บุคคลทั่วไป บุคคลทั่วไป | #1  วันที่: 19/06/2006 @ 13:05:03 : re: Temple Boxing School... ......................................................................................................
http://www.thaivi.com/content/view/219/49/
[b:be1f02c6ac">Value Way : คลายเครียด Ratio [/color:be1f02c6ac">[/b:be1f02c6ac">[/size:be1f02c6ac">
ท่านผู้อ่านที่ไม่ได้เป็นสมาชิก Web board ของ โต๊ะสินธร แห่ง Pantip.com กับ thaivalueinvestor.com คงจะไม่เคยได้เห็นได้ยินอัตราส่วนนี้มาก่อน แล้วมันมีด้วยหรือเจ้าอัตราส่วนแปลกๆ นี้
ผมเองเมื่อแรกเลยก็งงครับว่า มันคืออัตราส่วนที่เกี่ยวกับอะไรกัน ชื่อก็แปลกแถมแบ่งออกเป็น คลายเครียดเรโช มหภาค กับคลายเครียดเรโช จุลภาค อีกต่างหาก แต่พอดูรายละเอียดของท่านเจ้าสำนักTemple Boxing นามว่า คลายเครียดเจ้าเก่า แล้วก็ต้องร้อง...อ๋อครับ
ชื่อก็บอกว่าคลายเครียด ก็สื่อความหมายว่า เป็นอัตราส่วนที่หาจุดเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อระบายความเครียดในการถือครองหุ้นใดๆ ก็ตามที่ราคาหุ้นสูงขึ้นมากแล้ว แต่ยังมิได้ขายออกมาเลย เนื่องด้วยว่าจะขายก็กลัวขายหมู จะถือต่อก็กลัวจะถูกหมีตบหน้าหันเสียก่อน ท่านก็เลยกำหนดสูตรเป็นอัตราส่วนในการคลายความเครียดจากอาการดังกล่าวลงไปครับ
มาดูสูตร คลายเครียดเรโช(มหภาค) : ราคาตลาด / ราคาทุน > 1
จากสูตรจะเห็นว่า เมื่อราคาหุ้นหลังจากที่ซื้อมาแล้วได้ปรับตัวขึ้นไปสูงเท่ากับหรือมากกว่าราคาทุนที่ซื้อหุ้นมาแล้ว ให้ชักเอาส่วนที่เป็นทุนออกมาก่อนเพื่อความอุ่นใจ และเป็นการลดความเครียดจากการถือหุ้นนั้นๆ เอาไว้ต่อ ยิ่งตอนที่ขายเมื่ออัตราส่วนคลายเครียดสูงมากกว่า 1 มากๆความเครียดจะยิ่งลดลงเป็นลำดับ
เช่น เมื่อเราซื้อหุ้นตัวหนึ่งมาที่ราคา 10 บาท ปัจจุบันราคาได้ขึ้นมาที่ 25บาท เราจะได้คลายเครียดเรโชเท่ากับ 2.5 เท่า จากนั้นให้เราชักเอาเงินทุน 10 บาท ออกมาก่อนแล้วปล่อยให้เงินที่เป็นกำไร 15 บาทอยู่ในหุ้นนั้นต่อไป เพื่อลดอาการเครียดจากการขายหมูลงไป และที่แน่ๆเงินทุนของเราปลอดภัย 100%แล้วครับ
ส่วนคลายเครียดเรโช (จุลภาค) : (ราคาตลาด / ราคาทุน) - 1 > 1
สูตรคลายเครียดเรโชแบบจุลภาคนี้ค่อนข้างจะลดความเครียดลงไปได้อีกหนึ่งเท่าตัวครับ เช่นเมื่อเราซื้อหุ้นตัวหนึ่งมาที่ราคา 10 บาท ปัจจุบันราคาได้ขึ้นมาที่ 25บาท เราจะได้คลายเครียดเรโช(จุลภาค) เท่ากับ 1.5 เท่า จากนั้นให้เราชักเอาเงินทุนและกำไร 15 บาท ออกมาก่อนแล้วปล่อยให้เงินที่เป็นกำไร 10 บาทอยู่ในหุ้นนั้นต่อไป ทั้งให้แน่ๆไปเลยว่าอย่างน้อยได้ทั้งทุนและกำไรกลับใส่กระเป๋ามาแล้วแน่ๆ และพร้อมจะล้วงกระเป๋าผู้อื่นต่อไปโดยไม่ได้ลงทุนอะไรอีกแล้ว
คราวนี้มาดูว่าควรจะใช้คลายเครียดเรโชกับหุ้นประเภทไหน และโอกาสใด ท่านว่าโอกาสที่ควรใช้คลายเครียดเรโชมากที่สุดคือช่วงที่ตลาดคึกคักสุดขีด สังเกตได้จากช่วงที่ราคาหุ้นขึ้นแบบไม่ติดเบรก นักลงทุนรายใหม่ๆ เกิดขึ้นมากๆ นักวิเคราะห์วิจารณ์จากแหล่งต่างๆ พร้อมใจกันพูดถึงตัวเลขในอนาคตในทางที่ดี และราคาหุ้นได้ถูกลากไปที่ราคาในอนาคต เพื่อรอผลประกอบการที่คาดว่าจะออกมาดี (ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะดี) ในอนาคต
ก็หุ้นประเภท PE 20 - 30 เท่า PBV 5 - 10 เท่า แต่นักวิเคราะห์ก็ยังก้มหน้าก้มตาเชียร์กันว่าดีอยู่นั่น นั่นแหละครับเข้าข่ายเลย และถ้าถือเอาไว้ก็กลุ้มใจ งุ่นง่านสิ้นดีเลยทีเดียว ท่านเจ้าสำนักTemple Boxing เสนอความเห็นว่าไม่มีใครรู้อนาคตจริงๆ สักคน
ดังนั้น ควรทำคลายเครียดเรโช เพื่อเอาเงินกำไรที่ได้มาไปเสี่ยงแทนจะดีกว่า
หุ้นอีกประเภทหนึ่งที่ต้องทำคลายเครียดเรโชแน่ๆ เลย ก็หุ้นประเภทมีการสร้างราคา มีข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าววงใน เพราะหุ้นพวกนี้มีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของข่าวสูงมาก ถึงมากที่สุด เพราะการปล่อยข่าวนี้เพื่อต้องการผู้ร่วมวงไพบูลย์ในการล้วงเงินจากกระเป๋าของตัวเราและเพื่อนๆนักลงทุนที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ไม่น่าเชื่อว่าจะมีใครหวังดีกับใครก็ไม่รู้ถึงได้เอาข่าวจริงมาบอกกัน แต่ก็เห็นมีคนเชื่อกันมากและมากขึ้นทุกทีตามขนาด Market Cap.ของตลาดหุ้นบ้านเรา
คราวนี้มาดูว่าใครที่ต้องทำและไม่ทำคลายเครียดเรโช ท่านเจ้าสำนักฯกล่าวไว้ว่า เซียนหุ้นตัวจริง เสียงจริงที่รู้จริงและสามารถบริหารส่วนเกินทุนที่ได้จากหุ้นๆนั้นผ่านการกำหนดราคาที่จะขายหุ้นเอาไว้แล้ว นี่ไม่รวมพวกเจ้ามือที่รู้ทะลุปรุโปร่งในเกมล้วงกระเป๋าครั้งนั้นๆ ไม่ต้องทำคลายเครียดเรโช
ส่วนพวกมนุษย์หุ้นที่ไม่ค่อยรู้เรื่องรู้ราวอะไรกับเขาแต่บังเอิญบุญพาวาสนาส่งให้เจ้ามือพิศวาสหุ้นที่ถืออยู่ แล้วพากันมาลากหุ้นจนราคาสูงเกินเท่าตัว และเพื่อสร้างความปลอดโปร่งและความสุขเล็กๆน้อยๆในการร่วมล้วงกระเป๋าคนอื่นที่ยังโลภอยู่ต่อไปแบบปลอดภัยที่สุด
คลายเครียดเรโชทั้งสองแบบแท้จริงแล้วเป็นเพียงแค่วิธีการในการบริหารความโลภกับความรู้ให้สมดุลดังที่ผมกล่าวไว้เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 47 แต่ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องในการลงทุนอย่างแท้จริง การใช้คลายเครียดเรโชนี้เป็นการจัดการกับความเสี่ยงในช่วงหุ้นขาขึ้นแบบสุดๆเท่านั้น ใช้ไม่ได้กับหุ้นขาลงจนถึงปกติ เพราะเราจะไม่มีโอกาสได้ทำคลายเครียดเรโชแน่นอน
ท่านเจ้าสำนักย้ำหนักแน่นว่า หุ้นขาขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่ตลาดหุ้นขาขึ้นนะครับ เพราะไม่ว่าตลาดหุ้นจะอยู่ในสภาพไหนก็จะมีหุ้นขึ้นและลงสวนตลาดอยู่เสมอ
จะเห็นว่าการลงทุนแบบที่มีการทำคลายเครียดเรโชนี้จะทำให้เราอยู่ในตลาดหุ้นได้ตลอด เพราะเราเอาทุนเราออกมาหมดแล้ว ที่เหลือเป็นเงินกำไรและหากหุ้นตกลงเราก็ไม่เจ็บตัวและอาจมีเงินปันผลเป็นน้ำจิ้มไปเรื่อยๆ
อย่างที่ท่านเจ้าสำนัก Temple Boxing กล่าวเอาไว้ครับ ว่าเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกเท่านั้น และก็ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับโอกาสอีกด้วย
ด้วยข้อมูลงานวิจัยด้านจิตวิทยาการลงทุนแล้ว คนทุกคนมักถูกครอบงำด้วยความโลภ ความกลัว และมีการหักกลบตัวเลขในสมองหรือMental Accounting กันทุกคน การทำคลายเครียดเรโชคือการนำเอา Mental Accounting มาบริหารความโลภและความกลัวแบบให้คิดเสียว่าเงินของเราที่ได้มาจากของคนอื่นนั้นเราเอาไปเสี่ยงดีกว่าเงินของเราเอง
แต่อย่าลืมว่า นั่นคือเงินของเรานะครับ หากเราเอาออกมาหมดเราก็ได้เงินนั้นทั้งจำนวน แต่จากความเป็นจริงแล้วน้อยคนนักจะทำได้ ท่านเจ้าสำนักฯก็เลยเสนอทางเลือกว่าให้ลดความเสี่ยงลงพร้อมๆกับความโลภนั่นเอง อย่าลืมว่าท่านยกเว้นให้สำหรับเซียนหุ้นตัวจริงนะครับว่าไม่ต้องทำคลายเครียดเรโช เพราะมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน สถานการณ์ และควบคุมความโลภได้เป็นอย่างดี
ผมเองก็อดนึกไม่ได้ว่าพวกเจ้ามือเขาก็คงใช้หลักการเดียวกันนี่แหละในการบริหารต้นทุนของเขาเมื่อมีการสร้างราคา คือซื้อขึ้นมาเรื่อยๆ จนมีผู้ร่วมวงแล้วก็ค่อยๆ รินขายออกมาในระหว่างมีการซื้อของผู้อื่น จากนั้นก็ชักส่วนทุนของตัวเองออก และเอาเงินกำไรที่ได้จากกระเป๋าคนอื่นมาไล่ซื้อต่อเพื่อให้ราคาสูงไปอีก จากนั้นก็เริ่มปฏิบัติการล้วงกระเป๋าผู้อื่นโดยเงินของผู้อื่นอย่างไม่ปราณี
อย่างนี้อาจเรียกว่า เจ้ามือเรโชก็ได้นะครับ
ที่ผ่านมาผมเองก็แอบใช้คลายเครียดเรโชไปแล้วเหมือนกันครับ เพราะหุ้นในพอร์ตของผมก็มีทั้งหุ้นพื้นฐานมั่นคง ทนทุกสภาพ และหุ้นก้นบุหรี่ที่พร้อมจะดีดบางส่วนทิ้งเมื่อราคาเกินความเป็นจริงไปแล้ว และใช้คลายเครียดเรโชนี่แหละในการบริหารส่วนที่เหลือ
--กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 21 - 27 มกราคม 2548--
..........................................................................................................
[b:be1f02c6ac">ล้อมกรอบต่อท้าย[/color:be1f02c6ac">[/b:be1f02c6ac">
หมายเหตุ : ในเรื่อง คลายเครียดเรโช ที่ตีพิมพ์ในวันที่ 21 มกราคม 48 นั้น มีข้อผิดพลาดที่จำเป็นต้องแก้ไขสักนิดหน่อยเกี่ยวกับ คลายเครียดเรโช(มหภาค) ดังนี้ครับ
มาดูสูตร คลายเครียดเรโช(มหภาค) : ราคาตลาด / ราคาทุน > 1
จากสูตรจะเห็นว่า เมื่อราคาหุ้นหลังจากที่ซื้อมาแล้วได้ปรับตัวขึ้นไปสูง เท่ากับหรือมากกว่าราคาทุนที่ซื้อหุ้นมาแล้ว ให้ชักเอาส่วนที่เป็นทุนออกมาก่อนเพื่อความอุ่นใจ และเป็นการลดความเครียดจากการถือหุ้นนั้นๆ เอาไว้ต่อ ยิ่งตอนที่ขายเมื่ออัตราส่วนคลายเครียดสูงมากกว่า 1 มากๆ ความเครียดจะยิ่งลดลงเป็นลำดับ เช่น เมื่อเราซื้อหุ้นตัวหนึ่งมาที่ราคา 10 บาท ปัจจุบันราคาได้ขึ้นมาที่ 25บาท
เราจะได้คลายเครียดเรโชเท่ากับ 2.5 เท่า จากนั้นให้เราชักเอาเงินทุน 10 บาท ออกมาก่อนแล้วปล่อยให้เงินที่เป็นกำไร 15 บาทอยู่ในหุ้นนั้นต่อไป เพื่อลดอาการเครียดจากการขายหมูลงไป และที่แน่ๆ เงินทุนของเราปลอดภัย 100% แล้วครับ
ตามความหมายเดิมของท่านเจ้าสำนัก Temple Boxing School ต้องใช้ คลายเครียดเรโช (มหภาค) กับตลาดหุ้นโดยรวมครับ ซึ่งหมายถึงจำนวนเงินลงทุนทั้งหมดที่เราใช้เล่นหุ้นในปัจจุบันเปรียบเทียบกับกำไรสะสมทั้งหมดที่เราเคยได้มาไม่ได้เน้นไปที่หุ้นตัวใดตัวหนึ่ง
ส่วนคลายเครียดเรโช (จุลภาค)นั้น หมายถึงหุ้นเป็นรายตัวครับ ดังนั้นที่ผมยกตัวอย่างมาเป็นหุ้นรายตัวในการอธิบายคลายเครียดเรโช (มหภาค)นั้นจึงไม่ตรงต่อความหมายที่แท้จริงของท่านเจ้าสำนัก จึงขอให้ท่านผู้อ่านได้โปรดปรับค่าต่างๆ ในตัวอย่างให้เป็น....
เช่น เมื่อท่านได้ซื้อหุ้นเมื่อดัชนีตลาด เท่ากับ 350 จุด ด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,000,000 บาท แต่แล้วตลาดหุ้นได้ปรับตัวขึ้นไปเป็น 600 จุดเงินลงทุนทั้งพอร์ตเพิ่มเป็น 2,300,000 บาท เมื่อคำนวณ คลายเครียดเรโช(มหภาค) แล้วจะเท่ากับ 2,300,000 / 1,000,000 = 2.3 เท่า นั่นหมายถึงว่า เงินลงทุนเริ่มแรกที่เราลงไปมันเพิ่มขึ้นมา 1,300,000บาท ดังนั้นให้เราชักส่วนทุนเดิม 1,000,000 บาทออก ทิ้งส่วนเกินทุนเอาไว้ให้อยู่ในพอร์ตต่อไป
ทั้งนี้ต้องขออภัยท่านเจ้าของแนวคิด และขอขอบพระคุณในความกรุณาของคุณคลายเครียดที่ชี้แจงมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
มนตรี นิพิฐวิทยา
--กรุงเทพธุรกิจ Bizweek ฉบับวันที่ 4 - 10 กุมภาพันธ์ 2548--
[u:be1f02c6ac">[/u:be1f02c6ac"> |