April 30, 2024   5:45:34 PM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > สรุปข้อสนเทศ:AKR/เข้าวันนี้IPO2.70/พาร์1/ต้นทุนเจ้าของ2บาท
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 06/08/2006 @ 23:32:32
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน)

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ 9/291 อาคารยู เอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 28 ถนนรามคำแหง แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
กรุงเทพ 10250 โทรศัพท์ (Tel.) 02-719 8777 (อัตโนมัติ 30 เลขหมาย)
โทรสาร (Fax) 02-719-8760-2 Website www.ekarat-transformer.com
ที่ตั้งโรงงาน/ศูนย์ผลิต 190/1 หมู่ 6 ต.ท่าสอ้าน อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา. 260 ต.ท่าสอ้าน อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา.
ที่ตั้งสำนักงานสาขา บริษัทฯ มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ 10 สาขา
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน วันที่ 7 สิงหาคม 2549 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 7 สิงหาคม 2549)

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน
หุ้นสามัญ 790,173,640 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 790,173,640 บาท
(บริษัทฯ เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป 182,000,000 หุ้น)

ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)

ราคาเสนอขาย 2.70 บาท ต่อหุ้น

วันที่เสนอขาย 25-27 กรกฎาคม 2549

วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุน
1. เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนทุนหมุนเวียน (Working Capital) ของบริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) จำนวน
ประมาณ 3.09 ล้านบาท
2. เพื่อใช้เป็นเงินลงทุนในบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด เพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงงานและซื้อเครื่องจักรเพื่อผลิต
เซลล์แสงอาทิตย์ จำนวนประมาณ 470 ล้านบาท

การจัดสรรหุ้นส่วนเกิน -ไม่มี-

ประเภทกิจการ และลักษณะการดำเนินงาน
บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการ 3 ประเภท คือ หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย งานบริการ
และงานพลังงาน
1) ผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย (Distribution Transformer) โดยบริษัทฯเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย
หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายที่มีกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 1 kVA ถึง 20,000 kVA ทั้งชนิดแบบน้ำมันและแบบแห้ง
รวมทั้งส่วนประกอบหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย
2) งานบริการ ได้แก่ งานบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย และงานบริการบำรุงรักษาระบบ
ไฟฟ้า โดยบริษัทฯมีศูนย์บริการและขายจำนวน 10 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ
3) งานพลังงาน ได้แก่ งานบริการออกแบบและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์(Solar System) และงาน
อนุรักษ์พลังงาน สำหรับบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯดำเนินธุรกิจผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์

โครงสร้างรายได้
โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯและบริษัทย่อย ระหว่างปี 2546 ถึง 2548 และงวด 3 เดือนแรกของปี 2549 ดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
ผลิตภัณฑ์และบริการ งบการเงินรวม
2546 2547 2548 2548 2549
(3 เดือนแรก) (3 เดือนแรก)
รายได้ % รายได้ % รายได้ % รายได้ % รายได้ %
หม้อแปลงไฟฟ้า 1,219.70 90.01 1,228.74 41.06 1,250.38 81.46 196.81 82.79 311.39 90.24
ระบบจำหน่าย
- บริษัทฯ 792.09 58.51 926.16 30.95 1,250.38 81.46 196.81 82.79 311.39 90.24
- บริษัท เอกรัฐ-
โซล่าร์ จำกัด - - - - - - - - - -
- บริษัทย่อย 427.61 31.59 302.58 10.11 - - - - - -
งานบริการ 88.22 6.52 93.89 3.14 128.40 8.36 26.06 10.96 30.41 8.81
- บริษัทฯ 83.87 6.20 90.06 3.01 128.40 8.36 26.06 10.96 30.41 8.81
- บริษัท เอกรัฐ-
โซล่าร์ จำกัด - - - - - - - - - -
- บริษัทย่อย 4.35 0.32 3.83 0.13 - - - - - -
งานพลังงาน 2.89 0.21 3.09 0.10 133.14 8.67 9.38 3.95 1.19 0.35
- บริษัทฯ 2.89 0.21 3.09 0.10 92.08 6.00 9.38 3.95 1.16 0.34
- บริษัท เอกรัฐ-
โซล่าร์ จำกัด - - - - 41.06 2.67 - - 0.03 0.01
- บริษัทย่อย - - - - - - - - - -
รวมรายได้-
จากธุรกิจหลัก 1,310.81 96.83 1,325.72 44.30 1,511.92 98.50 232.25 97.70 342.99 99.40
รายได้อื่น 42.94 3.17 233.10 7.79 23.03 1.50 5.47 2.30 2.09 0.60
- บริษัทฯ 11.67 0.86 185.42 6.20 21.57 1.41 4.46 1.88 2.08 0.59
- บริษัท เอกรัฐ-
โซล่าร์ จำกัด - - - - 1.46 0.09 1.00 0.42 0.01 0.01
- บริษัทย่อย 31.27 2.31 47.68 1.59 - - - - - -
รวมรายได้-
ก่อนรายการพิเศษ 1,353.75 100.00 1,558.82 52.09 1,534.96 100.00 237.71 100.00 345.08 100.00
กำไรจาการปรับ-
โครงสร้างหนี้ - - 1,433.46 47.91 - - - - - -
- บริษัทฯ - - 1,345.59 44.97 - - - - - -
- บริษัท เอกรัฐ-
โซล่าร์ จำกัด - - - - - - - - - -
- บริษัทย่อย - - 87.87 2.94 - - - - - -
รวมรายได้ทั้งสิ้น 1,353.75 100.00 2,992.28 100.00 1,534.96 100.00 237.71 100.00 345.08 100.00
1 รายได้อื่น หมายถึง รายได้อื่นที่ไม่ใช่จากการขายสินค้าและบริการของบริษัทฯและบริษัทย่อย เช่น ดอกเบี้ยรับ กำไร
จากการขายหนี้ กำไรจากการขายเงินลงทุน เป็นต้น
2 บริษัทย่อย หมายถึง บริษัทย่อยของบริษัทฯ รวมถึงบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ได้จำหน่ายเงินลงทุนออกไปในปี 2547
จำนวน 8 บริษัท (ไม่รวมบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด) ทั้งนี้ในปี 2547 บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด จัดทำงบการเงิน
รวมกับบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด กับทั้ง 8 บริษัท ที่บริษัทฯได้ขายเงินลงทุนออกไป เนื่องจากถึงแม้ว่าบริษัทฯจะ
ได้จำหน่ายเงินลงทุนออกไปแล้วแต่บริษัทฯยังมีอำนาจควบคุมใน 8 บริษัท ดังกล่าวอยู่ โดยในงบการเงินสิ้นสุดวันที่
31 ธันวาคม 2548 บริษัทฯ คงเหลือบริษัทย่อย 1 แห่ง คือ บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ซึ่งก่อตั้งในปี 2547
3 รายได้จากการจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในปี 2548 และในไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ของบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด
จำนวน 41.06 และ 0.03 ล้านบาท ตามลำดับ ตามเอกสารฉบับนี้ถูกจัดอยู่ ประเภทผลิตภัณฑ์งานพลังงานของบริษัทฯ
และบริษัทย่อย แต่ในงบการเงินรวมจะถูกรวมอยู่ในรายได้จากการขายสินค้า
ที่มา : บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด(มหาชน)

ตารางแสดงโครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2546-2549(3 เดือน)
(หน่วย : ล้านบาท)
ผลิตภัณฑ์และบริการ งบการเงินเฉพาะบริษัทฯ
2546 2547 2548 2548 2549
(3 เดือนแรก) (3 เดือนแรก)
รายได้ % รายได้ % รายได้ % รายได้ % รายได้ %
หม้อแปลงไฟฟ้า-
ระบบจำหน่าย 833.27 89.40 937.65 36.59 1,256.97 83.68 196.81 82.94 311.40 89.98
งานบริการ 83.87 9.00 90.06 3.51 129.60 8.63 26.06 10.99 30.71 8.87
งานพลังงาน 2.89 0.31 3.09 0.12 92.08 6.13 9.38 3.95 1.17 0.34
รวมรายได้จากธุรกิจหลัก 920.03 98.71 1,030.80 40.23 1,478.65 98.44 232.80 97.88 343.27 99.19
รายได้อื่น 12.02 1.29 186.04 7.26 23.47 1.56 5.03 2.12 2.79 0.81
รวมรายได้ก่อน-
รายการพิเศษ 932.05 100.00 1,216.84 47.49 1,502.12 100.00 237.28 100.00 346.06 100.00
กำไรจากการปรับ-
โครงสร้างหนี้ - - 1,345.59 52.51 - - - - - -
รวมรายได้ทั้งสิ้น 932.05 100.00 2,562.43 100.00 1,502.12 100.00 237.28 100.00 346.06 100.00
รายได้อื่น หมายถึง รายได้อื่นที่ไม่ใช่จากการขายสินค้าและบริการของบริษัทฯ เช่น ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการ
ขายหนี้ กำไรจากการขายเงินลงทุน เป็นต้น
ที่มา : บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด(มหาชน)

การแข่งขันในอุตสาหกรรม
หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย
บริษัทฯมุ่งเน้นการจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายที่มีคุณภาพสูงและส่วนประกอบหม้อแปลงไฟฟ้า
ระบบจำหน่าย โดยปัจจัยที่สนับสนุนการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายที่มีคุณภาพ ได้แก่ การเลือกใช้วัสด
ในการผลิตที่มีคุณภาพและมีการใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย
ทั้งนี้ปริมาณความต้องการหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายจะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของความต้องการพลังงานไฟฟ้า
ซึ่งจะปรับตัวสอดคล้องกับการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP) ซึ่งจะเห็นได้จากปริมาณความต้องการ
ไฟฟ้าสูงสุดในปี 2546 2547 และ 2548 เท่ากับ 18,121.40 19,325.80 และ 21,143 เมกะวัตต์ หรือมีอัตราการขยายตัว
เท่ากับร้อยละ 8.63 6.65 และ 9.40 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)
ณ ราคาคงที่(2531) ในปี 2546 2547 และ 2548 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเท่ากับร้อยละ 7.00 6.20 และ 4.50 ตามลำดับ
โดยปัจจุบันบริษัทฯมีส่วนแบ่งในตลาดหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายเป็นอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งตลาดเฉลี่ยตั้งแต่ปี
2544-2547 เท่ากับร้อยละ 21.63 โดยมีคู่แข่งขันที่สำคัญ เช่น บริษัท ไทยแมกซ์เวล อิเลคทริค จำกัด บริษัท ถิรไทย จำกัด
(มหาชน) บริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และบริษัท เจริญชัย หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด เป็นต้น

งานบริการ
บริษัทฯ จะเสนอการขายงานบริการ เช่น งานบำรุงรักษาและซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย ควบคู่กับ
สนอขายหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย นอกจากนี้ศูนย์บริการและขายอีก 10 แห่งทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ก็จะเป็น
กำลังสำคัญในการขายงานบริการเนื่องจากมีโอกาสพบปะกับลูกค้าต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้บริษัทฯได้ให้บริการบำรุง
รักษาและซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายทุกยี่ห้อ
อุตสาหกรรมงานบริการ ยังมีแนวโน้มเติบโตสม่ำเสมอตามยอดขายหม้อแปลงไฟฟ้าที่มีมากขึ้น รวมทั้งอุตสาหกรรม
งานบริการยังสามารถเติบโตจากงานบริการระบบไฟฟ้า เช่น งานบริการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าที่ใช้งานในโรงงานอุตสาห-
กรรมขนาดใหญ่ สำหรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมงานบริการ ยังไม่รุนแรงมากนัก โดยบริษัทฯจะมีจุดแข็งในงานบริการ
คือ มีศูนย์บริการและขายมากที่สุดในประเทศถึง 10 แห่งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค สำหรับคู่แข่งขันในธุรกิจบริการ เช่น บริษัท
ไทยแม็กซ์เวล อิเลคทริค จำกัด บริษัท อาร์-ซัพพอร์ต จำกัด บริษัท เอ บี บี จำกัด บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด
และบริษัท ถิรไทย จำกัด(มหาชน)

งานพลังงาน
จากผลกระทบราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและการตระหนักถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงนโยบายต่างๆ ของภาครัฐที่
สนับสนุนการใช้ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โครงการเร่งรัดขยายบริการไฟฟ้าด้วยระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์
แสงอาทิตย์(ความต้องการกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งโครงการประมาณ 36 เมกะวัตต์) นโยบายการพัฒนาระบบการให้บริการ
ไฟฟ้าแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ รวมถึง นโยบายพัฒนาพลังงานทดแทนตามยุทธศาสตร์พลังงานแห่งชาติ
ซึ่งมีเป้าหมายหลักที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนจากร้อยละ 0.5 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 8 ของพลังงานเชิง
พาณิชย์ภายในปี 2554 ทำให้แนวโน้มความต้องการระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศมีมากขึ้น
สำหรับสภาพการแข่งขันในกลุ่มงานพลังงานทดแทน เนื่องจากอุตสาหกรรมงานบริการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า
จากเซลล์แสงอาทิตย์(Solar System) เติบโตอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้บริษัทฯมีโอกาสทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น
ในขณะเดียวกันก็เอื้ออำนวยให้เกิดบริษัทใหม่ๆที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาแข่งขันมากขึ้นเช่นกัน
โดยเมื่อรวมกับคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบันทำให้ในอุตสาหรรมนี้จะมีสภาพการแข่งขันที่รุนแรงแต่บริษัทฯก็มีข้อ
ได้เปรียบในหลายด้าน เช่น การจัดหาแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Module) จากบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ซึ่งทำ
ให้บริษัทฯสามารถควบคุมต้นทุนได้ ในส่วนของงานอนุรักษ์พลังงาน ยังมีการแข่งขันที่ไม่รุนแรงนัก

แผงเซลล์แสงอาทิตย์
แนวโน้มความต้องการเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) ในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับเปลี่ยน
ยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศให้มีความมั่นคงและเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเริ่มพิจารณา
จากข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศไทยไม่ได้มีแหล่งสำรองพลังงานในประเทศมากเพียงพอที่จะรับรองความต้องการใช้ในประเทศ
ที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา โดยยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทน ได้มีการกำหนดเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน
จากเดิมในปี 2545 มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 8 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ภายในปี 2554 ทั้งนี้สภาพการแข่งขัน
ภายในประเทศยังมีสภาพการแข่งขันที่รุนแรง เนื่องจากกำลังการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์จากผู้ผลิตภายในประเทศ เช่น
บริษัท โซล่าร์ตรอน จำกัด(มหาชน) บริษัท บางกอกโซล่าร์ จำกัด เป็นต้น มีกำลังการผลิตประมาณ 74 เมกะวัตต์ต่อปี
ซึ่งมากกว่าความต้องการแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศซึ่งในแต่ละปียังมีความไม่แน่นอนสูง อย่างไรก็ตามบริษัท
เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ยังสามารถส่งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้อัตราการขยายตัวของ
ตลาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลกเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2540-2547 เท่ากับร้อยละ 38.38

ลักษณะของลูกค้า
(1) หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายแบบน้ำมัน(Oil Type Distribution Transformer) จะมุ่งเน้นไปที่ลูกค้า
รัฐวิสาหกิจและลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ โดยกลุ่มลูกค้ารัฐวิสาหกิจจะมีลูกค้าที่สำคัญ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง
และการไฟฟ้าภูมิภาค สำหรับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆจะมุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่มีการขยายงานสูงซึ่งเป็นตลาด
สำคัญที่ใช้หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายจำนวนมาก
ทั้งนี้ลูกค้าหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายรายใหญ่ในประเทศของบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าหน่วยงานราชการ
เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ส่วนลูกค้าภาคเอกชนก็จะเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียง โดยกลุ่มลูกค้า
หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายของบริษัทฯ ในปี 2548 จะเป็นลูกค้าเอกชน ลูกค้าราชการและรัฐวิสาหกิจ และลูกค้า
ต่างประเทศ เท่ากับ 766.02 394.73 และ 96.22 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 60.94 31.40 และ 7.66 ตามลำดับ
(2) งานบริการ
ลูกค้าเป้าหมายของงานบริการ คือ กลุ่มลูกค้าภาคเอกชนที่มีหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายใช้อยู่แล้ว โดยใน
ปัจจุบันมีหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายที่ถูกใช้งานอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากกว่า 100,000 เครื่อง ซึ่งในจำนวน
นั้นเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายของบริษัทฯประมาณ 30,000 เครื่อง สำหรับในส่วนของการซ่อมบำรุง
หม้อแปลงไฟฟ้ายี่ห้ออื่น บริษัทฯจะใช้ความได้เปรียบจากการที่มีศูนย์บริการและขายที่มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุม
ทั่วประเทศ เข้าไปเสนองานให้บริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมหม้อแปลงไฟฟ้าแก่ลูกค้า นอกจากนี้บริษัทฯยัง
สามารถออกหนังสือรับรองความปลอดภัยในระบบไฟฟ้าภายในโรงงานแก่โรงงานอุตสาหกรรม และบริษัทฯได้มุ่ง
เน้นการขายงานบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบไฟฟ้าที่ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
(3) งานพลังงาน
ลูกค้าหลักของงานพลังงานจะเป็นหน่วยงานราชการต่างๆ ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณจากนโยบายส่งเสริมการ
ใช้พลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ
อนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานราชการอื่นๆ เช่น โรงเรียน สถานีอนามัย เป็นต้น ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
ห่างไกลและทุรกันดาร โดยผลงานด้านแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของบริษัทฯ เช่น การรับจ้างติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์
(Solar Module) ในเขตภาคใต้ส่วนที่ 2 ตามโครงการติดตั้งการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับครัวเรือน
ชนบทที่ห่างไกล (Solar Home) เป็นต้น ทั้งนี้แนวโน้มของงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายของรัฐบาล
มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้จะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอื่นๆ ในภาคเอกชนอีก เช่น โรงแรม รีสอร์ต ที่พักส่วนบุคคล ที่ไม่อยู่ในพื้น
ที่การให้บริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือที่เคยใช้หรือกำลังจะใช้ไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และต้องการยก
ระดับเป็นผู้ใช้พลังงานสะอาดและรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงชุมชนหรือหมู่บ้านชนบท

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ตั้งแต่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2524 บริษัทฯไม่มีข้อพิพาทในเรื่อง สิ่งแวดล้อม แต่อย่างใด นอกจาก
นี้บริษัทฯยังได้รับการรับรองระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทฯมีระบบ
การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีและได้มาตรฐานสากล และบริษัทฯยังได้รับการรับรองมาตรฐานระบบ ISO 9001: 2000
มาใช้ในการควบคุมคุณภาพการผลิต และระบบการจัดการชีวอนามัย และความปลอดภัย มอก.18001 เพื่อความปลอดภัย
และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติงาน

สรุปสาระสำคัญของสัญญา
1) สัญญาการจัดซื้อเครื่องจักร
บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ได้ทำการจัดหาเครื่องจักรสำหรับการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์โดยเลือกใช้เครื่องจักรของ
Centrotherm Photovoltaics GmbH+Co.KG (Centrotherm) ประเทศเยอรมัน โดย Centrotherm มีความเชี่ยวชาญใน
กระบวนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์อย่างครบวงจร สามารถรับรองผลการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่ออกมาจากสายการผลิต
ซึ่งผ่านขั้นตอนย่อยกว่า 20 ขั้นตอนและเครื่องจักรกว่า 10 ชนิดได้ ทั้งในด้านประสิทธิภาพของเซลล์แผงแสงอาทิตย์
ประสิทธิภาพการผลิต (yield) และกำลังการผลิต ซึ่งเป็นการรับประกันประสิทธิภาพการผลิตต่อบริษัท
(1) มูลค่าสัญญาและเงื่อนไขการจ่ายเงิน
มูลค่าเครื่องจักร ประมาณ 17.7 ล้านยูโร (ไม่รวมค่าขนส่ง) (ราคารวมค่าขนส่งประมาณ 900 ล้านบาท)
(คิดจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ยูโร เท่ากับ 50 บาท)
ระยะเวลานำส่ง ระยะเวลานำส่งพร้อมเสร็จสิ้นทดสอบขั้นสุดท้าย 21 เดือน (สิงหาคม 2548-
มีนาคม 2550)
(2) ภาระหน้าที่ของ Centrotherm
- จัดหาเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอน ที่มีกำลังการผลิตเต็ม
กำลังการผลิต 25 เมกะวัตต์ต่อปี พร้อมรับประกันอะไหล่เป็นระยะเวลา 1 ปี
- บริหารโครงการ รวมทั้งวางแผนงานเพื่อให้โครงการสำเร็จ
- ฝึกอบรมพนักงานของบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ทั้งในด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตั้งแต่การขนย้าย
เครื่องจักรเข้าโรงงานจนกระทั่งถึงการทดสอบขั้นสุดท้าย ฝึกอบรมการเดินเครื่องจักรและปรับกระบวนการผลิต
รวมถึงการฝึกอบรมการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมเครื่องจักร
- ทดสอบการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามข้อกำหนด (Site Acceptance Test)
(3) การรับประกัน
การรับประกันเครื่องจักร
- Centrotherm รับประกันเครื่องจักร และส่วนประกอบเป็นระยะเวลา 1 ปี(ยกเว้นอุปกรณ์ที่มีการสึกหรอ
ตามสภาพ อุปกรณ์ที่ผลิตจากควอตซ์และกราไฟท์ หลอดไฟ เป็นต้น)
- Centrotherm รับประกันความเสียหายที่อาจจะเกิดกับทรัพย์สินและบุคลากรของบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด มูลค่า
สูงสุดไม่เกิน 17.7 ล้านยูโร(ประมาณ 885 ล้านบาท)การรับประกันประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย(Solar Cell)
- ประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกมัลติคริสตัลไลน์ซิลิคอนโดยเฉลี่ยร้อยละ 14.5
ประสิทธิภาพต่ำสุดร้อยละ 12 และประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอนโดยเฉลี่ย
ร้อยละ 15.5 ประสิทธิภาพต่ำสุดร้อยละ 13
- กำลังการผลิตสูงสุด 24.7 เมกะวัตต์ (สำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 156 mm x 156 mm)
- ประสิทธิภาพการผลิต(Yield) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 หรือมีปริมาณของเสียไม่เกินร้อยละ 8
2) สัญญาการออกแบบโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
ในเดือน สิงหาคม 2548 บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัดได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างให้ M+W Zander (Thai) Ltd. (M+W
Zander) เป็นผู้รับเหมาให้ดำเนินการออกแบบโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ โดยบริษัท M+W Zander (Thai) Ltd. เป็น
บริษัทลูกของ M+W Zander (S) Pte.Ltd. ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งถือหุ้นทั้งหมดโดย M+W Zander Facility Engineering
GmbH ประเทศเยอรมัน ซึ่งภาระหน้าที่ตามสัญญารวมถึงความรับผิดชอบต่างๆในสัญญาจะเป็นการรับผิดชอบร่วมกันทั้ง
M+W Zander (Thai) Ltd., M+W Zander (S) Pte.Ltd. และ M+W Zander Facility Engineering GmbH
(1) มูลค่าสัญญาและเงื่อนไขการจ่ายเงินมูลค่าสัญญาจำนวน 7.74 ล้านบาท
ระยะเวลานำส่ง 3 เดือน นับแต่วันที่ลงนามในสัญญา(วันที่ 22 สิงหาคม 2548)
(2) ภาระหน้าที่ของ M+W Zander
จัดทำ Concept Design และ Detail Design สำหรับโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
3) การจ้างที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้าง
บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ได้ลงนามในสัญญาจ้างบริษัท เอส.ดี.ซี. จำกัด เป็นวิศวกรที่ปรึกษาบริหารงานก่อสร้าง
เมื่อเดือน กันยายน 2548 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ขอบเขตการทำงาน
1. ช่วงการออกแบบเบื้องต้น(Concept Design) มีขอบเขตการทำงาน เช่น การประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงาน
ช่วงออกแบบเบื้องต้น(Concept Design) เป็นต้น
2. ช่วงเตรียมการก่อสร้าง มีขอบเขตการทำงาน เช่น ควบคุม กำกับและทบทวนการออกแบบรายละเอียด ให้
สอดคล้องกับงานออกแบบเบื้องต้น การตรวจสอบเพื่อคัดเลือกผู้รับเหมาที่มีคุณสมบัติเบื้องต้น(Pre-qualified Contractors)
เป็นต้น
3. ช่วงการก่อสร้าง มีขอบเขตการทำงาน เช่น ให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์ปัญหาด้านเทคนิค ทบทวนและ
ตรวจสอบวัสดุแบบสำหรับก่อสร้างจริง(Shop Drawing)
4. ช่วงการส่งมอบงาน มีขอบเขตการทำงาน เช่น ประสานงานและกำกับการตรวจสอบผลงานก่อสร้างและทดสอบ
การทำงานของระบบต่างๆ เป็นต้น
5. ช่วงการรับประกันผลงาน มีขอบเขตการทำงาน เช่น ประสานงานในการซ่อมแซมงานก่อสร้างและอุปกรณ์
ประสานงานการตรวจสอบงานก่อสร้าง
ค่าใช้จ่าย
บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ตกลงจ่ายค่าจ้างบริษัท เอส.ดี.ซี. จำกัด เป็นจำนวนเงิน 10.8 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
โดยชำระเป็นรายเดือนรวม 18 เดือน ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ? ต้นปี 2550
4) สัญญากู้เงินเพื่อโครงการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ได้ลงนามในสัญญากู้เงินกับธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งเพื่อใช้เป็นเงินลงทุนและเงินลงทุน
หมุนเวียนในการก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีกำลังการผลิต 25 เมกกะวัตต์ ต่อปี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
(1) วงเงินสินเชื่อ
1.1 วงเงินสินเชื่อระยะสั้น
วงเงินสินเชื่อระยะสั้นจำนวน 225 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ
วางมัดจำเครื่องจักร โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ MLR+1 ต่อปี หลักประกัน คือ จำนำหุ้นสามัญของบริษัท
เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้น จำนวน 125 ล้านหุ้นและบริษัทฯ เป็นผู้ค้ำประกันเต็ม
วงเงิน
1.2 วงเงินสินเชื่อค่าเครื่องจักร และวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน
วงเงินสินเชื่อค่าเครื่องจักรในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ที่สั่งซื้อจาก Centrotherm Photovoltaics GmbH+
Co.KG หรือผู้ผลิตเครื่องจักรรายอื่น จำนวน 900 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนรวมทั้งสิ้น 450 ล้านบาท(วงเงิน
เบิกเกินบัญชี 25 ล้านบาท RPN 50 ล้านบาท Letter of Credit(L/C),Trust Receipt(T/R) 200 ล้านบาท Packing Credit
(P/C) and Bill Purchase(B/P) 170 ล้านบาท Letter of Guarantee(L/G) 5 ล้านบาท) และ FX Line จำนวน 1,270 ล้านบาท
โดยวงเงินค่าสินเชื่อเครื่องจักรคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ MLR-0.5 ต่อปี(จนถึง 31 ธันวาคม 2549)
และคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ MLR-0.25 ต่อปี(หลังจาก 31 ธันวาคม 2549) โดยจะมีการชำระคืนเงินต้นทุกไตรมาสๆละ
80 ล้านบาท จำนวน 9 งวด หลังจากนั้นชำระคืนไตรมาสละ 90 ล้านบาท จำนวน 2 งวด รวมกำหนดชำระทั้งสิ้น 11 งวด
โดยเริ่มชำระงวดแรกในวันที่ 30 ธันวาคม 2550 และชำระงวดสุดท้ายวันที่ 30 มิถุนายน 2553
โดยมีเงื่อนไขต้องชำระวงเงินสินเชื่อระยะสั้นจำนวน 225 ล้านบาท ที่บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัดได้กู้ยืมเงิน
ไปเพื่อวางมัดจำค่าเครื่องจักรก่อน และมีเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด(มหาชน) คือ ต้องจำนำหุ้น
สามัญของบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ที่บริษัทฯ ถือครอง จำนวนร้อยละ 99.99 หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 หากมีการ
จำหน่ายให้แก่ผู้ร่วมทุนรายอื่นรวมทั้งบริษัทฯ เป็นผู้ค้ำประกันเต็มวงเงินจำนวน 1,350 ล้านบาท รวมทั้งต้องมีการเพิ่มทุน
ในบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัดอีกไม่น้อยกว่า 470 ล้านบาท
5) การจ้าง M+W Zander(Thai) Ltd. ก่อสร้างโรงงาน
บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้าง M+W Zander (Thai) Ltd. (M+W Zander) เป็นผู้รับเหมา
ให้ดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ โดย M+W Zander ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการออกแบบโรงงานผลิตเซลล
แสงอาทิตย์ จะเป็นผู้รับจ้างก่อสร้างโรงงานพร้อมระบบงานต่างๆที่ เกี่ยวข้องในลักษณะ Turnkey Contract ภายในวงเงิน
ประมาณ 250,000,000 บาท(ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย) ทั้งนี้บริษัทฯได้ว่าจ้าง M+W Zander เป็นผู้ดำเนิน
การออกแบบโรงงานแล้วในวงเงิน 7.74 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
(1) มูลค่าสัญญาและเงื่อนไขการจ่ายเงิน
มูลค่าสัญญา250 ล้านบาท
ระยะเวลานำส่ง ระยะเวลาส่งมอบพร้อมเสร็จสิ้นทดสอบขั้นสุดท้าย 12 เดือน (กุมภาพันธ์ 2549 ?
กุมภาพันธ์ 2550)
การจ่ายเงิน
- 15% จ่ายภายใน 15 วันนับจากวันที่ลงนามสัญญาว่าจ้าง
- 75% จ่ายตามความก้าวหน้าของแผนงานที่กำหนดไว้(โดยแบ่งงวดการจ่ายออกเป็นทั้งหมด 10 งวด)
- 10% จ่ายเมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบขั้นสุดท้าย
(2) ภาระหน้าที่ของ M+W Zander
- จัดทำ Detail Design ก่อสร้างโรงงาน ติดตั้งเครื่องจักรและระบบสาธารณูปโภค ให้เสร็จตามระยะเวลา
ที่กำหนด
- จัดหาและให้คำแนะนำ รวมทั้งควบคุมคุณภาพและตรวจสอบการทำงานของ Sub-contractors และ
Suppliers และควบคุมดูแลการทดสอบการผลิตให้เป็นไปตามสัญญา
- ในระหว่างการก่อสร้าง ควบคุมจัดการให้อาคารโรงงาน และเครื่องจักรอยู่ในสภาพสะอาด และพร้อมใช้
และบริหารจัดการในเรื่องการควบคุมความปลอดภัยของโรงงาน
- ทำการทดสอบการเดินเครื่องจักร สอบเทียบและออกใบรับรอง และส่งมอบแบบโรงงานโดยละเอียด
คู่มือปฏิบัติงานและคู่มือการบำรุงรักษา และใบรับประกันคุณภาพให้บริษัทฯ
- M+W Zander จะรายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการต่อบริษัทฯ เดือนละครั้ง
(3) ประกันภัย
- M+W Zander รับประกันความเสียหายของโรงงาน อุปกรณ์ เครื่องจักรและระบบสาธารณูปโภคตาม
มูลค่าจริง
- M+W Zander รับประกันความเสียหายจากการบาดเจ็บของบุคคล และทรัพย์สินของบุคคลที่สาม
สำหรับความเสียหายหรือการบาดเจ็บแต่ละครั้ง ตลอดระยะเวลาของสัญญา
(4) การรับประกัน
- M+W Zander รับประกันอาคารและระบบสาธารณูปโภคยกเว้นชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่สึกหรอตาม
สภาพ เป็นระยะเวลา 12 เดือนภายหลังจากที่มีการทดสอบขั้นสุดท้ายแล้ว ทั้งนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วันภายหลังจากที่
M+W Zander ออกใบรับรองอาคารและระบบสาธารณูปโภคแล้ว
- หากมีความล่าช้าในการก่อสร้าง M+W Zander จะจ่ายค่าปรับจำนวนร้อยละ 0.25 ของมูลค่าสัญญาต่อ
สัปดาห์ (ประมาณ 625,000 บาทต่อสัปดาห์) ทั้งนี้จะจ่ายค่าปรับสูงสุดไม่เกินร้อยละ 5 ของมูลค่าสัญญา (ประมาณ
12,500,000 บาท)
(5) การจ่ายค่าชดเชย
- M+W Zander รับประกันจะจ่ายชดเชยค่าเสียหายจากการบาดเจ็บของบุคคล ความเสียหายต่อ
ทรัพย์สินใดๆ หรือความเสียหายอื่นๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความบกพร่องของ M+W Zander และพนักงานของ M+W
Zander ตลอดระยะเวลาของสัญญา ทั้งนี้จำนวนเงินที่จ่ายชดเชยไม่เกินกว่ามูลค่าสัญญา
(6) หลักประกัน
- M+W Zander จะออก Performance Bond เป็นหนังสือรับรองจากธนาคารมูลค่าร้อยละ 10 ของ
สัญญา(ประมาณ 25 ล้านบาท) ภายใน 15 วันหลังจากที่บริษัทฯลงนามในสัญญา Design and Construction Works
และบริษัทฯจะคืนหนังสือรับรองธนาคารให้กับ M+W Zander ภายหลังจากที่บริษัทฯจ่ายเงินงวดสุดท้าย
- M+W Zander จะออก Warranty Bond หลังจากที่ได้ส่งมอบงานทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว เป็นมูลค่าร้อยละ
10 ของมูลค่าโครงการจริงเพื่อเป็นหลักประกันผลงาน ซึ่งบริษัทฯ จะคืนให้กับ M+W Zander หลังหมดอายุประกัน
- M+W Zander จะออก Bond เป็นหนังสือรับรองจากธนาคาร มูลค่าเท่ากับจำนวนเงินที่บริษัทฯจ่าย
ให้แก่ M+W Zander งวดแรก(ร้อยละ 15 ของมูลค่าตามสัญญา) รับประกันความเสียหายจากการบาดเจ็บของบุคคล
และทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่ากับจำนวนเงินตามสัญญา
6) การจ้างที่ปรึกษา
บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ได้จ้าง ดร.สรวิช สายเกษม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาของบริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด
(มหาชน) และบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด อยู่ เป็นที่ปรึกษาประจำโครงการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ตั้งแต่เดือน เมษายน
2549 ? มีนาคม 2550

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โครงการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
จากการศึกษาความเป็นไปได้โครงการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ของ บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด โดยมีผู้รับผิดชอบใน
การศึกษาความเป็นไปได้ดังต่อไปนี้
บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด(มหาชน)
- การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
- สถานภาพและแนวโน้มของอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์
- การประเมินความน่าสนใจในการลงทุนการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
- เทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะสมในการลงทุน
- การศึกษาความเป็นไปได้โครงการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์
- ลักษณะโครงการ
- ความเสี่ยงในการลงทุน
บริษัท เอแคป แอ๊ดไวเซอรี่ จำกัด(มหาชน)
- วิเคราะห์ผลตอบแทนของโครงการ
จากผลการศึกษาความเป็นไปได้ ประมาณการรายได้ของโครงการจะเริ่มทำการผลิตและมีรายได้ในช่วงต้น
ปี 2550 โดยคาดว่าจะมีกำลังการผลิตเท่ากับร้อยละ 50 หรือเท่ากับ 12.62 ล้านวัตต์ ในปี 2550 เพิ่มกำลังการผลิต
เป็นร้อยละ 80 หรือเท่ากับ 20.19 ล้านวัตต์ในปี 2551 และจะผลิตเต็มกำลังการผลิต เท่ากับ 25.24 ล้านวัตต์ ตั้งแต่ปี
2552 เป็นต้นไป
สำหรับการดำเนินงานในช่วงปี 2549 บริษัทจะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Pre Operating) สำหรับทดลองการผลิต
(Test run) ประมาณ 144.39 ล้านบาท ซึ่งจะถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 5 ปี และบริษัทมีนโยบายที่จะขอรับสิทธิประโยชน์
ทางภาษี BOI สำหรับการผลิตพลังงานทดแทนทำให้ในช่วง 8 ปีแรกบริษัทจะไม่มีการจ่ายภาษีนิติบุคคล
ผลการดำเนินงานคาดว่าในปี 2550 บริษัทจะมีรายได้เท่ากับ 1,514 ล้านบาท และมีต้นทุนขายเท่ากับ 1,335 ล้านบาท
มีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 65.65 ล้านบาท แต่เนื่องจากบริษัทมีดอกเบี้ยจ่ายประมาณ 74.65 ล้านบาท ทำให้มีผลขาดทุน
สุทธิเท่ากับ 8.99 ล้านบาท โดยมี EBITDA เท่ากับ 172.71 ล้านบาท แต่จากประมาณการบริษัทจะเริ่มมีผลกำไรตั้งแต่ปี
2551 เป็นต้นไป เมื่อบริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยในปี 2551 บริษัทจะมีรายได้ประมาณ 2,423 ล้านบาท และมี
กำไรสุทธิเท่ากับ 152.07 ล้านบาท
จากการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ ขนาด 25 เมกะวัตต์ต่อปี สามารถ
สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
ลักษณะการลงทุน:
เป็นการลงทุนเพิ่มในบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ที่มีทุนจดทะเบียนเดิม 30 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท โดยบริษัทฯ
จะถือหุ้นในช่วงแรกทั้งร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท แบ่งเป็น 500 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท
มูลค่าเงินลงทุน:
ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,409 ล้านบาท มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ไม่เกิน 2 : 1 (ไม่รวมหนี้สิน
หมุนเวียน)
แหล่งเงินลงทุน:
เงินลงทุนในระยะเริ่มแรกในการสั่งซื้อเครื่องจักรจะมาจากเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินผลตอบแทนการลงทุน:
อัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) เท่ากับร้อยละ 31.54 มูลค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV) ของโครงการ ใช้อัตราคิดลด
(Discounted Rate) ที่ร้อยละ 20 และคิด Terminal Value ที่ 3 เท่าของ EBITDA เท่ากับ 423 ล้านบาท (การศึกษาความ
เป็นไปได้ฯ ใช้อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 20 เนื่องจากเป็นอัตราผลตอบแทนที่
ได้รับจากการลงทุนที่บริษัทฯยอมรับได้)
ระยะเวลาการลงทุน: คาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้ต้นปี 2550
ระยะเวลาคืนทุน: 5 ปี
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ: ทำให้ต้นทุนการผลิตในส่วนของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ลดลง
การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ
บริษัทฯยังได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทต่างๆ เช่น รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการออกแบบและการผลิตหม้อ
แปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายแบบน้ำมันชนิดปิดผนึก และหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายแบบแห้งชนิดเรซิน จาก Starkstrom
-Geratebau GmbH ประเทศเยอรมัน เป็นต้น
โครงการดำเนินงานในอนาคต
โครงการโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) ขนาดกำลังผลิตสูงสุดประมาณ 25 เมกะวัตต์ต่อปี โดยใช
วัตถุดิบคือ แผ่นเวเฟอร์(Wafer) นำมาผ่านกระบวนการผลิตให้เกิดความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน
แสงอาทิตย์ โดยการนำแผ่นเวเฟอร์มาล้างด้วยกรดและสารเคมี แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิสูงเพื่อแพร่ซึมสารเจือปน
ฟอสฟอรัส ซึ่งจะทำให้แผ่นเวเฟอร์มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้า จากนั้นจึงเคลือบผิวแผ่นเวเฟอร์เพื่อป้องกัน
การสะท้อนของแสงอาทิตย์ จากนั้นทำการพิมพ์ขั้วไฟฟ้า และอบเซลล์แสงอาทิตย์ที่ความร้อนสูง จะได้ผลิตภัณฑ
เซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) ที่สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ โดยเซลล์แสงอาทิตย์นี้สามารถ
นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการประกอบแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ซึ่งในปัจจุบันได้ผลิตและ
จำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกซิลิคอน โดยการนำเข้าเซลล์แสงอาทิตย์จากต่างประเทศ และนำมาประกอบ
เป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โครงการนี้จึงเป็นการขยายธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิมของบริษัท เอกรัฐโซล่าร์
จำกัด โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการ ดังต่อไปนี้

ที่ตั้งโครงการ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ระยอง
ระยะเวลาโครงการ สิงหาคม 2548-มีนาคม 2550
พื้นที่ พื้นที่รวมประมาณ 15 ไร่
สิ่งปลูกสร้าง อาคารโรงงานแบบปิดขนาด 50 X 60 เมตร โดยมีอาคารที่เป็นหน่วยสนับสนุนอยู่
ด้านข้างมีพื้นที่รวมประมาณ 5,000 ตร.ม.
กำลังการผลิต ประมาณ 25 เมกะวัตต์ต่อปี
ขนาดของแผ่นเวเฟอร์ 15.6 ซม. X 15.6 ซม.
กำลังไฟเอาต์พุตสูงสุด 3.53 วัตต์/เซลล์
จำนวนเซลล์ที่ผลิต 7.15 ล้านเซลล์ ต่อปี
จำนวนพนักงาน ประมาณ 94 คน (3 กะ)

ชนิดของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผลิต
บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ได้พิจารณาเลือกที่จะลงทุนผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดคริสตัลไลน์ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด
คือ
1.เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ซิลิคอน(Mono or Single Crystalline Silicon Solar Cell) ซึ่งมี
ปริมาณการผลิตและจำหน่ายทั่วโลกในปี 2003 เท่ากับ 200.47 เมกะวัตต์ ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด(Market Share)
ประมาณร้อยละ 26.94 ของการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลก
2.เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดมัลติคริสตัลไลน์ซิลิคอน(Multi Crystalline Silicon Solar Cell) ซึ่งมีปริมาณการ
ผลิตและจำหน่ายทั่วโลกในปี 2003 เท่ากับ 459.80 เมกะวัตต์ ซึ่งคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด(Market Share) ประมาณร้อย
ละ 61.79 ของการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลก
ทั้งนี้กระบวนการผลิตดังกล่าว สามารถผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้ทั้งชนิดผลึกเดี่ยวซิลิคอนและชนิดผลึกมัลติ
คริสตัลไลน์ซิลิคอนได้ โดยการเปลี่ยนชนิดแผ่นเวเฟอร์ เท่านั้น

เงินลงทุน
โครงการนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,400 ล้านบาท มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) ไม่เกิน 2:1
(ไม่รวมหนี้สินหมุนเวียน) โดยมีรายละเอียดประมาณการแหล่งได้มาและแหล่งใช้ไปของเงินทุน ดังนี้แหล่งได้มา
ของเงินทุน(ล้านบาท)
เงินทุน 500 ล้านบาท
เงินกู้ยืมระยะยาว 900 ล้านบาท รวม 1,400 ล้านบาท
แหล่งใช้ไปของเงินทุน(ล้านบาท)
ค่าที่ดิน 26 ล้านบาท
ค่าสิ่งปลูกสร้าง อาคารโรงงาน 260 ล้านบาท
ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ 900 ล้านบาท
เครื่องมือ, เฟอร์นิเจอร์ 19 ล้านบาท
ยานพาหนะ 10 ล้านบาท
สินทรัพย์อื่น 50 ล้านบาท
Test Run 144 ล้านบาท รวม 1,409 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีเงินทุนหมุนเวียนซึ่งได้จากการกู้เงินอีกจำนวน 450 ล้านบาท

รายการระหว่างกัน
ในช่วงระหว่างปี 2547 ถึง 2548 และงวด 3เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2549 บริษัทฯมีรายการระหว่างกันที่สำคัญกับ
บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ดังนี้
1. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง: บริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด
ลักษณะความสัมพันธ์:
ณ วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติการทำรายการ(29 ธันวาคม 2547) และวันที่เกิดรายการ(30 ธันวาคม 2547)
บริษัทฯและบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด มีผู้บริหารและผู้ถือหุ้นร่วมกัน คือนายดนุชา น้อยใจบุญ นางดารณี กันตามระ
นายวิสุทธิ์ โตพงษ์เกษม และนายสุรศักดิ์ น้อยใจบุญ โดยทั้ง 4 ท่านถือหุ้นรวมกันในบริษัทฯ ร้อยละ 0.16 ของทุนจด
ทะเบียนที่ชำระแล้วของบริษัทฯในขณะนั้น และถือหุ้นรวมกันในบริษัท อี.เค.อาร์. โฮลดิ้ง จำกัด ร้อยละ 75 ภายหลังวันที่
29 มิถุนายน 2548 ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯทั้ง 4 ท่านข้างต้นที่เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัท อี.เค.อาร์.
โฮลดิ้ง จำกัด ได้ขายหุ้นในบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัดทั้งหมด ให้แก่บุคคลภายนอกที่ไม่มีความเกี่ยวโยงกัน คือ
นายภิรมย์ ชาญพิทยกิจ นายเฉลิมพล ไชยอยู่ และนายแสงชัย เอกพัฒนพาณิชย์
1.1 ลักษณะและมูลค่าของรายการ:
บริษัทฯจำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมรวม 8 บริษัท ให้แก่ บริษัท อี.เค.อาร์. โฮลดิ้ง จำกัด
ในราคาหุ้นละ 0.01 บาท รวมมูลค่า 24,843.88 บาท ซึ่ง ณ วันที่บริษัทฯทำการขายเงินลงทุนนั้น บริษัทฯมีมูลค่าเงิน
ลงทุนสุทธิตามวิธีส่วนได้เสียใน 8 บริษัท เท่ากับ (160.83) ล้านบาท ทำให้บริษัทฯมีกำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุน
160.86 ล้านบาทความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการระหว่างกันดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายบริษัทฯ ที่ให้หยุดดำเนินธุรกรรมกับบริษัทย่อย บริษัทร่วม นิติบุคคล
และบุคคลธรรมดา ที่อาจมองได้ว่า เป็นรายการที่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง และเป็นการปรับโครงสร้างบริษัทฯให้แข็งแกร่ง
โดยมุ่งเน้นธุรกิจหลักเป็นสำคัญ ประกอบกับบางบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งยากต่อการควบคุมและบริหารจัดการ
สำหรับมูลค่าการขายเงินลงทุน คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสม เนื่องจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
รวมทั้ง 8 บริษัท เป็นลบ ถึงแม้ว่าเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียของ Myanmar Ekarat Transformer Co.,Ltd. และของ
Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. จะเป็นบวก แต่หากได้พิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มั่นคง อัตราแลกเปลี่ยน
ที่แท้จริงตามท้องตลาด และนโยบายการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เข้มงวดของทั้ง 2 ประเทศ มูลค่าเงิน
ลงทุนในบริษัทในต่างประเทศทั้ง 2 บริษัท อาจไม่เป็นไปตามที่ปรากฏในงบการเงิน
1.2 ลักษณะมูลค่าของรายการ:
เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2547 บริษัทฯได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ ค่าสินค้า เงินยืมทดรองจ่าย และเงินให้กู้ยืมพร้อม
ดอกเบี้ย ของบริษัทย่อย 3 แห่ง ให้แก่บริษัท อี.เค.อาร์. โฮลดิ้ง จำกัด โดยมีมูลหนี้ที่โอนสิทธิเรียกร้องจำนวน 169.43
ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้รับค่าตอบแทนการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้จำนวน 1.02 ล้านบาทและบริษัทฯได้รับกำไรจากการ
โอนสิทธิเรียกร้องหนี้จำนวน 1.05 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 บริษัทฯ ได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องหน
ค่าสินค้า เงินยืมทดรองจ่าย และเงินให้กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ย ของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในต่างประเทศรวม 2 แห่ง ให้แก่
บริษัท อี.เค.อาร์. โฮลดิ้ง จำกัด มูลหนี้รวม 24.43 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้รับค่าตอบแทนการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้จำนวน
0.02 ล้านบาทและบริษัทฯเกิดผลขาดทุนจากการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้จำนวน 0.09 ล้านบาท ทั้งนี้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง
มีเงื่อนไขว่าหากบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ทำการเรียกเก็บหนี้ได้จะชำระเงินคืนแก่บริษัทฯร้อยละ 70 ของจำนวนหนี้
ที่เรียกเก็บได้หลังหักค่าตอบแทนการโอนและค่าใช้จ่ายในการติดตามเรียกเก็บหนี้ ทั้งนี้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่มีการ
โอนสิทธิเรียกร้องหนี้ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการระหว่างกันที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับนโยบายบริษัทฯ คือ ให้หยุดทำธุรกรรมกับบริษัทต่างๆ ที่บริษัทฯได
จำหน่ายเงินลงทุนออกไปแล้วทั้ง 8 บริษัท และเนื่องจากบริษัทต่างๆที่บริษัทฯได้จำหน่ายเงินลงทุนออกไป มี 5 บริษัท
ที่ได้หยุดการดำเนินธุรกิจและไม่สามารถทำกำไรได้อีกต่อไป คงเหลือบริษัทที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่เพียง 3 บริษัท การโอน
สิทธิเรียกร้องหนี้ให้แก่บริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด เพื่อการติดตามหนี้จะเป็นผลดีต่อบริษัทฯ เนื่องจากหากบริษัทฯ
ฟ้องร้องต่อศาลจำนวนหนี้ที่จะได้รับชำระก็จะไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้อง นอกจากนี้หากบริษัท
อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด เรียกเก็บหนี้ได้ก็ต้องนำส่งบริษัทฯ ด้วยซึ่งการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ดังกล่าวจะทำให้บริษัทฯ
สามารถมุ่งเน้นการทำธุรกิจหลักของบริษัทฯได้อย่างเต็มที่

2.บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง: บริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด
ลักษณะความสัมพันธ์ :
ก่อนวันที่ 30 ธันวาคม 2547 บริษัทฯถือหุ้นในบริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด จำนวน 474,400 หุ้น หรือคิดเป็น
ร้อยละ 94.88 ทำให้บริษัท อี.อาร์. เมทัล เวิร์คส จำกัด มีฐานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยมีกรรมการ ผู้บริหารและ
ผู้ถือหุ้นร่วมกันได้แก่ นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) ถือหุ้นโดยตรงในบริษัทฯ 4,027,280 หุ้น
หรือคิดเป็นร้อยละ 0.66 และในฐานะผู้มีอำนาจควบคุมบริษัท เอกรัฐ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวน 34,347,750
หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 5.65 และนายวิวัฒน์ แสงเทียน (กรรมการผู้จัดการ) ถือหุ้นในบริษัทฯจำนวน 136,640 หุ้นหรือคิดเ
ป็นร้อยละ 0.02 และมีผู้ถือหุ้นร่วมกันโดยผู้ที่ถือหุ้นร่วมกันนั้นเป็นผู้บริหารของบริษัทฯด้วย คือ นายดนุชา น้อยใจบุญ
(รองกรรมการผู้จัดการสายงานบริหารการเงินและบัญชี) นายสุรศักดิ์ น้อยใจบุญ(รองกรรมการผู้จัดการสายงานขาย)
นายวิสุทธิ์ โตพงษ์เกษม(รองกรรมการผู้จัดการสายงานการผลิต) และนางดารณี กันตามระ(รองกรรมการผู้จัดการ
สายงานบริหารงานทั่วไป) โดยทั้ง 4 ท่านถือหุ้นในบริษัทฯรวม 828,610 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 0.16 ของทุน
จดทะเบียนบริษัทฯ ที่ชำระแล้วในขณะนั้น
ภายหลังวันที่ 30 ธันวาคม 2547 บริษัทฯได้จำหน่ายหุ้นของ บริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด ทั้งหมดให้แก่บริษัท
อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ทำให้บริษัท อี.อาร์. เมทัล เวิร์คส จำกัด ไม่มีฐานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯอีกต่อไป อย่างไร
ก็ตามยังถือว่าผู้บริหารของบริษัทฯ มีอำนาจควบคุมบริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด อยู่ เนื่องจากบริษัทฯและบริษัท
อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด มีผู้ถือหุ้นและผู้บริหารร่วมกัน ได้แก่ นายดนุชา น้อยใจบุญ นายสุรศักดิ์ น้อยใจบุญ นายวิสุทธิ์
โตพงษ์เกษม และนางดารณี กันตามระ โดยทั้ง 4 ท่านถือหุ้นในบริษัทฯรวม 828,610 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 0.16
ของทุนจดทะเบียนบริษัทฯ ที่ชำระแล้วในขณะนั้น และถือหุ้นในบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด รวม 75,000 หุ้น
หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียน และบริษัทฯและบริษัท อี.อาร์.เมทัลเวิร์คส จำกัด ยังมีกรรมการ ผู้บริหาร
และผู้ถือหุ้นร่วมกัน คือ นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ นายสุรศักดิ์ น้อยใจบุญ นายดนุชา น้อยใจบุญ นางดารณี กันตามระ
นายวิสุทธิ์ โตพงษ์เกษม และนายวิวัฒน์ แสงเทียน
ภายหลังวันที่ 29 มิถุนายน 2548 ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส
จำกัด และบริษัท อี.เค.อาร์.โอลดิ้ง จำกัด แล้ว เนื่องจากผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯที่เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น
ของบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ได้ขายหุ้นในบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ทั้งหมด ให้แก่บุคคลภายนอกที่ไม่มี
ความเกี่ยวโยงกัน คือ นายภิรมย์ ชาญพิทยกิจ นายเฉลิมพล ไชยอยู่ และนายแสงชัย เอกพัฒนพาณิชย์ และผู้บริหารของ
บริษัทฯ ได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหารและกรรมการของบริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด แล้วรวมทั้งยังได้มีการ
จำหน่ายหุ้นในบริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด ให้แก่บุคคลที่ไม่มีความเกี่ยวโยงกันแล้ว
2.1 ลักษณะและมูลค่าของรายการ:
บริษัทฯได้ให้บริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด ยืมเงินทดรองจ่ายจำนวน 108,379,751.05 บาท เพื่อนำไปชำระหนี้
แก่ธนาคารกรุงไทยตามแผนฟื้นฟูกิจการ จำนวน 96.05 ล้านบาท และเพื่อนำไปจ่ายเจ้าหนี้อื่นๆจำนวน 12.33 ล้านบาท
โดยบริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด ได้จัดทำบันทึกตกลงขายทรัพย์สินซึ่งประกอบไปด้วยที่ดิน อาคารและเครื่องจักร
เพื่อมาชำระกับหนี้เงินทดรองจ่ายจำนวนดังกล่าวกับบริษัทฯแล้ว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2548 บริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส
จำกัด ได้จัดทำบันทึกตกลงขายทรัพย์สิน ได้แก่ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและส่วนควบ และเครื่องจักร มูลค่า 106,735,590.00
บาท ให้แก่บริษัทฯ โดยบริษัทฯได้ชำระราคาค่าขายทรัพย์สินของ บริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด โดยการหักกลบ
ลบหนี้กับภาระหนี้จำนวน 108,379,751.05 บาท ทั้งนี้บริษัทฯเป็นผู้รับภาระค่าภาษีที่เกิดจากการซื้อขายทรัพย์สิน
ดังกล่าวจำนวน 6,443,040 บาทความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่บริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด ยังเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯ
จึงมีการจ่ายชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แทนบริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด ทั้งนี้บริษัท อี.อาร์.เมทัลเวิร์คส
จำกัด ได้โอนที่ดิน อาคารและเครื่องจักรมาชำระหนี้คืนแก่ทางบริษัทฯแล้ว ซึ่งราคาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นราคาประเมิน
โดยผู้ประเมินอิสระคือ The Valuation & Consultants Co.,Ltd. ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบาย ที่จะไม่ทำธุรกรรม
กับบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ได้จำหน่ายเงินลงทุนออกไปแล้วอีกต่อไป

3. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง: บริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด
ลักษณะความสัมพันธ์:
ก่อนวันที่ 30 ธันวาคม 2547 บริษัทฯถือหุ้นในบริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด จำนวน 99,940 หุ้น
หรือคิดเป็นร้อยละ 99.94 ทำให้บริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด มีฐานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยมีผู้
บริหารของบริษัทฯ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด 1 ท่าน คือ นายดนุชา
น้อยใจบุญ (รองกรรมการผู้จัดการสายงานบริหารการเงินและบัญชี) โดยนายดนุชา น้อยใจบุญ ถือหุ้นในบริษัทฯ 220,970
หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 0.04 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วของบริษัทฯในขณะนั้น
ภายหลังวันที่ 30 ธันวาคม 2547 บริษัทฯได้จำหน่ายหุ้นของ บริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ทั้งหมดให้
แก่บริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ทำให้บริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ไม่มีฐานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ
อีกต่อไป อย่างไรก็ตามยังถือว่าผู้บริหารของบริษัทฯ มีอำนาจควบคุมบริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัดอยู่ เนื่อง
จากบริษัทฯและบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด มีผู้ถือหุ้นและผู้บริหารร่วมกัน ได้แก่ นายดนุชา น้อยใจบุญ (รองกรรมการ
ผู้จัดการสายงานบริหารการเงินและบัญชี) นายสุรศักดิ์ น้อยใจบุญ(รองกรรมการผู้จัดการสายงานขาย) นายวิสุทธิ์
โตพงษ์เกษม(รองกรรมการผู้จัดการสายงานการผลิต) และนางดารณี กันตามระ (รองกรรมการผู้จัดการสายงาน
บริหารทั่วไป) โดยทั้ง 4 ท่านถือหุ้นในบริษัทฯรวม 828,610 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 0.16 ของทุนจดทะเบียนบริษัทฯ
ที่ชำระแล้วในขณะนั้น และถือหุ้นในบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด รวม 75,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของ
ทุนจดทะเบียน
ภายหลังวันที่ 29 มิถุนายน 2548 ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัท เทพารักษ์
หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด และบริษัท อี.เค.อาร์.โอลดิ้ง จำกัด แล้ว เนื่องจากผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯที่เป็น
กรรมการและผู้ถือหุ้นของบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ได้ขายหุ้นในบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ทั้งหมด
ให้แก่บุคคลภายนอกที่ไม่มีความเกี่ยวโยงกัน คือ นายภิรมย์ ชาญพิทยกิจ นายเฉลิมพล ไชยอยู่ และนายแสงชัย
เอกพัฒนพาณิชย์
3.1 ลักษณะและมูลค่าของรายการ:
ณ วันที่ 1 มกราคม 2547 บริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด มียอดค้างชำระเงินที่บริษัทฯให้กู้ยืมไป
จำนวน 3,467,123.30 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปี และในระหว่างปีมีดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นจำนวน 137,315.07
บาท ทำให้บริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด มีเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างชำระแก่บริษัทฯ ณ วันที่ 30 ธันวาคม
2547 จำนวน 3,604,438.37 บาท โดยบริษัทฯได้โอนสิทธิเรียกร้องหนี้จากบริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด
ให้แก่บริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ในวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ทั้งจำนวนแล้ว โดยผู้รับโอนได้ให้ค่าตอบแทน
การโอนจำนวนเงิน 10,000 บาททั้งนี้สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องมีเงื่อนไขว่าหากผู้รับโอนทำการเรียกเก็บหนี้ได้
จะชำระเงินคืนแก่บริษัทฯร้อยละ 70 ของจำนวนหนี้ที่เรียกเก็บได้หลังหักค่าตอบแทนการโอนและค่าใช้จ่ายในการ
ติดตามเรียกเก็บหนี้ ทั้งนี้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล :
คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายการระหว่างกันเกิดขึ้นในปี 2547 ซึ่งขณะนั้นบริษัท เทพารักษ์
หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด ยังเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ บริษัทฯจึงได้ให้ความช่วยเหลือสภาพคล่อง เพื่อให้บริษัท
เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ปัจจุบันได้โอนสิทธิเรียกร้องมูลหนี้ออกไปแล้ว
ทั้งหมดพร้อมการขายเงินลงทุนในบริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด และบริษัทฯ จะไม่มีธุรกรรมระหว่าง
บริษัทฯกับ บริษัท เทพารักษ์ หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัดอีกตามนโยบายการทำรายการระหว่างกันของคณะกรรมการ
บริษัทฯ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549

4. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง: Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd.
ลักษณะความสัมพันธ์ : ปี 2548 ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน (ปี 2547 บริษัทร่วม)
ก่อนวันที่ 30 ธันวาคม 2547 บริษัทฯถือหุ้นใน Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. ร้อยละ 47.50 ทำให
Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. มีฐานะเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ โดยมีกรรมการและผู้บริหารร่วมกันได้แก่
นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) และถือหุ้นโดยตรงในบริษัทฯ 4,027,280 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ
0.66 และในฐานะผู้มีอำนาจควบคุมบริษัท เอกรัฐ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวน 34,347,750 หุ้น หรือคิด
เป็นร้อยละ 5.65 และนายวิวัฒน์ แสงเทียน (กรรมการผู้จัดการ) ถือหุ้นในบริษัทฯจำนวน 136,640 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ
0.02
ภายหลังวันที่ 30 ธันวาคม 2547 บริษัทฯได้จำหน่ายหุ้นของ Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. ทั้งหมดให้แก่
บริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ทำให้ Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. ไม่มีฐานะเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯอีกต่อ
ไป อย่างไรก็ตามยังถือว่าผู้บริหารของบริษัทฯ มีอำนาจควบคุม Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. อยู่ เนื่องจากบริษัทฯ
และบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด มีผู้ถือหุ้นและผู้บริหารร่วมกัน ได้แก่ นายดนุชา น้อยใจบุญ นายสุรศักดิ์ น้อยใจบุญ
นายวิสุทธิ์ โตพงษ์เกษม และนางดารณี กันตามระ โดยทั้ง 4 ท่านถือหุ้นในบริษัทฯรวม 828,610 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ
0.16 ของทุนจดทะเบียนบริษัทฯ ที่ชำระแล้วในขณะนั้น และถือหุ้นในบริษัท อี.เค.อาร์. โฮลดิ้ง จำกัด รวม 75,000 หุ้น
หรือคิดเป็นร้อยละ 75 ของทุนจดทะเบียน และบริษัทฯและ Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. ยังมีกรรมการ
และผู้บริหารร่วมกันอยู่ คือ นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ และนายวิวัฒน์ แสงเทียน
ภายหลังวันที่ 29 มิถุนายน 2548 ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯไม่มีความเกี่ยวข้องกับ Nepal Ekarat Engineering
Co.,Pvt.Ltd. และบริษัท อี.เค.อาร์.โอลดิ้ง จำกัด แล้ว เนื่องจากผู้บริหารและผู้ถือหุ้นของบริษัทฯที่เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น
ของบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ได้ขายหุ้นในบริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด ทั้งหมด ให้แก่บุคคลภายนอกที่ไม่มีความ
เกี่ยวโยงกัน คือ นายภิรมย์ ชาญพิทยกิจ นายเฉลิมพล ไชยอยู่ และนายแสงชัย เอกพัฒนพาณิชย์ และผู้บริหารของบริษัทฯ
ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของ Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. แล้ว
4.1 ลักษณะและมูลค่าของรายการ :
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. มียอดลูกหนี้การค้าและเงินทดรองจ่ายค้างชำระ
จำนวน 5,558,236.43 บาท และ 989,461.78 บาท ตามลำดับ แต่บริษัทฯมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเดือน มกราคม
ถึงเดือนมิถุนายน 2548 จำนวน 5,769.18 บาท ทำให้ Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. มีหนี้ค้างชำระแก่บริษัทฯ
6,553,467.39 บาท ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2548 บริษัทฯได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ทั้งจำนวนให้แก
บริษัท อี.เค.อาร์ โฮลดิ้ง จำกัด โดยได้รับค่าตอบแทนการโอนจำนวน 10,000 บาท ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าหากผู้รับโอนทำการ
เรียกเก็บหนี้ได้จะชำระเงินคืนแก่บริษัทฯร้อยละ 70 ของจำนวนหนี้ที่เรียกเก็บได้หลังหักค่าตอบแทนการโอนและค่าใช้จ่าย
ในการติดตามเรียกเก็บหนี้ ทั้งนี้ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ บริษัทฯเกิดผลกำไรจากการโอนสิทธ
เรียกร้องหนี้เท่ากับ 4,230.82 บาท
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล :
คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายการลูกหนี้การค้าเกิดจากการขายสินค้าตามราคาตลาด สำหรับลูกหนี้เงิน
ทดรองจ่ายเป็นรายการที่เกิดขึ้นจากการที่บริษัทฯ ได้ทดรองจ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการติดต่อธุรกิจ ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Nepal
Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. ยังเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯอยู่ ปัจจุบันบริษัทฯได้ขายเงินลงทุนออกไปแล้วทั้งหมด
พร้อมโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ ส่วนลูกหนี้การค้า Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. ได้นำเงินมาชำระลูกหนี้การค้าที่
ค้างหมดสิ้นแล้วในเดือน กันยายน 2548 ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบายที่จะไม่มีการทำธุรกรรมระหว่างบริษัทฯกับ
Nepal Ekarat Engineering Co.Pvt.Ltd. อีก
4.2 ลักษณะและมูลค่าของรายการ :
บริษัทฯมีภาระผูกพันจากการขอให้ธนาคารพาณิชย์ 2 แห่งในประเทศ ออกหนังสือค้ำประกันวงเงินสินเชื่อเลตเตอร์
ออฟเครดิตให้แก่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นหลักประกันวงเงินสินเชื่อมูลค่า 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ
หรือประมาณ 16 ล้านบาท(คำนวณที่อัตราแลกเปลี่ยน 40 บาทเท่ากับ 1 เหรียญสหรัฐ) แก่ Nepal Ekarat Engineering Co.,
Pvt.Ltd. ทั้งนี้บริษัทฯได้ปลดภาระค้ำประกันดังกล่าวจำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2549 และจำนวน
200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ทำให้ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นมาบริษัทฯ ไม่มีภาระ
ผูกพันในการค้ำประกันวงเงินสินเชื่อเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่ Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. แล้ว
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล :
คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า รายการระหว่างกันดังกล่าวเป็นการให้ความช่วยเหลือในการค้ำประกันวงเงิน
สินเชื่อต่อสถาบันการเงิน เพื่อใช้ในการทำธุรกิจของ Nepal Ekarat Engineering Co.Pvt.Ltd. ตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Nepal
Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. ยังเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯอยู่ แต่เนื่องจากบริษัทฯได้มีการขายเงินลงทุนและ
โอนสิทธิเรียกร้องหนี้ออกไปแล้วทั้งหมดตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2547 และวันที่ 24 มีนาคม 2548 ตามลำดับ
คณะกรรมการตรวจสอบจึงได้ติดตามให้ฝ่ายจัดการดำเนินการปลดภาระค้ำประกันทั้งหมด และจะไม่มีการทำธุรกรรม
ระหว่างบริษัทฯกับ Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. อีก

5. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง : บริษัท เอกรัฐ แลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
ลักษณะความสัมพันธ์ :
มีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและผู้ถือหุ้นคนเดียวกัน คือ นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ โดยถือหุ้นในบริษัท เอกรัฐ แลนด์
แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ร้อยละ 40 และถือหุ้นในบริษัทฯทั้งทางตรงและในฐานะผู้มีอำนาจควบคุม บริษัท เอกรัฐ โฮลดิ้ง
จำกัด ร้อยละ 6.31 และมีผู้ถือหุ้นร่วมกัน คือ นายดรุณวัฒน์ น้อยใจบุญ นายสุรศักดิ์ น้อยใจบุญ นางดารณี กันตามระ และ
นายดนุชา น้อยใจบุญ โดยทั้งหมดถือหุ้นในบริษัท เอกรัฐ แลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัดร้อยละ 10และถือหุ้นในบริษัทฯ
ร้อยละ 0.12
ลักษณะและมูลค่าของรายการ :
ในปี 2541 บริษัทฯ ได้ซื้อที่ดินจาก บริษัท เอกรัฐแลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในราคา 17,000,000 บาท (พื้นที่
ทั้งหมด 136 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี) โดยบริษัทฯเป็นผู้ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่าย
ต่างๆ จำนวน 923,336 บาท รวมมูลค่าที่ดินและภาษีที่บริษัทฯ ชำระทั้งสิ้น 17,923,336 บาท โดยบริษัทฯ ได้ชำระค่าที่ดิน
ดังกล่าวจำนวน 5,500,000 บาท ในปี 2541 และมีเงินค่าที่ดินค้างชำระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 เป็นจำนวนเงิน 11,500,000
บาท ทั้งนี้ในเดือน ตุลาคม 2548 บริษัท เอกรัฐแลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ตกลงลดหนี้ค่าที่ดินแก่บริษัทฯ จำนวน
6,000,000 บาท เนื่องจาก บริษัทฯ ตกลงจะชำระหนี้ส่วนที่เหลือทันที ทำให้บริษัทฯ คงค้างชำระค่าที่ดินหลังจากที่ได้รับการ
ลดหนี้ จำนวน 5,500,000 บาท และบริษัทฯได้ชำระค่าที่ดินที่บริษัทฯ ค้างชำระหนี้กับบริษัท เอกรัฐแลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์
จำกัด จำนวน 5,500,000 บาท(ภายหลังที่ได้รับการลดหนี้แล้ว) โดยขอโอนคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว คิดเป็นมูลค่า 5,500,000
บาท แก่บริษัท เอกรัฐแลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ซึ่งภายหลังจากที่บริษัท เอกรัฐแลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
ได้รับโอนคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินมูลค่า 5,500,000 บาท จากบริษัทฯ บริษัท เอกรัฐแลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้โอน
กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าว ให้แก่บริษัท เอกรัฐเคมีคอล จำกัด เพื่อชำระหนี้ที่มีต่อกัน (หนี้ระหว่าง บริษัท เอกรัฐแลนด์ แอนด์
ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด กับ บริษัท เอกรัฐเคมีคอล จำกัด) ทำให้บริษัทฯ และบริษัท เอกรัฐ เคมีคอล จำกัด ถือกรรมสิทธิ์ใน
ที่ดินดังกล่าวร่วมกัน โดยบริษัทฯ ถือครองที่ดินจำนวน 12.42 ส่วน (94 ไร่ 2 งาน 19 ตารางวา) จากทั้งหมด 17.92 ส่วน
และบริษัท เอกรัฐ เคมีคอล จำกัด ถือครองที่ดินจำนวน 5.50 ส่วน (41 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา) จากทั้งหมด 17.92 ส่วน
ซึ่งทำให้บริษัทฯมีกำไรจากการลดหนี้ 11,162,388 บาท (โดยคำนวณจากราคาประเมินที่ดินซึ่งถูกประเมินโดยผู้ประเมิน
อิสระคือ The Valuation & Consultants Co.,Ltd. เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2547 ซึ่งได้ประเมินมูลค่าที่ดินทั้งหมด เท่ากับ
1,100,000 บาท) ทั้งนี้สาเหตุที่บริษัทฯและบริษัท เอกรัฐเคมีคอล จำกัด ไม่ได้แยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวออกจากกัน
เนื่องจากบริษัทฯ ต้องการดำเนินการเรื่องหนี้ที่ค้างชำระระหว่างบริษัทฯ กับบริษัท เอกรัฐแลนด์ แอนด์ ดีเวลลอปเม้นท์
จำกัด อย่างรวดเร็ว และบริษัทฯมีนโยบายที่จะขายที่ดินดังกล่าวออกไปในอนาคต ทำให้ไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายในการแยก
โฉนดที่ดิน

ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการระหว่างกันซึ่งบริษัทฯได้นำที่ดินที่ซื้อมาไปค้ำประกันวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงิน ปัจจุบันที่ดินดังกล่าว
ปลอดภาระหนี้แล้ว คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่าการแบ่งสัดส่วนที่ดินดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะกรรมการบริษัทฯ
และเป็นการแบ่งสัดส่วนที่ดินที่เป็นประโยชน์กับบริษัทฯ

6. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง: บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด
ลักษณะความสัมพันธ์ :
บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นบริษัทฯจำนวน 21,959,190 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 3.61 และเป็นผู้จำหน่าย
หุ้นจำนวน 99,993 หุ้น ในบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัดให้แก่บริษัทฯ
6.1 ลักษณะและมูลค่าของรายการ:
บริษัทฯกู้ยืมเงินจากบริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 330.00 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทฯนำไปชำระคืนแก่เจ้าหนี้
ตามแผนฟื้นฟูกิจการ โดยบริษัทฯได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ชนิดจ่ายคืนเมื่อทวงถามและอัตราดอกเบี้ย MLR-4% โดยบริษัทฯ
ได้ชำระเงินกู้ยืมไปแล้ว 300.00 ล้านบาท ยังคงเหลือยอดเงินกู้ยืมค้างชำระอีก 30.00 ล้านบาท โดยอัตราดอกเบี้ยที่ทำการ
เรียกเก็บระหว่างกัน ณ สิ้นปี 2548 คือ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.75
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการระหว่างกันดังกล่าว มีความสมเหตุสมผล เนื่องจากเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ร่วมทุนตามแผนฟื้นฟู
กิจการ โดยอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทฯทำการกู้ยืมต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามท้องตลาด คือ MLR-4% และบริษัทฯ ปฏิบัติตาม
เงื่อนไขการกู้ยืมเงินดังกล่าว ทั้งนี้บริษัทฯมีแผนที่จะชำระคืนเงินกู้ดังกล่าวต่อไปในอนาคต (คาดว่าจะสามารถชำระเงินก
ยืมดังกล่าวได้ภายหลังจากทำการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป) เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทฯจำเป็นต้องใช้เงินดังกล่าว
เป็นเงินทุนหมุนเวียนในบริษัทฯ
6.2 ลักษณะและมูลค่าของรายการ:
วันที่ 27 กันยายน 2547 บริษัทฯได้ลงทุนใน บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด โดยการซื้อหุ้นจาก บริษัท วี แอนด์ เอ
โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 99,993 หุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาท(มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) รวมเป็นเงิน 999,930 บาท คิดเป็น
สัดส่วนการลงทุนเท่ากับร้อยละ 99.99 และในวันเดียวกันบริษัทฯได้ลงทุนเพิ่มใน บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด อีก 2,900,000
หุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาท(มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) รวมเป็นเงินลงทุนใน บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ทั้งสิ้น
29,999,930 บาท คิดเป็นสัดส่วนการลงทุนเท่ากับร้อยละ 99.99 ทั้งนี้ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ตั้งแต่วันที่ 9
เมษายน 2547 บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ยังไม่ได้เริ่มดำเนินธุรกิจใดๆ
ความจำเป็นและความสมเหตุสมผล:
รายการระหว่างกันดังกล่าว มีความสมเหตุสมผล เนื่องจากบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2547
และขณะที่ทำการซื้อขายหุ้นดังกล่าว บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ยังไม่มีการดำเนินงานใดๆ ดังนั้นราคาที่ซื้อขายหุ้นในบริษัท
เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด เป็นการซื้อขายตามมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
รายการระหว่างกันดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้ว และเห็นว่าเป็นรายการที่เป็นเงื่อนไขตาม
ปกติทางการค้า และไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือทำให้บริษัทฯได้รับความเสียหาย

นโยบายและแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันในอนาคต
คณะกรรมการบริษัท ได้มีมติในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3 /2549 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2549
ในการทำรายการระหว่างกันหรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน
1. บริษัทฯ มีนโยบายที่จะไม่มีการทำรายการระหว่างกันหรือรายการที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัทย่อยและบริษัทร่วม
ที่บริษัทฯ ได้จำหน่ายเงินลงทุนออกไปแล้ว ซึ่งได้แก่
(1) บริษัท อี.เค.อาร์. โฮลดิ้ง จำกัด
(2) บริษัท เอกรัฐการตลาด จำกัด
(3) บริษัท เอกรัฐอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
(4) บริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด
(5) บริษัท เอกรัฐเจนเนอเรเตอร์ จำกัด
(6) บริษัท เทพารักษ์หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด
(7) Myanmar Ekarat Transformer Co.,Ltd
(8) Nepal Ekarat Engineering Co.Pvt.Ltd.
(9) Ekarat Transformer(M) Sdn.Bhd.
2. การทำรายการระหว่างกันหรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน กับบริษัทย่อยของบริษัทฯ คือ บริษัท เอกรัฐ โซล่าร์ จำกัด
บริษัทฯ มีนโยบายให้ฝ่ายบริหารของบริษัทฯสามารถทำรายการระหว่างกันหรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน ได้โดยจำแนก
ตามประเภทของรายการดังต่อไปนี้
(1) รายการทางการค้าที่เป็นธุรกิจปกติและมีเงื่อนไขการค้าทั่วไป
รายการทางการค้าที่บริษัทกระทำเป็นธุรกิจปกติและมีเงื่อนไขการค้าทั่วไป ให้ฝ่ายบริหารรายงานการทำรายการ
ระหว่างกันต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ผ่านคณะกรรมการตรวจสอบทุกเดือน
(2) รายการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือบริการอื่น
รายการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือบริการอื่นมูลค่า 500,000 บาทต่อรายการ ขึ้นไป อาทิเช่น การได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สิน
การให้ทรัพย์สิน การให้ใช้สิทธิในทรัพย์สิน การให้บริการหรือรับบริการเกี่ยวกับทรัพย์สิน เป็นต้น รวมถึงการซื้อหรือ
ขายหลักทรัพย์และการออกหลักทรัพย์ใหม่ ทั้งนี้ให้ฝ่ายบริหารขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือผู้ถือหุ้น
แล้วแต่กรณี โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวก่อน
สำหรับรายการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือบริการอื่นที่มูลค่าต่ำกว่า 500,000 บาทต่อรายการลงมา ให้ฝ่ายบริหารรายงาน
ให้คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัททราบ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งถัดไป
(3) รายการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน หมายถึง การให้หรือการรับความช่วยเหลือทางการเงินด้วยการรับหรือให้กู้ยืม
การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติกรรมอื่นทำนองเดียวกัน ทั้งนี้ ให้ฝ่ายบริหารขออนุมัติต่อคณะกรรมการ
บริษัทฯ และ/หรือ ผู้ถือหุ้นแล้วแต่กรณี โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบให้ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวก่อน
3. การทำรายการระหว่างกันหรือรายการที่เกี่ยวโยงกัน กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันอื่นและ/หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน
ให้ฝ่ายบริหารขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และ/หรือ ผู้ถือหุ้นของบริษัท แล้วแต่กรณี โดยคณะกรรมการตรวจสอบ
จะเป็นผู้ให้ความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวก่อน
ทั้งนี้ ผู้บริหาร และ คณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อกำหนด ประกาศ หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมตลอดจนถึงการปฏิบัติตามข้อกำหนดในเรื่อง
การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ที่สำคัญของบริษัทฯหรือ
บริษัทย่อย และตามมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสภานักบัญชีแห่งประเทศไทย

ภาระผูกพัน -ไม่มี-

ปัจจัยเสี่ยง
ความเสี่ยงในการพึ่งพาลูกค้าหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายเฉพาะราย
รายได้ของบริษัทฯส่วนใหญ่มาจากการขายหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย โดยลูกค้าที่มีการสั่งซื้อ คือ การไฟฟ้า
ส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ประมาณร้อยละ 26.70 ของรายได้จากการขายและบริการของบริษัทฯ ซึ่งหาก
บริษัทฯต้องสูญเสียงานของรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งก็อาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทฯ อย่างไรก็ตามบริษัทฯมี
โอกาสในการสูญเสียลูกค้ากลุ่มดังกล่าวน้อยมาก เนื่องจากบริษัทฯได้มีการปรับปรุงคุณภาพของหม้อแปลงไฟฟ้าระบบ
จำหน่ายให้เป็นที่ยอมรับมาโดยตลอด รวมทั้งการที่บริษัทฯมีประสบการณ์และผลงานกับราชการและรัฐวิสาหกิจมาตั้งแต่
ปี 2529 ทำให้บริษัทฯมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ขณะเดียวกันบริษัทฯ ก็มีนโยบายที่จะกระจายการจำหน่ายสินค้าและ
บริการไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายกลุ่มอื่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบในการผลิตหม้อแปลง
ไฟฟ้าระบบจำหน่าย
บริษัทฯมีรายได้หลักจากการขายหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย ซึ่งการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายต้องใช้
วัตถุดิบทั้งจากในและต่างประเทศ เช่น เหล็กซิลิคอน(Silicon Steel) ขดลวดทองแดง ทองแดงแผ่น ลวดทองแดง เป็นต้น
โดยต้นทุนวัตถุดิบคิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ของต้นทุนการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายทั้งหมด ดังนั้นบริษัทฯ
อาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบในตลาดโลก อย่างไรก็ตามการที่บริษัทฯมีประสบการณ์ในการผลิต
หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายกว่า 20 ปี ทำให้บริษัทฯเข้าใจวัฏจักรราคาวัตถุดิบและบริษัทฯได้มีการวางแผนการจัดหา
วัตถุดิบและมีการสำรองวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตได้ประมาณ 3 เดือน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังสามารถปรับราคาขายหม้อ
แปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายโดยเฉลี่ยให้สอดคล้องกับราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นได้โดยสามารถพิจารณาได้จากอัตรากำไรขั้นต้น
จากการขายหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายในปี 2546 2547 และ 2548 เท่ากับร้อยละ 28.15 28.91 และ 27.19 ตามลำดับ

ความเสี่ยงจากการขาดแคลนเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell)
แผงเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Module) ที่บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ดำเนินการผลิตอยู่นั้นใช้วัตถุดิบหลัก คือ เซลล์
แสงอาทิตย์(Solar Cell) ซึ่งผลิตมาจากซิลิคอนบริสุทธิ์ แต่ในปัจจุบันในตลาดโลกมีความต้องการโลหะซิลิคอนเพื่อใช
ผลิตซิลิคอนบริสุทธิ์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell Manufacturer) อาจไม่สามารถจัดหาซิลิคอน
มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ได้อย่างเพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นหากบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด
ไม่สามารถจัดหาเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) เพื่อนำมาผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Module) ได้อย่างเพียงพอก็จะ
ส่งผลต่อรายได้ที่ลดลง รวมทั้งอาจสูญเสียความไว้วางใจจากลูกค้าในกรณีที่ไม่สามารถจัดส่งแผงเซลล์แสงอาทิตย
(Solar Module) ให้แก่ลูกค้าตามกำหนด อย่างไรก็ตามบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ได้มีการป้องกันปัญหาดังกล่าว
โดยมีการติดต่อและมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ระดับโลกหลายราย เช่น Bp Solar(Australia)
Co.,Ltd. ประเทศออสเตรเลีย Q-Cells AG ประเทศเยอรมัน เป็นต้น รวมทั้งบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ยังมีการ
วางแผนการผลิตและมีการสั่งซื้อเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell)ล่วงหน้าเป็นเวลาประมาณ 2 เดือน

ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell)
ในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา เซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) มีราคาที่ลดลงตลอด แม้ว่าตั้งแต่ปี 2540(1997) เป็นต้นมา
อัตราความต้องการเซลล์แสงอาทิตย์ทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 38.38 ต่อปี แต่ตั้งแต่กลางปี 2547
เป็นต้นมาผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนซิลิคอน ส่งผลให้ราคาเซลล์แสงอาทิตย์ปรับตัวสูงขึ้น
ทำให้ต้นทุนการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Module) สูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้กำไรของบริษัท เอกรัฐโซล่าร์
จำกัด ลดลงได้ อย่างไรก็ตามบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด มีการป้องกันความเสี่ยง โดยก่อนที่จะรับงานจากลูกค้า บริษัท
เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด จะทำการตรวจสอบราคาเซลล์แสงอาทิตย์พร้อมทั้งทำการจองซื้อวัตถุดิบก่อนทำให้สามารถควบคุม
ต้นทุนวัตถุดิบได้ รวมทั้งยังได้มีการกำหนดราคาขายให้สอดคล้องกับราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น

ความเสี่ยงเกี่ยวกับความเสียหายจากการค้ำประกันให้บริษัทย่อย
บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) มูลค่าเงิน
ลงทุนประมาณ 1,400 ล้านบาท โดยใช้เงินที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้จำนวน 470 ล้านบาท
และเงินกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งซึ่งเป็นเงินกู้ระยะยาวเพื่อจัดซื้อเครื่องจักร จำนวน 900 ล้านบาทและวงเงินทุน
หมุนเวียนจำนวน 450 ล้านบาท ซึ่งบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ได้ลงนามในสัญญากู้ยืมเงินรับการสนับสนุนทางการเงินแล้ว
โดยบริษัทฯได้ค้ำประกันเงินกู้ยืมดังกล่าวทั้งจำนวน 1,350 ล้านบาท รวมทั้งบริษัทฯ ต้องจำนำหุ้นสามัญของบริษัท
เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ที่บริษัทฯถือครองอยู่จำนวนร้อยละ 99.99 หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 หากมีการจำหน่ายให้แก่ผู้ร่วมทุน
รายอื่น ดังนั้นบริษัทฯจึงมีความเสี่ยงเกี่ยวกับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่บริษัทฯ ในกรณีที่บริษัทย่อยไม่สามารถชำระ
หนี้ตามเงื่อนไขการกู้เงินได้อันเนื่องมาจากการผลประกอบการไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามบริษัทฯและบริษัท
ย่อยได้เตรียมการ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ ตั้งแต่การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ การว่าจ้าง
ผู้ออกแบบและก่อสร้างโรงงาน และจัดซื้อเครื่องจักรจากบริษัทชั้นนำระดับโลก คือ M+W Zander(Thai) LTD และ
Centrotherm Photovoltaics GmbH + Co.KG รวมทั้งบริษัทฯได้มีการว่าจ้างบริษัท เอส.ดี.ซี. จำกัด และดร.สรวิช สายเกษม
เป็นที่ปรึกษาจนกว่าจะเสร็จสิ้นโครงการ นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องจักร ในการช่วยแนะนำ
ในการจัดหาวัตถุดิบจากผู้ผลิตวัตถุดิบในระยะยาว

ความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบและราคาวัตถุดิบในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์สูงขึ้น
วัตถุดิบสำคัญในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) คือ แผ่นเวเฟอร์(Wafer) ซึ่งผลิตมาจาก ซิลิคอนบริสุทธิ์
เกรดเซ

 กลับขึ้นบน
อาฟง
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
#1 วันที่: 06/08/2006 @ 23:35:42 : re: สรุปข้อสนเทศ : AKR
ลล์แสงอาทิตย์(Solar-grade silicon) ซึ่งในปัจจุบันราคาแผ่นเวเฟอร์มีแนวโน้มสูงขึ้นตามราคาซิลิคอนบริสุทธ
เกรดเซลล์แสงอาทิตย์ ที่มีการปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากการประชุม PHOTON Internationals 1st Solar Silicon
Conference ในเดือนเมษายน 2548(2005) ได้มีการคาดการณ์ว่าภายหลังปี 2550(2007) หรือปี 2551(2008) ปัญหาการ
ขาดแคลนซิลิคอนบริสุทธิ์เกรดเซลล์แสงอาทิตย์(Solar-grade silicon)จะเริ่มน้อยลงหรือหมดไป เนื่องจากในปัจจุบันม
หลายบริษัทซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงงานผลิตซิลิคอนบริสุทธิ์เกรดเซลล์แสงอาทิตย์ รวมทั้งบริษัทฯยังได้รับความ
ร่วมมือจากผู้ผลิตเครื่องจักรในการช่วยแนะนำในการจัดหาแผ่นเวเฟอร์ (Wafer) ให้แก่บริษัทฯในระยะยาว ทำให้คาดว่า
บริษัทฯ จะไม่มีปัญหาขาดแคลนแผ่นเวเฟอร์เพื่อใช้ในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับในส่วนของราคาของซิลิคอน
บริสุทธิ์เกรดเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นนั้นก็คาดว่าจะไม่กระทบต่อต้นทุนในการผลิตมากนัก โดยจากการ
ประมาณการของผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ที่เข้าร่วมประชุมได้ประมาณการว่าหากราคาซิลิคอนบริสุทธ์
เกรดเซลล์แสงอาทิตย์ สูงขึ้นจากราคาเฉลี่ยประมาณ 36 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมในปี 2547(2004) เป็น 54 เหรียญสหรัฐต่อ
กิโลกรัมหรือมากกว่าร้อยละ 50 ก็จะมีผลกระทบต่อต้นทุนการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์(Solar System)
เพียงร้อยละ 3-8 เท่านั้น เนื่องจากในการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์จะใช้ซิลิคอนเกรดเซลล์แสงอาทิตย์ประมาณ 13 กรัมต่อวัตต์
พีคเท่านั้น (ที่มา: Photon International, June 2004)

ความเสี่ยงจากนโยบายพลังงานทดแทนของภาครัฐ
รัฐบาลได้กำหนดให้เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็นร้อยละ 8 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ภายในปี 2554 ไว้ใน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม เช่น คณะกรรมการ
นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมาตรการกำหนดสัดส่วนการผลิตพลังงานทดแทน(Renewable Portfolio Standard
RPS) ซึ่งมาตรการ RPS นี้จะเป็นมาตรการบังคับที่ให้ผู้ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้นจะต้องจัดหา
หรือสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้ได้ร้อยละ 5 ของกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าใหม่ (RPS 5%)
ป็นต้น อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวยังไม่มีกำหนดการบังคับใช้ที่ชัดเจน อาจจะส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและ
ผลการดำเนินงานของบริษัทฯและบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามจากการที่ภาวะราคาน้ำมัน
ได้ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทำให้รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพลังงานทดแทน รวมทั้งจากการที่บริษัท
เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด สามารถจำหน่ายเซลล์แสงอาทิตย์(Solar Cell) ที่ผลิตได้ไปยังกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ หรือกลุ่มลูกค้า
อุตสาหกรรมในประเทศที่ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้ ทำให้นโยบายพลังงานทดแทนของภาครัฐที่
ไม่ชัดเจนจะไม่มีปัญหากระทบต่อบริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด

ความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพคล่องจากภาระหนี้สินของบริษัทฯ
จากภาระหนี้ทั้งหมดของบริษัทฯ(ไม่รวมบริษัทย่อย) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 มีจำนวน 507.02 ล้านบาท รวมทั้งใน
สัญญาวงเงินสินเชื่อยังได้กำหนดไว้ว่าบริษัทฯและบริษัทย่อยต้องดำรงสัดส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นให้อยู่ในระดับ
ไม่เกิน 3 ต่อ 1 อาจจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสภาพคล่องของบริษัทฯได้ อย่างไรก็ตามการที่บริษัทฯ(ไม่รวมบริษัทย่อย)มี
สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 0.81 เท่า (ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549) และคาดว่าจะลดลงเหลือประมาณ 0.46
เท่า ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ ภายหลังจากที่บริษัทฯ ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทฯมีผลการ
ดำเนินงานที่ดีขึ้นเป็นลำดับและบริษัทฯยังทำการเจรจาขยายระยะเวลาการชำระเงินเพื่อให้ได้รับเงื่อนไขการชำระเงินจาก
เจ้าหนี้การค้า และขออนุมัติวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมจากสถาบันการเงินต่างๆ จะทำให้บริษัทฯและบริษัทย่อยไม่เกิดปัญหา
การขาดสภาพคล่อง

ความเสี่ยงเกี่ยวกับความสามารถในการจ่ายเงินปันผล
จากสัญญาวงเงินสินเชื่อการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า หากบริษัทฯต้องการจ่ายเงิน
ปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป บริษัทฯต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้ หรือ ไม่มีหนี้ใดๆ
หรือ ดอกเบี้ย หรือ ค่าธรรมเนียม ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่ยังไม่ชำระต่อธนาคาร โดยก่อนการจ่ายเงินปันผลในแต่ละครั้ง
บริษัทฯจะต้องแจ้งให้ธนาคารดังกล่าวทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน รวมทั้งการที่บริษัทฯ
ยังมีผลขาดทุนสะสม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 เป็นจำนวน 1.21 ล้านบาท อาจทำให้บริษัทฯจะไม่สามารถจ่ายเงินปันผล
ให้กับผู้ถือหุ้นได้ตามนโยบายการจ่ายเงินปันผลที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามภายหลังจากที่บริษัทฯได้ผ่านการฟื้นฟูกิจการ
ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจได้มีแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ ดังจะเห็นได้จากการที่บริษัทฯและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ
(ไม่รวมกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้)ในปี 2547 2548 และไตรมาสที่ 1 ปี 2549 จำนวน 186.73 175.27 และ
3.85 ล้านบาท ตามลำดับ รวมทั้งภายหลังจากการฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯและบริษัทย่อยไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ และการ
ที่ผู้บริหารของบริษัทฯและบริษัทย่อยซึ่งเป็นผู้มีความสามารถและมีประสบการณ์ในการจัดการธุรกิจมาอย่างยาวนาน
ทำให้บริษัทฯคาดว่าจะเริ่มมีกำไรสะสม และจะสามารถจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ตั้งแต่ผลประกอบการปี 2549
เป็นต้นไป

ความเสี่ยงจากการที่กรรมการบริษัทฯ อาจจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัทฯ
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2549 ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาให้ นายปัญญา ตันติยวรงค์ ประธานคณะกรรมการ
ตรวจสอบของบริษัทฯ ซึ่งอดีตเคยดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงาน
ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ตามที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ
2 และนายประธาน ดาบเพชร ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง โดยมูลเหตุของคดีเกิดจากการที่กรรมการท่านดังกล่าวในฐานะ
ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในขณะนั้น ได้มีการเสนอชื่อผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
โดยไม่เป็นไปตามระเบียบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งกรรมการท่านดังกล่าวอยู่ระหว่างยื่นอุทธรณ์คำ
พิพากษาศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ เนื่องจากคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด บริษัทฯ จึงยังไม่มีนโยบายจะเปลี่ยนกรรมการ
ท่านดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงที่กรรมการท่านดังกล่าวของบริษัทฯ อาจจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ
กรรมการและประธานคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯได้ เมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดและศาลมีคำพิพากษาว่ามีความ
ผิดตามมูลฟ้อง อย่างไรก็ตามในอนาคตเมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว และหากศาลฎีกามีคำพิพากษา ให้กรรมการท่าน
ดังกล่าวมีความผิด ซึ่งจะทำให้กรรมการท่านดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการและประธานคณะ-
กรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ได้ บริษัทฯ จะมีการสรรหากรรมการท่านใหม่มาดำรงตำแหน่งแทน

กรณีพิพาท -ไม่มี-

จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 จำนวน 662 คน

ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2524 ด้วยทุนจดทะเบียน
4 ล้านบาท โดยมีกลุ่มน้อยใจบุญเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และได้ดำเนินธุรกิจเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตามลำดับ โดยได้แปลงสภาพ
เป็นบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อปี 2537 จนถึงปี 2540 ซึ่งประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ รายได้ของบริษัทฯลดลง
ส่งผลให้บริษัทฯมีผลการดำเนินงานขาดทุน และต้องขอเข้ารับการฟื้นฟูกิจการเมื่อปี 2546 โดยบริษัทฯและบริษัทย่อยได้
ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ โดยมีการปลดภาระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยอย่างมีนัยสำคัญ และมีการปรับโครงสร้างทุนโดย
มีผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามา นำโดย บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด (กลุ่มรักศรีอักษร) และกลุ่มกำเหนิดงาม เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นราย
ใหญ่ และศาลล้มละลายได้มีคำสั่งยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯและบริษัทย่อยในปี 2547 ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นใหม่นำโดย
บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด (กลุ่มรักศรีอักษร) และกลุ่มกำเหนิดงาม ได้กำหนดเงื่อนไขสำคัญในการเข้ามาลงทุน คือ
ให้ผู้บริหารของบริษัทฯจำหน่ายเงินลงทุนและยุติความสัมพันธ์กับบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัทฯ รวม 8 บริษัท
โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 จากข้อตกลงดังกล่าว ฝ่ายจัดการของบริษัทฯ ได้ทำการ
จำหน่ายเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทั้ง 8 บริษัท (ประกอบด้วย บริษัท เอกรัฐเจนเนเรเตอร์ จำกัด บริษัท
เอกรัฐการตลาด จำกัด บริษัท เทพารักษ์หม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด บริษัท อี.อาร์.เมทัล เวิร์คส จำกัด บริษัท เอกรัฐอินเตอร
เนชั่นแนล จำกัด Nepal Ekarat Engineering Co.,Pvt.Ltd. Myanmar Ekarat Transformer Co.,Ltd. และ Ekarat Transformer
(M) SDN.Bhd.) เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2547 ให้แก่บริษัท อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัด รวมทั้งบริษัทฯยังได้มีการโอนสิทธิ
ในการเรียกร้องหนี้ในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่บริษัทฯได้จำหน่ายเงินลงทุนออกไปแล้วจำนวน 5 บริษัท ให้กับ บริษัท
อี.เค.อาร์.โฮลดิ้ง จำกัดอีกด้วย นอกจากนี้ในปี 2548 บริษัทฯยังได้มีการเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 508.17 ล้านบาท เป็น
608.17 ล้านบาท โดยเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนด้งกล่าวให้แก่บุคคลในวงจำกัดในราคาหุ้นละ 2 บาท ปัจจุบันบริษัทฯถือหุ้น
ในบริษัทย่อย 1 แห่ง คือ บริษัท เอกรัฐโซล่าร์ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจ ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และอยู่ระหว่างดำเนิน
การจัดตั้งโรงงานผลิตเซลล์แสงอาทิตย์

เงินลงทุนในบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ 2549 ปรากฏดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ทุนชำระแล้ว ร้อยละของหุ้นที่ถือ มูลค่าเงินลงทุน
และลักษณะธุรกิจ (ตามราคาทุน)
บจ. เอกรัฐ โซล่าร์ ผลิตและจำหน่ายแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 30,000,000 99.99 30,000,000

การเพิ่มทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
หน่วย : ล้านบาท
วัน/เดือน/ปี ทุนที่เพิ่ม(ลด) หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน
31 ธันวาคม 2546 - 1,252.87 -
2547 (950) 302.87 ลดทุนจดทะเบียนตามแผนฟื้นฟูกิจการ
2547 2,725.84 3,028.71 เพิ่มทุนจดทะเบียนตามแผนฟื้นฟูกิจการ
2547 (2,520.54) 508.17 ลดทุนจดทะเบียนตามแผนฟื้นฟูกิจการ
2548 100 608.17 เพิ่มทุนชำระแล้วเป็น 608.17 ล้านบาท โดยเสนอขาย
แก่บุคคลในวงจำกัด/ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ
ของบริษัทฯ
2549 182 790.17 เพื่อรองรับการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน
รอบระยะเวลาบัญชี ตามรอบปีปฏิทิน ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม
ผู้สอบบัญชี นางสาวสุกัญญา สุธีประเสริฐ บริษัท สำนักงาน เอ เอ็ม ซี จำกัด
นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ จำกัด

นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทฯและบริษัทย่อยมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราประมาณร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิหลังหัก
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและสำรองตามกฎหมายในแต่ละปี ทั้งนี้คณะกรรมการของบริษัทฯมีอำนาจในการพิจารณายกเว้น
ไม่ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวได้เป็นครั้งคราว โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่การดำเนินการ
ดังกล่าวจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น เช่น ใช้เป็นเงินทุนสำรองสำหรับการชำระคืนเงินกู้ ใช้เป็นเงินลงทุน
เพื่อขยายธุรกิจของบริษัทฯ หรือปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานของบริษัทฯ ซึ่งการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวข้างต้น
จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามความเหมาะสมและความเห็นชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ
ทั้งนี้จากสัญญาการกู้เงินจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งได้กำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาเงินกู้ว่า หากบริษัทฯต้องการ
จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นสำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป บริษัทฯต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้ หรือ
ไม่มีหนี้ใดๆ หรือ ดอกเบี้ย หรือ ค่าธรรมเนียม ที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่ยังไม่ชำระต่อธนาคาร โดยก่อนการจ่ายเงินปันผล
ในแต่ละครั้ง บริษัทฯจะต้องแจ้งให้ธนาคารดังกล่าวทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน
บัตรส่งเสริมการลงทุน -ไม่มี-


จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2549 ปรากฏดังนี้

จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนจดทะเบียน
1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders
1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ - - -
1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง 17 356,273,960 45.09
และบุคคลที่มีความสัมพันธ์
1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 4 81,959,190 10.37
1.4 ผู้มีอำนาจควบคุม - - -
1.5 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายใน
เวลาที่กำหนด 1/ - - -
2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 1,331 351,940,490 44.54
3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - -
รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น (Total Shareholders) 1,352 790,173,640 100.00

1/ หมายเหตุ หมายถึงกลุ่มผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงการห้ามขายหุ้นภายในกลุ่ม นอกเหนือจากหุ้นที่ต้องนำฝาก Silent Period

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2549
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้วหลัง IPO
1. กลุ่มน้อยใจบุญและผู้บริหาร 141,339,500 17.89
2. กลุ่มกำเหนิดงาม 101,013,560 12.78
3. นายจุลจิตต์ บุณยเกตุ 66,500,000 8.42
4. นายโอภาส รางชัยกุล 47,554,050 6.02
5. กลุ่มรักศรีอักษร 41,959,190 5.31
6. กลุ่มบุญขันธ์ 40,000,000 5.06
7. นายภากร มกรานนท์ 33,030,920 4.18
8. บริษัท มหาศิริสยาม จำกัด 25,000,000 3.16
9. นายสมบัตร เดชาพานิชกุล 20,000,000 2.53
10. บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด 12,000,000 1.52
รวม 528,397,220 66.87

รายละเอียดของผู้ถือหุ้นของบริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด(มหาชน) แต่ละกลุ่ม

1 กลุ่มน้อยใจบุญและผู้บริหาร
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้วหลัง IPO
1. บริษัท เควี แอสเซ็ท จำกัด 100,000,000 12.66
2. บริษัท เอกรัฐโฮลดิ้ง จำกัด 34,347,750 4.35
3. นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ 4,027,280 0.51
4. นางสาวโฉมพิชา น้อยใจบุญ 866,780 0.11
5. นางสาวร่มพิศม์ศรี น้อยใจบุญ 866,780 0.11
6. นางดารณี กันตามระ 262,890 0.03
7. นายดนุชา น้อยใจบุญ 220,970 0.03
8. นายวิสุทธิ์ โตพงษ์เกษม 220,440 0.03
9. นายวิวัฒน์ แสงเทียน 136,640 0.02
10. นายดรุณวัฒน์ น้อยใจบุญ 132,820 0.02
11. ด.ช.เริงรัฐ น้อยใจบุญ 124,310 0.02
12. นางฑิมาภรณ์ น้อยใจบุญ 96,760 0.01
13. นายบุญส่ง ออพิพัฒน์ 15,500 0.00
14. นางสาวชุลีพร แสงเทียน 11,740 0.00
15. นางสุรีย์ภรณ์ น้อยใจบุญ 8,840 0.00
รวมกลุ่มน้อยใจบุญและผู้บริหาร 141,339,500 17.89

2. กลุ่มกำเหนิดงาม
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้วหลัง IPO
1. นายมานัส กำเหนิดงาม 100,000,000 12.66
2. นางสุรภี กำเหนิดงาม 1,013,560 0.12
รวมกลุ่มกำเหนิดงาม 101,013,560 12.78

3. กลุ่มรักศรีอักษร
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้วหลัง IPO
1. บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด 21,959,190 2.78
2. นายนิรุตติ์ รักศรีอักษร 20,000,000 2.53
รวมกลุ่มรักศรีอักษร 41,959,190 5.31

4. กลุ่มบุญขันธ์
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้วหลัง IPO
1. นางสาวพจนาลัย บุญขันธ์ 20,000,000 2.53
2. นางเอื้อมพร บุญขันธ์ 20,000,000 2.53
รวมกลุ่มบุญขันธ์ 40,000,000 5.06

ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2549
บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 8 ราย ถือหุ้นรวมกัน 29,588,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 3.74 ของทุนจดชำระแล้วหลัง IPO
หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับของบริษัทข้อ 12.1 ว่า หุ้นของบริษัทฯ
โอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่การโอนหุ้นนั้นเป็นเหตุให้มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ในบริษัทฯเกินกว่าร้อยละ 30 ของ
จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
คณะกรรมการ ชื่อ ตำแหน่ง วันที่ดำรงตำแหน่ง
1.นายจุลจิตต์ บุณยเกตุ ประธานคณะกรรมการ 6 ก.ย. 2547
2.นายมานัส กำเหนิดงาม รองประธานคณะกรรมการ 6 ก.ย. 2547
3.นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ กรรมการ/ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 2524
4.นายวิวัฒน์ แสงเทียน กรรมการ/กรรมการผู้จัดการ 2535
5.นายโอภาส รางชัยกุล กรรมการ 6 ก.ย. 2547
6.นายสมพงศ์ เอื้ออัชฌาสัย กรรมการ 6 ก.ย. 2547
7.นายปัญญา ตันติยวรงค์ กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ 28 ม.ค. 2548
8.นายไพโรจน์ บุญคงชื่น กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ 9 ธ.ค. 2547
9.นายสวาสดิ์ ปุ้ยพันธวงศ์ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ 9 ธ.ค. 2547

คณะกรรมการตรวจสอบ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการจำนวน 3 ท่าน
มีรายชื่อ ดังต่อไปนี้
ประธานกรรมการตรวจสอบ นายปัญญา ตันติยวรงค์ วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี
กรรมการตรวจสอบ นายไพโรจน์ บุญคงชื่น วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี
กรรมการตรวจสอบ นายสวาสดิ์ ปุ้ยพันธวงศ์ วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี

เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ นางสุวรรณี สุจริตวณิชพงศ์
ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ
1. สอบทานให้บริษัทฯมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ
2. สอบทานให้บริษัทฯมีระบบการควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
3. สอบทานให้บริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ
4. สอบทานให้บริษัทฯ มีการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ หรือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย
หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์
5. รายงานให้คณะกรรมการบริษัททราบถึงข้อเสนอแนะของผู้สอบบัญชี และฝ่ายตรวจสอบภายใน
รวมทั้งติดตามการดำเนินการของฝ่ายจัดการต่อข้อเสนอแนะดังกล่าว ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบจะ
รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง
6. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัท
7. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯ ในกรณีที่เกิดรายงานที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง
ผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องครบถ้วน
8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทฯ มอบหมาย และคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบ
9. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ
ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับ
มอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ในขณะที่ความรับผิดชอบในกิจกรรมทุกประการของบริษัทฯ ต่อบุคคลภายนอก
ยังคงเป็นของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งคณะ

เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ (ถ้ามี) -ไม่มี-
ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น กำหนดระยะเวลาการห้ามขายหุ้นของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารของบริษัทฯ
จำนวนรวม 513,773,890 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 65.02 ของทุนชำระแล้ว เป็นเวลา 1 ปี
6 เดือน นับแต่วันที่หุ้นของผู้ยื่นคำขอเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย โดยเมื่อครบกำหนดทุกๆ 6 เดือน สามารถทยอยขายหุ้นได้ร้อยละ 25
ของหุ้นทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย

การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์ - ไม่มี ?

อื่น ๆ ที่สำคัญ (ถ้ามี) -ไม่มี-


สถิติ
บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน)
ล้านบาท --------------------------------------------------- บาท/หุ้น-----------------------------
ปี รายได้ กำไรสุทธิ กำไรสุทธิ เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย ตามบัญชี ต่อกำไร (%)

2546 920.03 20.08 0.07 0.00 -4.23 0.00
2547 1,030.80 1,532.32 3.93 0.00 0.48 0.00
2548 1,478.65 175.27 0.29 0.00 1.02 0.00
2549 งวด 3 เดือน 343.27 3.85 0.006 0.00 1.03 0.00
สิ้นสุด 31 มี.ค. 49
(สอบทานแล้ว)
* มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท

บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 31 ธันวาคม 2546-2548 และ 31 มีนาคม 2549

(หน่วย: ล้านบาท)
I---------------------ตรวจสอบ--------------------I---------สอบทาน------------I
2546 2547 2548 2549
งวด 3 เดือน
สิ้นสุด 31 มีนาคม

สินทรัพย์
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 14.05 27.53 44.41 86.55
ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 126.65 282.21 302.09 280.43
สินค้าคงเหลือ-สุทธิ 189.26 247.95 342.37 335.13
สินค้าระหว่างทาง 26.94 29.09 31.60 38.14
เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน-สุทธิ 0.00 11.50 55.50 71.50
รายได้ค้างรับ 0.00 4.41 11.29 11.85
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 10.29 12.46 27.84 28.53
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 384.61 719.66 815.10 852.13
เงินลงทุนซึ่งบันทึกด้วยวิธีส่วนได้เสีย 109.65 29.64 21.55 17.01
สินทรัพย์ให้เช่า-สุทธิ 6.30 8.10 7.40 7.64
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 147.49 136.25 237.30 230.01
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 282.52 194.35 282.51 279.40
รวมสินทรัพย์ 667.13 914.01 1,097.61 1,131.53
หนี้สิน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 60.96 76.42 149.17 130.86
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 66.35 145.89 76.51 162.81
เงินกู้ยืมจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 0.00 30.00 30.00 30.00
ส่วนของหนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงินที่ถึง
กำหนดชำระภายใน 1 ปี 1.12 1.21 1.40 1.43
ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึง
กำหนดชำระภายใน 1 ปี 0.00 51.00 60.00 60.00
ดอกเบี้ยค้างจ่าย 14.67 0.38 1.68 0.00
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 22.80 30.39 35.53 26.79
เงินมัดจำจากลูกค้า 8.76 12.08 15.22 18.12
รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า 5.58 19.14 24.91 13.80
เจ้าหนี้อื่น 7.86 9.80 17.05 11.02
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 0.64 6.29 3.67 5.90
รวมหนี้สินหมุนเวียน 212.82 397.84 415.35 460.79
หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน 4.98 3.77 4.59 4.22
หนี้สินตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 1,565.44 0.00 0.00 0.00
ผลขาดทุนสุทธิของบริษัทย่อยที่
เกินกว่าเงินลงทุน 166.24 0.00 0.00 0.00
เงินกู้ยืมระยะยาว 0.00 267.00 57.00 42.00
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 1,736.66 270.77 61.59 46.22
รวมหนี้สิน 1,949.48 668.61 476.94 507.01
ส่วนของผู้ถือหุ้น
หุ้นบุริมสิทธิ 950.00 0.00 0.00 0.00
ทุนออกจำหน่ายและชำระแล้ว 302.87 508.17 608.17 608.17
ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ - 949.91 0.00 0.00 0.00
ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ 0.00 -202.58 0.00 0.00
ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ 107.50 107.50 4.93 4.93
กำไร(ขาดทุน)สะสม-สำรองตามกฎหมาย 12.63 12.63 12.63 12.63
กำไร(ขาดทุน)สะสม-ยังไม่ได้จัดสรร -1,712.65 -180.33 -5.06 -1.21
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น -1,282.35 245.39 620.67 624.52
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 667.13 914.01 1,097.61 1,131.53
ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการขายสินค้า 833.27 937.65 1,256.97 311.40
รายได้ค่าบริการและซ่อมบำรุง 86.76 93.15 221.68 31.87
รายได้อื่น 7.06 5.95 12.31 2.79
รวมรายได้ 932.05 1,216.83 1,502.12 346.06
ต้นทุนสินค้าขาย 598.74 666.53 915.21 255.01
ต้นทุนค่าบริการและซ่อมบำรุง 50.27 49.98 163.77 20.79
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 175.25 187.44 219.12 57.25
ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 34.19 115.20 8.09 4.53
รวมค่าใช้จ่าย 869.98 1,019.15 1,306.19 337.58
กำไร(ขาดทุน)ก่อนดอกเบี้ยและภาษี 62.07 197.68 195.93 8.48
ดอกเบี้ยจ่าย 41.99 10.96 20.66 4.63
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 0.00 0.00 0.00 0.00
กำไรหลังดอกเบี้ยจ่าย 20.08 186.73 175.27 3.85
รายการพิเศษ-กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 0.00 1,345.59 0.00 0.00
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ 20.08 1,532.32 175.27 3.85
กระแสเงินสด
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดำเนินงาน 71.96 -65.97 14.02 93.05
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน -14.52 -46.72 -64.56 -17.26
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน -57.36 133.68 67.42 -33.65


บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
---------------ล้านบาท --------------------------------------------------- บาท/หุ้น*-----------------------------
ปี รายได้ กำไรสุทธิ กำไรสุทธิ เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล
จากการขาย ตามบัญชี ต่อกำไร (%)

2546 1,310.81 20.08 0.07 0.00 -4.23 0.00
2547 1,325.72 1,532.32 3.93 0.00 0.48 0.00
2548 1,511.92 175.27 0.29 0.00 1.02 0.00
2549
งวด 3 เดือน 342.99 3.85 0.006 0.00 1.03 0.00
สิ้นสุด 31 มี.ค. 49
(สอบทานแล้ว)
* มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท

บริษัท เอกรัฐวิศวกรรม จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 31 ธันวาคม 2546-2548 และ 31 มีนาคม 2549

(หน่วย: ล้านบาท)
I---------------------ตรวจสอบ--------------------I---------สอบทาน------------I
2546 2547 2548 2549
งวด 3 เดือน
สิ้นสุด 31 มีนาคม

สินทรัพย์
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 19.40 33.95 45.74 87.35
ลูกหนี้การค้า-สุทธิ 136.72 389.60 316.61 280.43
สินค้าคงเหลือ-สุทธิ 193.78 252.51 358.44 368.43
สินค้าระหว่างทาง 26.94 29.09 31.60 39.09
รายได้ค้างรับ 0.00 4.41 11.29 11.85
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 10.98 19.65 37.58 38.34
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 390.57 729.31 801.26 825.49
สินทรัพย์ให้เช่า-สุทธิ 6.30 8.10 7.40 7.64
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 400.90 367.22 554.32 617.11
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 473.29 428.96 585.61 651.92
รวมสินทรัพย์ 863.86 1,158.27 1,386.87 1,477.41
หนี้สิน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 60.96 87.98 419.22 394.50
เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 105.24 148.86 77.58 168.68
เงินกู้ยืมจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 0.00 129.92 30.00 30.00
ส่วนของหนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงินที่ถึง
กำหนดชำระภายใน 1 ปี 1.25 1.32 1.40 1.43
ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึง
กำหนดชำระภายใน 1 ปี 0.00 51.00 60.00 60.00
ส่วนของหนี้สินตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ที่ถึงกำหนดชำระใน 1 ปี 54.81 54.81 0.00 0.00
ดอกเบี้ยค้างจ่าย 47.57 40.00 2.10 0.00
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 23.68 30.72 37.08 28.39
เงินมัดจำจากลูกค้า 8.58 12.08 15.25 18.12
รายได้ค่าบริการรับล่วงหน้า 5.58 19.14 24.91 13.80
เจ้าหนี้อื่น 7.86 38.69 33.40 64.43
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 54.35 121.03 3.67 6.30
รวมหนี้สินหมุนเวียน 390.03 821.50 704.61 785.65
หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน 5.24 3.92 4.59 4.22
หนี้สินตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 1,746.32 0.00 0.00 0.00
เงินกู้ยืมระยะยาว-สุทธิ 0.00 267.00 57.00 63.02
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 1,751.56 270.92 61.59 67.24
รวมหนี้สิน 2,141.59 1,092.42 766.21 852.89
ส่วนของผู้ถือหุ้น
หุ้นบุริมสิทธิ 950.00 0.00 0.00 0.00
ทุนออกจำหน่ายและชำระแล้ว 302.87 508.17 608.17 608.17
ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ -949.91 0.00 0.00 0.00
ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ 0.00 -202.58 0.00 0.00
ส่วนเกินกว่ามูลค่าหุ้นสามัญ 107.50 107.50 4.93 4.93
กำไร(ขาดทุน)สะสม-สำรองตามกฎหมาย 12.63 12.63 12.63 12.63
กำไร(ขาดทุน)สะสม-ยังไม่ได้จัดสรร -1,712.65 -180.33 -5.06 -1.21
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 5.35 -179.53 0.00 0.00
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น -1,277.73 65.84 620.67 624.52
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 863.86 1,158.27 1,386.87 1,477.41
ผลการดำเนินงาน
รายได้จากการขายสินค้า 1,219.70 1,228.74 1,291.44 311.42
รายได้ค่าบริการและซ่อมบำรุง 91.11 96.98 220.48 31.57
รายได้อื่น 24.23 53.01 11.87 2.09
รวมรายได้ 1,353.75 1,558.81 1,534.95 345.08
ต้นทุนสินค้าขาย 662.39 733.51 949.96 255.20
ต้นทุนค่าบริการและซ่อมบำรุง 57.40 58.88 164.86 20.79
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 569.33 475.86 222.92 59.75
รวมค่าใช้จ่าย 1,300.66 1,558.27 1,337.74 335.74
กำไร(ขาดทุน)ก่อนดอกเบี้ยและภาษี 53.09 0.54 197.21 9.34
ดอกเบี้ยจ่าย 54.82 19.31 21.94 5.49
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 0.00 0.11 0.00 0.00
กำไรหลังดอกเบี้ยจ่าย -1.73 -18.88 175.27 3.85
(กำไร)ขาดทุนสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 21.81 117.74 0.00 0.00
รายการพิเศษ-กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ 0.00 1,433.46 0.00 0.00
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ 20.08 1,532.32 175.27 3.85
กระแสเงินสด
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมดำเนินงาน 69.53 47.94 -32.09 88.15
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน -12.78 -77.91 -276.72 -27.50
เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน -60.15 50.61 320.59 -19.04
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง)
สุทธิ -2.07 14.55 11.79 41.61

จัดทำโดย บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ จำกัด
 กลับขึ้นบน
อาฟง
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
#2 วันที่: 07/08/2006 @ 08:38:49 : re: สรุปข้อสนเทศ:AKR/เข้าวันนี้IPO2.70/พาร์1/ต้นทุนเจ้าของ2บ
-กำไรส่วนต่างไอพีโอ 35%[/color:30a37d2a8a">

ถ้าผลการขายหุ้นไอพีโอของ บมจ.เอกรัฐวิศวกรรม เป็นไปอย่างราบรื่น และสามารถขายได้หมดตามที่กำหนด จะทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท ที่ใส่เงินซื้อหุ้นเพิ่มทุนไปเมื่อปลายปี 2548 ได้รับกำไรจากการลงทุนถึง 0.70 บาท หรือคิดเป็น 35 %เลยก็ว่าได้

เนื่องจากช่วงเดือนตุลาคม 2548 ที่ผ่านมา บริษัทได้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจง(พีพี)ให้กับผู้ถือหุ้นใหม่ 15 ราย รวม 95 ล้านหุ้น ได้แก่ บริษัท มหาศิริสยามจำกัด 25 ล้านหุ้น พล.ต.ต.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง 10 ล้านหุ้น นายไพศาล ติยะรังสีนุกูล 9.5ล้านหุ้น นางเสาวภา สถิตย์ทอง 7 ล้านหุ้น นางสาวจิรา ตัณฑพานิช 6.5 ล้านหุ้น บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด(มหาชน),นางนารี บุญคงชื่น และนายประกิต ประทีปะเสนรายละ 5 ล้านหุ้น

นายไชยยศ รุ่งเจริญชัย ,นางอนงค์รัตน์ ฉัตรจุฑามาส,นางกรุณา ชิดชอบ และนางสาวกิตติมา สุขสุสร รายละ 4 ล้านหุ้น นางสาววิมลรัตน์ ตัณฑพันธ์ และนายเทพฤทธิ์ เตชะนาวากุล รายละ 2 ล้านหุ้น และนางวีรี ศิริจันทร์ 1.5 ล้านหุ้น และจำหน่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม 2 ราย จำนวน 5 ล้านหุ้น ได้แก่ นายโอภาส รางชัยกุล จำนวน 4 ล้านหุ้น และพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช 1 ล้านหุ้น

การจัดสรรหุ้นแบบเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ถือหุ้นเหล่านี้ เป็นการจัดสรรหุ้นให้กับกลุ่มคนที่มีความสนิทสนมกับ เกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ และกลุ่มของ วิชัย รักศรีอักษร โดยตัวอย่างของคนสนิทที่เข้ามาถือหุ้นอย่างบริษัท มหาศิริสยาม จำกัดนั้น เพราะบริษัทดังกล่าวเป็นของกลุ่มตรีวิศวเวทย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน)หรือCK และมีความสัมพันธ์กับ มานัส กำเหนิดงาม เป็นอย่างดี เนื่องจาก มานัส เป็นทนายความที่ช่วยในเรื่องกฎหมายต่างๆ ให้กับบริษัทในกลุ่มช.การช่าง

นอกจากนี้ กลุ่มช.การช่าง ยังเป็นลูกค้าประจำในส่วนของธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีการทำธุรกิจกันมานานตลอด 25 ปีที่ผ่านมา ซึ่ง ปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหารของCK เองก็เป็นรุ่นพี่ของเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ สมัยเรียนอยู่ที่ โรงเรียนสวนกุหลาบ

จากความสัมพันธ์ดังกล่าว จึงไม่แปลกใจเลยที่บริษัทย่อยของ CK จะเข้ามาถือหุ้นAKR

ทั้งนี้ยังมีชื่อของ พล.ต.ต.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รองจเรตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีความสนิทสนมกับวิชัย รักศรีอักษรเป็นอย่างมาก จนถูกคนในวงการตลาดหุ้นตั้งฉายาให้ว่า สมยศคิงส์เพาเวอร์ ซึ่งเขาก็เข้ามาร่วมในการถือหุ้น AKR ที่มีต้นทุนเพียง 2 บาทครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เข้ามาโดยเฉพาะเมื่อมีชื่อของ กรุณาชิดชอบ ซึ่งเป็นภรรยาปัจจุบัน ของ เนวิน ชิดชอบ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ก็เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วย

ลำพังแค่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ ที่หยิบยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างดังกล่าวก็แสดงให้เห็นแล้วว่า หุ้นที่ขายออกไปนั้นเป็นการขายให้กับคนสนิทจริงๆ ซึ่งถ้ามีการขุดคุ้ยประวัติของบุคคลที่เหลืออีก14 ราย คงอาจจะได้เห็นตื้นลึกหนาบางมากกว่านี้

คงไม่ต้องบอกที่มาที่ไปของการกำหนดราคาหุ้นไอพีโอของAKR ที่ตั้งไว้ที่ 3 บาท จนล่าสุดได้มีการปรับลดลงมาเหลือเพียง 2.70 บาทนั้น โดยคำตอบทั้งหมด มีความชัดเจนอยู่ในตัวของมันเองอย่างหลีกหนีไม่พ้นอยู่แล้ว

นี่ยังไม่นับราคาหุ้นที่กลุ่มรักศรีอักษร ,กำเหนิดงาม ที่ได้มาก่อนหน้านี้ช่วงที่มีบริษัทมีการฟื้นฟูกิจการ แถมมีราคาถูกแสนถูกอีกด้วย
ฉะนั้นราคาหุ้น 2.70 บาท ถือว่าถูกหรือแพง ??
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com