May 3, 2024   6:09:10 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ค่าเงินหยวนอันตราย
 

samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
วันที่: 19/10/2006 @ 11:17:12
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ข้อกล่าวหาว่าเงินหยวนมีราคาต่ำเกินจริง มี่ใช่เรื่องใหม่ เพราะทั้งสหรัฐฯและสหภาพยุโรป ตั้งประเด็นเอาไว้มาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และเรียกร้องมาโดยตลอดให้จีนลดค่าเงินหยวน

แล้วก็อย่างที่รู้ จีนเองก็ไม่ได้ปฏิเสธ แต่ขอซื้อเวลา โดยอ้างว่า มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ค่าเงินหยวนได้ดุลกับเศรษฐกิจภายในของจีนเอง ที่กำลังรื้อโครงสร้างเก่ามาสู่โครงสร้างใหม่

ปัญหาก็คือ เวลาที่จีนขอนั้น ไม่ได้กำหนดเอาไว้ตายตัว แถมยังมีแนวโน้มว่าอาจจะกินเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีด้วยซ้ำ เพราะจีนเคยเปรยว่า ประวัติศาสตร์จีนนั้นยาวนานกว่า 3 พันปี เวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงประเทศขนาดใหญ่อย่างจีน 10 ปี ก็ถือว่าสั้นนิดเดียวเท่านั้นเอง

เมื่อบีบโดยตรงไม่ได้ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ก็เลยขอยืมมือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ให้เข้ามาเป็นตัวช่วยในการรับสมอ้างสร้างความชอบธรรมแก่ข้อกล่าวหาอีกแรงหนึ่ง

ล่าสุด IMF ก็ออกผลการศึกษาวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับค่าเงินหยวนที่แท้จริงในปัจจุบันว่าควรอยู่ที่เท่าใด

ผลปรากฎว่า มีข้อสรุปชัดเจนว่าค่าเงินหยวนในปัจจุบันถูกกำหนดไว้ต่ำเกินมูลค่าที่แท้จริง แต่ประเด็นว่า เกินจริงไปเท่าใด กลับเป็นปัญหาที่ยังสรุปไม่ลงตัว

นักเศรษฐศาสตร์ของ IMF ระบุว่า จากการประเมิน พบว่า ค่าเงินหยวนที่ซื้อขายกันในตลาดมีค่าต่ำกว่ามูลค่าจริง หรือ equilibrium exchange rates ซึ่งเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบตามมาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไประหว่าง 4- 37%

ช่วงห่างที่ค่อนข้างสูงนี้ คณะนักวิจัยชี้ว่า เกิดจากค่าความเบี่ยงเบนที่ขึ้นอยู่กับสัมประสิทธิ์ในการคำนวณหาค่าความยืดหยุ่นของค่าเงิน ที่เทียบกับมูลค่าของสินค้าส่งออก-นำเข้า ซึ่งค่าที่ได้ออกมาเป็นช่วงห่างกว้างอย่างนี้ เหมาะสำหรับเอาไว้ใช้ในการต่อรองเจรจาของทุกฝ่ายอย่างยิ่ง

จะว่าไปแล้ว ผลการศึกษาดังกล่าว ไม่ถือว่าน่าแปลกใจ เพราะอย่างที่รู้กันนั้นจีนเองพยายามผูกค่าเงินรหยวนของตนเข้ากับดอลลาร์สหรัฐฯอย่างตายตัว แต่ใน 3 ปีมานี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้ร่วงลงไปประมาณ 30% แล้ว ดังนั้น มูลค่าของเงินหยวนที่แท้จริง ก้น่าจะต่พำกว่าที่เป็นจริงอยู่ในระหว่างใกหล้เคียงกัน ซึ่งจีนไม่กล้าจะยอมรับ

โดยนัยของการศึกษานี้ ยืนยันซ้ำอีกครั้งว่า จีนจะต้องเพิ่มค่าเงินหยวนของตนเองขึ้นไปในช่วงดังกล่าว

ประเด็นก็คือ ค่าที่ปรับใหม่ควรจะอยู่ที่ช่วงต่ำสุดได้หรือไม่? เพราะจีนคงไม่ยอมให้ใช้ช่วงที่สูงกว่านั้นอย่างแน่นอน เนื่องจากกระทบต่อเงินเฟ้อในประเทศและยอดการส่งออกรุนแรงมหาศาล

ผลการศึกษาที่ออกมาดังกล่าว ถือเป็นการคุกคามต่อจีนให้ต้องเร่งปรับค่าเงินหยวนเพื่อปล่อยให้ค่าเงินยืดหยุ่นในรูปลอยตัวแบบควบคุมอย่างถ่างกว้างมากยิ่งขึ้น

กว่าสิบปีมานี้ ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจเนื่องจากการไหลเข้าของทุนอย่างล้นหลาม ผสมกับการได้เปรียบดุลการค้ามหาศาลทั่วโลกของจีน ได้ส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนที่เกิดจากการได้เปรียบดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นมาจนเกือบจะอันดับหนึ่งของโลกเข้าไปแล้ว คำถามที่สหรัฐฯและสหภาพ ยุโรปเรียกร้องจากจีนก็คือ ความรับผิดชอบในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกที่ควรเพิ่มมากขึ้น

จีนเองเข้าใจคำถามนี้ แต่แสร้งทำเป็นเพิกเฉย เพราะจีนรู้ดีว่าตนอยู่ในฐานะเป็นต่อในเรื่องของการต่อรองทางเศรษฐกิจและการทหาร ที่สำคัญ จีนเองก็รู้ดีว่า ยิ่งปล่อยให้สถานการณ์ล่าช้าออกไปเท่าใด โอกาสที่จีนจะรอดพ้นจากปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงในประเทศ และการได้เปรียบดุลการค้า ก็จะยิ่งเป็นผลดีกับจีน

เพียงแต่ว่าสถานการณ์ที่ย่ำแย่ของเศรษฐกิจสหรัฐที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบเรื้อรัง และสหภาพยุโรปก็มีปัญหากับสิ่งทอและสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนอย่างมาก ทำให้ข้อเรียกร้องให้จีนต้องเพิ่มค่าเงินหยวนมีความกระชั้นมากขึ้น

การที่ IMF ออกผลการศึกษาเช่นนี้มา ก็เท่ากับ บีบคั้นให้จีนต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชาวโลกด้วยการเพิมค่าเงินหยวนเร็วขึ้น

ถือเป็นการส่งสัญญาณให้ตลาดเงินทั่วโลก เตรียมความพร้อมว่า อีกไม่นานอย่างช้าภายใน 6 เดือนข้างหน้า ตลาดเงินจะมีความผันผวนรุนแรงอีกครั้ง เนื่องจากการเคลื่อนตัวของจีนในการปรับเพิ่มค่าเงินหยวน

ไม่ว่าการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนจะเป็นมากหรือน้อย แต่เมื่อจีนแสดงอาการจามค่าเงินและเศรษฐกิจของชาติในเอเชีย ก็คงพร้อมจะเป็นหวัดกันอย่างรวดเร็ว

อีกไม่นานก็คงได้เห็นความปั่นป่วนอย่างแน่นอน

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com