May 1, 2024   1:49:35 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ กับทิศทางตลาด
 

arthor
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 803
วันที่: 08/08/2006 @ 17:18:52
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

[b:aa6fb4ca0b">อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ กับทิศทางตลาด [/b:aa6fb4ca0b">
--------------------------------------------------------------------------------

ในสัปดาห์ที่แล้วดูเหมือนกับว่าทิศทางของตลาดในระยะสั้นจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียว คือถ้าธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือเฟด ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในวันอังคารที่ 8 ตลาดหุ้นทั้งดาวโจนส์และทั่วโลกก็จะตก แต่ถ้าเฟดไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตลาดก็จะมองว่าเป็นข่าวดีและตลาดหุ้นก็จะขึ้น
ส่วนในตลาดล่วงหน้าดอกเบี้ยในอเมริกาในสัปดาห์ที่แล้วก็ให้ความเป็นไปได้ หรือจะเรียกง่ายๆ ว่าแต้มต่อก็ได้ ที่ประมาณ 35% ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้นตลาดหุ้นจึงเริ่มขยับขึ้น และตลาดไทยเองก็บวกเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นมากในช่วงปลายสัปดาห์ เพราะว่าเริ่มมีการเดากันว่าเฟดจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย
แต่เหตุการณ์เริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ดูเหมือนกับว่าเริ่มมีความไม่แน่นอนอีกแล้วในสัปดาห์นี้
ในวันศุกร์ที่ผ่านมาได้มีการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียง 113,000 ตำแหน่ง น้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 150,000 และต่ำกว่าของ เดือนมิถุนายนที่ 124,000 ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 4.8% จาก 4.6% ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งตลาดมองว่าตัวเลขนี้เป็นตัวเลขสำคัญที่เฟดจะนำไปตัดสินในเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
พอตัวเลขออกมาว่ามีคนตกงานเพิ่มขึ้น ก็เลยเป็นข่าวดีสำหรับตลาดหุ้นว่าเฟดคงจะไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้แน่นอน ส่วนแต้มต่อที่ว่าก็ลดลงมาว่ามีโอกาสเพียง 15% ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย
ในวันศุกร์นั้นดัชนีดาวโจนส์จึงปรับขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 102 จุดระหว่างวัน ซึ่งเป็นไปตามทิศทางที่คาดไว้
แต่เมื่อตลาดมีเวลาไตร่ตรองมากขึ้น ก็กลับมาเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพราะความจริงแล้วการที่มีคนว่างงานเยอะๆ นี่เป็นผลร้ายต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งถ้าเศรษฐกิจไม่ดี บริษัทในตลาดหุ้นก็ไม่น่าจะมีผลประกอบการที่ดีได้ในอนาคต การที่เศรษฐกิจตกต่ำเป็นปัญหาที่แย่กว่าการที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเสียอีก
เมื่อเริ่มคิดกันไปในทำนองนี้แล้ว ในที่สุดดัชนีดาวโจนส์ก็ปิดลดลง -2.24 จุด ในวันศุกร์
ผลกระทบที่ตามมาสำหรับตลาดไทยก็คือ ถ้าตลาดสหรัฐฯ เริ่มคิดแบบนี้แล้ว การที่เฟดจะขึ้นหรือไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นจะมีผลกระทบต่อตลาดบ้านเราหรือไม่
อย่างที่เห็นเมื่อวานนี้คือตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับขึ้นได้น้อยมาก ขึ้นแค่ 2.07 จุด หรือ 0.29% ทั้งๆ ที่มีข่าวดีเรื่องอัตราดอกเบี้ย สำหรับตลาดอื่นในภูมิภาค จะเห็นได้ว่าตลาดที่เป็นคู่ค้าสำคัญกับสหรัฐฯ และส่งออกสินค้าไปอเมริกาเป็นจำนวนมากนั้น ล้วนแต่ปรับลดลง
สิงคโปร์ลดลง -0.11% จีน -1.45% ไต้หวัน -0.4% และเกาหลี -1.15% ส่วนตลาดที่ไม่ได้เป็นคู่ค้าสำคัญมากเท่าคือ ตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ต่างปรับขึ้นเล็กน้อย
แสดงให้เห็นว่านักลงทุนในภูมิภาคนี้ก็ได้หันมาให้ความสนใจเรื่องการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่นกัน
ผมจึงรู้สึกว่าเดาใจตลาดสหรัฐฯ ได้ยากในช่วงนี้ เพราะจากเดิมที่คิดกันง่ายๆ ว่าถ้าเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วหุ้นจะลงแต่ถ้าไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วหุ้นจะขึ้นนั้น อาจจะไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว
ความกังวลเรื่องการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจอาจจะมีน้ำหนักมากกว่าความโล่งอกว่าอัตราดอกเบี้ยจะไม่ขึ้น
นอกจากนี้แล้ว ถึงอัตราดอกเบี้ยจะไม่ขึ้นในรอบนี้ แต่ก็มีโอกาสที่จะขึ้นอีกการประชุมเฟดรอบหน้าในเดือนกันยายน เราก็ยังจะต้องเจอกับปัญหานี้อีกอยู่ดี แต่ที่จะดีหน่อยก็คือกว่าจะถึงตอนนั้นตลาดก็คงจะทำใจได้แล้ว และก็อาจจะมีผลกระทบไม่มากนัก
ทิศทางของตลาดหุ้นในสหรัฐฯ นั้นมีผลต่อทิศทางของตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะสั้น ซึ่งตลาดไทยเองก็คงจะผันผวนตามตลาดสหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์นี้ สำหรับในด้านปัจจัยพื้นฐานแล้ว การที่เฟดไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยยิ่งหมายความว่าธนาคารแห่งประเทศไทยยิ่งไม่มีแรงกดดันที่จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะเป็นผลดีต่อกลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยคือ กลุ่มธนาคารและอสังหาริมทรัพย์
ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้ก็เริ่มขยับขึ้นไปรับข่าวเรื่องแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยจะไม่ขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อวานนี้ และถ้าเฟดไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกจริงๆ ในวันที่อังคารที่ 8 นี้ หรือคืนวันอังคารของไทย หุ้นทั้งสองกลุ่มก็มีโอกาสปรับขึ้นอีกในระยะสั้น

 กลับขึ้นบน
mr.w
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 490
#1 วันที่: 08/08/2006 @ 22:07:31 : re: อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ กับทิศทางตลาด
.000A .000A .000A
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com