May 2, 2024   9:09:41 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > คลอด.......แล้วค้าบบบบบ
 

Toon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 973
วันที่: 24/10/2006 @ 13:50:01
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

คลอดนโยบายงบประมาณปี 50 แบบขาดดุล...วงเงิน 1.52 ล้านล.


นับจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข( คปค. ) เข้ายึดอำนาจ จนถึงการจัดตั้งรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี หลายเรื่องของบ้านเมืองที่หยุดชะงัก ในช่วงรัฐบาลรักษาการก็เริ่มขยับเดินหน้าได้ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญอย่างการเบิกจ่ายงบประมาณ ตามวาระการเบิกจ่ายของแต่ละปี และการจัดทำงบประมาณปี 50


ทั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการคลังอย่าง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามารับผิดชอบงานในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดที่ 2 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผ่านมา ก็ได้มีการเสนอสาระสำคัญของ ยุทธศาสตร์การจัดสรรและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่เสนอ โดยเป็นงบประมาณแบบขาดดุล กรอบวงเงิน 1.52 ล้านล้านบาท ขาดดุล 1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย


1.แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ และนโยบายงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ.2550


เศรษฐกิจไทยในปี 2550 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.8 อัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.5 โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาคเอกชนเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนให้ปรับตัวดีขึ้นกว่าในปี 2549 ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างทรงตัว และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีแนวโน้มดีขึ้น ประกอบกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่สูงขึ้นและเกือบเต็มกำลังการผลิตในหลายอุตสาหกรรมจะช่วยกระตุ้นการลงทุน สำหรับการใช้จ่ายครัวเรือนคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นกว่าในปี 2549 เนื่องจากราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอลง การขยายตัวของภาคการส่งออกไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ประเด็นทางเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ การขยายตัวของการนำเข้าสินค้าที่จะกลับมาเร่งตัวสูงกว่าการขยายตัวของการส่งออก ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุลเล็กน้อย ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าทุนสำหรับการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐ รวมทั้งการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพื่อการผลิตตามความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น


แนวทางในการบริหารเศรษฐกิจในปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้แก่ระบบเศรษฐกิจโดยรวม จึงให้ความสำคัญกับคุณภาพของคน การใช้เทคโนโลยีและการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ ควบคู่กับการบริหารจัดการการใช้จ่ายภาครัฐบนหลักของความโปร่งใส เป็นธรรม ประหยัด และประสิทธิภาพ โดยเน้นความสมดุลทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสอดประสานกับนโยบายการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการนำนโยบายของรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติให้เหมาะสมกับเงื่อนไขและศักยภาพของหน่วยปฏิบัติ นโยบายงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ.2550 ดังนี้


1.1 ดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล
1.2 สนับสนุนการทบทวนงบประมาณตามภารกิจ โครงการ กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงาน (Redeploy)
1.3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเพื่อควบคุมรายจ่ายประจำ
1.4 กำหนดรายจ่ายลงทุนในจำนวนไม่ต่ำกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2549
1.5 ส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และเร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่น


2.ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550


สำนักงานประมาณได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 โดยให้ความสำคัญกับแนวคิดการพัฒนาประเทศตาม (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554 ที่มีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เพื่อมุ่งสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน รวมทั้งนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักปฏิบัติ โดยกำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม และสร้างกลไกรองรับผลกระทบ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในประเทศ ทั้งนี้ โครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 จะประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ คือ


1. ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
3. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างสมดุล
4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
5. ยุทธศาสตร์การปรับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
6. ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงและส่งเสริมธรรมาภิบาล
7. ยุทธศาสตร์การปรับปรุงการบริหารงานภาครัฐ


3.ประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550


จากการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจในข้อ 1 คาดว่าในปีงบประมาณ พ.ศ.2550 รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้รวม จำนวน 1,673,200.0 ล้านบาท เมื่อหักการคืนภาษีของกรมสรรพากร การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 จะคงเหลือรายได้สุทธิ จำนวน 1,420,000.0 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ปรับปรุงเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2549 จำนวน 1,339,385.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 รายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ 3


4.การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550


การกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายได้พิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้


4.1 การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ซึ่งคาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจะมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เบื้องต้น ประมาณร้อยละ 4.8 และอัตราเงินเฟ้อ ประมาณร้อยละ 3.5
4.2 ประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 1,420,000.0 ล้านบาท
4.3 นโยบายกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ควบคุมสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นไม่เกินร้อยละ 50.0 และสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่ายไม่เกินร้อยละ 15.0
4.4 นโยบายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ.2550 กำหนดให้เป็นงบประมาณขาดดุล โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,520,000.0 ล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ จำนวน 100,000.0 ล้านบาท
4.5 รายจ่ายลงทุนมีจำนวนไม่ต่ำกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2549


สาระสำคัญของโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 สรุปได้ดังนี้


(1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,520,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2549 จำนวน 160,000.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ประกอบด้วย


- รายจ่ายประจำ จำนวน 1,069,450.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2549 จำนวน 110,973.0 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70.4 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 70.5 ของปีงบประมาณ พ.ศ.2549
- รายจ่ายลงทุน จำนวน 395,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2549 จำนวน 36,864.2 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.0 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 26.3 ของปีงบประมาณ พ.ศ.2549
- รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 55,350.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ.2549 จำนวน 12,162.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.6 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 3.2 ของปีงบประมาณ พ.ศ.2549


(2)รายได้สุทธิ จำนวน 1,420,000.0 ล้านบาท


(3) ดุลงบประมาณขาดดุล ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไม่เกินร้อยละ 50.0 และลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2549 สำหรับสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่าย ประมาณร้อยละ 11.6


ดูสาระสำคัญของโครงสร้างงบประมาณที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว น่าสนใจว่า รายจ่ายทางด้านการลงทุนสูงขึ้น ตรงนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยที่ผ่านมาเกือบ 1 ปีนั้นไม่ได้หยุดนิ่ง หรือไม่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องการลงทุน แต่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการชะลอตัวมากกว่า แต่ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ดีหากยอดหนี้สาธารณะที่คงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

.0008

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com