April 28, 2024   3:52:50 PM ICT
HANA ศักยภาพเหลือล้น

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่1. OMAC (HK) LIMITED 172,480,000 หุ้น 20.92%2 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 56,579,831 หุ้น 6.86%3 บริษัท โอแมค จำกัด 40,939,360 หุ้น 4.96%4 RAINBOW JOY LIMITED 40,000,000 หุ้น 4.85%5 SOMERS (U.K.) LIMITED 39,799,500 หุ้น 4.83%คณะกรรมการ1. นายบัญชา ทานพระกร ประธานกรรมการ 2. นายริชาร์ด เดวิด ฮัน กรรมการ3. นายเทอร์เรนซ ฟิลิป เวียร์ กรรมการ 4. นายวินสัน มุง ซู ฮุย กรรมการ5. นายไน เทา เหลียง กรรมการ


          บริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด(มหาชน) หรือ HANA เป็นบริษัทที่ประกอบและจำหน่ายชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิคส์ครบวงจร (Electronics Manufacturing Services)ถือเป็นบริษัทที่มีศักยภาพในการทำกำไรสูงบริษัทหนึ่งของตลาดฯก็ว่าได้
          เนื่องจากตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทสามารถรักษาการเติบโตของผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง แต่น่าเสียดายที่ตัวหุ้นไม่ค่อยได้รับความนิยมเหมือนเช่นในช่วง 3-4 ปีก่อนก็เลยไม่ค่อยมีใครพูดถึงหุ้นตัวนี้มากนัก

          ที่สำคัญจากจุดเด่นของการดำเนินงาน ทางด้านสามารถผลิตชิ้นงานขนาดเล็ก และมีคุณภาพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาด จนบริษัทเป็นตัวเลือกอันดับแรกของลูกค้า ย่อมเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง
          โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2549 อุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิคส์ทั่วโลกยังคงความแข็งแกร่งต่อเนื่อง นับจากครึ่งปีหลังของปี 2548 ทำให้ผลประกอบการในกลุ่มของบริษัทยังคงปรับตัวดีขึ้นตลอดทั้งปี
          ส่งผลให้การดำเนินงานสำหรับปี 2549 (สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549)เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ด้วยกำไรสุทธิ 2,216 ล้านบาท หรือ 2.71 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 8%จากปี 2548 กำไรสุทธิอยู่ที่ 2,061 ล้านบาท หรือ 2.58 บาทต่อหุ้น
          กำไรสุทธิที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากรายได้จากการขาย 15,000 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับรายได้ของปี 2548 จำนวน 12,136 ล้านบาท เป็นส่วนรายได้ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 จากรายได้จำนวน 394.6 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2549โดยเพิ่มขึ้นจาก 301.4 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2548

          เนื่องจากในปี 2549 ความต้องการในอุตสาหกรรมอิเล็คโทรนิคส์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ทำให้หน่วยงานผลิต IC และไมโครอิเล็คโทรนิคส์ได้รับส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น อีกทั้งธุรกิจการผลิต LED ของหน่วยงานผลิตผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่าง (CPG) มีภาวะทรงตัวในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 กลับมาฟื้นตัวแข็งแกร่งขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
          ขณะเดียวกันยอดขายของหน่วยผลิต ผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่างเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลังนั้นมียอดขายสูงขึ้นถึงร้อยละ 31 รวมทั้งยอดขายของบริษัท ฮานาไมโครดิสเพลย์ เทคโนโลยี่ (HMT) มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 93 ในปี 2549 กับการเพิ่มการผลิตของอุปกรณ์ UHF RFID
          ประกอบในปี 2549 บริษัทได้รับผลดีจากการปรับตัวขึ้นของค่าเงินบาททำให้มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 100 ล้านบาท ขณะที่ปี 2548 ได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 5 ล้านบาท จึงถือเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ผลักดันให้กำไรสุทธิโตยิ่งขึ้น

          ด้านสภาพคล่องในการดำเนินงาน พบว่าบริษัทฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียน 7,180 ล้านบาทและหนี้สินหมุนเวียน 2,475 ล้านบาท ได้ค่า Current Ratio เท่ากับ 2.90 เท่าสรุปได้ว่าบริษัทฯมีความเสี่ยงจากการชำระหนี้สินหมุนเวียนต่ำ หรือมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการชำระหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมด
          ด้านอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ D/E Ratio เท่ากับ 0.25 เท่า โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้นสูงถึง 9,871 ล้านบาท และหนี้สินรวมทั้งหมด 2,475 ล้านบาท เป็นการตอกย้ำว่าบริษัทฯมีประสิทธิภาพในการบริหารเงินทุนได้อย่างดีเยี่ยม ไร้ปัญหาภาระหนี้สินเข้ามารบกวนการดำเนินงาน
          จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่า HANA มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง และประสิทธิภาพในทำกำไรที่ดีเยี่ยม และคาดว่าไม่นานหุ้นตัวนี้จะต้องได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างแน่นอน

ข่าวหุ้น
/
เข้าชม: 1,678

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com