May 3, 2024   5:57:29 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > เตมาเซคฯจะทิ้งไทย?
 

Toon
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 973
วันที่: 20/10/2006 @ 10:39:15
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ข่าวสารนับแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยายน เกี่ยวกับเตมาเซค โฮลดิ้ง และ ชินคอร์บปเรชั่น ที่ปรากฏในสื่อเมืองไทย ล้วนมีแนวโน้มออกมาในแนวเดียวกัน คือ รีบสรุปว่า บริษัทของรัฐบาลสิงคโปร์ จะทิ้งเมืองไทยอย่างแน่นอน

ข้อสรุปดังกล่าว ดูเหมือนจะตั้งบนสมมติฐานง่ายๆแบบสมการชั้นเดียวมากพอสมควร ผิดวิสัย หรือ ไม่ก็ประเมินกลยุทธ์การลงทุนข้ามชาติของเตมาเซคต่ำเกินไป

อย่าลืมว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เตมาเซค โฮลดิ้งออกมาต่างประเทศ และไม่ใช่ครั้งแรกที่ถูกต่อต้าน รวมทั้งไม่ใช่ครั้งสุดท้ายด้วย

คำถามที่ควรถามอย่างยิ่งในยามนี้ก็คือ การเคลื่อนตัวของเตมาเซค โฮลดิ้งในช่วงหลังรัฐประหารในส่วนที่เกี่ยวกับการถือครองหุ้นในชิน คอร์ปอเรชั่น แท้จริงอาจจะมิใช่การถอนตัวออกจากเมืองไทย แต่เป็นการปรับกลยุทธ์สร้างพันธมิตรใหม่ เพื่อให้เกิดการลงตัวระหว่างกลุ่มผูกขาดทางธุรกิจใหม่ที่เหมาะสม เพื่อให้การลงทุนมีความยั่งยืนมากขึ้น?

หลายคนอาจตั้งข้อสงสัยว่า คำถามดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างไร?
สิ่งที่เราต้องประเมินกันก็คือ ตัวแปรสำคัญที่สามารถจะชี้ขาดเกี่ยวกับการตัดสินสินใจถือหุ้นในชิน คอร์ปอเรชั่นของเตมาเซค โฮลดิ้งในไทยต่อไป อยู่ที่ การสอบสวนของกระทรวงพาณิชย์ และการสืบค้นของ คตส. เป็นสำคัญ โดยมี ปัจจัยที่ต้องสงสัยมากที่สุดคือ กรณีของบริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด
บริษัทดังกล่าว ถูกตั้งคำถามว่า เป็นบริษัทนอมินี ของกลุ่มเตมาเศค เพื่อให้ถูกต้องตามนิตินัยในการเข้าถือหุน้กลุ่มชินเกิน 50%

คำถามก็คือ จนถึงขณะนี้ ผู้ถือหุ้นใหญ่ที่แท้จริงของกุหลาบแก้วโดยพฤตินัยนั้นเป็นใครกันแน่? และ เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ที่ กุหลาบแก้วนั้น ถือหุ้นโดยกลุ่มทุนไทย ที่ยืมมือให้เตมาเซค โฮลดิ้งถือแทน และใช้สิทธิในการใช้อำนาจในการออกเสียงแทน ด้วยเหตุผลคือ ต้องการปิดบังตัวเองบางประการจากสาธารณะ

คำตอบของคำถามนี้ ยังไม่เป็นที่เปิดเผย แต่ความเป็นไปได้ว่า หาก กระทรวงพาณิชย์ และ คตส. เกิดอาการเงื้อค้างเมื่อใดในระหว่างการตรวจสอบข้อสงสัยเกี่ยวกับฐานะที่แท้จริงของผู้ถือหุ้นหลักของกุหลาบแก้ว ก็น่าจะเชื่อได้ว่า งานนี้ คนไทยทั้งประเทศถูกหลอกด้วยมายาคติและการโฆษณาชวนเชื่อระดับเซียนเหยียบเมฆเข้าให้แล้ว

ข้อเท็จจริงย้อนหลัง ที่คนไทยต้องกลับไปทบทวนกันก็คือ การเข้ามาลงทุนในไทยของเตมาเซคฯนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความต้องการแบบปรบมือข้างเดียวของเตมาเซค โฮลดิ้งอย่างแน่นอน ที่สำคัญ เตมาเซคนั้น เข้ามาอยู่ในเมืองไทยนานมากเกินพอที่น่าจะรู้ดีว่า การสร้างสายสัมพันธ์แบบเหยียบเรือสองแคมนั้น เป็นความปผลอดภัยในระยะยาวที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
ที่ผ่านมา เตมาเซคฯ ได้ทำเช่นนั้นมาโดยตลอด

พันธมิตร 2 ขั้วที่เตมาเซคฯสร้างเอาไว้อย่างแน่นหนาในอดีตนั้น ด้านหนึ่งคือพันธมิตรกับกลุ่มชินของทักษิณ ชินวัตร อีกด้านหนึ่งคือ กลุ่มทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์(ธนาคารไทยพาณิชย์- ปูนซีเมนต์ไทย)

ความสัมพันธ์กับกลุ่มชินนั้น มีมายาวนานนับแต่เริ่มต้น โดยผ่านทางบริษัทลูกคือสิงคโปร์ เทเลคอม ซึ่งถือหุ้นในบมจ. แอดวานซ อินโฟ เซอร์วิส (ADVANC)

ส่วนความสัมพันธ์กับกลุ่มทรัพย์สินฯนั้น เกิดขึ้นนับแต่หลังวิกฤตต้มยำกุ้งที่เป็นจังหวะให้สามารถซื้อของถูก หลังจากความล้มเหลวครั้งแรกจากการที่ธนาคาร DBS ลบบริษัทลูกของเตมาเซคฯ เข้าถือหุ้นในธนาคารไทยทนุ โดยเริ่มต้นที่เข้าเข้าซื้อหุ้นธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โดยที่เหยื่อสมยอมเสียด้วย

เทมาเซค โฮลดิ้ง เข้ามาถือครองหุ้นในธนาคารไทยพาณิชย์ โดยผ่านบริษัทต่างๆโดยที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดของธนาคารคือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่แสดงอาการแข็งขืนแต่อย่างใด จนกระทั่งในปัจจุบันมีหุ้นของเทมาเซค โฮลดิ้งและเครือข่ายในธนาคารแห่งนี้มากกว่า 10% (ข้อมูลบางแห่ง ยืนยันว่าสัดส่วนการโหวตเสียงของเตมาเซคฯ อาจจะสูงถึง 22% ด้วยซ้ำ) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสองเท่านั้น

ไม่เพียงเท่านั้น คนของเทมาเซค โฮลดิ้ง ได้แก่ นาย ปีเตอร์ เซียะ ลิ้ม ฮวดได้รับแต่งตั้งเข้าเป็นกรรมการของธนาคารไทยพาณิชย์อย่างเงียบๆมาหลายปีแล้ว

นายปีเตอร์ เซียะ ลิ้ม ฮวด ผู้นี้ เป็นอดีตนักการธนาคารในเครือข่ายของเทมาเวคโฮลดิ้งมายาวนาน และมีฐานะเป็นกรรมการของบริษัท Capital Land และยังเป็นประธานกรรมการบริหารของบริษัท Singapore Technologies อีกด้วย

ที่น่าสนใจก็คือโดยผ่านสายสัมพันธ์ทางผลประโยชน์นี้ บริษัท Capital Land ก็ได้ร่วมทุนตั้งบริษัทบริหารอสังหาริมทรัพย์ชื่อ Primus International ซึ่งได้เข้ามาร่วมทุนกับธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัททุนลดาวัลย์ กลุ่มอิตัลไทย และ กลุ่มบ้านปู เพื่อตั้ง

บริษัท พรีมัส (ประเทศไทย)ขึ้นมา ดำเนินธุรกิจสะสางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเครือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ รวมทั้งกลุ่มอาคาร SCB Park ย่านรัชดาฯด้วย

สายสัมพันธ์เช่นนี้ ทำให้คนสำคัญคนหนึ่งของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คือนายชุมพล ณ ลำเลียง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริษัท สิงคโปร์ เทเลคอม หรือ สิงค์เทล เป็นการตอบแทน เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายสายสัมพันธ์

จึงไม่น่าประหลาดใจที่จะพบว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทในเครือคือ บล.ไทยพาณิชย์ เข้าไปมีส่วนเอี่ยวกับดีลการซื้อขายหุ้นกลุ่มชิน กับ เทมาเซค โฮลดิ้งเมื่อวันที่ 23 มกราคม ถึงแม้ว่า ผู้บริหารสูงสุดของสำนักงานทรัพย์สินฯนายจิรายุ อิศรางกูรจะออกมายืนยันว่า นโยบายของธนาคารไทยพาณิชย์ จะต้องระมัดระวังมากกว่าเดิม อันเป็นผลมาจากความอื้อฉาวของดีลธุรกิจนี้

ถึงแม้ เตมาเซคฯ จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสายสัมพันธ์กับกลุ่มชินฯได้อีกต่อไปนับแต่หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน เป็นต้นมา แต่สายสัมพันธ์อีกขั้วหนึ่งกับกลุ่มทรัพย์สินฯ ยังคงไม่ได้รับความกระทบกระเทือนแม้แต่น้อย

ดังนั้น ข้อสรุปที่ว่า เตมาเซคฯอาจจะถอนตัวออกจากเมืองไทยในกรณีของหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่นนั้น จึงดูเหมือนจะเป็นข้อสรุปแบบคาดเดาเอาเองของนักสังเกตการณ์ภายนอก และสื่อเท่านั้นเอง

ความเป็นไปได้ที่น่าจะเกิด น่าจะเป็นรูปการว่า เตมาเซคฯต้องการลดความกดดันและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ด้วยการสร้างกลยุทธ์จักจั่นลอกคราบให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างเปิดเผย แต่ในทางลับนั้น สามารถเลือกเอากลยุทธ์ยืมทางพรางกลเพื่อจัดกระบวนทักใหม่ประสานประโยชน์กับพันธมิตรใหม่ เพื่อกินแบ่งอย่างยั่งยืนต่อไปในระยะยาว โดยไม่ต้องอาศัยมือหรือสายสัมพันธ์ของทักษิณ ชินวัตร ที่ใช้การไม่ได้อีกต่อไป

ความเป็นไปได้ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องเหลือบ่ากว่าแรง หากพิจารณารายชื่อของคนที่สนใจเข้าถือหุ้นเชิงกลยุทธ์จากเตมาเซคฯ และข่าวว่ากำลังเจรจากันอยู่ ที่ประกอบด้วย กลุ่มนายเจริญ ศิริวัฒนภักดี กลุ่มไอเอ็นจี และกลุ่มทรัพย์สิน(ไทยพาณิชย์-ปูนใหญ่)

โดยเฉพาะกลุ่มหลังนั้น ความเป็นไปได้ที่จะเกิดพันธมิตรในรูปแบบใหม่ดูเหมือนจะสูงยิ่ง โดยผ่านสายสัมพันธ์ของคนชื่อชุมพล ณ ลำเลียง เจ้าเก่านั่นเองแล้วใครยังจะกล้าเชื่อนิทานเรื่อง เตมาเซคฯจะถอนสมอออกจากกลุ่มชิน?






[/color:eab6002367">

.0008

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com