May 11, 2024   1:16:00 PM ICT
SCB กินรวบตลาดรายย่อย

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่1. CHASE NOMINEES LIMITED 42 128,026,866 หุ้น 6.76%2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 113,221,767 หุ้น 5.98%3. LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED 112,552,400 หุ้น 5.94%4. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 100,265,685 หุ้น 5.29%5. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 94,684,895 หุ้น 5.00%คณะกรรมการ1. ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายกกรรมการ 2. ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร 3. นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ 4. นายบดินทร์อัศวาณิชย์ กรรมการ 5. นายปีเตอร์เซียะ ลิม ฮวด กรรมการ
          คำเปรียบเปรยที่ว่า "ยิ่งแก่ ต้องยิ่งสาว" ของกรรณิกา ผู้บริหารการเงินคนใหม่ เห็นจะใช้ได้ดีทีเดียวกับธนาคารที่มีความเก่าแก่ถึง 100 ปี แต่ยังเปี่ยมล้นไปด้วยประสิทธิภาพและศักยภาพที่มั่นคงอย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ถือเป็นแบงก์ขนาดใหญ่ที่น่าจับตามากสุดยามนี้
          เนื่องจากการได้ผู้บริหารหญิงคนใหม่ที่เพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ด้านการตลาดที่ยาวนาน ซึ่งพร้อมจะปั้นแบรนด์ ธ.ไทยพาณิชย์ ให้มีความสดใส มีอะไรใหม่ๆ เพื่อทำให้การบริการถูกใจลูกค้ามากสุด
          โดยเป้าหมายหลักที่จะทำเป็นอันดับแรก คือการเพิ่มจำนวนสาขาให้ได้ 800 สาขาเพื่อให้แต่ละเคาน์เตอร์บริการขายโปรดักส์ได้มากกว่าหนึ่ง ไม่ใช่ขายแค่บัญชีเงินฝากแต่จากนี้ไปต้องขายได้ทั้งสินเชื่อ ประกันชีวิตไปในตัวด้วยโปรดักส์มากกว่าหนึ่งชิ้น เป็นแนวทางการตลาดที่ผู้บริหารมั่นใจว่าสร้างรายได้ให้กับตัวธนาคารจำนวนมาก
          จากคำพูดเหล่านี้ย่อมทำให้เห็นว่า "ไทยพาณิชย์ยุคใหม่เน้นเรื่องการตลาดมากสุด" ซึ่งกรรณิกา ถือเป็นผู้บริหารระดับมือโปรทางการตลาดคนหนึ่งของเมืองไทย ที่เคยฝากฝีไม้ลายมือและผลงานให้กับยูนิลีเวอร์มานานกว่าสามสิบปี
          ที่สำคัญ การบริหารการเงิน กับการบริหารการตลาด ไม่แตกต่างกัน เพราะธุรกิจการเงินก็เหมือน โปรดักส์อย่างหนึ่ง หลักการตลาดของเงิน คือ ทำอย่างไรให้เกิดปัญหาเอ็นพีแอล (หนี้เสีย) น้อยที่สุด และรายได้เติบโต


          ฉะนั้นการบริหารจะต้องมองสิ่งใหญ่ๆ ก่อน แล้วค่อยไปสนใจในเล็กๆ เพราะถ้ายังจับปลาตัวใหญ่ไม่ได้ ก็ถือว่าล้มเหลว จับปลาตัวเล็กก็ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าจับปลาตัวใหญ่ได้ ตัวเล็กก็จะตามมาเองอย่างเช่น มีโปรดักส์ 10 ตัว ให้ดูแล กับมีโปรดักส์ 2 ตัวใหญ่ ขอเลือกจำนวนน้อยๆ แล้วทำให้ดีมากกว่า ที่จะเน้นปริมาณ
          นี่ถือเป็นตัวอย่างที่บอกถึงหลักการบริหารงานที่แท้จริง ซึ่งทำให้ผลลัพท์ได้ออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก หลังผลประกอบการไตรมาส 1 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550ทำกำไรสุทธิได้ 3,699 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,495 ล้านบาท หรือร้อยละ 207.3 จากไตรมาสก่อน แต่ลดลง 523 ล้านบาทหรือร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
          เมื่อพิจารณากำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากจากไตรมาส4/2549 โดยมีสาเหตุหลักจากการที่ธนาคารได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญครั้งเดียวเพื่อรองรับมาตรฐานการบัญชีสากล (IAS39) จำนวน 5,100 ล้านบาทในไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2549 กำไรสุทธิลดลง 523 ล้านบาทหรือร้อยละ 12.4 เนื่องจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น
          ด้วยเหตุนี้ SCB ยังถือเป็นธนาคารที่ยังคงรักษาระดับความสามารถในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยนัก ซึ่งเป็นผลมาจากความแข็งแกร่งและการเตรียมความพร้อมในทุกด้านของธนาคาร
          SCB ในมือของผู้บริหารคนใหม่อาจมีอะไรใหม่ๆ ที่เซอร์ไพรซ์ และเขย่าวงการแบงก์เมืองไทยได้ในอนาคต

ข่าวหุ้น
/
เข้าชม: 1,108

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com