April 28, 2024   5:41:14 PM ICT
SCB โดดเด่นในกลุ่มแบงก์

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่1. CHASE NOMINEES LIMITED 42 127,748,066 หุ้น 6.74%2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 115,600,487 หุ้น 6.10%3. LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED 112,552,400 หุ้น 5.94%4. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 107,978,733 หุ้น 5.70%5. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 100,265,685 หุ้น 5.29%คณะกรรมการ1. นายอานันท์ ปันยารชุน นายกกรรมการ 2. ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร 3. นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ 4. นายบดินทร์ อัศวาณิชย์กรรมการ 5. นายปีเตอร์เซียะ ลิม ฮวด กรรมการ


          ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB แม้จะเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่รองอันดับ 2 ของประเทศ หากแต่ศักยภาพและความสามารถในการเติบโตนับว่าโดดเด่นไม่เป็นรองใคร ซึ่งสังเกตได้จากช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยแต่ด้วยประสิทธิภาพที่มาพร้อมกับฝีมือการบริหารเป็นเลิศ ทำให้ผลลัพธ์ที่ปรากฏเสมอมาโดดเด่นน่าประทับใจได้ตลอด
          หลังธนาคารให้ความสำคัญกับการสร้างธุรกิจมีการเติบโตอย่างมีคุณภาพพร้อมกับสร้างเสริมศักยภาพเพื่อรองรับกับการรุกตลาดในรูปแบบของธนาคารครบวงจรพร้อมกับปรับตัวเข้าสู่ Universal Banking ได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มียอดการใช้ธนาคารเพิ่มขึ้นเป็นอย่างดี


          ประกอบกับที่ธนาคารได้รับความสำเร็จจากโครงการปรับปรุงธนาคารหรือ ChangeProgram ที่นำมาใช้ในองค์กรอย่างเข้มข้นตลอดเวลา 6 ปีที่ผ่านมา และด้วยความแข็งแกร่งจากการปรับปรุงองค์กรในหลายส่วนด้วยกันนี้ ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นองค์กรที่มีความพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายในโลกของการแข่งขันต่อไป


          ดังนั้นจากตัวเลขกำไรสุทธิที่เติบโตขึ้นอย่างโดดเด่น ในไตรมาสสาม สิ้นสุด ณ วันที่30 กันยายน 2550 จำนวน 5,322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,634 ล้านบาทหรือร้อยละ 44.3จากงวดเดียวกันของปีก่อน 4,310 ล้านบาท ล้วนมาจากฝีมือการบริหารงานที่ยอดเยี่ยมเต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ และนับว่าโดดเด่นสุดในกลุ่มแบงก์ก็ว่าได้


          ขณะที่ปัจจัยหลักผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้ด้วยดี มีสาเหตุมาจากการเติบโตของรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 32.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสินเชื่อของธนาคารยังขยายตัวได้ดี


          โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อธุรกิจ (SME) ที่เพิ่มขึ้น 31,272 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.4 จากสิ้นปี 2549 สินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้น 21,608 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.7 โดยเพิ่มขึ้นจากสินเชื่อเช่าซื้อ 14,620 ล้านบาท หรือร้อยละ 28.1 สินเชื่อเคหะเพิ่มขึ้น 6,673 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.6 และสินเชื่ออื่นๆ เพิ่มขึ้น 315 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.7 ในขณะที่สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 1,426 ล้านบาท หรือร้อยละ


          ประกอบกับการเติบโตของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ที่เติบโตขึ้น 28% จากปีที่แล้ว โดยธุรกิจการจัดการกองทุนรวมเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผลักดันการเติบโตของรายได้ในส่วนนี้ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงเป็นผู้นำด้วยส่วนแบ่งตลาด 21% ซึ่งปัจจุบันรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยนั้นเป็นสัดส่วนถึง 36% ของรายได้รวม ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของธนาคาร


          ประการต่อมาธนาคารได้จัดการบริหารสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Gross NPL) อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดสัดส่วนลงมาอยู่ที่ระดับ 7.5% ถือเป็นการการตอกย้ำถึง ทิศทางการบริหารจัดการ NPL ที่ถูกต้อง ทั้งการควบคุม NPL ใหม่ให้อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ ผนวกกับการบริหารกับ NPL เดิมได้เป็นอย่างดี


          ทั้งนี้ธนาคารมีสินเชื่อด้อยคุณภาพสุทธิจากค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพทั้งหมดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด (net NPLs) ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 จำนวนทั้งสิ้น 25,775 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.6 ลดลง 1,326 ล้านบาทจากจำนวน 27,101 ล้านบาทจากงวดที่ผ่านมา
          เหล่านี้บ่งบอกว่า SCB เป็นธนาคารที่มีพื้นฐานแข็งแกร่ง เพียบพร้อมทุกด้านในการแข่งขัน และเหนือชั้นคู่แข่งอย่างชัดเจน

ข่าวหุ้น

เข้าชม: 1,685

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com