May 12, 2024   5:58:14 AM ICT
AMC หนีความเสี่ยง
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่1. นายชูศักดิ์ ยงวงศ์ไพบูลย์ 213,600,000 หุ้น 53.40%2. น.ส.เพ็ญจันทร์ โยธินอุปไมย 61,000,000 หุ้น 15.25%3. นายปราโมช เกิดปัญญา 7,813,600 หุ้น 1.95%4. นางเม ดำรงชัยธรรม 7,524,300 หุ้น 1.88%5. นายชูชาติ ชัยชูเกียรติ 6,431,900 หุ้น 1.61%คณะกรรมการ1. นายสมบัติ วิอังศุธร ประธานกรรมการ 2.นายชูศักดิ์ ยงวงศ์ไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ3. นางสาวธารดี เพียรสัมฤทธิ์ กรรมการ 4. นางสาวเพ็ญจันทร์ โยธินอุปไมย กรรมการ5. นายธนกร ฤทธิบันลือ กรรมการ
          ในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบกิจการ จะเห็นว่าหลายบริษัทต่างดิ้นหนีความเสี่ยงด้วยวิธีการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการหาพันธมิตรเข้าร่วมบริหารธุรกิจ
          หรือการขยายกิจการเพื่อลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจหลัก เหล่านี้ ล้วนเป็นเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจดำรงอยู่ได้ในสังคมทั้งสิ้น
          ขณะที่ AMC หรือบริษัท เอเซีย เมทัล จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายเหล็กแปรรูปรายใหญ่ในประเทศไทย ที่มีปัญหาในการประกอบธุรกิจไม่ต่างไปจากเพื่อนธุรกิจเดียวกันนัก เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันได้เปิดตลาดการค้าเสรีให้กับธุรกิจกลุ่มเหล็ก
          ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการขยายงานเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์รองรับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นการที่บริษัทขายหุ้นกว่า 15% ให้"คุณหญิงปัทมา" ผู้ถือหุ้นใหญ่ GSTEEL จึงเป็นอีกกลยุทธ์ที่บริษัทใช้ในการหนีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
          การกระทำดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อความมั่นคงของบริษัท ทั้งในด้านการสนับสนุนวัตถุดิบให้กับบริษัทในระยะยาว หากเกิดความผันผวนในการขาดแคลนวัตถุดิบ ที่สำคัญบริษัทจำเป็นต้องหาแหล่งวัตถุดิบที่แน่นนอน เพื่อเตรียมความพร้อมรอการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้เหล็กมีอยู่สูงในประเทศ
          อีกทั้งการที่บริษัทตัดสินใจลดสัดส่วนการถือหุ้นลง เพราะบริษัทไม่ต้องการที่จะเพิ่มทุนใหม่ อีกทั้งต้องการให้กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่เข้ามาเสริมธุรกิจให้แข็งแกร่งทางด้านการขยายตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ประกอบกับผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรก 2550 ที่ผ่านมา ก็ไม่น่าประทับใจนักสำหรับการบริหารงานของบริษัท
          เนื่องจากบริษัทประสบกับปัญหาค่อนข้างหนักจากการค้างชำระของลูกหนี้รายหนึ่ง ที่เริ่มผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม 50บริษัทยังไม่สามารถติดตามตัวลูกหนี้มาเจรจาเรื่องการชำระหนี้ได้ จึงได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 36 ล้านบาท ประกอบกับบริษัทขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์อีก 74 ล้านบาท
          ดังกล่าวส่งผลให้บริษัทขาดทุนทุนจากการดำเนินงานถึง 38 ล้านบาท หรือขาดทุนต่อหุ้น 0.09 บาท จากช่วงปีก่อนมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 114 ล้านบาท หากแต่ตัวเลขขาดทุนที่ปรากฏในครึ่งปีนี้ กลับไม่ใช่ปัญหาที่น่าเป็นห่วงนักสำหรับบริษัทที่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานได้ค่อนข้างดีมาตลอด อีกทั้งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้มาจากการดำเนินงานที่แท้จริง
          ที่สำคัญเมื่อวิเคราะห์ฐานะการเงิน จะเห็นว่าบริษัทแห่งนี้ไม่ได้มีปัญหาในเรื่องของเงินทุนแม้แต่น้อย กลับพบว่าค่อนข้างแข็งแกร่งด้วยซ้ำ โดยเห็นได้จากส่วนของเงินทุน 1,183ล้านบาท เทียบกับหนี้สินที่มีอยู่1,069 ล้านบาท วัดค่า D/E Ratio ได้เท่ากับ 0.93เท่า แสดงว่าการประกอบธุรกิจมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ
          อีกทั้งการที่บริษัทมีกำไรสะสม 285 ล้านบาท ยังบ่งบอกได้อีกว่าที่ผ่านมาบริษัทสามารถทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอ แม้จะไม่โดดเด่นเสมอไป แต่ก็ไม่ได้ถดถอยจนถึงขั้นน่าเป็นห่วง
          ส่วนสภาพคล่องในการดำเนินงาน ยิ่งไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะจากจำนวนเงินสดที่มีอยู่ในมือ 97 ล้านบาท ถือว่าบริษัทสามารถขับเคลื่อนธุรกิจเดินหน้าได้เป็นอย่างดี ขณะที่ค่า Current Ratio ได้เท่ากับ 1.35 เท่า ที่หาได้จากส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน 1,474ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียน 1,094 ล้านบาท ซึ่งอัตราค่าตัวเลขที่ได้สะท้อนว่าบริษัทมีการดำเนินงานที่คล่องตัวดี หรือเพียงพอต่อการจ่ายคืนหนี้สินที่มีอยู่ได้แน่นอน
          AMC ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ขณะเดียวกันมีแต่จะเติบโตขึ้นในอนาคต หลังผู้ร่วมธุรกิจคนใหม่เข้ามาเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจได้อย่างลงตัว
ข่าวหุ้น
เข้าชม: 1,336

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com