May 11, 2024   11:33:36 PM ICT
BT พายเรือในอ่าง
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่1. กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 731,450,194 หุ้น 48.98%2. บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผู้ฝาก
          92,074,224 หุ้น 6.17%3. บริษัท ปันทรัพย์ จำกัด 74,672,500 หุ้น 5.00%4. บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) 74,550,000 หุ้น 4.99%5. สำนักงานประกันสังคม 63,159,300 หุ้น 4.23%คณะกรรมการ1. นายทวี บุตรสุนทร ประธานกรรมการ 2. นายพีรศิลป์ ศุภผลศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่3. นายปรีชา อุ่นจิตติ กรรมการ 4. นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ กรรมการ 5. นายเตชะพิทย์แสงสิงแก้ว กรรมการ
          ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่า BT หรือธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารที่ค่อนข้างมีปัญหากว่าธนาคารในระดับเดียวกันมาก อีกทั้งแทบไม่มีผลงานใดที่สร้างความโดดเด่นเป็นที่น่าพอใจให้กับนักลงทุนได้เลยสักครั้ง
          เนื่องจากส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่า BT เป็นธนาคารที่มีขนาดเล็ก และมีเครือข่ายสาขาไม่มากนัก จึงเป็นเรื่องยากมากหากจะมีการขยับขยายงานแต่ละที เพราะการขยายงานจะต้องใช้ความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนที่หนาแน่น ประสิทธิภาพและคุณภาพในบริหารงาน ซึ่งถือว่าธนาคารแห่งนี้ยังมีไม่เพียงพอ
          ที่สำคัญปัจจัยพื้นฐานของธนาคารเอง ก็ไม่ได้มีความแข็งแกร่งเหนือคู่แข่งแต่อย่างใดและต้องถือว่าความสามารถในการแข่งขันของธนาคารยังอยู่ในระดับต่ำหากเทียบกับธนาคารที่มีขนาดเดียวกัน
          ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การขยายงานแต่ละครั้งเป็นไปได้ช้า และค่อนข้างผิดเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับ "การพายเรือในอ่าง" ที่วกไปวนมาอยู่ที่เดิม ซึ่งแม้จะพยายามผลักดันตัวเองสักเท่าใด สุดท้ายก็มีค่าเท่าเดิม ล้มเหลวเหมือนเดิม
          ล่าสุด แม้ธนาคารจะเพิ่มทุนได้สำเร็จ ซึ่งดังกล่าวอาจจะทำให้ฐานะการเงินของธนาคารแข็งแกร่งขึ้นในระดับหนึ่ง แต่หากธนาคารยังด้อยประสิทธิภาพในการบริหารงานดั่งเช่นที่ผ่านมา ผลลัพธ์ข้างหน้าก็คงไม่ต่างจากปัจจุบันเท่าใดนัก
          ที่สำคัญหากย้อนกลับไปดูผลการดำเนินงานในช่วงผ่านมาที่ทรงๆ ทรุดๆ มาโดยตลอดน่าจะเป็นตัวแปรที่บ่งบอกได้ชัดเจนว่าธนาคารมีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอ่อนแอมากแค่ใหนยิ่งกฏข้อบังคับต่างๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ เข้มงวดขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้กับธนาคารมากยิ่งขึ้น
          โดยเฉพาะการปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่มุ่งเน้นลูกค้ารายใหญ่ ที่มีสัดส่วนกว่า 65%ของสินเชื่อรวม ทำให้ผลตอบแทนของการให้สินเชื่อ อยู่ในระดับต่ำกว่าธนาคารที่เน้นการปล่อยสินเชื่อรายย่อย ซึ่งตรงจุดนี้เองที่ถือเป็นจุดอ่อนของธนาคาร ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจเสมอมา
          ฉะนั้นผลประกอบการไตรมาส 1 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 ที่ธนาคารสามารถทำกำไรสุทธิ 377 ล้านบาท หรือ 0.28 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 25% จากงวดเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 301 ล้านบาท หรือ 0.24 บาทต่อหุ้น จึงเป็นเรื่องน่ายินดีมากสำหรับธนาคารที่ค่อนข้างมีปัญหาแห่งนี้
          ด้านกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นในงวดนี้เป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของค่าธรรมเนียมและบริการจำนวน 76.93 ล้านบาท หรือลดลง 107% มาอยู่ที่ระดับ 72 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 148 ล้านบาท
          ด้วยเหตุนี้ BT ดูดีขึ้นในระดับหนึ่งจากที่สามารถทำกำไรได้ในงวดดังกล่าว แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันการแข่งขันธุรกิจธนาคารต้องอาศัยกลยุทธ์ และฝีมือการบริหารที่แปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ และคุณภาพ ที่สำคัญปัจจัยพื้นฐานต้องแข็งแกร่งซึ่งตรงจุดนี้ BT ยังไม่มีเลย
ข่าวหุ้น
เข้าชม: 1,148

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com