April 28, 2024   1:28:01 PM ICT
SATTEL อนาคตชักไม่แน่นอน
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่1. บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 450,870,934 หุ้น 41.34%2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 26,465,550 หุ้น 2.43%3. นายอำนวย พิจิตรพงศ์ชัย 9,700,000 หุ้น 0.89%4. นายกตพล กนกพฤกษ์ 8,300,000 หุ้น 0.76%5. นายมานิต เอื้อทวีกุล 7,420,000 หุ้น 0.68%คณะกรรมการ1. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานกรรมการ 2. ดร.ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์ประธานกรรมการบริหาร 3. นายไกรสร พรสุธี กรรมการ 4. นายบุญคลี ปลั่งศิริ กรรมการ 5. นายสมประสงค์ บุญยะชัย กรรมการ
          ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากปลดระวางดาวเทียมไทยคม 3 ทำให้บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ SATTEL ประสบกับปัญหารุมเร้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตัวธุรกิจที่ยังไม่รู้ว่าจะสามารถทำกำไรให้กับบริษัทเมื่อไหร่
          เนื่องจากบริษัทมีการบันทึกขาดทุนจากการตัดจำหน่ายอุปกรณ์ภายใต้สัญญาสัมปทานสูงถึง 964 ล้านบาท ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ผลการดำเนินงานปี 2549 (สิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2549) ขาดทุนสุทธิจำนวน 45 ล้านบาท หรือ ขาดทุน 1.04 บาทต่อหุ้น ลดลง103% จากปี 2548 มีกำไรสุทธิ 1,336 ล้านบาท หรือ 1.34 บาทต่อหุ้น
          ประกอบกับต้นทุนขายและบริการเพิ่มขึ้น 5,450 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 57% จากปี 2548 จำนวน 3,480 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนในการให้บริการของดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) เช่น ต้นทุนค่าเสื่อมราคา ต้นทุนค่าสัมปทาน และ ต้นทุนค่าเบี้ยประกันภัยดาวเทียมบนวงโคจร ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทฯ เริ่มให้บริการดาวเทียมไทยคม 4(ไอพีสตาร์) เมื่อเดือนธันวาคม 2548
          นอกจากนั้นในปี 2549 บริษัทยังต้องรับผิดชอบต้นทุนจากการให้บริการดาวเทียมไทยคม5 ที่ได้เริ่มให้บริการเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา สุทธิกับการลดลงของต้นทุนการให้บริการดาวเทียมไทยคม 3 ที่ได้หยุดให้บริการหลังจากโอนลูกค้าทั้งหมดไปยังดาวเทียมไทยคม 5 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2549
          อีกทั้งบริษัทฯมีดอกเบี้ยจ่ายในปี 2549 ทั้งสิ้น 954 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 761 ล้านบาทหรือ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 394.3 จาก 193 ล้านบาท ในปี 2548 เนื่องจากการบันทึกดอกเบี้ยจ่ายของโครงการไอพีสตาร์และดาวเทียมไทยคม 5 เป็นค่าใช้จ่ายตั้งแต่โครงการเริ่มให้บริการเชิงพาณิชย์
          แม้ว่า ปี 2549 บริษัทฯจะมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสูงถึง 1,903 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 4,618% จากปี 2548 อยู่ที่ระดับ 40 ล้านบาท จากที่บริษัทฯ ได้ถือปฏิบัติตามนโยบายการบัญชีสำหรับตราสารอนุพันธ์ทางการเงินก่อนกำหนด ประกอบกับในช่วงปี 2549อัตราแลกเปลี่ยนปรับตัวแข็งค่าขึ้น ซึ่งดังกล่าวก็ไม่สามารถผลักดันให้บริษัทมีผลกำไรขึ้นได้เลย
          เมื่อวิเคราะห์สภาพคล่องของบริษัทแทบจะไม่เหลือความคล่องตัวเลยก็ว่าได้ เนื่องจากบริษัทต้องแบกรับหนี้สินหมุนเวียนสูงถึง 6,331 ล้านบาท ขณะที่สินทรัพย๎หมุนเวียนต่ำเพียง2,479 ล้านบาท ได้ค่า Current Ratio เท่ากับ 0.39 เท่า นั่นแสดงให้เห็นว่าบริษัทเริ่มมีปัญหาในด้านเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องจับจ่ายในการดำเนินงาน
          อีกทั้งโครงสร้างทางการเงินดูแล้วยิ่งน่าเป็นห่วง และหากบริษัทต้องแบกรับผลขาดทุนไปอีก เงินทุนที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอการใช้จ่าย เนื่องจากจำนวนหนี้สินรวมสูงถึง 19,256ล้านบาท ขณะที่เงินทุนหรือส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำเพียง 13,577 ล้านบาท ได้ค่า D/E เท่ากับ1.42 เท่า ซึ่งสรุปได้ว่าบริษัทมีความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจค่อนข้างมาก
          ที่สำคัญการที่บริษัทจะต้องมารับผิดชอบต่อปัญหารุมเร้าดังกล่าว ซึ่งไม่รู้ว่าจะจบสิ้นลงเมื่อไหร่ อีกทั้งผลการดำเนินงานที่ลุ่มๆ ดอนๆ และการดำเนินธุรกิจในอนาคตก็ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร..........

ข่าวหุ้น

/
เข้าชม: 1,856

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com