May 4, 2024   2:38:45 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ชอร์ตเซล อืดบลจ.เมินให้ยืมหุ้น อ้างรายได้ไม่คุ้ม
 

mrarthy
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 38
วันที่: 15/09/2006 @ 13:12:53
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ชอร์ตเซล อืดบลจ.เมินให้ยืมหุ้น อ้างรายได้ไม่คุ้ม [/size:33e40931f9">

ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหุ้นฝืด ส่งผลชอร์ตเซลหุ้นในกลุ่ม SET 50 อืด เหตุนักลงทุนสถาบัน โดยเฉพาะบลจ. ซึ่งมีหุ้นในพอร์ตอื้อนั้น เมินเป็นฝ่ายให้ยืม อ้างรายได้ไม่คุ้มค่าเหนื่อย ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯเดินหน้าหนุนต่อ โวจีบกบข.ได้แล้ว

จากการสำรวจถึงความน่าสนใจในการทำธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ ( SBL )เพื่อการทำชอตเซล พบว่าท่าทีของนักลงทุนสถาบัน ซึ่งถือเป็นนักลงทุนระยะยาวที่มีหุ้นในพอร์ต และส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่อยู่ในกลุ่มดัชนี SE T 50 ซึ่งเป็นหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)อนุญาตให้ทำชอตเซลได้นั้น พบว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันน้อยมาก

โดยนายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด มองว่ารายได้จากค่าธรรมเนียมในการให้ยืมหลักทรัพย์อาจไม่คุ้มกับความซับซ้อนของการทำธุรกิจดังกล่าว

สอดคล้องกับนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย กล่าวว่า บลจ.กสิกรไทยสนใจเป็นผู้ให้ยืมหุ้นเพื่อการทำชอตเซล แต่เนื่องจากกองทุนหุ้นภายใต้การบริหารของบริษัทมีขนาดใหญ่ จึงต้องนำเรื่องเสนอคณะกรรการของบริษัทฯและมติของผู้ถือหน่วยลงทุน อีกทั้งในส่วนของสัญญาต่างๆของการทำธุรกรรมSBL มีรายละเอียดมากด้วย

ด้านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นตัวกลางในการให้บริหารสำหรับธุรกรรม การยืมและให้ยืมหลักทรัพย์นั้น นางกองแก้ว เปี่ยมด้วยธรรม รองกรรมการผู้จัดการสายงานรับฝากหลักทรัพย์และสำนักหักบัญชี บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าการเป็นตัวกลางในการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์นั้น ระบบตลท.มีความพร้อมแล้ว ส่วนธุรกรรมที่สามารถให้ยืมได้ทั้งตราหนี้และหุ้นคงต้องใช้ระยะเวลา แต่เชื่อว่าจะสามารถทำธุรกรรมSBLได้ในเดือนตุลาคมนี้ซึ่งในส่วนของศูนย์รับฝากจะสามารถให้บริการในส่วนของตราสารหนี้ภาครัฐที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นนายทะเบียนเท่านั้น

ในส่วนของหุ้นก็จะเป็นหุ้นที่ทางศูนย์รับฝากได้จากการผิดนัดชำระของลูกค้าเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 % ของมูลค่าการซื้อขายผ่านบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด หรือสัดส่วน 10 % ของมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งตลาด แต่การผิดนัดชำระราคาของสมาชิก(โบรกเกอร์)นั้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการบริหารงานเพราะถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากหากเทียบกับค่าเฉลี่ยของศูนย์รับฝากฯทั่วโลก

นอกจากนี้จากการที่ตลท.ได้พูดคุยกับนักลงทุนสถาบัน เช่น กบข. ,บลจ.,กองทุนประกันสังคม,และประกันชีวิตนั้น ล่าสุดได้รับการตอบรับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.)ว่าจะเริ่มทำธุรกรรมSBL ได้ในช่วงเดียวกับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์เช่นกัน

ด้านบล.เอเซีย พลัส แหล่งข่าวจากบริษัทดังกล่าว คาดว่าจะสามารถให้บริการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ได้เต็มที่ไตรมาส 4 ปีนี้ ส่วนกลุ่มเป้าหมายของบริษัทในด้านผู้ให้ยืมหลักทรัพย์ คือ นักลงทุนระยะยาว เช่น กองทุนรวมหุ้นระยะยาว(LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) รวมถึงนักลงทุนประเภทบุคคล และนิติบุคคล ที่ถือหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาว เป็นต้น ขณะที่ผู้ยืมจะมีทั้งนักลงทุนประเภทบุคคลและสถาบัน

อนึ่งปัจจุบันบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นตัวกลางในการยืมและให้ยืมหุ้นมีทั้งสิ้น 7 ราย ประกอบด้วยบล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) บล.เคจีไอ(ประเทศไทย)บล.เครดิต สวิส (ประเทศไทย) บล.ทรีนิตี้ บล.ทิสโก้ บล.ไทยพาณิชย์ บล.เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ และบล.เอเชีย พลัส ส่วนสถาบันการเงินอื่นๆที่สามารถให้บริการ SBL ได้คือ ธนาคารซิตี้แบงก์ ดอยซ์แบงก์ และธนาคารแห่งอเมริกาฯ [/color:33e40931f9">

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com