April 30, 2024   8:58:27 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > DSGT ประเดิมเข้าเทรดวันนี้ IPO3.20
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 09/08/2006 @ 08:45:02
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล ประเดิมเข้าเทรดวันนี้ (9 ส.ค.) ที่ปรึกษาชี้บริษัทมีพื้นฐานแกร่งและมีศักยภาพในการเติบโต เซียนหุ้นประเมินภายในระยะเวลา 1 ปีราคาอยู่จะอยู่ที่ 4.17 - 4.50 บาท ขณะเดียวกันยังหวั่นปิดตลาดต่ำกว่าราคาจอง 3.20 บาทเพราะภาวะตลาดที่ผันผวนฉุด อีกทั้งนักลงทุนยังให้ความสนใจน้อยกว่า AKR

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าในวันนี้ (09 ส.ค.) บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DSGT) จะเข้าทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นวันแรก ซึ่งนายญาณศักดิ์ มโนมัยพิบูลย์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) (บล.บัวหลวง) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและแกนนำในการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญ DSGT กล่าวว่า หุ้นไอพีโอของ DSGT ที่เสนอขายในราคา 3.20 บาทต่อหุ้น ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก อันเป็นการสะท้อนถึงพื้นฐานของบริษัทที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพในการเติบโต

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จากหลายค่ายมองว่า หุ้น DSGT มีพื้นฐานดี โดยอัตรากำไรสุทธิมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นค่อนข้างมากในช่วงปี 2549-2550 อันเป็นผลมาจากกำไรขั้นต้นที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาขายที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดผ้าอ้อมสำเร็จรูปทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้รับประโยชน์จากการประหยัดดอกเบี้ยภายหลังที่บริษัทฯ ได้จ่ายคืนเงินกู้ที่ใช้ในการขยายธุรกิจ

นอกจากนี้ จากการคาดการณ์ของบริษัทหลักทรัพย์ 3 แห่ง กำไรสุทธิของ DSGT จะปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 30% เป็น 140 ล้านบาทในปี 2549 และเป็น 182 ล้านบาทในปี 2550 สำหรับปี 2548 บริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 2.27 พันล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 105.98 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ 3 แห่ง ประเมินราคาเป้าหมายหุ้น DSGT ที่เหมาะสมในช่วง 1 ปี อยู่ในช่วงระหว่าง 4.17-4.50 บาทต่อหุ้น นอกจากนี้ บริษัท DSGT มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่ไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ ซึ่งคาดว่าจะมีการจ่ายปันผลได้ระหว่าง 0.35-0.40 บาท/หุ้น ในช่วง 2 ปีข้างหน้า คิดเป็น Yield เฉลี่ย 9% ต่อปี

โดย นักวิเคราะห์มองว่าตลาดผ้าอ้อมสำเร็จรูปมีแนวโน้มในการขยายตัวอีกมาก เนื่องจากปริมาณการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยมีอัตราเติบโตสูงถึง 4 เท่า และ 7 เท่า จากระดับปัจจุบัน ซึ่งเป็นการอ้างอิงจากฐานประชากรศาสตร์และอัตราการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในปัจจุบัน

ด้านเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง ประเทศไทย (มหาชน) เปิดเผยว่าในวันที่ 9 สิงหาคมนี้ DSGT จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นวันแรก นักลงทุนอาจจะไม่ให้ความสนใจ เนื่องจากธุรกิจดังกล่าว มีรายได้ที่ไม่แน่นอน ประกอบกับโอกาสในการเติบโตยังมีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ นอกจากนี้หากราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นและส่งผลให้สินค้าอุปโภค - บริโภค มีราคาแพงขึ้น สินค้าของ DSGT อาจจะไม่ได้รับความนิยมหรือขายได้น้อยลง ราคาหุ้นจะยืนเหนือราคาจองที่ 3.20 บาท ได้หรือไม่ตอนนี้ยัง 50:50 เพราะต้องขึ้นอยู่กับภาวะตลาดด้วย แต่คาดว่าหุ้น DSGT คงจะไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน หรือคึกคัก เหมือนกับหุ้นของเอกรัฐ วิศวกรรม

ด้านเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ซีมิโก้ จำกัด ให้ความเห็นในทางตรงกันข้ามว่าหุ้นของ DSGT มีโอกาสที่จะยืนเหนือราคาจองที่ 3.20 บาทได้ เนื่องจากมี P/E ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับ P/E ของกลุ่มเดียวกัน โดย DSGT มี P/E อยู่ที่ประมาณ 10 เท่า ส่วน P/E ในกลุ่มเดียวกันอยู่ที่ 10.3 เท่า ส่วนในด้านของภาพรวมธุรกิจ DSGT ยังคงมีโอกาสเติบโตในทิศทางที่ดี โดยตลาดของสินค้าดังกล่าวยังมีโอกาสขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นสินค้าจำเป็น โดยฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ให้ราคาเป้าหมายของหุ้น DSGT อยู่ที่ 8.21 บาท ภาพรวมของ DSGT ถือว่า P/E ยังถูก รายได้ปีนี้ยังโต ประมาณ 10% ส่วนในด้านของการจ่ายปันผลปีนี้ก็มีแนวโน้มที่จะได้เห็น ซึ่งจากปัจจัยเหล่านี้ก็น่าจะหนุนให้ DSGT ยืนเหนือราคาจองได้

 กลับขึ้นบน
อาฟง
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
#1 วันที่: 09/08/2006 @ 08:47:00 : re: DSGT ประเดิมเข้าเทรดวันนี้ IPO3.20
บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DSGT)

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่:
448/11 ซอยลาดพร้าว 53 (โชคชัย 4) ถนนลาดพร้าว แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230
โทรศัพท์ 0 2933 2921 และ 0 2933 2744 โทรสาร 0 2933 2888

ที่ตั้งโรงงาน:
เลขที่ 39 หมู่ 1 เขตประกอบการอุตสาหกรรม เอส ไอ แอล สระบุรี ตำบลบัวลอย อำเภอหนองแค จังหวัด สระบุรี
18140 โทรศัพท์ 0 3637 3633-9โทรสาร 0 3637 3753-4

เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2549 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 9 สิงหาคม 2549)

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 300 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท รวม 300 ล้านบาท

ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์ (SET)

ราคาเสนอขาย 3.20 บาท (หุ้นที่เสนอขายคือหุ้นสามัญเพิ่มทุน 60 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิม 15,193,000 หุ้น)

วันที่เสนอขาย 24-26 กรกฎาคม 2549

วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน ชำระคืนเงินกู้ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน - ไม่มี -

ประเภทกิจการ ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่

ลักษณะการดำเนินงาน
บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DSGT) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2537
จากการร่วมมือกันของ DSGIF และกลุ่มครอบครัวอนุวงศ์นุเคราะห์ เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับ
เด็ก และผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ บริษัทฯมีบริษัทย่อยจำนวน 5 แห่งใน 4 ประเทศ ได้แก่ 1) บริษัท แอ๊ดว้านซ์ เวชภัณฑ์
จำกัด (AMS (ไทย) 2) บริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด (มาเลเซีย) เอสดีเอน บีเอชดี (DSGML (มาเลเซีย - จำหน่าย)) 3)
บริษัท ดีเอสจี (มาเลเซีย) เอสดีเอน บีเอชดี (DSGMSB (มาเลเซีย - ผลิต)) 4) บริษัท พีที ดีเอสจี เซอยา มาส อินโดนีเซีย
(PTDSG (อินโดนีเซีย)) และ 5) บริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด (เอส)พีทีอี ลิมิเต็ด (DSGS (สิงคโปร์))
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯและบริษัทย่อยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1) ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก (Baby Diaper)
ปัจจุบันผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กนอกจากจะเป็นอุปกรณ์รองรับการขับถ่ายของเด็กแล้วยังช่วยเพิ่มความสะดวก
สบายให้แก่ผู้ปกครองเด็ก และทำให้เด็กสบายตัวลดผดผื่นคัน ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มต่างๆ บริษัทฯ
และบริษัทย่อยผลิตและจำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กหลากหลายรูปแบบ โดยสามารถแบ่งแยกตามราคาและคุณภาพ
ของผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสนองความต้องการของตลาดระดับบน (Premium Market) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมาย
การค้ายี่ห้อ ฟิตตี้ (Fitti) ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์
- ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสนองความต้องการของตลาดระดับกลาง (Mid-range Market) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ภายใต้
เครื่องหมายการค้ายี่ห้อ เพ็ทเพ็ท (Pet Pet) ในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ และยี่ห้อ เบบี้เลิฟ (Baby Love)
ในประเทศไทย
- ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสนองความต้องการของตลาดระดับล่าง (Low-end Market) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมาย
การค้ายี่ห้อ ฟิตตี้เบสิค (Fitti Basic) ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ และยี่ห้อ เบบี้เลิฟ (Baby Love)
ในประเทศอินโดนีเซีย

2) ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ (Adult Diaper)
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่นอกจากจะเป็นอุปกรณ์รองรับการขับถ่ายของผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถ
ช่วยเหลือตัวเองได้แล้วยังรวมถึงผู้ใหญ่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพทำให้ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ ทั้งนี้เพื่อตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้าในกลุ่มต่างๆ บริษัทฯและบริษัทย่อยผลิตและจำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่หลากหลาย
รูปแบบ โดยสามารถแบ่งแยกตามราคาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสนองความต้องการของตลาดระดับบน (Premium Market) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ภายใต้
เครื่องหมายการค้า ดิสโป้ 123 (Dispo 123) ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์
- ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสนองความต้องการของตลาดระดับกลาง (Mid-range Market) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ภายใต้
เครื่องหมายการค้า เซอร์เทนตี้การ์ด (CertaintyGuard) ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ และยี่ห้อ
แฮนดี้ (HandyTM) ในฮ่องกง
- ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นสนองความต้องการของตลาดระดับล่าง (Low-end Market) ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ภายใต้
เครื่องหมายการค้า เซอร์เทนตี้ (Certainty) ในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์

โครงสร้างรายได้
มูลค่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (ภายหลังหักรายการระหว่างกัน)
2546* 2547* 2548* ไตรมาส 1 ปี2549*
ล้านบาท สัดส่วน% ล้านบาท สัดส่วน% ล้านบาท สัดส่วน% ล้านบาท สัดส่วน%
รายได้จากการขายในประเทศ**
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก 1,379.45 69.31 1,501.25 68.58 1,485.44 66.11 417.28 67.41
บริษัทที่เกี่ยวข้อง*** 245.95 12.36 186.85 8.53 148.05 6.59 36.42 5.88
บริษัทอื่น 1,133.50 56.95 1,314.40 60.05 1,337.39 59.53 380.86 61.53
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ 375.38 18.86 442.41 20.21 505.10 22.48 131.16 21.19
บริษัทที่เกี่ยวข้อง*** 50.95 2.56 49.31 2.25 54.20 2.41 15.36 2.48
บริษัทอื่น 324.43 16.30 393.10 17.96 450.90 20.07 115.80 18.71
รายได้จากการขายต่างประเทศ
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก 17.86 0.90 28.38 1.30 40.14 1.79 19.04 3.08
บริษัทที่เกี่ยวข้อง**** 0.26 0.01 - - - - - -
บริษัทอื่น 17.60 0.88 28.38 1.30 40.14 1.78 19.04 3.08
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ 127.22 6.39 116.11 5.30 108.50 4.83 25.80 4.17
บริษัทที่เกี่ยวข้อง**** 115.66 5.81 103.88 4.75 92.52 4.12 22.60 3.65
บริษัทอื่น 11.56 0.58 12.23 0.56 15.98 0.71 3.20 0.52
รายได้จากการขายอื่น***** 90.38 4.54 100.82 4.61 107.58 4.79 25.66 4.15
รวมรายได้ 1,990.29 100.00 2,188.97 100.00 2,246.76 100.00 618.94 100.00
หมายเหตุ :
* อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ได้แก่
2546 2547 2548 ไตรมาส 1 ปี2549
1 ริงกิตมาเลเซีย เท่ากับ (บาท) 10.4058 10.4058 10.6269 10.5152
1,000 รูเปียอินโดนีเซียเท่ากับ (บาท) 4.3846 4.3846 4.1496 4.2477
1 ดอลล่าร์สิงคโปร์เท่ากับ (บาท) 24.0964 24.0964 24.1545 23.9808
** รายได้จากการขายในประเทศ หมายถึง รายได้จากการขายในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์
*** บริษัทที่เกี่ยวข้องหมายถึง บริษัท พีทีแพนค่า เทเลนต้า มาส (PT Panca)
**** บริษัทที่เกี่ยวข้องหมายถึง บริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด ลิมิเต็ด (DSGL) และบริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด
(ซองชาน) (DSGZ)
***** รายได้จากการขายอื่นได้แก่รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เช่น รายได้จากการขาย
บรรจุภัณฑ์ แผ่นรองซับ ผ้าเย็น ผ้าอนามัย เป็นต้น

กำลังการผลิต
ปัจจุบันบริษัทฯ มีเครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่รวม 4 เครื่อง โดยแบ่งเป็นเครื่องจักรสำหรับ
ผลิตผ้าอ้อมสำหรับเด็ก 2 เครื่อง และเครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ 2 เครื่อง ทั้งนี้รวมเครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อม
สำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่ใช้แล้วที่บริษัทฯได้ซื้อเพิ่มเติมอีกอย่างละ 1 เครื่องในปี 2547 ดังนั้นบริษัทฯจึงมีกำลังการผลิต
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่รวม 200.70 ล้านชิ้นต่อปี และ 90.40 ล้านชิ้นต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้บริษัทย่อยของ
บริษัทฯ มีโรงงานผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กอยู่ในประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- DSGMSB (มาเลเซีย - ผลิต) มีโรงงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรม Sungai Penaga ประเทศมาเลเซีย มีเครื่องจักรสำหรับ
ผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก 3 เครื่อง โดยเป็นฐานการผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กแรกเกิดและผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับ
เด็กขนาดเล็ก โดยมีกำลังการผลิต รวม 312.87 ล้านชิ้นต่อปี
- PTDSG (อินโดนีเซีย) มีโรงงานตั้งอยู่ที่ Cikande ? Serang, West Java ประเทศอินโดนีเซีย มีเครื่องจักรสำหรับผลิต
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก 1 เครื่อง โดยมีกำลังการผลิต รวม 94.23 ล้านชิ้นต่อปี

ตารางอัตราการใช้กำลังการผลิต

หน่วย : ล้านชิ้นต่อปี 2546* 2547* 2547** 2548*** ไตรมาสแรก 2549***
กำลังการผลิต****
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก 97.64 97.64 504.74 607.80 151.95
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ 45.20 45.20 45.20 90.40 22.60
ปริมาณการผลิตจริง
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก 67.93 77.23 342.04 380.74 102.93
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%) 69.57 79.10 67.77 62.64***** 67.74
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ 38.24 42.03 42.03 48.90 12.36
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%) 84.60 92.99 92.99 54.09****** 54.69

หมายเหตุ: * กำลังการผลิตเฉพาะของบริษัทฯ
** รวมกำลังการผลิตของบริษัทย่อย เสมือนมีการถือหุ้นในบริษัทย่อยเต็มปี ทั้งนี้ยังไม่รวมกำลังการ
ผลิตของเครื่องจักรที่ซื้อมาเพิ่มทั้ง 2 เครื่องของบริษัทฯ
*** รวมกำลังการผลิตของบริษัทย่อย และเครื่องจักรที่ซื้อมาเพิ่มทั้ง 2 เครื่องของบริษัทฯ
**** กำลังการผลิตคำนวณจากการผลิตเต็มที่วันละ 3 กะโดยไม่นับรวมการผลิตในวันหยุด
***** เครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กไม่ได้ดำเนินการผลิตเต็มกำลัง ทำให้อัตราการ
ใช้กำลังการผลิตของผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กต่ำ
****** เครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ที่ซื้อเพิ่มเติมยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้
เต็มกำลังในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2548 ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตของผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับ
ผู้ใหญ่ต่ำ

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) - ไม่มี -

สรุปสาระสำคัญของสัญญา
1. สัญญาการให้บริการการบริหารจัดการ (Management Agreement)
สัญญาการให้บริการการบริหารจัดการ (Management Agreement) เป็นสัญญาระหว่าง DSGIF (ผู้ให้บริการ) กับบริษัทฯ
และบริษัทย่อยทั้ง 5 บริษัท (ผู้รับบริการ) โดย DSGIF สัญญาที่จะให้บริการด้านการบริหารจัดการและให้คำแนะนำทั้งในด้าน
การเงิน การดำเนินงาน การประชาสัมพันธ์ การบริหารบุคคล และงานด้านเลขานุการบริษัท รวมถึงการให้บริการในการจัดหา
วัตถุดิบให้กับบริษัทฯและบริษัทย่อยทั้ง 5 บริษัท โดยบริษัทฯและบริษัทย่อยจะชำระค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fees)
เป็นรายเดือนให้แก่ผู้ให้บริการในอัตราร้อยละ 1.0-1.5 ของยอดขายสุทธิจากส่วนลดเฉพาะที่จำหน่ายให้กับบุคคลภายนอก ตาม
อัตราค่าธรรมเนียมที่ระบุไว้ในสัญญา
สัญญาการให้บริการการบริหารจัดการ (Management Agreement) ดังกล่าวมีอยู่แล้วก่อนการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท
และเป็นสัญญาที่ต่ออายุโดยอัตโนมัติคราวละ 1 ปีนับจากวันที่หมดอายุในแต่ละปี เว้นแต่กรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความ
ประสงค์จะยกเลิกสัญญา โดยจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้คู่สัญญาทราบล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 12 เดือนก่อนวันสิ้นสุด
สัญญา ทั้งนี้ บริษัทและบริษัทย่อยพิจารณาแล้วเห็นว่าเงื่อนไขต่างๆ ในสัญญามีความเป็นธรรมและเทียบเท่ากับสัญญาการให้
บริการการบริหารจัดการที่ DSGIF ทำกับในเครืออื่น

2. สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (Trademark License Agreement / Royalty Agreement)
เครื่องหมายการค้าที่บริษัทฯและบริษัทย่อยใช้ในปัจจุบันได้แก่ FITTI PET PET BABY LOVE FITTI Basic
COSIFITS DISPO 123 HANDY CERTAINTY และ CERTAINTY Guard นั้นเป็นลิขสิทธิ์ของ DSGIF ซึ่ง
บริษัทฯและบริษัทย่อยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ DSGIF อาจมอบหมาย
ให้บริษัทในเครือของ DSGIF เป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้าจากบริษัทฯและบริษัทย่อยเป็น
รายไตรมาสในอัตราค่าธรรมเนียมที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (Trademark License Agreement / Royalty
Agreement)
สัญญาดังกล่าวได้ถูกจัดทำขึ้นตั้งแต่ก่อนการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทโดยมีอัตราค่าธรรมเนียมเท่ากับอัตราค่าธรรมเนียม
ในปัจจุบัน คือร้อยละ 3.5 ของยอดขายสุทธิหรือยอดขายสุทธิเฉพาะที่จำหน่ายให้กับบุคคลภายนอก (แล้วแต่กรณี) ซึ่งเป็นอัตรา
ค่าธรรมเนียมที่ DSGIF เรียกเก็บจากบริษัทอื่นในอัตราที่เท่ากัน ทั้งนี้ก่อนการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท สัญญาดังกล่าวเป็น
สัญญาที่มีอายุสัญญา 1 ปี และจะต่ออายุโดยอัตโนมัติคราวละ 1 ปีนับจากวันที่หมดอายุในแต่ละปี
ภายหลังจากการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท DSGIF ประสงค์ที่จะสนับสนุนบริษัทฯและบริษัทย่อยให้ลงทุนในกิจกรรมที่
เสริมสร้างความรู้จักในยี่ห้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทต่อผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น (Brand Building) DSGIF จึงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้
เครื่องหมายการค้าให้กับบริษัทฯและบริษัทย่อยในประเทศไทยและมาเลเซีย เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เป็น
ต้นไป ทั้งนี้เมื่อครบระยะเวลา 5 ปี แล้ว สัญญาดังกล่าวจะต่ออายุโดยอัตโนมัติคราวละ 1 ปีนับจากวันที่หมดอายุในแต่ละปี เว้น
แต่กรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความประสงค์จะยกเลิกสัญญา โดยจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้คู่สัญญาทราบ
ล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 12 เดือนก่อนวันสิ้นสุดสัญญา
ทั้งนี้ปัจจุบันสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า (Trademark License Agreement / Royalty Agreement) เป็นสัญญา
ระหว่าง DSGIF หรือบริษัทในเครือที่ได้รับมอบหมายจาก DSGIF ให้จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้า (Royalty
Fees) กับบริษัทฯและบริษัทย่อยในประเทศไทย มาเลเซียและ อินโดนีเซีย โดยมิได้ทำสัญญากับบริษัทย่อยในสิงคโปร์ (DSGS)
ทั้งนี้ DSGIF มิได้มีนโยบายที่จะจัดให้มีสัญญาดังกล่าว กับบริษัทย่อยในสิงคโปร์แต่อย่างใด
DSGIF ได้มีหนังสือรับรอง (Undertaking Letter) ถึง DSGT โดยอ้างถึงสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า
(Trademark License Agreement / Royalty Agreement) ที่ได้สรุปไว้ดังรายละเอียดในตารางด้านล่างนี้ ทั้งนี้หนังสือรับรองดังกล่าว
มีใจความสำคัญสรุปได้ดังนี้
- DSGIF ซึ่งเป็นผู้รับผลประโยชน์รายสุดท้าย (Ultimate Beneficiary) ของเครื่องหมายการค้าได้ให้สิทธิแก่บริษัทในเครือ
ของ DSGIF ในการมีสิทธิหรือรับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าดังที่ปรากฎในสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าที่อ้างถึง
- DSGIF และบริษัทในเครือของ DSGIF รับทราบว่า DSGT และบริษัทย่อยของ DSGT มีสิทธิต่างๆภายใต้สัญญาอนุญาต
ให้ใช้เครื่องหมายการค้าแต่เพียงผู้เดียวและมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า
- DSGIF และบริษัทในเครือของ DSGIF ยืนยันว่าจะไม่ทำการแข่งขันหรือยินยอมหรืออนุญาตให้มีการใช้เครื่องหมาย
การค้าโดยบุคคลอื่นเพื่อมาแข่งขันกับ DSGT และบริษัทย่อยของ DSGT ในเขตที่ DSGT และบริษัทย่อย ได้รับสิทธิ (Licensed
Territory) ยกเว้นการขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะกระทำผ่านDSGT และ/หรือบริษัทย่อย ทั้งนี้จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญาอนุญาต
ให้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว

3. สัญญาการอนุญาตให้ใช้แบบผลิตภัณฑ์ขอบขาด้านในของผ้าอ้อมสำเร็จรูป (Leg Cuff Design)
สัญญานี้เป็นสัญญาระหว่าง DSGIF ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทฯ กับบริษัท เดอะ พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล จำกัด
(P&G) โดยอนุญาตให้บริษัทในเครือของ DSGIF ซึ่งรวมถึงบริษัทฯและบริษัทย่อย (ทั้งนี้ไม่ครอบคลุมถึง PTDSG (อินโดนีเซีย))
มีสิทธิในการผลิต ใช้ เสนอขาย และจำหน่ายแบบผลิตภัณฑ์ขอบขาด้านในสำหรับผ้าอ้อมสำเร็จรูปภายใต้สิทธิบัตรที่ P&G
เป็นเจ้าของ ในประเทศออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไทย โดย DSGIF
คิดค่าธรรมเนียมกับบริษัทฯและบริษัทย่อย (ยกเว้น PTDSG (อินโดนีเซีย)) ในอัตราที่ DSGIF ต้องชำระค่าธรรมเนียมให้แก่
P&G ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางการตลาดของบริษัทฯและบริษัทย่อย
สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้จนกว่าสิทธิบัตรจะหมดอายุครบทุกประเทศตามที่ระบุไว้ (สิทธิบัตรที่บริษัทฯและบริษัทย่อย
ใช้จะหมดอายุในวันที่ 31 ตุลาคม 2550) ทั้งนี้หาก DSGIF ไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้และไม่
สามารถชำระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วันหลังจากที่ P&G แจ้งเตือนการผิดนัดชำระค่าธรรมเนียมเป็นลายลักษณ์อักษร P&G มี
สิทธิที่ยกเลิกสัญญาโดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อ DSGIF ล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 10 วันก่อนการยกเลิกสัญญาจะมีผลบังคับใช้

4. สรุปสัญญาเช่า
4.1. สัญญาเช่าพื้นที่ในอาคารพาณิชย์
ผู้เช่า : DSGT
ผู้ให้เช่า : คณะบุคคลสุวรรณาและบุตร
วัตถุประสงค์ : เช่าพื้นที่ในอาคารพาณิชย์ เลขที่ 448/11 ซอยลาดพร้าว 53 (โชคชัย 4) เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานและ
คลังสินค้า
ระยะเวลา : 1 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549
อัตราค่าเช่า : ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่าเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 120,000 บาท
การต่อสัญญา : ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะให้ DSGT เช่าต่อไปในเงื่อนไขเดิม หาก DSGT แจ้งความประสงค์ขอเช่า
อาคารต่อในเวลาก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า 3 เดือน
การเลิกสัญญา : หากผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายได้
4.2.สัญญาเช่าที่ดินและคลังสินค้า
ผู้เช่า : DSGT
ผู้ให้เช่า : นางสุวรรณา อนุวงศ์นุเคราะห์
วัตถุประสงค์ : เช่าที่ดินและคลังสินค้า เลขที่ 450/8 และ 448/12 ซอยลาดพร้าว 53 (โชคชัย 4) เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงาน
และคลังสินค้า
ระยะเวลา : 1 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549
อัตราค่าเช่า : ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่าเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 58,000 บาท
การต่อสัญญา : ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะให้ DSGT เช่าต่อไปในเงื่อนไขเดิม หาก DSGT แจ้งความประสงค์ขอเช่า
อาคารต่อในเวลาก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า 3 เดือน
การเลิกสัญญา : หากผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายได้
4.3.สัญญาเช่าที่ดิน
ผู้เช่า : DSGMSB (มาเลเซีย - ผลิต)
ผู้ให้เช่า : แอนเจเลส รับเบอร์ โพรดัคส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี
วัตถุประสงค์ : เช่าที่ดินที่นิคมอุตสาหกรรม Sungai Penaga ประเทศมาเลเซียเพื่อใช้เป็นที่ตั้งโรงงานและอาคาร
สำนักงานของ DSGMSB (มาเลเซีย - ผลิต) และ DSGML (มาเลเซีย - จำหน่าย)
ระยะเวลา : 2 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2549
อัตราค่าเช่า : ผู้เช่าต้องชำระค่าเช่าแก่ผู้ให้เช่าเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 90,000 ริงกิต
การต่อสัญญา : ผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะให้ DSGMSB (มาเลเซีย - ผลิต) เช่าต่อไปในเงื่อนไขเดิม หาก DSGMSB
(มาเลเซีย - ผลิต) แจ้งความประสงค์ขอเช่าอาคารต่อในเวลาก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่น้อยกว่า
3 เดือน
การเลิกสัญญา : หากผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ให้เช่ามีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องค่าเสียหายได้

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - ไม่มี -

การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ
บริษัทฯและบริษัทย่อยได้เข้าทำสัญญาการให้บริการการบริหารจัดการ (Management Agreement) กับ DSGIF (ผู้ให้บริการ)
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

โครงการดำเนินงานในอนาคต
บริษัทฯตระหนักว่าการรักษาความสัมพันธ์และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าทั้งเก่าและใหม่นั้น มีความสำคัญมาก
สำหรับการทำการตลาดผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ดังนั้นบริษัทฯได้จัดตั้งแผนก Customer Relationship
Management (CRM) เพื่อดูแลโครงการเบบี้เลิฟ ซึ่งเป็นโครงการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯและลูกค้า และโครงการ
Certainty Senior Club เพื่อให้ความรู้และข้อมูลต่างๆที่เหมาะสำหรับการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ และเพื่อทำกิจกรรมทาง
การตลาดและสร้างความสัมพันธ์มุ่งรักษาฐานลูกค้า ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่บริษัทฯมั่นใจว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าและยอดขาย
ของบริษัทฯได้ โครงการดังกล่าวประกอบไปด้วยการจัดสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับแม่และเด็ก การจัดกิจกรรมทางการตลาดตาม
ร้านค้าต่างๆเพื่อแนะนำสินค้าแก่ลูกค้า การแจกสินค้าตัวอย่างเพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ การเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อตอก
ย้ำภาพลักษณ์ของแบรนด์ การเก็บข้อมูลลูกค้าทางด้านความต้องการและความพอใจของสินค้า และการเก็บข้อมูลตัวเลขยอดขาย
เปรียบเทียบกับงบประมาณที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาดโดยแยกตามพื้นที่และสินค้า เพื่อวัดความสำเร็จของ
กิจกรรมแต่ละประเภทในโครงการ นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีแผนการขยายการตลาดโดยขยายไปยังต่างจังหวัดซึ่งเป็นตลาดที่มี
อัตราการใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในระดับต่ำ และจะใช้การขายตรงผ่านโรงพยาบาลและหน่วยงานราชการให้มากขึ้น

รายการระหว่างกัน
1. บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด (DSGIF)
ธุรกิจหลัก บริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company)
ความสัมพันธ์ DSGIF เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ โดยถือหุ้นร้อยละ 82.17 ของหุ้นทั้งหมดของ DSGT ก่อนการเสนอขาย
หุ้นต่อประชาชน และลดลงเหลือร้อยละ 65.74 หลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน มีกรรมการร่วมกันคือ
1). นายสุย ชุย ลัย 2). นายเหลียง ยุก ฟง
ลักษณะรายการ
1.1 บริษัทฯ AMS (ไทย) DSGML (มาเลเซีย - จำหน่าย) DSGMSB (มาเลเซีย ? ผลิต) PTDSG (อินโดนีเซีย) และ
DSGS (สิงคโปร์) จ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fees) ให้แก่ DSGIF
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 27.083 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 7.551 ล้านบาท

ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานทางธุรกิจของบริษัทฯและบริษัทย่อย
เนื่องจากค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนแก่ DSGIF ที่ให้บริการด้านการบริหารจัดการแก่บริษัทฯและบริษัทย่อย ตาม
สัญญาการให้บริการการบริหารจัดการ (Management Agreement) ทั้งนี้เงื่อนไขต่างๆในสัญญามีความเป็นธรรมและเทียบเท่ากับ
สัญญาการให้บริการการบริหารจัดการที่ DSGIF ทำกับบริษัทในเครืออื่น อย่างไรก็ตาม อัตราค่าธรรมเนียมการจัดการ
(Management Fees) ของบริษัทฯและบริษัทย่อยในประเทศไทยสูงกว่าบริษัทย่อยอื่นเนื่องจากเป็นบริษัทร่วมทุน (Joint Venture)
ระหว่าง DSGIF และหุ้นส่วนท้องถิ่น (Local Partner) โดยบริษัทแม่ได้ให้บริการแก่บริษัทฯและบริษัทย่อยในประเทศไทยมากกว่า
บริษัทย่อยในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะเป็นบริษัทร่วมทุนเช่นกัน เนื่องจากหุ้นส่วนท้องถิ่นในประเทศอินโดนีเซียได้
ให้ความช่วยเหลือในด้านการจัดการแก่บริษัทในอินโดนีเซีย
1.2 DSGIF เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทฯ AMS (ไทย) DSGML (มาเลเซีย - จำหน่าย) DSGMSB (มาเลเซีย ? ผลิต)
PTDSG (อินโดนีเซีย) และ DSGS (สิงคโปร์) จากการค้างชำระค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fees) ซึ่งค่าธรรมเนียม
ดังกล่าวจะถูกชำระเป็นรายเดือนโดยไม่มีเครดิตเทอม ทั้งนี้ยอดค้างชำระดังกล่าวไม่มีดอกเบี้ย
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 5.871 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 4.337 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าว เป็นรายการที่สมเหตุสมผลและเป็นปกติของการดำเนินการทางธุรกิจ ทั้งนี้เนื่องจากรายการดังกล่าว
ไม่มีการเรียกเก็บดอกเบี้ย จึงถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือทางด้านการเงินจาก DSGIF ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัทฯ
1.3 DSGIF เป็นลูกหนี้ของบริษัทฯ เนื่องจากเดิม DSGL เป็นลูกหนี้การค้าของบริษัทฯ ในขณะที่ DSGIF เป็นลูกหนี้
ของ DSGL ดังนั้น DSGL จึงโอนลูกหนี้ของตน (คือ DSGIF) ให้แก่บริษัทฯ เพื่อเป็นการลดจำนวนรายการระหว่างบริษัทฯ
และ DSGL
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 0.008 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ -0- บาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
ยอดคงเหลือของรายการระหว่างบริษัทฯและ DSGIF ที่เกินกำหนดชำระถูกหักกลบและชำระแล้วในเดือน
สิงหาคม 2548 ทั้งนี้จะไม่มีการโอนลูกหนี้การค้าในลักษณะนี้อีกในอนาคต

2. บริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด ลิมิเต็ด (DSGL)
ธุรกิจหลัก ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในประเทศฮ่องกง
ความสัมพันธ์ DSGIF ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ถือหุ้นใน DSGL ร้อยละ 100 มีกรรมการร่วมกันคือ 1). นายสุย ชุย ลัย
2). นายเหลียง ยุก ฟง
ลักษณะรายการ
2.1 บริษัทฯขายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ให้ DSGL
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 91.661 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 22.005 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นรายการทางการค้าปกติ โดยมีนโยบายการกำหนดราคาโดยใช้วิธีราคาทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม
ทั้งนี้อัตราขั้นต่ำของกำไรส่วนเพิ่มดังกล่าวเป็นอัตราเดียวกับที่ขายให้บุคคลภายนอก
2.2 DSGL เป็นลูกหนี้การค้าของบริษัทฯ ทั้งนี้บริษัทฯให้เครดิตเทอมในการชำระค่าสินค้าแก่ DSGL เป็นเวลา 90 วัน
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 24.095 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 20.392 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นรายการทางการค้าปกติ โดยมีเงื่อนไขทางการค้าปกติ
2.3 บริษัทฯ DSGMSB (มาเลเซีย-ผลิต) และ PTDSG (อินโดนีเซีย) ซื้อวัตถุดิบจาก DSGL
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 3.246 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ - 0 - บาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการคลาดแคลนวัตถุดิบหรือมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติหรือรูปแบบผลิตภัณฑ์
2.4 DSGL เป็นเจ้าหนี้การค้าของบริษัทฯ DSGMSB (มาเลเซีย-ผลิต) และ PTDSG (อินโดนีเซีย)
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 0.684 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 0.022 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเกิดจากการที่ บริษัทฯ DSGMSB (มาเลเซีย-ผลิต) และ PTDSG (อินโดนีเซีย) ซื้อวัตถุดิบ
จาก DSGL ซึ่งรายการดังกล่าวเป็นรายการทางการค้าปกติ
2.5 DSGL เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทฯ DSGMSB (มาเลเซีย ? ผลิต) และ PTDSG (อินโดนีเซีย) เนื่องจาก DSGL
สำรองจ่ายค่าใช้จ่ายบริหาร เช่น ค่าเดินทางกรรมการให้แก่บริษัทฯ DSGMSB (มาเลเซีย ? ผลิต) และ PTDSG (อินโดนีเซีย)
ทั้งนี้เงินสำรองจ่ายดังกล่าวถือเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อให้บริษัทฯ DSGMSB (มาเลเซีย ? ผลิต) และ
PTDSG (อินโดนีเซีย) ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยไม่มีดอกเบี้ย
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 3.393 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 2.322 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือทางด้านการเงินของ DSGL ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ DSGIF ซึ่งเป็นบริษัทแม่
ของบริษัทฯ และรายการดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ DSGMSB (มาเลเซีย ? ผลิต) และ PTDSG
(อินโดนีเซีย) ซึ่งยอดหนี้ส่วนใหญ่เป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของ DSGL แก่ PTDSG ทั้งนี้ DSGL ยังไม่มี
ความประสงค์จะเรียกคืนหนี้ดังกล่าว

3. บริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด (ยูเค) พีแอลซี (DSGUK)
ธุรกิจหลัก ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศในยุโรป
ความสัมพันธ์ DSGIF ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ถือหุ้นใน DSGUK ร้อยละ 100 มีกรรมการร่วมกันคือ
1). นายสุย ชุย ลัย 2). นายเหลียง ยุก ฟง
ลักษณะรายการ
3.1 PTDSG (อินโดนีเซีย) จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้า (Trademark License /Royalty Fees) ให้แก่
DSGUK
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 4.940 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 1.377 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานทางธุรกิจของ PTDSG (อินโดนีเซีย)
เนื่องจากค่าธรรมเนียมดังกล่าวเกิดจากการที่ DSGIF อนุญาตให้ PTDSG (อินโดนีเซีย) ใช้เครื่องหมายการค้าของตนใน
การดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ PTDSG (อินโดนีเซีย) ต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้ DSGUK ซึ่ง DSGIF มอบหมายให้เป็น
ผู้เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทั้งนี้อัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวสมเหตุสมผล และเป็นอัตราเดียวกับที่ DSGIF เรียกเก็บจาก
บริษัทอื่นด้วย
3.2 DSGUK เป็นเจ้าหนี้ของ PTDSG (อินโดนีเซีย) จากการค้างชำระค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้า
(Trademark License /Royalty Fees) ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะถูกชำระตามไตรมาส โดยมี
เครดิตเทอม 20 วัน)
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 8.709 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 9.504 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นรายการที่สมเหตุสมผลและเป็นรายการปกติ และเป็นการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
จาก DSGIF ซึ่งได้มอบหมายให้ DSGUK เป็นผู้เก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทั้งนี้ PTDSG มีแผนที่จะชำระหนี้ที่เกินกำหนด
ชำระประมาณ 50,000 เหรียญสหรัฐ ภายในปี 2549
4. บริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด (ซองชาน) ลิมิเต็ด (DSGZ)
ธุรกิจหลัก ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในประเทศจีน
ความสัมพันธ์ DSGIF ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ถือหุ้นใน DSGMgt ร้อยละ 100 และ DSGMgt ถือหุ้นใน DSGZ
ร้อยละ 100 มีกรรมการร่วมกันคือ 1). นายสุย ชุย ลัย 2). นายเหลียง ยุก ฟง
ลักษณะรายการ
4.1 บริษัทฯ ขายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ให้ DSGZ
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 1.098 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 0.591 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นรายการทางการค้าปกติ โดยมีนโยบายการกำหนดราคาโดยใช้วิธีราคาทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม
ทั้งนี้อัตราขั้นต่ำของกำไรส่วนเพิ่มดังกล่าวเป็นอัตราเดียวกับที่ขายให้บุคคลภายนอก
5. บ. นิน่าอุตสาหกรรม จำกัด (NINA)
ธุรกิจหลัก ผู้ผลิตและส่งออกสินค้าแผ่นรองซับ ผ้าเย็น และผ้าอนามัย
ความสัมพันธ์ 1). บริษัทฯและ AMS (ไทย) เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยของ NINA
2). คุณประพันธ์ อนุวงศ์นุเคราะห์และคู่สมรส ถือหุ้นร้อยละ 46.67 ใน NINA และถือหุ้นร้อยละ 11.50
ใน บริษัทฯ (สัดส่วนการถือหุ้นจะลดลงเหลือร้อยละ 9.20 ภายหลังจาก IPO) (Dilution Effect)
3). คุณไพรัช อนุวงศ์นุเคราะห์และคู่สมรส ถือหุ้นร้อยละ 28.33 ใน NINAและถือหุ้นร้อยละ 0.32 ใน
บริษัทฯ และขายหุ้นทั้งหมดใน IPO
4). มีกรรมการร่วมกันคือนายไพรัช อนุวงศ์นุเคราะห์
5). กลุ่มตระกูลอนุวงศ์นุเคราะห์ถือหุ้นร้อยละ 100 ใน NINA
ลักษณะรายการ
5.1 บริษัทฯ และ DSGS(สิงคโปร์) ซื้อสินค้าประเภทแผ่นรองซับ ผ้าเย็น และผ้าอนามัย จาก NINA เนื่องจาก บริษัทฯ
และ DSGS(สิงคโปร์) เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้กับ NINA
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 83.952 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 25.346 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นรายการทางการค้าปกติ โดยมีนโยบายการกำหนดราคาซื้อโดยคำนวณจากราคาขายปลีกหัก
กำไรขั้นต่ำที่จะได้รับจากการขายต่อ
5.2 NINA เป็นเจ้าหนี้การค้าของบริษัทฯ และ DSGS (สิงคโปร์) ทั้งนี้ NINA ให้เครติดเทอมในการชำระค่าสินค้าดังกล่าว
สำหรับบริษัทฯ และDSGS (สิงคโปร์) เป็นเวลา 90 วัน
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 14.931 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 13.672 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นรายการปกติในการดำเนินธุรกิจและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานทางธุรกิจของ บริษัทฯ
และ DSGS (สิงคโปร์)

6. บริษัท พีทีแพนค่า เทเลนต้า มาส (PT Panca)
ธุรกิจหลัก จำหน่ายผลิตภัณฑ์สำหรับอุปโภคบริโภค
ความสัมพันธ์ 1). PT Panca เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศอินโดนีเซียให้กับบริษัทฯและบริษัทย่อย
2). นายโซลิสติโอ อับดุล อเล็ก ถือหุ้นใน PT Panca ร้อยละ 94.80 และถือหุ้นร้อยละ 40 ใน PTDSG (อินโดนีเซีย)
3). มีกรรมการร่วมกันคือนายโซลิสติโอ อับดุล อเล็ก
4). รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ PT Panca จำหน่ายได้คิดเป็นร้อยละ 45 รายได้จากการ
ขายทั้งหมดของ PT Panca
5). กลุ่มนายโซลิสติโอ อับดุล อเล็กถือหุ้นร้อยละ 100 ใน PT Panca
ลักษณะรายการ
6.1 บริษัทฯ DSGMSB (มาเลเซีย-ผลิต) และ PTDSG (อินโดนีเซีย) ขายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปให้ PT Panca เป็น
ตัวแทนจำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียวในประเทศอินโดนีเซียให้กับบริษัทฯและบริษัทย่อย
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 202.275 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 51.734 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นรายการทางการค้าปกติ โดยมีนโยบายการกำหนดราคาโดยคำนวณจากราคาขายปลีกหักกำไร
ที่ได้รับจากการขายต่อ ซึ่งเป็นนโยบายการกำหนดราคาเดียวกับผู้จัดจำหน่ายที่เป็นบุคคลภายนอก ทั้งนี้ราคาดังกล่าวจะต้อง
ไม่ต่ำกว่าราคาที่คำนวณได้โดยใช้วิธีราคาทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม ซึ่งอัตราขั้นต่ำของกำไรส่วนเพิ่มดังกล่าวเป็นอัตราเดียวกับที่
ขายให้บุคคลภายนอก
6.2 PT Panca เป็นลูกหนี้การค้าของบริษัทฯ DSGMSB (มาเลเซีย-ผลิต) และ PTDSG (อินโดนีเซีย) ทั้งนี้ บริษัทฯ
DSGMSB (มาเลเซีย-ผลิต) และ PTDSG (อินโดนีเซีย) ให้เครติดเทอมในการชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ PT Panca เป็นเวลา
120 วัน
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 91.147 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 76.803 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นรายการทางการค้าปกติ
6.3 PT Panca เป็นลูกหนี้ของ PTDSG (อินโดนีเซีย) เนื่องจาก PTDSG (อินโดนีเซีย) ขายบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุ
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กขนาดเล็กให้แก่ PT Panca ทั้งนี้ PTDSG (อินโดนีเซีย) ให้เครติดเทอมในการชำระค่าสินค้าดังกล่าว
แก่ PT Panca เป็นเวลา 120 วัน
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 0.241 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 0.237 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเกิดจากการดำเนินธุรกิจปกติ ทั้งนี้ยอดคงเหลือที่เกินกำหนดชำระของรายการดังกล่าว ทั้งนี้ยอด
ลูกหนี้ดังกล่าวได้รับการชำระแล้วในเดือนมิถุนายน ปี 2549
6.4 PT Panca เป็นเจ้าหนี้ของ บริษัทฯและ PTDSG (อินโดนีเซีย) เนื่องจาก PT Pancaได้ สำรองจ่ายค่าโฆษณาและ
ค่าส่งเสริมการจำหน่ายต่างๆแทนบริษัทฯและ PTDSG โดยบริษัทฯและ PTDSG จะชำระคืนในภายหลัง
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 7.894 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 4.690 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเกิดจากการดำเนินธุรกิจปกติ
7. คุณสุวรรณา อนุวงศ์นุเคราะห์และคณะบุคคลสุวรรณาและบุตร
ความสัมพันธ์ 1). คุณสุวรรณา อนุวงศ์นุเคราะห์และคู่สมรสถือหุ้นร้อยละ 11.50 ใน บริษัทฯ (สัดส่วนการถือหุ้นจะ
ลดลงเหลือร้อยละ 9.20 ภายหลังจาก IPO)
2). คุณสุวรรณา อนุวงศ์นุเคราะห์เป็นภรรยาของคุณประพันธ์ อนุวงศ์นุเคราะห์ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไป
อาวุโสของบริษัทฯ
3). คุณสุวรรณา อนุวงศ์นุเคราะห์เป็นมารดาของคุณไพรัช อนุวงศ์นุเคราะห์ซึ่งเป็นกรรมการและผู้จัดการ
ทั่วไปของบริษัทฯ
4). คุณสุวรรณา อนุวงศ์นุเคราะห์เป็นผู้จัดการของคณะบุคคลสุวรรณาและบุตร
ลักษณะรายการ
7.1 บริษัทฯ จ่ายค่าเช่าสำนักงานและคลังเก็บสินค้าให้แก่คุณสุวรรณา อนุวงศ์นุเคราะห์และคณะบุคคลสุวรรณาและบุตร
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 2.136 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 0.534 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
บริษัทฯ เคยทำการประเมินราคาตลาดของค่าเช่าในบริเวณดังกล่าวเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว และเห็นว่าค่าเช่าดังกล่าว
มีความสมเหตุสมผลในขณะนั้น ทั้งนี้คุณสุวรรณามิได้เพิ่มค่าเช่าในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จึงเห็นว่าค่าเช่าในปัจจุบัน
น่าจะต่ำกว่าราคาตลาดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานทางธุรกิจของ บริษัทฯ

8. บริษัท พีที ดีเอสจี เซอยา มาส อินโดนีเซีย (PTDSG (อินโดนีเซีย))
ความสัมพันธ์ 1). PTDSG (อินโดนีเซีย) เป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยบริษัทฯถือหุ้นร้อยละ 60 ใน PTDSG
(อินโดนีเซีย) และส่วนที่เหลือร้อยละ 40 ถือหุ้นโดย นายโซลิสติโอ อับดุล อเล็ก ผู้ถือหุ้นชาวอินโดนีเซีย
2). มีกรรมการร่วมกันคือนายว่อง โป วา
ลักษณะรายการ
8.1 DSGT ให้เงินกู้ยืมแก่ PTDSG (อินโดนีเซีย) โดยมีอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 8 ต่อปี ชำระเป็นรายเดือน และมี
กำหนดชำระคืนเงินต้นภายใน 36 เดือนหรือภายในเดือนพฤศจิกายน 2550
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการตรวจสอบ ณ 31 ธ.ค. 48 เท่ากับ 113.000 ล้านบาท
มูลค่าของรายการจากงบการเงินรวมที่ได้รับการสอบทาน ณ 31 มี.ค. 49 เท่ากับ 107.144 ล้านบาท
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ/ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเป็นรายการที่สมเหตุสมผลเนื่องจากเป็นการช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่บริษัทย่อย และประโยชน์
ต่อการดำเนินงานทางธุรกิจของบริษัทย่อย เนื่องจากเงินกู้ดังกล่าวนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ การให้กู้ยืมดังกล่าว
กระทำขึ้นในระหว่างการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทซึ่งในขณะที่มีการให้กู้ยืมดังกล่าวนั้น บริษัทฯถือหุ้นทั้งหมดใน PTDSG
(อินโดนีเซีย) แต่ภายหลังการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัท บริษัทฯถือหุ้นใน PTDSG (อินโดนีเซีย) เพียงร้อยละ 60 การให้กู้ยืม
จึงไม่ได้เป็นการให้กู้ยืมตามสัดส่วนการถือหุ้น ดังนั้นบริษัทฯจึงดำเนินการให้ผู้ถือหุ้นที่เหลือใน PTDSG (อินโดนีเซีย) นำหุ้น
PTDSG (อินโดนีเซีย) ที่ตนเองถืออยู่มาจำนำต่อบริษัทฯในการกู้ยืมเงินดังกล่าวของ PTDSG (อินโดนีเซีย) อย่างไรก็ตาม
หากมีการให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทย่อยในอนาคตบริษัทฯจะให้กู้ยืมตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ ที่ประชุมคณะกรรมการ
บริษัทฯครั้งที่ 1 / 2549 เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 49 ได้พิจารณาอนุมัติการเพิ่มทุนของ PTDSG (อินโดนีเซีย) โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน
ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ทั้งนี้บริษัทฯได้แปลงหนี้บางส่วนเป็นทุน ซึ่งทำให้บริษัทฯยังคงรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใน PTDSG (อินโดนีเซีย)
เท่ากับร้อยละ 60 ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นชาวอินโดนีเซียได้ชำระเงินเพิ่มทุนดังกล่าวครบแล้วโดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการนำหุ้นเพิ่มทุน
ในส่วนของผู้ถือหุ้นชาวอินโดนีเซียมาจำนำต่อบริษัทฯ นอกจากนี้ PTDSG (อินโดนีเซีย) ได้ชำระคืนหนี้ให้บริษัทฯเป็นเงินสด
ทำให้ ณ วันที่ 31 พ.ค. 49 มียอดเงินกู้ระหว่างบริษัทฯและ PTDSG (อินโดนีเซีย) จำนวน 74.26 ล้านบาทโดย PTDSG (อินโดนีเซีย)
มีนโยบายที่จะชำระเงินกู้ดังกล่าวภายใน เดือนพฤศจิกายน 2550
 กลับขึ้นบน
อาฟง
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
#2 วันที่: 09/08/2006 @ 08:47:47 : re: DSGT ประเดิมเข้าเทรดวันนี้ IPO3.20
ภาระผูกพัน
1. ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรผลิตผ้าอ้อมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ จำนวนอย่างละ 1 เครื่อง ติดภาระจำนอง
เป็นหลักประกันเงินกู้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งโดยมีมูลค่าจำนองรวม 78 ล้านบาท
2. ที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรผลิตผ้าอ้อมสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่ซื้อมาเพิ่มของบริษัทฯ จำนวนอย่างละ 1
เครื่อง ติดภาระจำนองเป็นหลักประกันเงินกู้กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งโดยมีมูลค่าจำนองรวม 393 ล้านบาท

ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
วัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ได้แก่ เยื่อกระดาษ (Wood Pulp) แผ่นส่ง/กั้นความชื้น
(Non Woven) และสารดูดซับความชื้น (Super Absorbent Polymer: SAP) โดยวัตถุดิบทั้ง 3 ชนิดข้างต้นคิดเป็นกว่าร้อยละ 50
ของต้นทุนวัตถุดิบทั้งหมด วัตถุดิบเหล่านี้มีลักษณะเป็นสินค้า Commodity และเป็นวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นต้นทุน
วัตถุดิบดังกล่าวมีการอ้างอิงกับราคาของตลาดโลกและมีการผันแปรตามหลายปัจจัยเช่น ราคาน้ำมัน เป็นต้น ทั้งนี้ความผันผวน
ของราคาวัตถุดิบจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตและกำไรขั้นต้นของบริษัทฯและบริษัทย่อย
ราคาเยื่อกระดาษ ค่อนข้างคงที่ในปี 2548 และในครึ่งปีแรก ของปี 2549 โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยในกรอบไม่เกิน
ร้อยละ 5 เนื่องจากราคาเยื่อกระดาษได้รับผลกระทบไม่มากนักจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ทั้งนี้ถึงแม้ว่าผู้จำหน่ายบางรายได้
ประกาศขึ้นราคาเยื่อกระดาษ ดังนั้นบริษัทฯคาดว่าราคาจะสูงขึ้นในไตรมาส 3 ปี 2549 นอกจากนี้จากภาวะอุตสาหกรรมคาดว่า
ถึงแม้ว่าความต้องการเยื่อกระดาษในประเทศจีนจะมีสูงขึ้น แต่ผู้ผลิตก็เร่งดำเนินการผลิตเพื่อให้มีเยื่อกระดาษเพียงพอกับความ
ต้องการของผู้บริโภค ทำให้บริษัทฯคาดว่าราคาเยื่อกระดาษจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ราคาสารดูดซับความชื้น (Super Absorbent Polymer: SAP) ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
โดยในครึ่งปีแรกของปี 2549 ราคาสารดูดซับความชื้นเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับปี 2548 อย่างไรก็ตามเนื่องจากบริษัทฯ
และบริษัทแม่ ได้มีการต่อรองราคากับผู้จำหน่ายภายใต้ปริมาณการซื้อขายของกลุ่มบริษัท DSGIF ทำให้บริษัทฯได้รับผลกระทบ
จากการเพิ่มขึ้นของราคา สารดูดซับความชื้นเพียงร้อยละ 9.5 ถึงแม้ว่าราคาของสารดูดซับความชื้นจะสูงแต่ก็ค่อนข้างคงที่ ทั้งนี้
จากการเพิ่มขึ้นของโรงงานและความสามารถในการผลิต โดยเฉพาะในประเทศจีน ทำให้บริษัทฯคาดว่าราคาสารดูดซับความชื้น
จะค่อนข้างคงที่หรือปรับลดลงในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2549
ราคาแผ่นส่ง/กั้นความชื้นข้างคงที่ตั้งแต่ปี 2548 ทั้งนี้ความสามารถในการผลิตวัตถุดิบดังกล่าวในภูมิภาคเอเชียสูงขึ้นโดย
ตลอด ทำให้บริษัทฯไม่คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของราคาวัตถุดิบดังกล่าวในอีก 12 เดือนข้างหน้า
ในปี 2546 ถึงปัจจุบัน บริษัทฯได้ประสบกับปัญหาราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการ
ลดความเสี่ยงและผลกระทบจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบดังกล่าว DSGIF ในฐานะเป็นบริษัทแม่ได้เจรจาต่อรองกับผู้จัด
จำหน่ายวัตถุดิบให้กับบริษัทในเครือทั้งหมด (รวมถึงบริษัทฯและบริษัทย่อย) โดย DSGIF ได้เข้าทำสัญญาซื้อวัตถุดิบล่วงหน้าจาก
ผู้จัดจำหน่ายหลายรายโดยตกลงราคาและจำนวนวัตถุดิบที่จะซื้อทั้งหมดในระยะเวลา 6 ? 12 เดือนโดยบริษัทในเครือจะส่ง
ปริมาณวัตถุดิบที่ต้องการสั่งซื้อไปยัง DSGIF เพื่อรวบรวมและส่งคำสั่งซื้อไปยังผู้จัดจำหน่าย ทั้งนี้การจัดส่งวัตถุดิบและการเรียก
เก็บเงินจะกระทำระหว่างผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบแต่ละรายกับบริษัทที่มีความต้องการซื้อวัตถุดิบโดยตรง การทำสัญญาดังกล่าวช่วย
ให้บริษัทฯและบริษัทย่อยสามารถประมาณต้นทุนวัตถุดิบและลดความผันผวนในการบริหารต้นทุนและสามารถบริหารวัตถุดิบ
คงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นประโยชน์ในการวางแผนด้านรายได้ต่อไป อย่างไรก็ตามการกระจายการสั่งซื้อและการเข้า
ทำสัญญาซื้อวัตถุดิบล่วงหน้าดังกล่าวข้างต้นมิได้เป็นการประกันว่าบริษัทฯและบริษัทย่อยจะสามารถกำจัดความผันผวนของราคา
วัตถุดิบได้ทั้งหมด

2. ความเสี่ยงจากการพึ่งพา DSGIF ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
บริษัทฯเป็นบริษัทย่อยของ DSGIF ที่ดำเนินธุรกิจและมีบริษัทในเครือที่ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูป
สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ บริษัทฯและบริษัทย่อยต้องพึ่งพา DSGIF ในการดำเนินกิจการดังนี้
1) การจัดหาวัตถุดิบ: DSGIF ได้เข้าทำสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อวัตถุดิบของทั้งกลุ่มบริษัทในเครือของ DSGIF กับผู้จัด
จำหน่ายวัตถุดิบ โดยสัญญาดังกล่าวครอบคลุมถึงการซื้อวัตถุดิบของบริษัทฯและบริษัทย่อยด้วย การรวมความต้องการวัตถุดิบ
ดังกล่าวเป็นการสร้างอำนาจการต่อรองในการเจรจากับผู้จัดจำหน่าย ทั้งนี้ราคาของวัตถุดิบที่ DSGIF ได้ตกลงไว้กับผู้จัดจำหน่าย
วัตถุดิบอาจแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เนื่องจากความต้องการและค่าขนส่งในแต่ละภูมิภาคไม่เท่ากัน
2) การวิจัยและพัฒนา : การวิจัยและพัฒนา ของบริษัทฯและบริษัทย่อยจะกระทำโดย DSGIF ซึ่งเป็นบริษัทแม่ โดย
บริษัทแม่ได้พยายามพัฒนา และ/หรือสรรหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อผลิตภัณฑ์ใหม่หรือเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ชนิดใหม่ ทั้งนี้บริษัทฯและบริษัทย่อยสามารถใช้หรือประยุกต์นวัตกรรมใหม่หรือวัตถุดิบใหม่ที่พัฒนาได้
หากบริษัทฯและบริษัทย่อยเห็นว่านวัตกรรมหรือวัตถุดิบดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯและบริษัทย่อย
ทั้งนี้ DSGIF จะเรียกเก็บค่าใช้นวัตกรรมหรือวัตถุดิบดังกล่าวในราคาทุนสำหรับบริษัทในเครือของ DSGIF
3) การให้บริการการบริหารจัดการ : DSGIF ให้ความช่วยเหลือบริษัทฯและบริษัทย่อยในด้านการบริหารจัดการ ทั้งใน
ด้านการเงิน (ศึกษาโครงสร้างทางการเงินและให้คำแนะนำตลอดจนให้การสนับสนุนในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการ
ขยายธุรกิจ) การดำเนินงาน (ติดตามและให้การสนับสนุนด้านการบริหารงานในการดำเนินธุรกิจปกติ) การประชาสัมพันธ์
(วางแผนการตลาดและกิจกรรมเสริมสร้างความรู้จักในยี่ห้อผลิตภัณฑ์ (Brand Building Campaign)) งานเลขานุการ (ดูแล
ให้บริษัทฯและบริษัทย่อยปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง) งานทรัพยากรบุคคล (จัดให้มีการฝึกอบรม
พนักงานที่เหมาะสม) โดยบริษัทฯและบริษัทย่อยจะจ่ายค่าบริการดังกล่าวในรูปของค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management
Fees) อย่างไรก็ตาม อัตราค่าธรรมเนียมการจัดการของบริษัทฯและบริษัทย่อยในประเทศไทยสูงกว่าบริษัทย่อยอื่นเนื่องจากเป็น
บริษัทร่วมทุน (Joint Venture) ระหว่าง DSGIF และหุ้นส่วนท้องถิ่น (Local Partner) โดยบริษัทแม่ได้ให้บริการแก่บริษัทฯและ
บริษัทย่อยในประเทศไทยมากกว่าบริษัทย่อยในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีลักษณะเป็นบริษัทร่วมทุนเช่นกัน เนื่องจากหุ้นส่วน
ท้องถิ่นในประเทศอินโดนีเซียได้ให้ความช่วยเหลือในด้านการจัดการแก่บริษัทในอินโดนีเซีย ทั้งนี้สัญญาดังกล่าวจะต่ออาย
อัตโนมัติ ยกเว้นในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความประสงค์จะยกเลิกสัญญา เป็นลายลักษณ์อักษรให้คู่สัญญาทราบ
ล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 12 เดือนก่อนวันสิ้นสุดสัญญา ซึ่งหากมีการยกเลิกสัญญาจริงระยะเวลาดังกล่าวน่าจะเพียงพอที่บริษัทฯ
และบริษัทย่อย จะสามารถปรับปรุงและเตรียมพร้อมในการบริหารจัดการด้วยตนเอง
4) การให้สิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า : DSGIF ได้อนุญาตให้บริษัทฯและบริษัทย่อย ใช้เครื่องหมายการค้าที่
DSGIF เป็นเจ้าของ โดยบริษัทฯและบริษัทย่อยจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวในรูปของค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้า
(Royalty Fees) ทั้งนี้บริษัทฯและบริษัทย่อยในประเทศไทยและมาเลเซียได้รับการผ่อนผันยกเว้นค่าธรรมเนียมสิทธิใน
การใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปี นับจากวันที่ 1 มกราคม 2548 ซึ่งหากบริษัทฯและบริษัทย่อย ไม่ได้รับสิทธิ
ในการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวข้างต้น อัตรากำไรสุทธิในปี 2548 ของบริษัทฯและบริษัทย่อยจะลดลงจากร้อยละ
4.68 เหลือร้อยละ 1.88
5) การให้การสนับสนุนทางการเงิน : DSGIF ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่บริษัทฯและบริษัทย่อย เช่น การให้
กู้ยืมเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน การให้กู้ยืมเพื่อซื้อเครื่องจักร โดยไม่มีกำหนดเวลาชำระคืน ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 บริษัทฯ
และบริษัทย่อย มียอดการกู้ยืมสุทธิหลังหักยอดที่ DSGIF และบริษัทในเครือเป็นลูกหนี้บริษัทฯและบริษัทย่อยเท่ากับ 20.62
ล้านบาท
จากการพึ่งพา DSGIF ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นว่าหากบริษัทฯหรือบริษัทย่อยไม่ได้รับการสนับสนุนจาก DSGIF
แล้ว ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินการของบริษัทฯหรือบริษัทย่อยอาจได้รับผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม
ในฐานะที่ DSGIF เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ บริษัทฯเชื่อว่า DSGIF ย่อมพร้อมให้การสนับสนุนในเรื่องการดำเนินงานใน
ด้านต่างๆของบริษัทฯและบริษัทย่อยอย่างต่อเนื่อง

3. ความเสี่ยงจากการที่บริษัทที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ DSGIF ดำเนินธุรกิจเดียวกัน
DSGIF ซึ่งเป็นบริษัทแม่มีบริษัทในเครืออื่นนอกเหนือจากบริษัทฯและบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจเดียวกับธุรกิจผลิตและ
จำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เช่นเดียวกับบริษัทฯและบริษัทย่อยจึงอาจถือได้ว่ามีการแข่งขันกันทางธุรกิจ โดย
บริษัทในเครือดังกล่าวซึ่ง DSGIF เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา (จำนวน 2 บริษัท) ฮ่องกง (จำนวน 1 บริษัท) และ
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จำนวน 1 บริษัท) นอกจากนี้กรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทฯและบริษัทย่อยบางท่านดำรงตำแหน่ง
เป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่เกี่ยวข้อง
DSGIF ได้กำหนดขอบเขตการตลาดสำหรับบริษัทในเครือไว้อย่างชัดเจน โดย DSGIF ได้มีหนังสือรับรอง (Undertaking
Letter) ถึง DSGT ยืนยันว่า DSGIF และบริษัทในเครือของ DSGIF จะไม่ทำการแข่งขันหรือยินยอมหรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้
เครื่องหมายการค้าเพื่อมาแข่งขันกับ DSGT และบริษัทย่อยของ DSGT ในเขตที่ DSGT และบริษัทย่อย ได้รับสิทธิในการใช้
เครื่องหมายการค้า (Licensed Territory) ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ เว้นแต่การขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะ
กระทำผ่าน DSGT และ/หรือบริษัทย่อย ทั้งนี้จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว นอกจากนี้การที่
บริษัทฯและบริษัทย่อยมีโรงงานผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปกระจายอยู่ถึงสามประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้บริษัทฯ
และบริษัทย่อยได้เปรียบ DSGIF และบริษัทในเครือของ DSGIF ในการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจาก
สามารถบริหารต้นทุนค่าขนส่งที่ใช้ในการส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า และจากการที่บริษัทฯและบริษัทย่อยซึ่งตั้งอยู่ใน
ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียน (ASEAN) ทำให้บริษัทฯและบริษัทย่อยได้รับประโยชน์
จากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีของอาเซียนหรืออาฟต้า (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ซึ่งรวมถึงการลดภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่
บริษัทฯหรือบริษัทย่อยส่งออกไปยังประเทศสมาชิก ASEAN อื่น จากเหตุผลดังกล่าวบริษัทฯและบริษัทย่อยเชื่อว่าบริษัทฯและ
บริษัทย่อยมีศักยภาพในการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหนือกว่า DSGIF และบริษัทในเครือของ DSGIF
บริษัทฯและบริษัทย่อยอาจพิจารณาส่งออกสินค้าไปยังประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หากมีกำลังการผลิต
เหลือจากการขายในภูมิภาค ซึ่งในปัจจุบันการส่งออกสินค้าไปยังประเทศนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปริมาณน้อย
อย่างไรก็ตามการจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศ (นอกเหนือจากประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย) ที่มีบริษัทใน
เครือของ DSGIF เป็นตัวแทนจำหน่าย บริษัทฯและบริษัทย่อยจะต้องจำหน่ายผ่านตัวแทนในประเทศนั้นเท่านั้น ทั้งนี้บริษัทฯและ
บริษัทย่อยมีนโยบายการกำหนดราคาขายทั้งที่เป็นการขายผ่านหรือไม่ผ่านตัวแทนจำหน่ายที่เป็นบริษัทในเครือของ DSGIF ตาม
หลักเกณฑ์เดียวกัน โดยกำหนดอัตรากำไรขั้นต่ำเท่ากัน

4. ความเสี่ยงจากการแข่งขันในตลาด
ตลาดผ้าอ้อมสำเร็จรูปในปัจจุบันมีการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งการแข่งขันด้านราคา
และการนำกลยุทธ์ทางการตลาดต่างๆมาใช้ คู่แข่งในตลาดที่สำคัญของบริษัทฯและบริษัทย่อยได้แก่ 1) บริษัท ยูนิชาร์ม จำกัด
(UNCH) ผู้ผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กยี่ห้อมามี่โพโค 2) บริษัท เอส ซี เอ จำกัด (SCA) ผู้ผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับ
เด็กยี่ห้อดรายส์เพอร์ ในภูมิภาคเอเชีย 3) บริษัท คิมเบอร์ลี่ คลากส์ จำกัด (KMB) ผู้ผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กยี่ห้อฮักกี้
และ 4) บริษัท เดอะ พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล จำกัด (P&G) ผู้ผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กยี่ห้อแพมเพอร์ ซึ่งทั้งสี่บริษัท
เป็นบริษัทใหญ่ที่มีอิทธิพลในการกำหนดราคาและปริมาณการขาย อีกทั้งมีงบประมาณการโฆษณาสูง นอกจากนี้ อาจมีผู้ประกอบการ
ซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเด็กเข้ามาเป็นคู่แข่งรายใหม่ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ โดยจากการทำการสำรวจตลาดของ
AC Neilsen ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2549 บริษัทฯและบริษัทย่อยมีส่วนแบ่งตลาดสำหรับตลาดผ้าอ้อมสำเร็จรูป
สำหรับเด็กในประเทศไทยร้อยละ 19.00 เป็นที่ 2 รองจาก UNCH ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 46.00 สำหรับ SCA KMB และ
P&G มีส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับร้อยละ 11.90 ร้อยละ 7.80 และร้อยละ 6.30 ตามลำดับ สำหรับส่วนแบ่งตลาดผ้าอ้อมสำเร็จรูป
สำหรับเด็กในมาเลเซีย บริษัทฯและบริษัทย่อยมีส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับร้อยละ 10.50 เป็นที่ 3 รองจากยี่ห้อ SCA และ P&G
ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28.60 และร้อยละ 10.60 ตามลำดับ สำหรับ KMB มีส่วนแบ่งการตลาดเท่ากับร้อยละ 9.30 สำหรับ
ตลาดผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ในประเทศไทย บริษัทฯเป็นผู้นำตลาดโดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 67.60
เพื่อที่จะรักษาส่วนแบ่งตลาดและความเป็นผู้นำของตลาดผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ ตลอดจนการก้าวขึ้นมาเป็น
ผู้นำของตลาดผ้าอ้อมสำหรับเด็ก บริษัทฯและบริษัทย่อยได้เพิ่มงบประมาณทางการตลาด ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและ
ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาดเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นลูกค้าปัจจุบันของบริษัทฯและบริษัทย่อยระลึกถึงผลิตภัณฑ์ของ
บริษัทฯ และบริษัทย่อย (Brand Awareness) นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยให้ผู้บริโภคกลุ่มใหม่รู้จักสินค้าของบริษัทฯและบริษัทย่อย
เพิ่มมากขึ้นด้วย (Brand Building) การเพิ่มค่าใช้จ่ายดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ และ
บริษัทย่อย หากการโฆษณาและแผนส่งเสริมทางการตลาดของบริษัทฯและบริษัทย่อยมีผลทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นน้อยกว่าค่าใช้จ่าย
ทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสนับสนุนบริษัทฯและบริษัทย่อยในด้านการลงทุนส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และ
บริษัทย่อย DSGIF ได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้เครื่องหมายการค้า (Royalty Fees) กับผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศไทยและ
มาเลเซียเป็นเวลา 5 ปี เริ่มต้นในปี 2548
นอกจากนี้คุณสมบัติของผ้าอ้อมสำเร็จรูปยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ
และบริษัทย่อย ดังนั้นบริษัทฯและบริษัทย่อยซึ่งได้รับใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001:2000 จึงมี
กระบวนการควบคุมการผลิตให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กำหนดไว้และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค อีกทั้ง
DSGIF ในฐานะบริษัทแม่ได้พยายามศึกษาและค้นคว้าวิจัยเพื่อสรรหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพ
เหนือคู่แข่ง ทั้งในด้านการซึมซับที่ดี การป้องกันการรั่วซึม และการลดผดผื่นคัน เป็นต้น

5. ความเสี่ยงจากการผิดสัญญาการอนุญาตให้ใช้แบบผลิตภัณฑ์ขอบขาด้านในของผ้าอ้อมสำเร็จรูป (Leg Cuff Design)
ปัจจุบัน บริษัทฯ และบริษัทย่อยดำเนินการผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปโดยใช้แบบผลิตภัณฑ์ขอบขาด้านในภายใต้สิทธิบัตร
ที่กำหนดในสัญญาระหว่าง DSGIF ในฐานะบริษัทแม่ของบริษัทฯ กับบริษัท เดอะ พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล จำกัด (P&G)
ซึ่งกำหนดให้บริษัทในเครือของ DSGIF ซึ่งรวมถึงบริษัทฯ และบริษัทย่อย (ทั้งนี้ไม่ครอบคลุมถึง PTDSG (อินโดนีเซีย))
มีสิทธิในการใช้แบบผลิตภัณฑ์ขอบขาด้านในสำหรับผ้าอ้อมสำเร็จรูปภายใต้สิทธิบัตรที่ P&G เป็นเจ้าของ ทั้งนี้ DSGIF
จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทฯและบริษัทย่อยในอัตราเดียวกับที่ DSGIF ต้องชำระให้ P&G เพื่อนำส่งให้แก่ P&G ต่อไป
ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางการตลาดของบริษัทฯและบริษัทย่อย
แม้ว่าบริษัทฯ และบริษัทย่อยจะได้ชำระค่าธรรมเนียมสิทธิในการใช้แบบผลิตภัณฑ์ขอบขาด้านในสำหรับผ้าอ้อมสำเร็จรูป
ให้แก่ DSGIF ครบตามจำนวนก็ตาม บริษัทฯและบริษัทย่อยอาจมีความเสี่ยงที่จะถูกระงับสิทธิในการใช้แบบผลิตภัณฑ์ขอบขา
ด้านในสำหรับของผ้าอ้อมสำเร็จรูปหาก DSGIF ไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมได้ครบถ้วนตามจำนวนที่กำหนดในสัญญาอัน
เนื่องมาจากกรณีที่ DSGIF และ/หรือบริษัทในเครืออื่นชำระค่าธรรมเนียมล่าช้าหรือไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่กำหนด ซึ่งจะส่ง
ผลให้ DSGIF ผิดนัดชำระหนี้ และ P&G อาจบอกเลิกสัญญา และส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทในเครือจะไม่สามารถผลิตผ้าอ้อม
สำเร็จรูปโดยใช้แบบผลิตภัณฑ์ขอบขาด้านในภายใต้สิทธิบัตรได้ อย่างไรก็ตามโอกาสที่ DSGIF จะผิดนัดชำระหนี้ จนทำให้
P&G บอกเลิกสัญญานั้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจของ DSGIF ทั้งหมด
ทั้งนี้สิทธิบัตรที่บริษัทฯและบริษัทย่อยใช้จะหมดอายุในวันที่ 31 ตุลาคม 2550

6. ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัทฯ และบริษัทย่อยอาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุน
วัตถุดิบและกำไรขั้นต้นของบริษัทฯและบริษัทย่อย เนื่องจากบริษัทฯและบริษัทย่อยมีการสั่งซื้อวัตถุดิบต่างๆที่ใช้ในการผลิต ได้แก่
เยื่อกระดาษ (Wood Pulp) เทปกาว (Fastening Tape, Release Tape, และ Frontal Tape) หรือยางยืด (Waist Elastic) เป็นต้น ทั้งนี้
มูลค่าการนำเข้าและส่งออกของบริษัทฯ และบริษัทย่อยกว่าร้อยละ 90 เป็นเงินเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามผลกระทบจากความผัน
ผวนของอัตราแลกเปลี่ยนจากการสั่งซื้อวัตถุดิบดังกล่าวบางส่วนจะถูกชดเชยด้วยรายได้จากการส่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และ
บริษัทย่อยออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งจะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน (Natural Hedge)
ถึงแม้ว่าปัจจุบัน บริษัทฯและบริษัทย่อยจะมีรายได้จากการส่งออกคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.79 ของรายได้จากการขาย
ทั้งหมด แต่ทั้งนี้ด้วยกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเครื่องจักรจำนวน 2 เครื่องที่ซื้อเพิ่มเติมในประเทศไทยทำให้บริษัทฯ สามารถ
บริหารสัดส่วนการขายภายในประเทศและการส่งออกผลิตภัณฑ์ให้ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนน้อยที่สุด
นอกจากผลกระทบที่มีต่อต้นทุนวัตถุดิบหลักแล้ว ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังส่งผลกระทบต่อการแสดงงบ
การเงินรวมของบริษัทฯ ด้วยเนื่องจากบริษัทฯต้องบันทึกการลงทุนในบริษัทย่อยต่างๆในงบการเงินของบริษัทฯ เป็นเงินบาท
จากงบการเงินระหว่างกาลสำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 บริษัทฯและบริษัทย่อย ไม่มียอดเงินกู้ยืม
ระยะสั้นและระยะยาวที่เป็นเงินเหรียญสหรัฐทั้งหมด และบริษัทฯและบริษัทย่อยไม่มีการทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ล่วงหน้า (Forward Contract) แต่ประการใด

7. ความเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และปัจจัยอื่นๆ ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บริษัทฯมีบริษัทย่อยซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย
และสิงคโปร์โดยมียอดขายคิดเป็นประมาณร้อยละ 48.88 ของยอดขายทั้งหมดของบริษัทฯ จากงบการเงินระหว่างกาล สำหรับ
งวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ การเมือง การต่อต้านการก่อการร้าย
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี การกีดกันทางการค้าของประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือสิงคโปร์ อาจส่งผลกระทบต่อ
การดำเนินงานของบริษัทฯและบริษัทย่อย
อย่างไรก็ตามบริษัทฯและบริษัทย่อยเชื่อว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของ
บริษัทฯและบริษัทย่อยไม่มากนักเนื่องจากผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯและบริษัทย่อยเป็นสินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีความจำเป็นต่อ
การดำรงชีวิตของประชาชนทั่วไป ซึ่งน่าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวน้อยกว่าสินค้าฟุ่มเฟือย นอกจากนี้ บริษัทฯและ
บริษัทย่อยยังมีผลิตภัณฑ์ในระดับต่างๆ ทั้งในระดับบน ระดับกลางและระดับล่างเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้ครอบคลุม
ทุกกลุ่มด้วย
นอกจากนี้ DSGML (มาเลเซีย-จำหน่าย) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะอนุกรรมการการลงทุนโดยชาวต่างชาติ
(Foreign Investment Committee: FIC) ได้ประกาศใช้แนวทางการลงทุนของชาวต่างชาติ (FIC Guideline) โดยกำหนดให้มี
ชาวมาเลเซีย (Bumiputera) ถือหุ้นในนิติบุคคลสัญชาติมาเลเซียอย่างน้อยร้อยละ 30 อย่างไรก็ตาม FIC Guideline เป็นเพียง
แนวทางให้บริษัทที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลปฏิบัติตาม มิใช่การบังคับใช้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ในกรณีที่ FIC Guideline มีผลบังคับ
ใช้เป็นกฎหมาย DSGML (มาเลเซีย-จำหน่าย) จะดำเนินการต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป

8. ความเสี่ยงจากการมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50
บริษัทฯมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งคือ DSGIF ซึ่งมีนายหวัง แบรนดอน ซุย-หลิง และครอบครัวถือหุ้นร้อยละ 49.07
ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วของ DSGIF ทำให้นายหวัง แบรนดอน ซุย-หลิง เป็นผู้มีอำนาจควบคุมใน DSGIF ตาม
คำจำกัดความในประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 44/2543 เรื่องการยื่นและการยกเว้นการยื่น
แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2543 (รวมถึงที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม)
DSGIF ถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวน 197.21 ล้านหุ้น หรือร้อยละ 82.17 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ
ก่อนการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน ทั้งนี้ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกใหม่ให้แก่ประชาชนในครั้งนี้ (IPO)
สัดส่วนการถือหุ้นของ DSGIF ในบริษัทฯลดลงเหลือร้อยละ 65.74 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ทั้งนี้
สัดส่วนการถือหุ้นที่มากกว่ากึ่งหนึ่งดังกล่าวทำให้ DSGIF สามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เกือบทั้งหมด เช่น เรื่องการ
แต่งตั้งกรรมการ หรือการขอมติในเรื่องอื่นที่ต้องใช้เสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ยกเว้นเรื่องที่กฎหมายหรือข้อบังคับ
บริษัทกำหนดให้ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้นผู้ถือหุ้นรายอื่นจึงอาจไม่สามารถรวบรวมคะแนนเสียง
เพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เสนอได้

กรณีพิพาท -ไม่มี-

จำนวนพนักงาน
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 บริษัทฯมีพนักงานจำนวน 330 คน และบริษัทย่อยมีพนักงานจำนวนทั้งหมด 311 คน

ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
ปี 2537
- เดือนพฤษภาคม จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก
และผู้ใหญ่
- นำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กยี่ห้อฟิตตี้ เพ็ทเพ็ท เพื่อจำหน่ายในประเทศ
- เดือนตุลาคม ก่อสร้างโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และ
ติดตั้งเครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก 1 เครื่องซึ่งมีกำลังผลิต 97.64 ล้านชิ้นต่อปี
- ลงทุนซื้อหุ้นสามัญรวมร้อยละ 49 ในบริษัท แอ๊ดว้านซ์ เวชภัณฑ์ จำกัด (AMS (ไทย)) ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทฯ
ในการจำหน่ายสินค้าในประเทศ จากครอบครัวอนุวงศ์นุเคราะห์
- นำเข้าเครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ 1 เครื่อง โดยใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ภายใต้ยี่ห้อดิสโป้123
แฮนดี้ เซอร์เทนตี้การ์ด และเซอร์เทนตี้ โดยเครื่องจักรดังกล่าวมีกำลังการผลิต 45.20 ล้านชิ้นต่อปี
ปี 2538
- นำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กยี่ห้อเบบี้เลิฟ เพื่อจำหน่ายและขยายตลาดผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็ก
ในประเทศ
- เริ่มผลิตและจำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กภายในประเทศ
- เริ่มผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ยี่ห้อดิสโป้123
ปี 2540
- เริ่มผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ยี่ห้อแฮนดี้
ปี 2543
- เริ่มผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กยี่ห้อฟิตตี้เบสิคและผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ยี่ห้อ
เซอร์เทนตี้
ปี 2544
- เดือนกุมภาพันธ์ บริษัทฯได้รับใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001:2000
- เริ่มผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ยี่ห้อเซอร์เทนตี้การ์ด
ปี 2545
- เดือนตุลาคม ซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในเขตประกอบการอุตสาหกรรม เอส ไอ แอล จังหวัดสระบุรี
ปี 2546
- เดือนพฤษภาคม ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนเพื่อโยกย้ายสถานประกอบการจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ทำให้บริษัทฯได้รับผลประโยชน์ทางภาษีจากรายได้ที่มาจากการประกอบธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ปี 2547
- เดือนกรกฎาคม เริ่มย้ายเครื่องจักรที่มีอยู่ 2 เครื่องจากโรงงานเดิมที่นิคมอุตสาหกรรม บางปู มาติดตั้งที่โรงงาน
แห่งใหม่
- เดือนสิงหาคม เริ่มการผลิตสินค้าจากเครื่องจักรที่ย้ายมาจากนิคมอุตสาหกรรมบางปู
- เดือนกันยายน ซื้อเครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่ใช้แล้วเพิ่มอย่างละ 1 เครื่อง ซึ่ง
ภายหลังจากที่เครื่องจักรทั้งสองเครื่องดำเนินการผลิตได้บริษัทฯจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 200.70 ล้านชิ้นต่อปี และ 90.40
ล้านชิ้นต่อปีตามลำดับ
- เดือนพฤศจิกายน ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำหรับเครื่องจักรที่ซื้อ
เพิ่มเติมทั้ง 2 เครื่อง
- เดือนธันวาคม เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 25 ล้านบาท เป็น 200 ล้านบาท โดยการออกหุ้นเพิ่มทุนเสนอขายแก่
ผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 1.75 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท โดยชำระค่าหุ้นส่วนหนึ่งจำนวน 1.03 ล้านหุ้นด้วยเงินสด และ
ชำระค่าหุ้นอีกส่วนหนึ่งจำนวน 0.72 ล้านหุ้นด้วยทรัพย์สิน ซึ่งได้แก่หุ้นของบริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด (มาเลเซีย) เอสดีเอน
บีเอชดี (DSGML (มาเลเซีย - จำหน่าย)) บริษัท ดีเอสจี (มาเลเซีย) เอสดีเอน บีเอชดี (DSGMSB (มาเลเซีย - ผลิต)) บริษัท
พีที ดีเอสจี เซอยา มาส อินโดนีเซีย (PTDSG (อินโดนีเซีย)) และบริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด (เอส) พีทีอี ลิมิเต็ด (DSGS
(สิงคโปร์)) และซื้อหุ้นสามัญที่เหลือร้อยละ 51 ในบริษัท แอ๊ดว้านซ์ เวชภัณฑ์ จำกัด (AMS (ไทย)) จากครอบครัวอนุวงศ์นุเคราะห์
ทำให้ภายหลังจากการเพิ่มทุนและการซื้อหุ้นส่วนที่เหลือของ AMS (ไทย) ดังกล่าว บริษัทฯจะถือหุ้นทั้งหมดใน DSGML
(มาเลเซีย - จำหน่าย) DSGMSB (มาเลเซีย - ผลิต) DSGS (สิงคโปร์) และ AMS (ไทย) และจะถือหุ้นร้อยละ 60 ใน PTDSG
(อินโดนีเซีย) (รวมเรียกทั้ง 5 บริษัทว่า บริษัทย่อย) เพื่อที่จะทำให้การจำหน่ายสินค้าของบริษัทฯและบริษัทย่อยสามารถ
ครอบคลุมได้ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น
- จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน และเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ จากหุ้นละ 100 บาทเป็นหุ้นละ 1.00 บาท
ปี 2548
- เดือนมกราคม เริ่มการผลิตสินค้าจากเครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กที่ซื้อเพิ่ม
- เดือนกุมภาพันธ์ โอนธุรกิจเกี่ยวกับการบริการด้านการตลาดและการจัดจำหน่ายที่ AMS (ไทย) กระทำอยู่ให้แก่บริษัทฯ
เป็นที่เรียบร้อย
- เดือนมีนาคม ติดตั้งเครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ที่ซื้อเพิ่มแล้วเสร็จ
- เดือนเมษายน เริ่มการผลิตสินค้าจากเครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ที่ซื้อเพิ่ม
ปี 2549
- เดือนมิถุนายนเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 200 ล้านบาท เป็น 300 ล้านบาท โดยการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่จำนวน 40
ล้านหุ้นเพื่อรองรับการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 เป็นหุ้นสามัญในอัตราหุ้นเดิม 5 หุ้นต่อหุ้นปันผล 1 หุ้น
คิดเป็นเงินปันผล 40 ล้านบาท และจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 60 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท เพื่อเสนอขายต่อ
ประชาชน ทำให้ภายหลังจากการเพิ่มทุนดังกล่าวบริษัทฯมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 300 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 300
ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1.00 บาท และมีทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วมูลค่า 300 ล้านบาท

เงินลงทุนในบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 ปรากฏดังนี้
บริษัทร่วม/บริษัทที่เกี่ยวข้อง หน่วย: ล้านบาท
ประเภทกิจการ ทุนชำระแล้ว ร้อยละ มูลค่าเงินลงทุน
ชื่อบริษัท และลักษณะธุรกิจ ของหุ้นที่ถือ (ตามราคาทุน)
1. บริษัท แอ๊ดว้านซ์ เวชภัณฑ์ จำกัด จำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูป 4.00 ล้านบาท 99.85 7.557
2. บริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด จำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูป 3.00 ล้านริงกิต 100.00 4.827
(มาเลเซีย) เอสดีเอน บีเอชดี
3. บริษัท ดีเอสจี (มาเลเซีย) ผลิตและจำหน่าย 3.40 ล้านริงกิต 100.00 73.968
เอสดีเอน บีเอชดี ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
4. บริษัท พีที ดีเอสจี เซอยา มาส ผลิตและจำหน่าย 7.21 พันล้านรูเปีย 59.97 26.885
อินโดนีเซีย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
5. บริษัท ดิสโพสเซเบิล ซอฟท์ กู๊ด จำหน่ายผ้าอ้อมสำเร็จรูป 1.50 ล้าน 100.00 14.020
(เอส) พีทีอี ลิมิเต็ด เหรียญสิงค์โปร์

การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
วัน/เดือน/ปี ทุนที่ (ลด) เพิ่ม หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
ธันวาคม 2547 +175 ล้านบาท 200 ล้านบาท เพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัทฯ
มิถุนายน 2549 +100 ล้านบาท 300 ล้านบาท เพื่อจ่ายหุ้นปันผล 40 ล้านบาทและเสนอขายต่อ
ประชาชน (IPO) 60 ล้านบาท โดยนำเงินที่ได้ไปชำระ
คืนเงินกู้และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม

ผู้สอบบัญชี ดร.ศุภมิตร เตชะมนตรีกุล สำนักงาน บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด

นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทฯมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิที่เหลือหลังจากหักเงินสำรองตามจำนวนที่
กฎหมายกำหนดรวมถึงเงินสำรองทุกประเภทที่บริษัทฯได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับ
แผนการลงทุน ความจำเป็น และความเหมาะสมอื่นๆ ในอนาคต ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการ
ที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปรวมคำนวณเพื่อเสียเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับ
การยกเว้นภาษีนั้น
บริษัทย่อยมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิที่เหลือหลังหักเงินสำรองตามจำนวนที่กฎหมาย
กำหนดรวมถึงเงินสำรองทุกประเภทที่บริษัทย่อยได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับแผนการ
ลงทุน ความจำเป็น และความเหมาะสมอื่นๆ ในอนาคต
ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลจากบริษัทย่อยในมาเลเซียและสิงคโปร์ให้แก่บริษัทฯสามารถจ่ายได้เต็มจำนวนโดยไม่มีการหัก
ภาษี ณ ที่จ่าย ส่วนการจ่ายเงินปันผลจากบริษัทย่อยในอินโดนีเซียให้แก่บริษัทฯ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 บริษัทย่อยในอินโดนีเซียและสิงคโปร์มีขาดทุนสะสมจำนวน 8.53 ล้านบาท และ 32.96 ล้านบาท
ตามลำดับ จึงทำให้บริษัทย่อยในอินโดนีเซียยังไม่สามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัทฯได้จนกว่าจะมีผลกำไรจากการดำเนินงาน
มาล้างขาดทุนสะสมให้หมดไป นอกจากนี้จะต้องมีการกันเงินสำรองอย่างน้อยร้อยละ 20 ของทุนที่ออกและเรียกชำระแล้วให้
ครบถ้วนก่อนการจ่ายเงินปันผลแต่ละคราว อย่างไรก็ตามบริษัทย่อยในสิงคโปร์สามารถจ่ายเงินปันผลจากผลกำไรภายหลังหัก
ภาษีเงินได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงยอดขาดทุนสะสมและการกันสำรองตามกฎหมาย

บัตรส่งเสริมการลงทุน
บริษัทฯ ได้รับสิทธิประโยชน์จาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ดังนี้:
1. บัตรส่งเสรมการลงทุนเลขที่ เลขที่ 7003(2)/2546 สำหรับการโยกย้ายสถานประกอบการเพื่อทำการผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูป
จากโรงงานที่บางปูมาที่เขตประกอบการอุตสาหกรรม เอส ไอ แอล จังหวัดสระบุรี บัตรลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2546 โดยให้มีผล
ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2546 และยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

โครงการที่ได้รับการส่งเสริม
- โรงงานในเขตประกอบการอุตสาหกรรม เอส ไอ แอล จังหวัดสระบุรี
ลักษณะโครงการที่ได้รับการส่งเสริม
- กิจการผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปประเภท 3.13 กิจการผลิตแผ่นซึมซับ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดบางการซึ่งบริษัทได้
ดำเนินการครบตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว
ผลต่อการดำเนินธุรกิจและอายุสิทธิ
- ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือและคู่สมรสเข้ามาทำงานได้ตามระยะเวลาและตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด
- อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ตามจำนวนที่ BOI อนุญาต
- ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมรวมกันไม่เกินร้อยละ
100 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนเป็นเวลา 7 ปี นับแต่เริ่มมีรายได้จากกิจการนั้น (ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม
2547)
- ผู้ถือหุ้นได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปรวม
คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีนั้น (ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2547)
- ได้รับอนุญาตให้นำหรือส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินต่างประเทศได้ (โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 29 มกราคม 2546)
2. บัตรส่งเสรมการลงทุนเลขที่ เลขที่ 1041(2)/2548 สำหรับการลงทุนในกิจการผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับการซื้อเครื่องจักร
ที่ใช้แล้วเพื่อผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่เพิ่ม บัตรลงวันที่ 17 มกราคม 2548 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17
พฤศจิกายน 2547 โดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตามรายละเอียดซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
โครงการที่ได้รับการส่งเสริม
- โรงงานในเขตประกอบการอุตสาหกรรม เอส ไอ แอล จังหวัดสระบุรี
- ลักษณะโครงการที่ได้รับการส่งเสริม
- กิจการผลิตผ้าอ้อมสำเร็จรูปประเภท 3.13 กิจการผลิตแผ่นซึมซับ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดบางการซึ่งบริษัทได้
ดำเนินการครบตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว
ผลต่อการดำเนินธุรกิจและอายุสิทธิ
- ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือและคู่สมรสเข้ามาทำงานได้ตามระยะเวลาและตำแหน่งหน้าที่ที่กำหนด
- อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ตามจำนวนที่ BOI อนุญาต
- ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมรวมกันไม่เกินร้อยละ
100 ของเงินลงทุน โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนเป็นเวลา 7 ปี นับแต่เริ่มมีรายได้จากกิจการนั้น (เครื่องจักรสำหรับผลิต
ผ้าอ้อมสำหรับเด็กเริ่มสิทธิประโยชน์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่เริ่มสิทธิประโยชน์ตั้งแต่
วันที่ 9 กรกฎาคม 2548)
- ผู้ถือหุ้นได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปรวม
คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีนั้น (เครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำหรับเด็กเริ่มสิทธิประโยชน์
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เครื่องจักรสำหรับผลิตผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่เริ่มสิทธิประโยชน์ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2548)
- ได้รับอนุญาตให้นำหรือส่งเงินออกนอกราชอาณาจักรเป็นเงินต่างประเทศได้

จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2549 ปรากฏดังนี้
จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุน
ชำระแล้ว
1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น
1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ 0 0 0
1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ 2 27,600,000 9.20
1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 1 197,207,000 65.74
1.4 ผู้มีอำนาจควบคุม 0 0 0
1.5 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายในเวลาที่กำหนด 0 0 0
2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 1,030* 75,193,000 25.06
3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 0 0 0
รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 1,033 300,000,000 100.00
* รวมผู้ถือหุ้นในส่วนที่เป็นกองทุนรวมซึ่งได้รับการผ่อนผันให้นับจำนวนผู้ถือหุ้นและอัตราส่วนการถือหุ้นในส่วนที่กองทุนรวม
ถืออยู่โดยนับเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย 10 รายต่อทุกร้อยละ 1 ของจำนวนหุ้นสามัญที่กองทุนรวมถืออยู่ ตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2549
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด* 197,207,000 65.74
2. NTASIAN DISCOVERY MASTER FUND 14,999,000 5.00
3. OSK ASIA SECURITIES LIMITED 14,999,000 5.00
4. นายประพันธ์ อนุวงศ์นุเคราะห์* 13,800,000 4.60
5. นางสุวรรณา อนุวงศ์นุเคราะห์* 13,800,000 4.60
6. นายสุทธิวัฒน์ สุขกิจประเสริฐ 3,000,000 1.00
7. บริษัท กองทุนไทยแคปปิตอลฟันด์ 2,118,100 0.71
8. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานการไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยซึ่งจดทะเบียนแล้ว 1,912,200 0.64
9. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ทวีทรัพย์ 3 1,796,900 0.60
10. กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ทวีทรัพย์ 1,738,300 0.58
รวม 266,957,500 88.99
* ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนการเสนอขายหลักทรัพย์

ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2549
บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 10 ราย ถือหุ้นรวมกัน 227,749,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 75.92 ของ
ทุนจดชำระแล้ว
หมายเหตุ ตามข้อบังคับของบริษัท บริษัทไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าว

คณะกรรมการ
ชื่อ ตำแหน่ง วันที่ดำรงตำแหน่ง
1. นายสุย ชุย ลัย ประธานกรรมการ 5 สิงหาคม 2537
2. นายเหลียง ยุก ฟง กรรมการ 5 สิงหาคม 2537
3. นายว่อง โป วา กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 25 ตุลาคม 2544
4. นายไพรัช อนุวงศ์นุเคราะห์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป 5 สิงหาคม 2537
5. นายเฉิง ซิว เขิ่ง กรรมการและผู้จัดการ 19 มีนาคม 2546
ฝ่ายผลิตและลอจิสติกส์
6. นายสุขพร ชัชวาลาพงษ์ กรรมการ 16 ธันวาคม 2547
7. นายโดนัล เฮส ประธานกรรมการตรวจสอบ 16 ธันวาคม 2547
8. นางสาวสุชญา นพพิมาน กรรมการตรวจสอบ 22 มิถุนายน 2548
9. นางวีณา เลิศวรธรรม กรรมการตรวจสอบ 26 สิงหาคม 2548
หมายเหตุ กรรมการลำดับที่ 1, 2, 3 และ 5 เป็นตัวแทนจาก DSGIF
กรรมการลำดับที่ 4 เป็นตัวแทนจากคุณประพันธ์ อนุวงศ์นุเคราะห์และภรรยา

คณะกรรมการตรวจสอบ
ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่
16 ธันวาคม 2547 และที่ประชุมผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2548 และ ครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2548
ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายนามคณะกรรมการตรวจสอบ
ประธานกรรมการตรวจสอบ นายโดนัล เฮส
กรรมการตรวจสอบ นางสาวสุชญา นพพิมาน
นางวีณา เลิศวรธรรม
เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ นางเหลียง เหว่ย หลิง

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ
1. สอบทานให้บริษัทฯมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
2. สอบทานให้บริษัทฯมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่
เหมาะสมและมีประสิทธิผล
3. สอบทานให้บริษัทฯปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
4. พิจารณา คัดเลือก เสนอ แต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ
5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
6. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ
ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทฯมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ

วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ประธานกรรมการตรวจสอบ 3 ปี
2. กรรมการตรวจสอบ 3 ปี
(รวมทั้งการแต่งตั้งเพิ่มและถอดถอนจากกรรมการตรวจสอบ)

เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ (ถ้ามี) - ไม่มี -

ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น
ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นจำนวน 195,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 65.00 ของทุนชำระแล้ว
หลังเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา
1 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน
ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นหรือ
หลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนสามารถขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด

การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์ - ไม่มี -

อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี) - ไม่มี -

สถิติ
บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ปี รายได้ กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย สุทธิ สุทธิ (บาท/หุ้น) ตามบัญชี ต่อกำไร
(พันบาท) (พันบาท) (บาท/หุ้น) (บาท/หุ้น) (%)
2546 744,346 71,216 2.85 68.00 13.954* 23.87
2547 798,714 50,543 1.43 976.04 10.80** 482.77
2548 1,193,329 105,980 0.53 - 2.475** -
มี.ค. 2549 325,055 34,345 0.17 0.2*** 2.626** 116.46
(สอบทานแล้ว)
หมายเหตุ * มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ** มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท *** หุ้นปันผล

บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
ปี รายได้ กำไร(ขาดทุน) กำไร(ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย สุทธิ สุทธิ (บาท/หุ้น) ตามบัญชี ต่อกำไร
(พันบาท) (พันบาท) (บาท/หุ้น) (บาท/หุ้น) (%)
2546**** 1,990,288 110,251 0.55 0.08 1.53* 15.42
2547**** 2,188,970 94,981 0.47 1.22 1.909** 256.90
2548 2,246,763 105,980 0.53 - 2.475** -
มี.ค. 2549 618,937 34,345 0.17 0.2*** 2.626** 116.46
(สอบทานแล้ว)
หมายเหตุ * มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ** มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท *** หุ้นปันผล
**** มูลค่าจากงบการเงินรวมประหนึ่งทำใหม่ เสมือนมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัท
ตั้งแต่ต้นปี 2546 ซึ่งจัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทฯ

สรุปข้อมูลงบดุลของบริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ปี (หน่วย: พันบาท) 2546 2547 2548 มี.ค. 2549
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 24,957 22,215 51,600 50,493
ลูกหนี้การค้า 217,817 337,676 293,351 264,634
สินค้าคงเหลือ 84,361 90,486 142,265 133,819
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 65,490 133,450 118,015 124,899
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 392,624 583,826 605,231 573,846
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินลงทุน 18,660 125,937 168,042 175,739
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 106,345 305,735 316,505 320,219
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 3,193 165,674 164,700 146,283
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 128,198 597,346 649,247 642,241
รวมสินทรัพย์ 520,822 1,181,172 1,254,478 1,216,087

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชี - 488,084 380,049 380,157
เจ้าหนี้การค้า 75,211 89,694 139,962 94,124
เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้อง 37,153 44,886 11,626 9,901
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 35,763 34,206 57,350 42,513
เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนด
ชำระภายใน 1 ปี - 11,440 25,452 25,452
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 23,846 32,449 3,971 4,088
รวมหนี้สินหมุนเวียน 171,973 700,759 618,410 556,234
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินกู้ยืมระยะยาว - 98,560 141,108 134,745
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน - 98,560 141,108 134,745
รวมหนี้สิน 171,973 799,319 759,518 690,979

ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนจดทะเบียน 25,000 250,000 250,000 250,000
ทุนชำระแล้ว 25,000 200,000 200,000 200,000
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น - 65,294 65,294 65,294
ส่วนปรับปรุง - 3,176 10,303 6,106
กำไรสะสม 323,849 113,383 219,363 253,708
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย - - - -
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 348,849 381,853 494,960 525,108
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 520,822 1,181,172 1,254,478 1,216,087

สรุปข้อมูลงบดุลของบริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
ปี (หน่วย: พันบาท) 2546* 2547* 2548 มี.ค. 2549
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 121,036 121,356 111,697 110,190
ลูกหนี้การค้า 422,645 563,530 531,530 486,145
สินค้าคงเหลือ 211,762 227,584 284,796 273,663
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 91,750 161,876 107,903 112,290
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 847,193 1,074,346 1,035,925 982,288
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินลงทุน - - - -
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 315,795 489,575 455,959 466,612
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 4,977 4,988 11,438 5,801
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 320,772 494,563 467,397 472,413
รวมสินทรัพย์ 1,167,965 1,568,909 1,503,323 1,454,701
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชี 310,000 488,171 380,049 380,157
เจ้าหนี้การค้า 294,672 296,701 300,605 237,204
เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้อง 22,202 56,297 25,867 20,853
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 126,616 117,735 117,692 111,008
เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนด
ชำระภายใน 1 ปี 24,219 23,678 25,726 25,719
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 58,035 92,020 11,321 10,789
รวมหนี้สินหมุนเวียน 835,744 1,074,603 861,260 785,730
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินกู้ยืมระยะยาว 12,110 99,385 141,687 135,242
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 12,110 99,385 141,687 135,242
รวมหนี้สิน 847,854 1,173,988 1,002,947 920,972
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนจดทะเบียน 250,000 250,000 250,000 250,000
ทุนชำระแล้ว 200,000 200,000 200,000 200,000
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 65,294 65,294 65,294 65,294
ส่วนปรับปรุง 5,993 3,270 10,303 6,106
กำไรสะสม 35,290 113,270 219,363 253,708
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 13,534 13,087 5,416 8,621
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 320,111 394,921 500,376 533,729
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 1,167,965 1,568,909 1,503,323 1,454,701
หมายเหตุ * มูลค่าจากงบการเงินรวมประหนึ่งทำใหม่ เสมือนมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัทตั้งแต่
ต้นปี 2546 ซึ่งจัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทฯ

สรุปข้อมูลงบกำไรขาดทุน ของบริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ปี (หน่วย: พันบาท) 2546 2547 2548 มี.ค. 2549
รายได้
รายได้จากการขาย 744,345 798,714 1,193,329 325,055
รายได้อื่น 10,819 13,557 66,200 12,912
รวมรายได้ 755,164 812,271 1,259,529 337,967
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขาย 511,825 573,933 762,533 204,313
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 143,795 167,465 359,719 90,777
รวมค่าใช้จ่าย 655,620 741,398 1,122,252 295,090
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 99,544 70,873 137,277 42,877
ดอกเบี้ยจ่าย 72 5,104 30,904 8,115
ภาษีเงินได้ 28,256 15,224 393 417
กำไรหลังดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 71,216 50,544 105,980 34,345
กำไรสุทธิ 71,216 50,544 105,980 34,345
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาทต่อหุ้น) 2.85 1.43 0.53 0.17

สรุปข้อมูลงบกำไรขาดทุน ของบริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
ปี (หน่วย: พันบาท) 2546* 2547* 2548 มี.ค. 2549
รายได้
รายได้จากการขาย 1,990,288 2,188,970 2,246,763 618,937
รายได้อื่น 13,793 11,076 20,181 6,805
รวมรายได้ 2,004,081 2,200,046 2,266,945 625,742
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขาย 1155,370 1,292,711 1,456,596 400,378
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 685,682 775,831 665,126 175,533
รวมค่าใช้จ่าย 1,841,052 2,068,542 2,121,722 575,911
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 163,029 131,504 145,223 49,832
ดอกเบี้ยจ่าย 4,011 7,099 31,262 8,123
ภาษีเงินได้ 50,876 29,872 15,652 4,158
กำไรหลังดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 108,142 94,533 98,309 37,550
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในกำไรสุทธิ
ของบริษัทย่อย 2,109 448 7,671 (3,205)
กำไรสุทธิ 110,251 94,981 105,980 34,345
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาทต่อหุ้น) 0.55 0.47 0.53 0.17
หมายเหตุ * มูลค่าจากงบการเงินรวมประหนึ่งทำใหม่ เสมือนมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัทตั้งแต่ต้นปี 2546
ซึ่งจัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทฯ

สรุปข้อมูลงบกระแสเงินสด ของบริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ปี (หน่วย: พันบาท) 2546 2547 2548 มี.ค. 2549
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน 43,751 (92,206) 173,601 7,087
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (29,694) (368,205) (92,740) (1,938)
กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน (5,000) 457,668 (51,475) (6,256)
การเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสด 9,057 (2,743) 29,384 (1,107)
เงินสด ต้นงวด 15,901 24,957 22,215 51,600
เงินสด สิ้นงวด 24,958 22,214 51,600 50,493

สรุปข้อมูลงบกระแสเงินสด ของบริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
ปี (หน่วย: พันบาท) 2547* 2548 มี.ค. 2549
กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (208,976) 105,457 36,856
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (88,951) (54,227) (30,532)
กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน 396,042 (64,198) (6,323)
การเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสด (1,716) 3,309 (1,508)
เงินสด ต้นงวด 24,957 121,356 111,697
เงินสด สิ้นงวด 121,356 111,697 110,190
หมายเหตุ * มูลค่าจากงบการเงินรวมประหนึ่งทำใหม่ เสมือนมีการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัทตั้งแต่
ต้นปี 2546 ซึ่งจัดทำโดยผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทฯ

จัดทำโดย บริษัท ดีเอสจี อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
 กลับขึ้นบน
จันทรา
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,898
#3 วันที่: 09/08/2006 @ 20:07:57 : re: DSGT ประเดิมเข้าเทรดวันนี้ IPO3.20
http://www.thaihoon.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2706



ต่อไป ถ้าให้ ipo. ราคาแพงๆ ลูกค้า ก็จะขาดความเชื่อถือค่ะ .0001 [/color:e817d958db">[/size:e817d958db">
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com