May 2, 2024   7:50:10 PM ICT
LTF VS RMF

     คราวที่แล้ว ดิฉันได้เกริ่นไว้ในเรื่องบัตรพลาสติก และทิ้งท้ายไว้ ว่าจะเขียนต่อเรื่อง smart card แต่ต้องขอขัดจังหวะด้วยเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจ และเป็นเรื่องดี ในด้านการออมเงินหรือการลงทุนบ้าง ไม่ใช่จะสนับสนุนให้คนเป็นหนี้อย่างเดียว 
       
       

นั่นคือ เรื่องของ LTF หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund) เหตุที่ดิฉันนำมาขัดจังหวะในครั้งนี้ เนื่องจากสิทธิประโยชน์นั้น หากจะนำมาเป็นประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีของปีภาษี 2547 นี้ จะต้องตัดสินใจที่จะลงทุนภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 และขณะนี้ ได้มีหลายบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ที่ได้นำเสนอ จึงคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่าน ในการที่จะตัดสินใจลงทุน และสำรวจตรวจตรากระเป๋าเงินของตนเองว่ามีอยู่เท่าไหร่และจะจัดสรรอย่างไรดี
       
        เมื่อปี 2545 รัฐบาลได้อนุมัติให้นำเงินลงทุนในกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) มาหักลดหย่อนภาษี โดยมีข้อกำหนดต่างๆ และมีการนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาทต่อคนต่อปี ดังที่ได้เคยเขียนไว้แล้วใน ?ผู้จัดการรายวัน? ฉบับวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา
       
        มาในปีนี้ รัฐบาลได้อนุมัติในการลงทุนอีกประเภทหนึ่ง คือ LTF ซึ่งได้กำหนดขอบเขตการลดหย่อนภาษีไว้ที่ 300,000 บาทเช่นกัน และข้อสำคัญ ยังถือว่าการลงทุน LTF แยกจากการลงทุน RMF ดังนั้น หากมีการลงทุนทั้ง 2 ประเภท จะสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ถึง 600,000 บาททีเดียว ทั้งนี้ จะต้องเข้าเงื่อนไขตามที่กำหนด
       
        ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกันก่อนเกี่ยวกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
        กองทุนรวมหุ้นระยะยาว คืออะไร
       กองทุนรวมหุ้นระยะยาว [Long Term Equity Fund : LTF] เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในตราสารทุนไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่ากองทุน และสามารถนำเงินลงทุนไปหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษี
       
        ลักษณะอย่างย่อของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
        เป็นกองทุนเปิดที่เน้นลงทุนในตราสารทุนเป็นหลัก
       
        สามารถจ่ายเงินปันผลได้
        สามารถขายคืนได้ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง
       
        สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ลงทุน
        เงินได้พึงประเมินทุกประเภท [มาตรา 40 (1)?(8)] สามารถนำคำนวณเพื่อซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาวได้
       
        ผู้ลงทุนสามารถนำค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว กองทุนเดียว หรือหลายกองทุน รวมกันไป
       ลดหย่อนภาษีเงินได้ไม่เกิน 15%ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 300,000 บาทต่อปีภาษี
        สามารถนำเงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวลดหย่อนภาษีเงินได้ถึงปี 2559
       
        เงื่อนไขในการลงทุน
        เงิน หรือผลประโยชน์ (Capital gain) ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาว จะได้รับการ
       ยกเว้นการเสียภาษีเงินได้ มีเงื่อนไขดังนี้
       
        การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน
        ผู้ถือหน่วยลงทุนเกิดทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ในระหว่างถือหน่วยลงทุน (กรณีทุพพลภาพ ต้องมีแพทย์ที่ทาง
       ราชการรับรอง ได้ตรวจ และแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ)
       
        ถ้าผู้ลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน หรือทุพพลภาพ สามารถ
       ดำเนินการดังต่อไปนี้ โดยถือว่าไม่ผิดเงื่อนไขการลงทุน
       
       (1) ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวนั้นต่อไป
       (2) ขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้
       
        การคำนวณต้นทุนของเงินลงทุน ผลประโยชน์ และการหักเงินลงทุนแต่ละรายการ เมื่อมีการขายคืนหน่วยลงทุน
       หรือการโอนย้ายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหนึ่ง ไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นระยาวอื่น ใช้ตามวิธีการ?เข้าก่อนออกก่อน? (First In First Out?FIFO)
       
        ถ้าผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวทำผิดเงื่อนไขการลงทุนจะต้องดำเนินการอย่างไร
       ผู้ลงทุนต้อง :
       
       (1) ชำระคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับมาของเงินลงทุนจำนวนที่ขายคืนบางส่วน หรือทั้งหมด ของเงินลงทุนใน
       แต่ละครั้ง โดยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติม พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร (อัตรา 1.5% ต่อเดือน)
       
       (2) นำเงิน หรือผลประโยชน์ (Capital gain) ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนนั้น ไปรวมกับเงินได้อื่นๆ ที่ผู้ลงทุน
       ได้รับในปีภาษีนั้น เพื่อเสียภาษี
       
        เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร
       บริษัทจัดการ หรือนายทะเบียนหน่วยลงทุน จะจัดส่งหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่
       ละปีภาษี เพื่อเป็นเอกสารประกอบการยื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้
       
        กองทุนรวมหุ้นระยะยาวเหมาะสมกับใคร
        ผู้ที่มีเงินได้ที่สามารถรับความเสี่ยงจากการลงหุ้น และต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการลงทุนไปพร้อม
       กัน
       
        ตัวอย่างการประหยัดภาษีกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
       สมมติ : คนโสด มีรายได้ปีละ 2,000,000 บาท ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
       
       รายการ ไม่ลงทุน ลงทุนสูงสุดเฉพาะ ลงทุน
        RMF & LTF LTF RMF & LTF
       เงินได้ 2,000,000 2,000,000 2,000,000
       หัก ค่าใช้จ่าย 60,000 60,000 60,000
       เงินได้ก่อนหักค่าลดหย่อน 1,940,000 1,940,000 1,940,000
       หัก ค่าลดหย่อน 30,000 30,000 30,000
        เงินลงทุนใน RMF - - 300,000
        เงินลงทุนใน LTF - 300,000 300,000
       เงินได้สุทธิ 1,910,000 1,610,000 1,310,000
       ภาษีที่ต้องชำระ 414,000 324,000 234,000
       
       ภาษีที่ประหยัดได้ 90,000 180,000
       
        เพื่อให้เห็นถึงความเหมือน หรือความแตกต่าง ของกองทุนรวม 2 ประเภท จึงได้จัดทำตารางข้อเปรียบเทียบ กองทุนรวม RMF และ LTF ดังนี้
       
        กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
       นโยบายการลงทุน  ตราสารหนี้ /ตราสารทุน/ผสมแบบยืดหยุ่น  ตราสารทุนเพียงอย่างเดียว
       การซื้อหน่วยลงทุน  ทุกวันทำการ  ทุกวันทำการ
       การรับซื้อคืนหน่วยลงทุน  ทุกวันทำการ  ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง
       การจ่ายเงินปันผล  ไม่สามารถจ่ายเงินปันผล  จ่ายได้ไม่เกิน 30%ของกำไรสะสม
       สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของผู้ลงทุน  กำไรส่วนเกินทุน ไม่เสียภาษี
        ลดหย่อนภาษีได้ 15%ของเงินได้สูงสุด 300,000 บาท/ปี เมื่อรวมกับเงินกองทุน กบข. หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  กำไรส่วนเกินทุน ไม่เสียภาษี
        ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้สูงสุด 300,000 บาท/ปี
        ต้องลงทุนไม่เกินปี 2559 ถ้าลงทุนหลังจากนี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
       ระยะเวลาการลงทุนที่ถูกต้องตามเงื่อนไข  ต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไข และขายคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปี  ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ลงทุนปีไหนสามารถนำไปใช้ลดหย่อนในปีภาษีนั้น และขายคืนได้เมื่อครบ 5 ปีปฏิทิน
       เงินลงทุนขั้นต่ำ  3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาท  ไม่กำหนด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกองทุน
       จุดเด่น & จุดด้อย  มีหลายรูปแบบให้เลือก
        ต้องลงทุนต่อเนื่องตามเงื่อนไขของ RMF  เน้นลงทุนหุ้นอย่างเดียว
        ไม่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี
       
        คงจะเห็นความแตกต่างของกองทุนฯ ทั้ง 2 ประเภทแล้ว ก็คงจะต้องตัดสินใจเลือกลงทุนกันเอง โดยท่านสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทุกแห่ง
       
        ก็ขอปิดท้ายด้วยคำเตือนมาตรฐาน คือ ?การลงทุนเป็นความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน?
       
       ขอบคุณ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม พรีมาเวสท์ จำกัด
       สนใจสอบถามข้อมูลสามารถส่งมาได้ที่ dcharlotte@krungsri.com หรือแฟกซ์มาที่หมายเลข 02-683-1604

 

บทความจาก www.manager.co.th

โดย คุณ ชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ไทยหุ้น.คอม ขอขอบคุณครับ


 

เข้าชม: 2,485

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com