May 3, 2024   2:33:05 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > วงจรขาขึ้นดอกเบี้ยไทย...ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้วจริงหรือ? (1)
 

arthor
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 803
วันที่: 23/08/2006 @ 10:20:27
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

วงจรขาขึ้นดอกเบี้ยไทย...ใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้วจริงหรือ? (1)
--------------------------------------------------------------------------------

ในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) นับว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน เป็นเครื่องมือหรือเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการส่งสัญญาณทางการเงินแก่ภาคเอกชนและได้กำหนดอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเป้าหมายไว้ที่ร้อยละ 0-3.5 ต่อปี ซึ่งการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ครั้งล่าสุดอีกร้อยละ 0.25 มายืนอยู่ที่ร้อยละ 5.00 ในการประชุมคณะกรรมการ
นโยบายการเงิน(กนง.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมา นับเป็นการตอกย้ำถึงจุดยืนในการดำเนินนโยบายการเงินของธปท.อีกครั้งหนึ่งที่ยังคงให้ความสำคัญกับเป้าหมายการรักษาเสถียรภาพด้านราคาโดยคำนึงความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
หลังจากที่ กนง.ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องรวมทั้งสิ้นร้อยละ 3.75 นับจากร้อยละ 1.25 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2547 เป็นต้นมา นโยบายเข้มงวดทางการเงินดังกล่าว แม้ในทางหนึ่งจะช่วยบรรเทาแรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อ และป้องกันการไหลออกของเงินทุน แต่ขณะเดียวกัน ภาระต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ก็ย่อมนำมาซึ่งการชะงักงันของอุปสงค์มวลรวมภายในประเทศด้วย ดังนั้น ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป จึงคาดว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดที่ผ่านมา น่าจะเป็นระดับที่ขยับเข้าใกล้ระดับสูงสุด (Peak) ซึ่งภายในสิ้นปีนี้ หากจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก ก็คงไม่เกิน 1 ครั้ง โดยในสิ้นปีนี้ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะยืนอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.00-5.25 ซึ่งเป็นระดับที่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
ประการแรก อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ..ชะลอตัวครึ่งปีหลังตามราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพมากขึ้น
ในช่วงที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของไทยปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) เฉลี่ย 5 เดือนแรกของปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับร้อยละ 4.5 ในปี 2548 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (CoreInflation) เฉลี่ย 5 เดือนแรกของปี 2549 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับร้อยละ 1.6 ในปี 2548 อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2549 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในประเทศจะปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเปรียบเทียบกับฐานเงินเฟ้อที่สูงในปีก่อนจากการประกาศลอยตัวราคาน้ำมันดีเซลในเดือนกรกฎาคม 2548 รวมทั้งราคาน้ำมันในระยะต่อไปแม้ว่าจะยังมีความผันผวนในระดับสูง แต่ก็คาดว่าจะมีเสถียรภาพมากขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงครึ่งแรกของปี ประกอบกับมาตรการควบคุมราคาสินค้าของทางการ ส่งผลให้ผู้ผลิตไม่สามารถผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปสู ่ผู้บริโภคได้ทั้งหมด จึงทำให้โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะหลุดออกนอกกรอบเป้าหมายร้อยละ 0-3.5 มีความเป็นไปได้น้อยลง การดำเนินนโยบายการเงินของธปท.ในระยะต่อไปจึงน่าจะมีลักษณะผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อมิให้ส่งผลกระทบซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศให้ชะลอตัวลงมากกว่าในภาวะปัจจุบัน
ประการที่สอง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ... น่าจะขยับเข้าใกล้แดนบวกมากขึ้น จากเงินเฟ้อที่ผ่อนคลายจากเป้าหมายทางการเงินที่สำคัญอีกประการหนึ่งของธปท.ที่ต้องการผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเป็นบวกภายในช่วงกลางปี 2549 เพื่อกระตุ้นการออมของประเทศให้เพียงพอรองรับการลงทุนของประเทศในระยะยาว แต่เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศที่เร่งตัวสูงขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้การบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องล่าช้าออกไป โดยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงในนิยามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี หักด้วยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปแล้ว พบว่าในปัจจุบันยังคงติดลบ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสภาวะการใช้จ่ายและการลงทุนภายในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง รวมทั้งการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปีจะผ่อนคลายลง จึงน่าจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยแท้จริงในระยะต่อไปน่าจะขยับเข้าใกล้แดนบวกมากขึ้น ทำให้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท.ในช่วงที ่เหลือของปีมีความจำเป็นลดลง

 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com