May 6, 2024   9:48:35 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > BBL-SCB อาการสาหัส
 

samjin
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 352
วันที่: 12/10/2006 @ 01:08:59
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

เซียนหุ้นมองข้ามช็อตงบธนาคารยังดูไม่จืด


วงการ ประสานเสียงงบแบงก์ Q3/49 กำไรหด เหตุค่าใช้จ่ายภาษีพุ่ง-ตั้งสำรองหนี้ที่โอนให้ TAMC งานนี้ BBL กำไรลดลงมากสุด ส่วนแนวโน้ม Q4/49 ยังไม่สดใส เหตุยังมีความเสี่ยงจากการรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนในหนี้ที่โอนให้ บสท. รวมทั้ง ต้นทุนเงินฝากที่เพิ่มขึ้นจากการออกโปรแกรมดอกเบี้ยเงินฝากดูดสภาพคล่อง เซียนหุ้น มองระยะสั้นการขายหุ้นไอพีโอแบงก์จีนยังกดดัน แต่แนะทยอยสะสม มองปีหน้าศก.จะรุ่ง ดันกลุ่มธนาคารพาณิชย์สดใส เชียร์ซื้อหุ้น BBL-KBANK-SCB

ใกล้มาแล้วสำหรับการประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะเริ่มทยอยประกาศในวันจันทร์ที่ 15 ตุลาคมนี้ และก็แน่นอนว่าทุกครั้งผลการดำเนินงานของธนาคารฯ จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นพิเศษ ว่าจะออกมาดีหรือแย่เพียงใด เนื่องจากกำไร หรือว่าขาดทุน ของหุ้นธนาคารฯจะมีผลทันทีต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ และในปี 2549 นี้ ในภาวะที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัว การทำธุรกิจของธนาคารฯ มีความยากลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อที่มีแนวโน้มชะลอลงในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจ จนแม้แต่ผู้บริหารของธนาคารขนาดใหญ่หลายรายต่างยอมรับว่าการทำธุรกิจในปีนี้ ยากลำบากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจที่บีบรัด ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนออกไปอีก อีกทั้งในช่วงไตรมาสที่ 2 และครึ่งปีแรกที่ผ่านมานั้น ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารฯ ก็เริ่มลดลงแม้จะยังมีกำไรแต่ก็เป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน
ดังนั้นในไตรมาสที่ 3 นี้ จึงน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งว่าตัวเลขผลประกอบการของกลุ่มธนาคารฯ จะออกมาสวยหรู หรือว่าน่าผิดหวังมากน้อยเพียงใด เพราะก่อนหน้านี้โบรกเกอร์หลายราย เริ่มออกบทวิเคราะห์ และคาดการณ์ออกมาแล้วว่ากำไรของธนาคารหลายแห่งจะลดลง จนก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตวิทยากับหุ้นในกลุ่มดังกล่าวมาหลายรอบ และในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมานี้ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าราคาหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก จนแทบจะหมดเสน่ห์ให้เข้าไปลงทุน แต่ยังดีที่ขณะนี้ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารฯเริ่มฟื้นตัวขึ้น จากความกดดันของปัจจัยราคาน้ำมันที่เริ่มลดลง อัตราดอกเบี้ยที่เริ่มนิ่งจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ทำให้หุ้นเริ่มกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนอีกครั้ง แต่ในสัปดาห์นี้โดยเริ่มตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา แรงซื้อเริ่มลดลงบ้างเพราะนักลงทุนยังคงรอคอยการประกาศตัวเลขผลประกอบการว่าจะเป็นตามคาดการณ์หรือไม่ หากลดลงมากย่อมส่งผลกระทบต่อหุ้นแบงก์แน่ แต่หากกำไรดีเกินคาดหรือเหนือความคาดหมาย นั่นก็จะหมายถึงราคาหุ้นจะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างดีและจะผลักดันดัชนีตลาดฯให้ดีขึ้นตามด้วย
ล่าสุดผลงาน Q3/49 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์มีเพียง ธนาคาร ทิสโก้(TISCO) เท่านั้นที่ประกาศออกมา โดยมีกำไรสุทธิ 332.38 ลบ.กำไรต่อหุ้น 0.39 บาท ลดลงจาก Q3/48 ที่มีกำไรสุทธิ 507.62 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.64 บาท แต่ดูเหมือนการประกาศตัวเลขของ TISCO ตัวเดียวคงยังชี้วัดอะไรไม่ได้มากนัก เพราะยังเป็นเพียงธนาคารขนาดเล็ก อีกทั้งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังยืนยันและแนะนำซื้อหุ้นกลุ่มแบงก์มาโดยตลอด เพราะเป็นหุ้นที่เติบโตตามเศรษฐกิจและมีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่น่าลงทุน รวมทั้งเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างประเทศ แม้ว่าในช่วงระยะสั้นๆนี้ โบรกเกอร์มองว่าราคาหุ้นกลุ่มแบงก์จะถูกกดดันจากการขายหุ้นไอพีโอของธนาคารไอซีบีซีของจีน ส่งผลให้เม็ดเงินจากต่างประเทศไหลออกไปจองซื้อหุ้น แต่บรรดานักวิเคราะห์ทั้งหลายยังมองแนวโน้มระยะยาวในปีหน้าว่า ผลการดำเนินงานกลุ่มแบงก์จะดีขึ้น เพราะการลงทุนของภาคเอกชนจะทำให้สินเชื่อแบงก์ขยายตัว และการแข่งขันดอกเบี้ยเงินฝากลดลง

***บล.กรุงศรีอยุธยา มองกำไรกลุ่มแบงก์ Q3/49 รูด เหตุตั้งค่าเผื่อหนี้ฯ-ตั้งสำรองฯ TAMC


บทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา ระบุว่า คาดค่าเผื่อหนี้ฯ และการตั้งสำรองฯ TAMC กดดันกำไรสุทธิไตรมาส 3/49 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคาดการณ์กำไรสุทธิรวมของกลุ่มแบงก์ในไตรมาส 3/49 จะอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท ลดลง 23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการปรับเปลี่ยนนโยบายการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้ฯที่เข้มงวดตามเกณฑ์จัดชั้นหนี้เชิงคุณภาพ เพื่อรองรับการเกณฑ์การตั้งสำรองใหม่ของ BOT รวมถึงรองรับการ Write off และการขายหนี้ NPL ตามเป้าหมายการลดหนี้ NPL ของธนาคารลง ทำให้คาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองหนื้ฯใน 3Q49 ของกลุ่มธนาคารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 34% YoY และ 7% QoQ ประกอบกับค่าใช้จ่ายพิเศษในการตั้งสำรองหนี้ที่โอนไป TAMC ของสองธนาคารใหญ่อย่าง BBL และ SCB เป็นปัจจัยกดดันให้ประมาณการกำไรสุทธิใน 3Q49 ของกลุ่มธนาคารลดลงทั้ง 23% YoY และ6% QoQ
ส่วนแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/49 ของกลุ่มธนาคารมีความเสี่ยงจากการรับรู้ ส่วนแบ่งขาดทุนในหนี้ที่โอนไป TAMC อีกด้วย แม้แนวโน้มผลการดำเนินงานของกลุ่มธนาคารในงวดไตรมาส 3/49 และไตรมาส 4/49 จะไม่น่าประทับใจนัก แต่เป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้ไว้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามด้วยปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มธนาคารที่ยังคงแข็งแกร่ง กลยุทธ์การลงทุนจึงถือเป็นจังหวะดีที่จะทยอยซื้อหุ้นในกลุ่มธนาคารในช่วงนี้ เพื่อรอผลประกอบการที่มีแนวโน้มดีขึ้นในปีหน้าตามการฟื้นตัวของสินเชื่อที่ดีขึ้น AYS จึงยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในเชิงปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ มากกว่าตลาด หุ้นเด่นในกลุ่มและแนะนำ ซื้อ ได้แก่ BBL, KBANK และ SCB

ตารางประมาณการกำไรสุทธิในไตรมาส 3/49


แบงก์ Q3/49(ลบ.) Q3/48(ลบ.) %
BBL 3,335 4,816 -31%
KBANK 2,905 3,578 -19%
KTB 4,674 4,619 1%
SCB 3,460 5,273 -34%
SCIB 1,133 1,320 -14%
TMB 1,227 2,047 -40%
รวม 16,733 21,652 -23%

***บล.โกลเบล็ก ชี้แนวโน้ม Q4/49 กำไรแบงก์ชะลอ เหตุต้นทุนเงินฝากพุ่ง

บทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์โกลเบล็กระบุว่า คาดกำไรสุทธิกลุ่มธนาคารทั้งหมดในงวด 3Q49 จะอยู่ที่ 1.9 หมื่นล้านบาทลดลง 18%เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากจากค่าใช้จ่ายทางภาษีมากขึ้นและจากค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นซึ่งสืบจากการตัดจำหน่ายหลักประกันเครื่องจักรเป็นศูนย์ในหนี้NPLที่โอนให้TAMCจัดการเมื่อ 5ปีก่อน ซึ่งเป็นการตัดจำหน่ายในคราวเดียว ซึ่งเกณฑ์นี้จะส่งผลกระทบต่อธนาคารทั้งกลุ่มยกเว้นSCIBที่ไม่มีรายการที่เกี่ยวเนื่องจาก บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (TAMC)
นอกจากนี้ SCB และ KTB จะเสียภาษีที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนจะเป็นสิ่งกดดันกำไรของกลุ่มด้วย โดยมองว่าประเด็นดังกล่าวจะกระทบ BBL, SCB และ TMB ด้านรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิยังแสดงการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง คาดว่ารายได้ดอกเบี้ยสุทธิของกลุ่มแบงก์ในไตรมาส 3/49 เพิ่มขึ้น 12%yoy แต่โดยภาพรวมธนาคารส่วนใหญ่แสดงกำไรสุทธิลดลงเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ยกเว้น KTB และ BAY โดยคาดBAYจะแสดงการเติบโตของกำไรสุทธิสูงสุด ขณะที่สินเชื่อทั้งกลุ่มเพิ่มขึ้นช้ากว่าเงินฝากและGDP และคงกระจุกตัวอยู่แค่ธนาคารขนาดใหญ่ ส่วน NPLคาดทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
สำหรับแนวโน้มกำไรสุทธิไตรมาส4/49 ของกลุ่มแบงก์จะชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 3/49 เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจะได้รับแรงกดดันมากขึ้นจากต้นทุนเงินฝากที่ปรับขึ้นในธนาคารที่เริ่มโปรแกรมดูดเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ยสูงอีกครั้งในช่วงเดือนก.ค. และ ส.ค. ที่ผ่านมาเช่น KBANK และ SCB ส่วน BAYจะเริ่มกลับมาเสียภาษีเต็มจำนวนในไตรมาส 4/49 นี้ และธนาคารส่วนใหญ่จะตั้งสำรองหนี้สูญมากพิเศษในไตรมาสสุดท้ายของปี รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกิดขึ้นจากการตัดจำหน่ายหลักประกันเครื่องจักรของหนี้NPLที่โอนไปTAMCเป็นศูนย์จะเกิดขึ้นในSCBและBBL ส่วนแบ่งGain/Loss จากการบริหารหนี้NPLของTAMCจะแจ้งในราวเดือนพ.ย.นี้ มีเป็นไปได้ที่จะแบ่งผลขาดทุนมากกว่ากำไรถูกเบนความสนใจในการลงทุนจากการขายหุ้น
อย่างไรก็ดี มองว่าในระยะสั้นกลุ่มธนาคารจะมีความกดดันจากการขายหุ้นIPO ICBCในประเทศจีนซึ่งเป็นดีลใหญ่ที่สุดในโลก ดึงความน่าสนใจของต่างชาติที่ลงทุนในหุ้นแบงก์ไทยไป อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิเคราะห์มีมุมมองต่อกลุ่มธนาคารปีหน้าดีขึ้น จึงถือเป็นโอกาสเข้าซื้อหากราคาหุ้นปรับลงมาระยะสั้นจากปัจจัยดังกล่าว จึงคงคำแนะนำ ?ซื้อ?ในหุ้นกลุ่มธนาคาร เน้นธนาคารใหญ่ ได้แก่ BBL เป้าปี 50 อยู่ที่ 140 บาท และ KBANK เป้าปี 50 อยู่ที่ 80 บาท

ตารางสรุปผลการดำเนินงานกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 3/49


Bank 3Q49 (ลบ.) 3Q48(ลบ.) YoY
BBL 3 ,372 4,816 -30.0%
KBANK 3 ,075 3,578 -14.1%
SCB 3 ,701 5,273 -29.8%
KTB 4 ,860 4,619 5.2%
SCIB 1 ,109 1,320 -15.9%
BAY 1 ,757 1,615 8.8%
TMB 1 ,154 2,055 -43.9%
Total 19,028 23,276 -18.3%


***โบรกฯ แนะทยอยซื้อหุ้นกลุ่มแบงก์ ลุ้นสัปดาห์หน้าราคาเด้งเหตุเงินเหลือจอง IPO แบงก์จีนไหลลงทุนแบงก์ไทย

นายอดิพงษ์ ภัทรวิกรม ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ไทยพาณิชย์ เปิดเผยถึง กลยุทธ์การลงทุนหุ้นกลุ่มนาคารพาณิชย์ในช่วงนี้ว่า นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นแบงก์ได้ โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่อย่างธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เพราะระยะนี้นักลงทุนจะขายหุ้นกลุ่มพลังงานและโยกเงินมาซื้อหุ้นกลุ่มแบงก์เพราะเป็นหุ้นขนาดใหญ่เช่นเดียวกับกลุ่มพลังงาน
นอกจากนี้ ประเด็นที่จีนเตรียมจะขาย IPO ธนาคารเพื่ออุตสาหกรรมและการพาณิชย์ ( ICBC )เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ในวันที่ 27 ต.ค.นี้ และจะสรุปราคาในสัปดาห์หน้าน่าจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นไทย เพราะขณะนี้ยอดจอง IPO เกินกว่า 30 เท่า ดังนั้น เม็ดเงินในส่วนที่เกินมา จึงน่าจะไหลกลับมาในเอเชีย และส่วนหนึ่งจะมาลงที่ตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะในหุ้นกลุ่มแบงก์ที่จะได้รับผลดี เพราะน่าสนใจมากกว่ากลุ่มพลังงาน
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย)(มหาชน) เปิดเผยว่า เชื่อว่าในสัปดาห์หน้าหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะได้รับผลดีจากการที่จีนสรุปราคาขาย IPO ในวันที่ 20 ต.ค.และหลังจากนั้นเม็ดเงินที่จองหุ้นในส่วนที่เกินน่าจะไหลมาลงทุนในตลาดหุ้นไทย และน่าจะเป็นหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะช่วยลดปัจจัยลบเรื่องผลประกอบการไตรมาส 3 ที่จะประกาศในสัปดาห์หน้าของกลุ่มแบงก์ซึ่งคาดว่าจะไม่โดดเด่นนักได้ ขณะที่ปัจจัยเรื่องผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ของแบงก์ชาติ ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อกลุ่มแบงก์ เพราะตลาดคาดการณ์แล้วว่าแบงก์ชาติคงไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก
ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถทยอยซื้อสะสมหุ้นแบงก์ได้ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป โดยหุ้นที่โดดเด่น ได้แก่ หุ้นขนาดใหญ่ที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง ได้แก่ BBL KBANK และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ราคาเป้าหมาย 135 บาท 74 บาท และ 69 บาท ตามลำดับ
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ จาก บล.กรุงศรีอยุธยา (มหาชน) เปิดเผยว่า กลยุทธ์การลงทุนหุ้นกลุ่มแบงก์ในช่วงนี้ นักลงทุนสามารถเลือกเล่นเป็นรายตัวได้ ก่อนที่จะประกาศผลประกอบการไตรมาส 3 ในสัปดาห์หน้า โดยเลือกซื้อหุ้นที่คาดวาผลประกอบการจะออกมาดี เช่น ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)หรือ KTB ราคาเป้าหมาย 24.50 บาท และ 14.50 บาท ตามลำดับ
ส่วนนักลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะยาว สามารถซื้อหุ้นขนาดใหญ่ที่มีพื้นฐานดี เช่น BBL KBANK และ SCB ซึ่งผลประกอบการน่าจะออกมาดี และมีเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง ราคาเป้าหมาย 135 าท 84 บาท และ 71 บาท ตามลำดับ
ส่วนผลการประชุม กนง.ในสัปดาห์หน้าไม่มีผลต่อหุ้นแบงก์ และเงินที่เหลือจากการจองหุ้น ICBC น่าจะไหลกลับมาลงทุนหุ้นแบงก์ได้ในสัปดาห์หน้า ส่งผลให้หุ้นแบงก์ปรับตัวเพิ่มขึ้น

***เปิดโผ Analyst Consensus หุ้นแบงก์พบ TMB เหลือ Up Side สูงสุด 26.60%

จากการสำรวจราคาเป้าหมายหุ้นกลุ่มแบงก์จาก Analyst Consensus ของผู้สื่อข่าว eFinanceThai.com พบว่า ราคาหุ้นธนาคาร ทหารไทย(TMB) ยังเหลือ Up Side สูงสุด 26.60% เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเป้าหมายที่ Analyst Consensus ให้ไว้ รองลงมาได้แก่ หุ้นของธนาคาร กรุงเทพ(BBL) เหลือ Up Side ประมาณ 18.32% เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเป้าหมายที่Analyst Consensus ให้ไว้ และอันดับที่ 3 ได้แก่ หุ้นไทยธนาคาร(BT) เหลือ Up Side ประมาณ 14.24% เมื่อเปรียบเทียบกับราคาเป้าหมายที่ Analyst Consensus ให้ไว้

แบงก์ Analyst Consensus ราคาปิด ณ 11 ต.ค. Up Side
ACL 6.19 4.68 32.26%
BAY 20.23 19 6.47%
BBL 131.34 111 18.32%
BT 7.14 6.25 14.24%
KBANK 76.42 68 12.38%
KK 33.31 30.25 10.11%
KTB 13.00 11.70 11.11%
SCB 66.63 60.5 10.13%
SCIB 23.37 20.80 12.35%
TBANK - 9 -
TISCO 26.90 24.20 11.15%
TMB 3.95 3.12 26.60%

ที่มา : eFinanceThai.com รวบรวม

[/color:e74907a7fd">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com