั้งใหม่ จึงไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้แต่อย่างใด
วานนี้ มูลค่าการซื้อขายสุทธิของนักลงทุน นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 339.03 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิ 668.37 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไป ขายสุทธิ 329.34 ล้านบาท ซึ่งเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศนั้น มีมูลค่าซื้อสุทธิติดต่อกันมา 2 สัปดาห์แล้ว นับตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2549 จนถึงวานนี้ รวมทั้งสิ้น 18,201 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม บริษัทหลักทรัพย์บางแห่งยังคงมีมุมมองต่อตลาดหลักทรัพย์ในช่วงนี้ ที่ค่อนข้างน่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะบล.เอเซียพลัส ซึ่งหยิบยกประเด็นว่าราคาหุ้นในตลาดหุ้นไทย ที่ใครต่อใครคิดว่าถูกจากค่า PER ที่ดัชนีฯที่ต่ำนั้น ไม่ได้ต่ำอย่างที่คิดกัน



* ตลาดหุ้นไทยถูกจริงหรือเปล่า
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก บล.เอเซียพลัส (ASP) ระบุว่า การปรับตัวขึ้นมาของ SET Index ทำให้ค่า PER ปัจจุบันของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ระดับประมาณ 10 เท่า นับว่าเป็นระดับที่ฝ่ายวิจัยกำหนดให้เป็นแนวทางในการกำหนดดัชนีเป้าหมายของตลาดหุ้นไทย ทั้งนี้เพราะเมื่อพิจารณาจากภาพ PER Bands ข้างต้น จะพบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา SET Index เคลื่อนไหวอยู่ในช่วง PER 10- 10.5 เท่า มาโดยตลอด การที่จะทำให้ SET Index ปรับตัวขึ้นไปได้ต่อเนื่อง จะต้องอาศัยแรงผลักดันที่มีน้ำหนักมาช่วยกระตุ้น ซึ่งได้แก่ EPS Growth และการไหลเข้ามาของเงินทุนจากต่างชาติอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนทั้ง 2 ประเด็นไม่มีความชัดเจน

? EPS Growth ประเด็นนี้คาดว่าจะไม่สามารถทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันที่ดีสำหรับตลาดหุ้นไทย เนื่องจากคาดว่าจะเห็นการเติบโตในอัตราที่ลดลงอย่างชัดเจน โดยในงวดปี 2549 คาดว่าจะเติบโต 3.72% ขณะที่ปี 2550 คาดว่าจะเติบโตเพียง 0.62%

? Fund Flow ที่ผ่านมา การเพิ่มสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ในภูมิภาคเอเชีย บวกกับค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าตามภูมิภาค มีส่วนอย่างสำคัญที่ทำให้เห็นเงินทุนไหลเวียนเข้ามาในตลาดหุ้นไทยช่วงที่ผ่านมา แต่ความคาดหวังที่จะเห็นการไหลเข้ามาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดขึ้นไม่ง่ายนัก เนื่องจากตลาดหุ้นไทยอาจไม่ใช่ตลาดหุ้นที่น่าดึงดูดเป็นอันดับต้นๆ

เปรียบเทียบ PER และ PEG ของตลาดหุ้นไทย เทียบกับตลาดเพื่อนบ้าน
PER (เท่า) EPS (%) PEG
2549F 2550F 2549F 2550F 2549F 2550F
Asia ex Japan 14.00 12.60 12.20 12.00 1.15 1.05
Asean 13.10 12.20 19.10 7.60 0.69 1.61
China 15.90 15.00 14.00 8.40 1.14 1.79
Hong Kong 14.40 14.70 2.70 -1.40 5.33 Nm.
India 17.00 15.10 19.80 15.40 0.86 0.98
Indonesia 16.50 13.00 13.60 27.30 1.21 0.48
Korea 11.10 9.50 -7.20 16.50 Nm. 0.58
Malaysia 14.70 13.40 25.80 9.50 0.57 1.41
Philippines 16.80 14.40 6.30 17.20 2.67 0.84
Singapore 14.50 14.60 57.40 -0.60 0.25 Nm.
Taiwan 13.40 12.00 19.50 12.80 0.69 0.94
Thailand 9.95 9.88 3.72 0.62 2.67 15.94
Australia 15.30 13.90 23.00 12.10 0.67 1.15
New Zealand 17.20 17.00 -2.90 6.80 -5.93 2.50
ที่มา : ABN Amro และฝ่ายวิจัย ASP

ดังนั้นเพื่อตอบคำถามว่าตลาดหุ้นไทยถูกจริงหรือ ฝ่ายวิจัยได้นำข้อมูลเชิงเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ใน 2 มิติ คือทั้งในเรื่อง PER และ EPS Growth จากข้อมูลในตารางข้างต้น สะท้อนให้เห็นภาพว่าตลาดหุ้นไทย ถือว่าเป็นตลาดหุ้นที่มีค่า PER ต่ำที่สุดในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณา EPS Growth ของไทย ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเช่นกัน เมื่อนำทั้ง 2 ปัจจัยมาพิจารณาควบคู่กัน กล่าวคือนำค่า PER มาหารด้วย EPS Growth (แสดงด้วยค่า PEG ในตาราง) พบว่าตลาดหุ้นไทย ให้ค่าที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งก็หมายถึงความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทย อาจมีความน่าสนใจน้อยกว่า ตลาดหุ้นอื่น

ดังนั้นแม้ค่า PER ไทยต่ำเกือบ 10 เท่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยภูมิภาคที่ 14 เท่า แต่เมื่อนำ EPS growth ปี 2550 ที่เติบโตเพียง 0.6% จากปี 2549 มาพิจารณารวมด้วย โดยนำ PER มาหารด้วย EPS growth (PEG) พบว่าตลาดไทยมีค่า PEG สูงสุด ตรงนี้สะท้อนว่าตลาดไทยไม่ได้ถูก แต่นโยบายการถือครองสินทรัพย์ที่มิใช่ดอลลาร์ และค่าเงินบาทที่แข็งค่าตามภูมิภาค ดึงให้ Fund Flow ไหลเข้า แต่สัดส่วนน้อยกว่าเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้หากพิจารณาจากในตารางจะพบว่าค่า PEG ในปีนี้ ตลาดหุ้นไทยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ที่ 2.67 ปี2550 เพิ่มขึ้นเป็น 15.94 ขณะที่ปีนี้ ตลาดประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง รวมไปถึง เกาหลี และจีน ล้วนแต่ต่ำกว่าประเทศไทยทั้งสิ้น โดยสิงคโปร์นั้น ค่า PEG ปีนี้อยู่ที่ 0.25 เท่านั้น ส่วนมาเลเซียอยู่ที่ 0.57

.000002
[/color:08a9db1a9e">[/size:08a9db1a9e">

 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#1 วันที่: 27/10/2006 @ 10:39:56 : re: ASPข้องใจหุ้นไทยถูกแน่หรือ
* กลยุทธ์การลงทุน
กำไรตลาดในปี 2550 ไม่เติบโตเพราะแรงกดดันจากหุ้นพลังงานดังที่กล่าวข้างต้นว่าปี 2550 EPS growth เติบโตน้อยไม่ถึง 1% โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงาน ซึ่งมีมูลค่าตลาดใหญ่สุด แม้ว่าหุ้น ธ.พ. จะกลับมาเติบโตในอัตราสูง 7.5% แต่มีน้ำหนัก ถ่วงดัชนีน้อยกว่าหุ้นพลังงานคือเพียง 16% แต่ต้องฝากความหวังไว้กับหุ้นโรงไฟฟ้าที่คาดว่าจะมีข่าวดี กรณีที่มีความคืบหน้าการประมูลโรงไฟฟ้า IPP รอบ 2 ในปี 2550 และหุ้นกลางและเล็ก ที่คาดว่ายังเติบโตได้ดีในหลายกลุ่ม เช่น อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และโรงพยาบาล เป็นต้น หุ้นโรงไฟฟ้าจะโดดเด่นแทนหุ้นน้ำมันหุ้นพลังงาน ซึ่งมีมูลค่าตลาดสูงสุดคิดเป็น 35% นำโดย PTT และ PTTEP (คิดเป็น 40.1% และ23.5% ของมูลค่าตลาดในกลุ่มพลังงาน) เป็นตัวนำตลาดในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาอย่างโดดเด่น เนื่องจากได้รับประโยชน์เต็มที่จากราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่เริ่มอ่อนแรงลงในงวด 2H49 หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกได้ผ่านจุดสูงสุดเมื่อกลางปีนี้ และเริ่มอ่อนตัวในครึ่งหลังของปีนี้โดยคาดว่าราคาน้ำมันดูไบในงวด 2H49 จะทรงตัวในระดับ 55-57 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงจากเฉลี่ย 62 เหรียญสหรัฐ ในงวด 1H49 และตลอดปี 2549 คาดว่าเฉลี่ยประมาณ 60 เหรียญสหรัฐ และน่าจะทรงตัวในระดับเดียวกันในปี 2550

อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัย ASP คาดว่ากระแสการประมูลโรงไฟฟ้า IPP รอบ 2 จะเกิดขึ้นในปี 2550 หลังจากที่ล่าช้ามาหลายปี และด้วยนโยบายของ รมต. พลังงานคนใหม่ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันอย่างเสรี โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตลง อีกทั้งคาดหวังว่าโรงไฟฟ้าเอกชน มีโอกาสที่จะได้รับส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น สำหรับกำลังการผลิตส่วนเพิ่ม (ที่คาดว่าประมาณ 1 หมื่นเมกะวัตต์ สำหรับความต้องการไฟฟ้าในอีก 10 ปีข้างหน้า) จากเดิมที่เคยกำหนดสัดส่วนการจัดสรรระหว่างโรงไฟฟ้าภาครัฐ กับภาคเอกชน ที่เท่าเทียมกันคือ 50:50 ปัจจัยเหล่านี้ล้วนสร้างโอกาสการเติบโตแก่โรงไฟฟ้าในอนาคต และน่าจะผลักดันหุ้นโรงไฟฟ้าให้เดินหน้าแทนหุ้นน้ำมัน



* ธ.พ. จะพลิกมาเติบโต แต่ ธ.พ. บางแห่งมีความเสี่ยงเรื่องเพิ่มทุน
คาดว่าในปี 2550 ธ.พ.จะกลับมามีกำไรสุทธิเติบโตอีกครั้งในระดับ 7.5% หลังจากปี 2549 ถูกกดดันจากปัจจัยทางด้านภาษีนิติบุคคล ที่ ธ.พ. เริ่มกลับมาจ่ายในอัตราปกติ (ได้รับยกเว้นด้านภาษีหลังเกิดผลขาดทุนในช่วงวิกฤติ) ทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับจากเกิดวิกฤติในปี2540 กดดันให้กำไรสุทธิในปี 2549 ลดลง 8.6% จากปี 2548 ประกอบกับนโยบายของ ธปท. ที่ต้องการให้ NPLs ทั้งระบบลดลงเหลือ 2% จาก ณ สิ้นปี 2549 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 8% ทำให้เชื่อว่ายังเป็นปัจจัยกดดันให้ ธ.พ. จะต้องเร่งสำรองฯ มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงในระบบ

โดยหากพิจารณาปริมาณการกันสำรองฯ และเงินกองทุนที่เพียงพอ เพื่อรองรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขาย NPLs ในอนาคต ทำให้เชื่อว่าจะมี ธ.พ. เพียงไม่กี่แห่งที่มีความพร้อมในการลด NPLs ตามนโยบายของ ธปท. จึงเป็นประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะกรณีของ KTB หลังการรายงานงวด 3Q49 พบว่าเป็น ธ.พ. แห่งเดียวที่มี NPLs เพิ่มขึ้นมากที่สุดทั้งระบบ และทำให้ Coverage ratios กลับไปอยู่ในระดับต่ำสุด เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย รายละเอียดในตารางข้างต้น หุ้นขนาดกลาง และเล็ก เติบโตดี แต่มีอิทธิพลต่อดัชนีน้อยหุ้นขนาดกลางและเล็กที่คาดว่ายังเติบโตต่อเนื่องในปี 2550 อยู่ใน 3 กลุ่มหลัก คือ อสังหาริมทรัพย์ โรงแรม และโรงพยาบาล แต่ด้วยน้ำหนักถ่วงดัชนีเพียง 7%, 1% และ 2% ตามลำดับ ทำให้มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวดัชนีตลาดไม่มากนัก กล่าวคือ



* กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ : เติบโตจากการพัฒนาบ้านขาย
ฝ่ายวิจัย ASP คาดว่ากำไรของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ จะเติบโตลดลงจาก 9% ในปีนี้เหลือ 6% ในปีหน้า ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วคาดว่ามาจากการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อขายเป็นหลัก กล่าวคือ

? พัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อขาย มีหลายปัจจัยผลักดันคือ 1) Presale ที่ยังไม่บันทึกรายได้ของ 15 บริษัทพัฒนาที่อยู่อาศัยมียอดรวมกันถึง 4.9 หมื่นล้านบาท ณ 2Q49 ซึ่งคิดเป็น 2.5 เท่าตัวของยอดบันทึกเป็นรายได้รายไตรมาสในงวด 1H49 ทำให้กำไรของกลุ่มในงวด 2H49 จะเติบโตจากงวด 1H49 มาก และต่อเนื่องในปี 2550 และ 2) ประสิทธิภาพการทำกำไร เชื่อว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว โดยล่าสุด Gross Margin เฉลี่ยของบริษัทจดทะเบียนในธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 33.5% และ Norm Profit Margin ทรงตัวที่ 12%

? ผู้รับเหมา ตลาดตอบรับ Sentiment เชิงบวกต่อกรณีของการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง มูลค่า 1.43 แสนล้านบาท เนื่องจากจะมีผู้รับเหมา 3 รายหลักที่คาดจะได้รับประโยชน์จากงานก่อสร้างของภาครัฐ คือ STEC, ITD, CK อย่างไรก็ตามขณะนี้แผนการลงทุนกำลังจะถูกลดทอนให้น้อยลง (ทั้งเส้นทาง และมูลค่าการลงทุน) และไม่อาจคาดหวังว่าจะรับรู้กำไรได้ทันในปี 2550 แต่จะเกิดขึ้นในช่วง 2H51 เมื่อมีความคืบหน้าของโครงการ นับตั้งแต่การเปิดประมูล และการคัดเลือกผู้รับเหมา แม้ ธ.พ. จะสร้างการเติบโตของ กำไรสูงถึง 7.5% ในปี 2550 แต่มี ธ.พ. บางแห่งอาจต้องเพิ่มทุน เช่น KTB และ TMB จะสร้างความกังวลต่อตลาด ผู้พัฒนาบ้านเพื่อขายเติบโตโดด เด่นสุด ส่วนผู้รับเหมา จะได้รับผลบวก เมื่อกระแสข่าวการลงทุนภาครัฐเดินหน้า แม้ยังไม่สามารถรับรู้กำไรได้ทันในปี 2550 ก็ตาม

ประเด็นที่ฝ่ายวิจัย ASP กังวลไม่ใช่ความล่าช้าของงานก่อสร้างภาครัฐ เพราะหากพิจารณา Backlog Order ของบริษัทรับเหมาในตลาด 6 บริษัท ที่ฝ่ายวิจัยศึกษาพบว่ามีมูลค่ารวมกันสูงถึง 1.8 แสนล้านบาท สามารถรองรับการเติบโตได้ในอีก 1-2 ปี (ปรากฏในตารางด้านล่าง) แต่ปัจจัยที่ กังวลกลับเป็นเรื่องของประสิทธิภาพการทำกำไร ซึ่งในงวด 1H49 Gross Margin ตกต่ำสุดอยู่ที่ 5.66% เพราะ STEC ที่ประสบปัญหาขาดทุนจากโครงการ Airport Rail Link ในงวด 1H49 แต่ หากไม่รวม STEC พบว่า Gross Margin ของกลุ่มจะขยับขึ้นมาเฉลี่ยถึง 8.45% เฉพาะอย่างยิ่งผู้รับเหมาขนาดเล็กอย่างเช่น SEAFCO ซึ่งมุ่งเน้นรับงานก่อสร้างของภาคเอกชน ทำให้ Gross margin โดดเด่นสุด

นิคมอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองถือว่ากระทบต่อกำลังซื้อที่ดินในเขตนิคม อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือนักลงทุนต่างประเทศ จึงคาดว่าผลการดำเนินงาน ของกลุ่มนี้น่าจะชะลอตัวลงในปี 2550



* โรงพยาบาล ผลกำไรโตต่อเนื่อง
เติบโตมั่นคงแม้เศรษฐกิจชะลอตัว ปี 2550 คาดว่าผลกำไรของกลุ่มจะเติบโตต่อเนื่องในอัตรา 24% หลังจากมีการเติบโตแบบก้าว กระโดดในอัตรา 35% ในปี 2549 โดยได้รับแรงผลักดันจาก 3 ปัจจัยหลักคือ 1) การขยายพื้นที่ให้ บริการของ ร.พ. ในทุกระดับเพื่อรองรับอัตราการใช้บริการที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เริ่มจาก ร.พ. ขนาดใหญ่อย่าง BH, BGH ที่มีการขยายพื้นที่ให้บริการส่งผลให้ความสามารถในการให้บริการผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 12-14% หรือเเม้แต่ ร.พ. ขนาดกลางเเละเล็ก เช่น VIBHA ที่การขยายพื้นที่ให้บริการ ทำให้สามารถรองรับปริมาณผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากเดิม 50%

2) นโยบายการปรับขึ้นค่ารักษาพยาบาลของทุก ร.พ. เฉลี่ยปีละ 10% และ 3) ผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ได้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2550 จะมีจำนวนผู้ป่วยต่างชาติ 1.78 ล้านคน เทียบกับปี2549 ที่ระดับ 1.56 ล้านคน หรือเติบโตขึ้น 14% ตามนโยบายของภาครัฐที่สนับสนุนให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคเอเซีย นอกจากนี้พัฒนาการทางการแพทย์ที่สามารถรักษาโรคที่สลับซับซ้อน ทำให้ประชากรโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้น ความจำเป็นในการเข้าไปรับการรักษากับทางโรงพยาบาล จึงเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เอื้อประโยชน์ต่อโรงพยาบาลเอกชนที่มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยยอดขายของนิคมฯ น่าจะกระทบจากการชะลอตัวของนักลงทุนต่างชาติ การขยายพื้นที่ให้บริการ, ปรับขึ้นค่าบริการ และการเติบโตของคนไข้ต่างชาติ ที่แฝงตัวเข้ามาพร้อมกับการท่องเที่ยว คือปัจจัยผลักดันการเติบโตของ ร.พ.



* โรงแรม และอาหาร : เติบโตตามการขยายตัวของภาคท่องเที่ยว
ภาคท่องเที่ยว เป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันเศรษฐกิจในปี 2550 มากที่สุด จากที่คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 15 ล้านคน จาก 13 ล้านคน ในปี 2549 โดยมีปัจจัยผลักดันคือ 1) การเปิดใช้สนามบินแห่งใหม่ และ 2) นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ททท. ล้วนเป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อกลุ่มโรงแรม โดยเฉพาะโรงแรมที่มีการขยายลงทุนไว้แล้ว สามารถรองรับการเติบโตได้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะเพิ่มรายได้และกำไรของกลุ่มอย่างมั่นคง นอกจากนี้ธุรกิจต่อเนื่องกับโรงแรม เช่น ธุรกิจอาหาร โดยเฉพาะอาหารจานด่วน ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น ทำให้ตลาดอาหารจานด่วนเป็นที่นิยม มีศักยภาพการเติบโตที่ดี โดยสถิติย้อนหลัง 3 ปีพบว่า มูลค่าตลาดของอาหารจานด่วนเติบโตเฉลี่ยราว 9.5% ส่งผลดีต่อผู้ประกอบการโรงแรมครบวงจร และมีเครือข่ายกว้างขวาง เช่น CENTEL และ MINT


.000002 [/color:74e34bb3df">[/size:74e34bb3df">
 กลับขึ้นบน
kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
#2 วันที่: 27/10/2006 @ 10:45:04 : re: ASPข้องใจหุ้นไทยถูกแน่หรือ
* ความเสี่ยงจากปัจจัยการเมือง
สถานการณ์การเมืองถึงแม้ว่าจะสงบลงในปัจจุบัน แต่ยังมีประเด็นที่ฝ่ายวิจัยเห็นว่านักลงทุนยัง



* พอร์ตการลงทุนระยะกลางไม่เกิน 3 เดือน
การลงทุนระยะปานกลาง แนะนำดัชนีที่ 730 จุดหรือ PER ที่ 10 เท่า เป็นจังหวะของการปรับพอร์ต โดยแนะนำให้เลือกหุ้นหลักในกลุ่ม ธ.พ. เฉพาะที่ปลอดภัยจากการเพิ่มทุน เลือกหุ้นโรงไฟฟ้า เพราะมีกระแสการประมูลโรงไฟฟ้า IPP รอบ 2 รวมถึงหุ้นขนาดกลางและเล็ก ที่ยังเติบโตในปี 2550 เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โรงพยาบาล โรงแรม และอาหาร

1. กลุ่มพลังงาน ยังให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาดกำไรงวด 3Q49 ของกลุ่มพลังงานไม่สด ใส โดยเฉพาะธุรกิจโรงกลั่น ส่วนสายก๊าซ น้ำมัน และไฟฟ้า ยังทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้าแต่คาดว่าตลาดได้รับรู้ประเด็นนี้ไปแล้ว แต่ให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนไปในกลุ่มไฟฟ้า เนื่องจากยังมีประเด็นบวกคือ การเปิดประมูลโรงไฟฟ้า IPP รอบ 2 เป็นปัจจัยบวกรออยู่ในปี 2550

2. กลุ่มธนาคาร ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด คาดว่าผลกำไรของ ธ.พ. งวด 4Q49 ยังลดลง แต่คาดว่าตลาดรับรู้ไปแล้ว โดยมีปัจจัยบวกที่รอในปี 2550 คือคาดหวังกำไรของกลุ่ม ธ.พ. จะเติบโต 7.5% จากปี 2549 นับว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดฯ แต่มีประเด็นความเสี่ยง เรื่องการเพิ่มทุนที่อาจจะเกิดขึ้นกับราย ธ.พ. เช่น KTB และ TMB ส่วนกรณีของ BAY รอการ ยืนยันแผนการเพิ่มทุนจาก GE ที่กำหนดไว้ภายในสิ้นเดือน ต.ค. นี้ การเปลี่ยนแปลงแผนการเพิ่มทุนของ GE ถือเป็นปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อตลาดได้อย่างมาก ให้น้ำหนักหุ้นพลังงานเท่ากับ ตลาด โดยให้ปรับลดหุ้นน้ำมัน แต่โยกน้ำหนักลงทุนไปในหุ้นโรง ไฟฟ้าแทน แม้หุ้นกลุ่ม ธ.พ. จะเติบโตดีในปี2550 แต่ความเสี่ยงเรื่องการเพิ่มทุนยังจะมีในหุ้นบางแห่ง

3. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด หลังจากดอกเบี้ยผ่านจุดสูงสุด และ คาดหมายจะเห็นการปรับลดลงในปี 2550 เริ่มเป็นปัจจัยที่ผ่อนคลายต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่เนื่องจากราคาหุ้นหลายบริษัทราคาเกิน Fair value ปี 2549 แล้วจึงแนะนำให้เลือกขายทำกำไรหุ้นรายบริษัท

4. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด โดยคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทน่าจะเริ่มยืนหรือแข็งค่าไม่มาก และปริมาณการส่งออกของประเทศจะดีขึ้นตามฤดูกาลในช่วง 2H49 เป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุน

5. กลุ่มวัสดุก่อสร้าง น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด คาดว่ายอดขายรวมของกลุ่มวัสดุก่อสร้างใน 2H49 น่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับ 1H49 แต่กลุ่มนี้จะเริ่มได้รับผลบวกจากการที่ต้นทุนพลังงานเริ่มลดลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง นอกจากนี้คาดว่าหุ้นบางบริษัทในกลุ่มจะได้รับผลบวกหลังน้ำท่วม จากการซ่อมแซมสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุด

6. กลุ่มค้าส่ง-ค้าปลีก ยังให้น้ำหนักเท่ากับตลาด กลุ่มนี้น่าสนใจลงทุนระยะปานกลางถึงระยะยาว เนื่องจากมีกระแสเงินสดอยู่ในเกณฑ์สูง

7. กลุ่มปิโตรเคมี ยังให้น้ำหนักเท่ากับตลาด คาดผลประกอบการทั้งกลุ่มจะเติบโตเฉลี่ยเพียง5% ในปี 2549 แต่เพิ่มในอัตราสูง 13% ในปี 2550 แนะนำซื้อ ATC แต่ให้เริ่มทยอยขาย TPCเพราะราคาเข้าใกล้ Fair Value ในปีนี้

8. บันเทิง&สันทนาการ ให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด คาดได้รับผลกระทบไม่มากกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขสั่งห้ามโฆษณาสินค้า เหล้า-เบียร์ ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะยอดโฆษณาของธุรกิจประเภทแอลกอฮอลล์คิดเป็นเพียง 3% ของยอดโฆษณารวมของกลุ่มเท่านั้น

9. กลุ่มการแพทย์ ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพการเติบโตมากจากปริมาณคนไข้ในประเทศ และต่างประเทศ บวกกับกระแสการท่องเที่ยวที่เน้นเรื่องสุขภาพทำให้ประเทศไทยได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก แนะนำให้ซื้อ VIBHA

10. กลุ่มโรงแรม ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด การเปิดสนามบินสุวรรณภูมิ โอกาสการเติบโตที่ดีขึ้นในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และช่วง 4Q49 จะเป็นช่วง High Season ของท่องเที่ยว เราคาดการณ์ว่าโรงแรมจะมีผลประกอบการที่ดี และมีกำไรเติบโตสูง ในงวด 2H49



* กลยุทธ์เดือน พ.ย. นี้ ปรับพอร์ตขายทำกำไรระยะสั้น
ฝ่ายวิจัยคาดว่าดัชนีในเดือน พ.ย. จะขึ้นมาที่ค่า PER 10 เท่า หรือดัชนี 730 จุด ณ จุดนี้แนะนำ ให้ปรับพอร์ตลงทุนระยะสั้นใน 2 กลุ่มที่ราคาปรับขึ้นมารุนแรงในระยะ 2 เดือนที่ผ่านมา คือ 1)หุ้น ธ.พ. โดยเฉพาะหุ้นที่มีความเสี่ยงเรื่องการเพิ่มทุน และราคาใกล้ Fair Value ปี 2550 คือ KTB, TMB ส่วนประเด็นของ BAY ประมาณสิ้นเดือน ต.ค. จะทราบคำตอบว่าพันธมิตรคือ GE จะ ใส่เงินเพิ่มทุนเมื่อไหร่ ถือเป็นประเด็นที่สร้าง Sentiment ด้านลบต่อตลาด หากการตัดสินใจของ GE ต้องล่าช้าออกไปอีก และ 2) อสังหาริมทรัพย์ แนะนำให้ขายหุ้นที่ปรับตัวขึ้นชนะดัชนีกลุ่ม และเกิน Fair Value คือ LH, LPN, PF และ QH รวมถึงหุ้นที่ราคาตลาดเกิน Fair Value แต่มีความเสี่ยงจากการตรวจสอบของภาครัฐ คือ ITD และ STEC

พร้อมกันนี้แนะนำให้โยกเงินลงทุนจากกลุ่มข้างต้น มาเข้าในกลุ่มที่มีศักยภาพการเติบโตสูงต่อเนื่องในปี 2550 แต่มีความเสี่ยงต่ำ คือหุ้นในกลุ่มสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และหุ้นขนาดกลางและเล็กที่มีศักยภาพการเติบโตสูงกว่าตลาดคือ AOT, ATC, BECL, BGH, EGCOMP,ERAWAN, MINT, SPALI, TOP และ VIBHA

8 ตารางผลการดำเนินงาน และราคาเป้าหมาย หุ้นเด่นประจำเดือนพฤศจิกายน 2549
Fair value Upside กำไรสุทธิปี49(บาท) EPSปี49(บาท) PER(เท่า)
AOT ซื้อ 70.53 13% 6,749 4.72 13.23
ATC ซื้อ 41.93 17% 6,785 6.99 5.12
BECL ซื้อ 28.13 22% 1,673 2.17 10.59
BGH ซื้อ 33.24 18% 1,383 1.17 24.17
EGCOMP ซื้อ 97.18 8% 4,958 9.36 9.62
ERAWAN ซื้อ 5.63 29% 432 0.26 16.90
MINT ซื้อ 12.48 25% 1,323 0.45 22.27
SPALI ซื้อ 4.20 23% 1,006 0.70 4.89
TOP ซื้อ 72.82 15% 18,072 8.86 7.17
VIBHA ซื้อ 2.96 10% 76 0.12 21.77
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASP

เริ่มทยอยปรับพอร์ตขาย ณ ดัชนีเหนือ 730 จุด เริ่มจาก ธ.พ. ที่มีโอกาสเพิ่มทุน และหุ้นพัฒนาบ้านขาย ที่ราคาเกิน Fair Value ปี2549 ต้องติดตามข่าวการเมืองอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นที่น่าจับตาคือ? คลื่นใต้น้ำ และกฎอัยการศึก ทั้ง 2 เรื่องถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการจะยกเลิกกฎอัยการศึกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการประเมินสถานการณ์ของรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ อย่างไรก็ตามหากการประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกล่าช้า อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการลงทุนทางตรง (Direct Investment) และในทางตรงข้าม หากเกิดความวุ่นวายอันเนื่องมาจาก คลื่นใต้น้ำ ก็จะสร้างผลกระทบต่อตลาดหุ้นเช่นกัน

? อายุการทำงานของรัฐบาล และกำหนดวันเลือกตั้ง ประเด็นนี้มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมาก ที่อายุการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นรัฐบาลรักษาการ อาจจะยาวนานกว่า 1ปี ที่นักลงทุนคาดหมาย ทั้งนี้เป็นผลมาจากการดำเนินขั้นตอนต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมายเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนกว่าจะได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งนี้มีบางกระแสคาดว่าการเลือกตั้ง ส.ส. อาจไม่เกิดขึ้นทันภายในปี 2550

? แล้วใครจะขึ้นมาเป็นนายกจากการเลือกตั้งคนต่อไป นับว่าเป็นประเด็นที่ยังอาจไกลออกไปกว่า 2 ประเด็นแรก แต่ก็เป็นเรื่องที่จะไม่คำนึงถึงไม่ได้ เพราะช่วงเวลาจากนี้ไปอีกประมาณ 1 ปีหรือ 1 ปีเศษ นักลงทุนควรต้องติดตามกระแสการเปลี่ยนแปลง เพื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมืองอย่างใกล้ชิด โรงแรม และอาหาร ได้รับผลดี จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐ บวกกับความสะดวกหลังเปิดสนามบินแห่งใหม่ เอื้อประโยชน์ต่อผุ้ประกอบการโรงแรมที่มีเครือข่ายกว้างขวาง เช่น MINT และ CENTEL



* ส.นักวิเคราะห์ยันP/E ตลาดยังถูกแค่ 8.4 เท่า EPS ปีหน้าแนวโน้มดี
นายสมบัติ นราวุฒิชัย นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ไทยยังน่าสนใจเข้าลงทุนหากเทียบกับตลาดหลักทรัพย์อื่นในภูมิภาคเดียวกัน เนื่องจากประเมินว่าระดับ P/E ยังต่ำเฉลี่ยอยู่ที่ 8.4 เท่า ขณะที่เดียวกันแนวโน้มกำไรต่อหุ้น (EPS) ปัจจุบันแม้จะไม่สูงมากแต่ก็มีทิศทางฟื้นตัวขึ้น

ทั้งนี้ จากการรวบรวมตัวเลขผลสำรวจของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมา พบว่ามีการประเมินตัวเลขตัวเลขกำไรต่อหุ้น (EPS) ทั้งปีในระดับที่สูงขึ้น โดยจากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.7% ก็ปรับเพิ่มเป็นทั้งปีอยู่ที่ 0.9% ขณะที่ปี 2550 คาดการณ์ EPS จะขยายตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.4% สูงกว่าปีนี้ หลังจากอัตราดอกเบี้ย รวมถึงราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการดำเนินธุรกิจมีแนวโน้มปรับลดลงช่วงปีหน้า สะท้อนให้ EPS ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน

EPS ปีหน้ามีแนวโน้มดีขึ้นจากปีนี้ เพราะปัจจัยลบหลายอย่างพลิกกลับมาเป็นบวก ซึ่งในส่วนของ P/E เองก็น่าจะดีขึ้นเช่นกัน และมีโอกาสเพิ่มขึ้นมากกว่า 8.4 เท่าในปีนี้ได้ นายสมบัติ กล่าว

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ แนะนำให้เลือกลงทุนหุ้นรายตัว โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่และพื้นฐานดี โดยเฉพาะพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากหุ้นกลุ่มดังกล่าวให้ผลตอบแทนดี โดยยังคาดการณ์ดัชนีฯสิ้นปีอยู่ที่ 744 จุด



*CNS มั่นใจเม็ดเงิน ตปท.ยังไหลเข้าตลาดหุ้นไทย
นายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ไทยยังมีเสน่ห์ดึงดูดใจนักลงทุนอยู่มาก แม้ว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) จะไม่เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็ถือว่าเติบโตต่อเนื่อง โดยปีนี้ที่ประเมิน GDP เติบโตได้ 4-5% ก็ถือว่าขยายตัวอยู่ในระดับเหมาะสม หลังจากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อมีสัญญาณปรับลดลง

ทั้งนี้ เชื่อว่าเม็ดเงินจากต่างประเทศยังเข้าลงทุนตลาดหลักทรัพย์ไทยอยู่ โดยตั้งสังเกตว่าตั้งแต่มีการปฏิรูปการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน แทนที่จะมีแรงเทขายจากนักลงทุนต่างประเทศ เนื่องจากอาจกังวลในประเด็นความไม่ชัดเจนในสถานการณ์การเมืองในประเทศ แต่กลับมีแรงซื้อเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ไทยต่อเนื่อง มีเพียงนักลงทุนรายย่อยในประเทศรวมถึงสถาบันบางส่วนเท่านั้นที่เกิดความกังวลจนไม่กล้าเข้าลงทุนและเทขายออกมา

ยังมองว่าตลาดหุ้นบ้านเราก็น่าสนใจอยู่ เพราะ P/E ก็ไม่สูง เม็ดเงินก็ยังไหลเข้า นักลงทุนต่างประเทศมีมุมมองเชิงบวกที่ดีต่อตลาดหุ้นไทย ส่วนผลประกอบการแม้ไตรมาส 3/2549 อาจไม่โดดเด่น แต่คาดว่าไตรมาส4/2549 รวมถึงไตรมาส1/2250 ผลประกอบการจะต้องฟื้นตัวดีขึ้น เพราะว่าปัจจัยลบหลายด้านคลี่คลายหมดแล้ว และแน่นอนว่ากำไรต่อหุ้น หรือ EPS สำหรับนักลงทุนที่จะได้ก็ดีไปด้วยนายชัย กล่าว



.000002 [/size:4054f3136f">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com