May 4, 2024   2:24:32 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > อะไรคือ Cash Company
 

kaisel
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 3,380
วันที่: 25/09/2006 @ 22:56:47
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

หากเอ่ยถึงคำว่า ?Cash Company? ในแวดวงตลาดทุนช่วงนี้ เชื่อว่านักลงทุนหลายๆท่านคงจะพอฟังแล้วคุ้นหูกันอยู่บ้าง เพราะว่าล่าสุดคำศัพท์อย่าง ?Cash Company? เริ่มเป็นที่กล่าวขานกันในวงกว้าง หลังจากบริษัท ดราก้อน วัน จำกัด (มหาชน) หรือ D1มีการจำหน่าย หรือโอน สินทรัพย์ หนี้สิน ตลอดจนกิจการทั้งหมด ไปยังบริษัท ไดอาน่าคอนวีเนี่ยนสโตร์ จำกัด ทำให้สถานะการดำเนินงานเข้าเกณฑ์บริษัทจดทะเบียนที่มีสินทรัพย์เกือบทั้งหมดในรูปของเงินสดหรือ ?Cash Company? อย่างชัดเจน ซึ่งถือว่าว่าเป็นบริษัทจดทะเบียนแห่งแรกที่เข้าข่าย ?Cash Company? นับตั้งแต่มีการสร้างหลักเกณฑ์ดังกล่าวขึ้นมา

?Cash Company? จะมีลักษณะอย่างไร แตกต่างจาก ?Holding Company? หรือไม่ ทีมงานสายงานกำกับหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) นำทีมโดยคุณสุทธิชัย จิตรวาณิช รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมาไขคำตอบให้ฟัง

ย้อนไปในสมัย พ.ศ. 2536 กฎเกณฑ์ ?Cash Company? ถูกบัญญัติใช้ในตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นครั้งแรกตรงกับสมัยที่ศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์

?Cash Company? มี 2 ลักษณะเด่นๆ นั่นคือ การที่บริษัทขายทรัพย์สินที่ใช้ทำธุรกิจออกมาทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด หรือการที่บริษัทมีทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นเงินสดหรือหลักทรัพย์ระยะสั้นและหยุดประกอบธุรกิจซึ่งตามกฎเกณฑ์แล้วบริษัทใดเข้าข่าย ?Cash Company? ถือว่าไม่มีคุณสมบัติการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯและหากบริษัทจดทะเบียนรายใดเข้าข่าย ?Cash Company? ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการดังต่อไปนี้

นับจากวันที่จำหน่ายทรัพย์สินแล้ว ภายใน 30 วันต้องส่งรายงานฐานะการเงินพร้อมทั้งหาธุรกิจใหม่ที่จะดำเนินงานยื่นคำขอมายังตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะเป็น SET หรือ mai ก็ได้ขึ้นอยู่กับทุนจดทะเบียน ภายใน 9 เดือนและทางตลาดหลักทรัพย์ฯจะพิจารณาคุณสมบัติเสมือนหนึ่งเป็นบริษัทที่ต้องการเข้าจดทะเบียนใหม่

หลังจากส่งเรื่องดังกล่าวมายังตลาดหลักทรัพย์ฯแล้วก็จะมีการพิจารณาต่อไปหากอนุมัติก็ต้องติดระยะเวลาห้ามขาย หรือ ?Silent Period? ตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ ห้ามขาย 100% ในช่วง 6 เดือนแรก และทยอยขายได้ 25% ในช่วง 12 เดือน และ 18 เดือนถัดมาจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาห้ามขายขณะเดียวกันหากไม่ผ่านการอนุมัติไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตามบริษัทดังกล่าวอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนอัตโนมัติ

หากยก D1 เป็นกรณีศึกษาเรื่อง ?Cash Company? ตามกระบวนการแล้ว D1 ต้องส่งรายงานฐานะการเงินและหาธุรกิจใหม่ยื่นมายังตลาดหลักทรัพย์ฯภายใน 9 เดือนนับจากวันที่จำหน่ายหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2549 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 2 ตุลาคมนี้ แต่ล่าสุด D1 แจ้งขอเลื่อนส่งรายงานแสดงฐานะการเงินมาเป็นวันที่ 13 ตุลาคมแทน โดยให้เห็นผลว่า การเกิดเหตุลอบวางระเบิดห้างไดอาน่าทำให้ต้องยกเลิกแผนดำเนินงานตรวจสอบบัญชี และเปลี่ยนให้ส่งเอกสารทั้งหมดมาให้ผู้สอบบัญชีที่กรุงเทพมหานครแทน

ฉะนั้นจากนี้ต่อไปคงต้องจับตาดูว่า D1 จะส่งเอกสารต่างๆเข้ามายังตลาดหลักทรัพย์ฯทันกำหนดตามที่ร้องขอหรือไม่ ซึ่งหลังจากนี้รูปแบบธุรกิจของ D1 จะเปลี่ยนไป จากเดิมที่อยู่กลุ่มธุรกิจพาณิชย์ ต้องย้ายไปสังกัดในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีและสารสนเทศ หรือ ไอซีที เพราะบริษัทฯ บอกออกมาอย่างชัดเจนแล้วว่าต่อไปธุรกิจหลักของ D1 คือ การจำหน่ายและให้บริการเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หลังจากที่ดำเนินการซื้อหุ้น บริษัท แอพพลิเคชั่น โฮสติ้ง เซอร์วิส จำกัด (A-Host) มาจาก บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) (IEC)

ส่วน ?Holding Company? ก็มีบัญญัติขึ้นตั้งแต่สมัย ศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งตรงกับพ.ศ. 2536 เช่นเดียวกับ ?Cash Company? แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ?Holding Company? ไม่จำเป็นต้องมีธุรกิจ แต่ต้องจดทะเบียนอยู่ใน SET หรือ mai และที่สำคัญต้องมีบริษัทแกน หรือบริษัทลูกที่ทาง ?Holding Company? ที่เรียกภาษาทั่วไปว่าเป็นบริษัทแม่ ถือหุ้น 3 ใน 4 หรือประมาณ 75%ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในบริษัทลูก เพื่อให้สามารถควบคุมบริษัทลูกให้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ บริษัทลูกจะไม่จำกัดจำนวน แต่แต่ละแห่งต้องประกอบธุรกิจมีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รับหลักทรัพย์และไม่ได้จดทะเบียนในSET และ mai เพื่อไม่ให้เกิดความทับซ้อน

กล่าวมาถึงตรงนี้ อาจเกิดข้อสงสัยว่า กลุ่มชินวัตรฯ ถือเป็น ?Holding Company? หรือไม่ เพราะมีบริษัทลูกหลายแห่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯและบริษัทลูกบางแห่งมีการถือหุ้นไม่ถึง 75% ตามเฏณฑ์

ในเรื่องนี้ทีมงานของตลาดหลักทรัพย์ ก็เฉลยให้ฟังว่า ชินวัตรฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ก่อนการบัญญัติเกณฑ์ Holding Company ในปี พ.ศ. 2536 ใช้ชื่อว่า บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์แอนด์คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SHIN ดำเนินธุรกิจขายคอมพิวเตอร์เป็นหลักและเข้าจดทะเบียนตามปกติเช่นเดียวกับบริษัทจดทะเบียนรายอื่น

จากนั้นถึงมีการขยายธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง ซึ่งมีทั้งจดทะเบียน และไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อาทิ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) หรือ CSL บริษัท แคปปิตอล โอเค จำกัด บริษัท ชินวัตรเทเลวิช จำกัด ซึ่งหนึ่งในจำนวนบริษัทลูกทั้งหมดมีบางแห่งถือหุ้นเกิน 75% ก็ถือว่ามีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของ Holding Company

และทั้งหมดนี้คือ สาระดีๆของ ?Cash Company? และ?Holding Company? ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯอุตส่าห์นำทีมงานสายกำกับฯ มาไขข้อสงสัยว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ซึ่งเชื่อว่าจากนี้ต่อไปคำบัญญัติความเหล่านี้คงจะคุ้นเคยกับนักลงทุนไม่มากก็น้อย เพราะวันใดวันหนึ่งอาจมีบริษัทจดทะเบียนตบเท้าขอใช้คำนิยามมากขึ้นก็เป็นได้?[/size:cee21bca31">

โดย eFinanceThai.com

^_^

 กลับขึ้นบน
innocent
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 729
#1 วันที่: 26/09/2006 @ 10:35:53 : re: อะไรคือ Cash Company
ขอบคุณค่ะ.. .0005

ตอนนี้ถือ cash ดีกว่า.. .0008
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com