May 6, 2024   9:44:35 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > รายใหญ่ชี้ ตลท.ไม่เป็นอินเตอร์ รวมตัวทุบหุ้นเก็งกำไรประท้วง
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 10/10/2006 @ 01:42:16
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

นักลงทุนเซ็งตลาดหลักทรัพย์ หลังผุดไอเดียลดความร้อนแรงของหุ้น ส่อแววสนใจแนวทางหดแก๊ปซิลลิ่ง-ฟลอร์ให้ช่วงแคบกว่าปกติทั่วไป หรือลดวงเงินให้สินเชื่อในการซื้อขายหุ้น ระบุเป็นการถอยหลังเข้าคลอง ในยุคจรวดซึ่งประเทศที่เจริญแล้วเปิดให้ซื้อขายแบบเสรีไม่มีกำหนดเพดาน แนะทุกวันนี้นักลงทุนมีความรู้และศึกษาข้อมูลก่อนเข้าลงทุนอยู่แล้ว ขอให้ ตลท.ไปมุ่งเรื่องบรรษัทภิบาล เน้นให้ บจ.เปิดเผยข้อมูลเพื่อความเท่าเทียมกันดีกว่า

ต่อประเด็นที่มีการเปิดเผยว่าตลาดหลักทรัพย์กำลังศึกษาวิธีการดูแลการซื้อขายหุ้นที่มีการเก็งกำไรสูงๆ โดยมีความสนใจที่จะนำวิธีการตรวจสบและดูแลของตลาดหุ้นต่างประเทศมาใช้ในบางเรื่องนั้น อาทิ แนวทางของเกาหลีที่โบรกเกอร์มีการกลั่นกรองการซื้อขายที่ผิดปกติหากพบรายการดังกล่าวจะมีการเตือนนักลงทุน หรือลดวงเงินในการให้สินเชื่อเพื่อซื้อขายหุ้น ส่วนประเทศอินเดียมีวิธีการลดความร้อนแรงของหุ้นเก็งกำไร โดยการจำกัดซิลลิ่ง-ฟลอร์ โดยให้ช่วงแคบกว่าปกติทั่วไป ซึ่งทำให้การเก็งกำไรน้อยลงได้ผล

นักลงทุนรายใหญ่รายหนึ่งให้ความเห็นว่าแนวทางที่ตลท.กำลังศึกษาและให้ความสนใจนั้นไม่น่าจะก่อให้เกิดประโยชน์กับตลาดหุ้นไทย และทำให้ sentiment ของตลาดเสียด้วยที่สำคัญ ทำให้ภาพขอตลาดหุ้นไทยไม่มีความเป็นอินเตอร์ฯ ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาไม่มีการกำหนดเพดานซิลลิ่ง-ฟลอร์โดยเปิดให้ซื้อขายได้ตามปกติ

เขากล่าวต่อว่าที่ผ่านมา ตลท.ได้เดินทางมาถูกทางแล้ว ในเรื่องบรรษัทภิบาลหรือ Corporate Governance เป็นความพยายามที่จะให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูล ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ดีและเดินมาถูกทางแล้ว อีกทั้งนักลงทุนไทยในปัจจุบันไม่เหมือนในอดีต และมีความรู้และมีการศึกษาข้อมูลก่อนเข้าลงทุน

ถ้าตลาดหลักทรัพย์จะทำแบบนั้นจริง ไม่ส่งผลดีกับตลาดหุ้นไทยเลย ไม่มีความเป็นอินเตอร์ และทำให้เสียบรรยากาศการลงทุน ดูจากที่มีการเทขายหุ้นออกเมื่อวานนี้ โดยเฉพาะหุ้นเก็งกำไรถือเป็นสะท้อนอารมณ์ของนักลงทุนให้ผู้บริหารตลาดได้เห็นแหล่งข่าวกล่าว

นักลงทุนรายใหญ่อีกรายให้ความเห็นว่าหากจะดำเนินการจริง ควรกำหนดเพดานซิลลิ่ง-ฟลอร์ให้แคบลงเฉพาะหุ้นที่ห้ามเล่นเน็ทเซ็ทเทิลเม้นท์และห้ามมาร์จิ้น แต่ไม่ควรจะห้ามทั้งหมดเพราะจส่งผลกระทบต่อภาพรวม และการกระทำดังกล่าวถือเป็นการถอยหลังเข้าคลองขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ได้เปิดให้ซื้อขายแบบเสรี

บ้านเรามีเพดานซิลลิ่ง-ฟลอร์ 30% และก็ไม่รู้จะไปจำกัดทำไม เพราะการเคลื่อนไหวของหุ้นแต่ละวันน้อยมากที่จะเห็นไปชนเพดาน 30% โดยเฉพาะหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีแทบไม่เห็นเลย ตั้งแต่เล่นหุ้นมาก็เห็น KTB ขึ้นไปชนซิลลิ่งครั้งเดียวเมื่อปี 1999 จากนั้นก็ไม่เห็นอีกเลย อยากให้ตลาดทบทวนให้ดี หากจะดำเนินการใดๆ แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว

สำหรับความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย เมื่อวานนี้ปิดตลาดที่ระดับ 692.26 จุด ลดลง 2.34 จุด มีมูลค่าการซื้อขายรวม 8,680.23 ล้านบาทนักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 472.67ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 791.18 ล้านบาท ส่วนนักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 318.51ล้านบาท

เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง เปิดเผยว่าจากกรณีที่ ตลท. เตรียมศึกษามาตราการลดความร้อนแรงของหุ้นเก็งกำไร โดยการใช้วิธีจำกัดอัตราเปอร์เซนต์การปรับตัวขึ้นลงสูงสุดต่อวัน (ซิลลิ่งและฟลอร์) เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทย เนื่องจากในอดีต ตลท. เคยนำมาตราการดังกล่าวมาใช้แล้ว แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไร ซึ่งนักลงทุนยังคงซื้อขายหุ้นตามปกติ

ที่ผ่านมาก็เคยนำมาตรการนี้มาใช้ ไม่เห็นจะมีอะไร ไม่ว่าจะให้ฟลอร์ 10% หรือ 30%ไม่ว่าสมัยไหนมันก็คงจะไม่ต่างกันรวมทั้งผลกระทบต่อตลาดฯ และผู้ถือหุ้นด้วยคงไม่มีนัยสำคัญอะไร แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว

ส่วนการนำมาตราการซิลลิ่งและฟลอร์มาใช้จะมีข้อดีกว่าการใช้มาตรการห้ามเน็ตเซ็ตเทิลเม้นท์และห้ามซื้อขายบัญชีมาร์จิ้น หรือไม่ ทั้งสองมาตรการไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน โดยซิลลิ่งและฟลอร์มีข้อดีคือทำให้นักลงทุนมีรอบคอบและลดความเสี่ยงได้ ในขณะที่การห้ามเล่นเน็ต-มาร์จิ้น มีข้อดีคือทำให้บรรยากาศการลงทุนคึกคักเพราะนักลงทุนที่ไม่มีเงินสดก็สามารถเข้ามาซื้อขายหุ้นได้ตามปกติ แต่มาตรการซิลลิ่งและฟลอร์ไม่สามารถทำได้

เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์อีกราย กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่า ไม่น่าจะมีผลต่อภาพรวมการลงทุน และนักลงทุนส่วนใหญ่ เพราะแนวคิดนี้หากถูกนำมาใช้จริงจะทำให้หุ้นที่มีความเคลื่อนไหวผิดปกติ และมีการไล่ซื้อเพื่อหวังให้มีระดับราคาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ต้องใช้เวลาปรับระดับราคาขึ้นนานกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และจะกระทบการตัดสินใจของนักลงทุนรายย่อยที่จะตามเข้าซื้อเพื่อหวังผลกำไรในระยะสั้น เนื่องจากจะมีส่วนต่างของกำไร-ขาดทุนแคบลง แต่ทั้งหมดนี้ก็จะมีผลกับหุ้นเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นหากเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งหมดบนกระดาน และคาดว่านักลงทุนส่วนใหญ่จะไม่ต่อต้านแนวคิดนี้

จากที่ ปัจจุบันมีการจำกัดการปรับขึ้นของหุ้นไม่ให้มีราคาปรับขึ้นมากกว่า 30% และการจำกัดให้มีอัตราที่น้อยกว่านี้จะทำให้การไล่ราคาหุ้นยากขึ้นแน่นอน แต่มองว่าเป็นหุ้นจำนวนน้อยในตลาดฯเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบนี้ วิเคราะห์หลักทรัพย์รายเดิมกล่าว

อย่างไรก็ดีแนวคิดดังกล่าวที่นำมาจากตลาดฯอินเดียจะยังไม่มีการใช้จริงในระยะนี้แน่นอนเพราะยังต้องรอความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องหลายๆฝ่ายก่อน เพื่อให้ได้ความคิดเห็น กติกาและวิธีการ และข้อสรุปที่ตรงกันในทุกฝ่าย

efinance.com


^_^[/color:cd3c243eb8">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com