November 1, 2024   7:09:09 AM ICT
เว็บบอร์ด > ห้องข่าว > ผ่างบฯหุ้นเจ้าปัญหา IEC-MME-ASL-APURE
 

????
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 1,238
วันที่: 15/05/2006 @ 23:39:00
คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่

ผลการโหวต
ชอบ
0.00%
0 คน

ไม่ชอบ
0.00%
0 คน

แกะรอยผลประกอบการ บจ.เจ้าปัญหาที่ตลาดหลักทรัพย์เกาะติดข้อมูลและเคยสั่งห้ามเล่นเน็ต-มาร์จิ้นด้วย IEC โชว์กำไรโดดเด่นสุด 104 ลบ.เพิ่มจากงวดเดียวกันปีก่อน 316.50% MME ยังเอาตัวรอดได้กำไรพุ่ง 47.68% ASL พลิกเป็นขาดทุน 47.81 ล้านบาทจากปีก่อนที่เคยกำไร ส่วน APURE ขาดทุนต่ออีก สำหรับ PICNI ยังไม่ประกาศตัวเลขการดำเนินงาน ทางด้านนักวิเคราะห์แนะหลีกเลี่ยงให้หมดระบุความเสี่ยงสูง

ผู้สื่อข่าวได้รวบรวมข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนที่ได้ชื่อว่าถูกตลาดหลักทรัพย์เกาะติดข้อมูลความเคลื่อนไหวและราคาหุ้นอย่างใกล้ชิด 5 บริษัทคือ บมจ.อกริเพียว โฮลดิ้งส์ (APURE) บมจ.แอ๊ดคินซัน (ASL)บมจ.อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง (IEC) บมจ.ไมด้า-เมดดาลิสท์ เอ็นเธอร์เทนเมนท์ (MME) และ บมจ. ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น (PICNI)

ปรากฎว่าไตรมาสแรกปีนี้ IEC มีกำไรสุทธิ 104.21 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีกำไร 25.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากสุด 316.50% MME มีกำไรสุทธิ 15.95 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีกำไร 10.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.15% และสำหรับ ASL พลิกกลับมาขาดทุน 47.81 ล้านบาท จากปีก่อนที่มีกำไร 34.13 ล้านบาท และ APURE ไตรมาสแรกนี้ก็ยังคงขาดทุนต่อเนื่องอีก 17.19 ล้านบาท จากไตรมาส 1/48 ที่ขาดทุนสุทธิ 7.53 ล้านบาท

IEC ชี้แจงว่าสาเหตุที่กำไรเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในไตรมาส 1 ปีปัจจุบัน ส่งผลให้รายได้จากการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้เพิ่มธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเพิ่มรายได้ของบริษัทฯ ไตรมาส 1 ปีปัจจุบันอัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทและบริษัทย่อยอยู่ที่ 10.9% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันเมื่อปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 10.3% นอกจากนี้ บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ 165.9 ล้านบาท, กำไรสุทธิ 104.2 ล้านบาท เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 27.8 ล้านบาท และ 25.0 ล้านบาท ตามลำดับ กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการลงทุนของบริษัทย่อย

MME เปิดเผยว่าสาเหตุที่กำไรเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากรายได้จากการขาย สำหรับงวดสามเดือนปี 2549 จำนวน 61.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ35.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการที่บริษัทซื้อตราสินค้า Medalistซึ่งทำให้บริษัทสามารถจำหน่ายสินค้าของบริษัทให้กับตัวแทนจำหน่ายสินค้าได้โดยตรงและในราคาต่อหน่วยที่สูงขึ้น

ส่วน ASL ระบุว่าต้นเหตุที่ทำให้ไตรมาสแรกปีนี้พลิกกลับเป็นขาดทุนเพราะรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ลดลงจำนวน 48.42 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.76จาก 187.99 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปีก่อน เป็น 139.57 ล้านบาท ในงวดปีนี้ เนื่องจากปริมาณการซื้อขายลดลง

แม้ว่าในปีนี้ ดอกเบี้ยรับและเงินปันผลเพิ่มขึ้นจำนวน 15.45 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.51 จาก17.86 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปีก่อน เป็น 33.31 ล้านบาท ในงวดปีนี้ เนื่องจากหลักทรัพย์ที่ไปลงทุนได้มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนค่าใช้จ่ายลดลงจำนวน 18.77 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.68 จาก 244.33 ล้านบาทในงวดเดียวกันของปีก่อน เป็น 225.56 ล้านบาท ในงวดปีนี้

APURE เผยสาเหตุที่ยังคงขาดทุนต่อเนื่อง เพราะรายได้จากการขายหลังหักค่าขนส่งของไตรมาส 1 ปี 2549 มีมูลค่า 225.24 ล้านบาท เทียบกับ 304.43 ล้านบาท ของไตรมาส 1 ปี 2548 ลดลงร้อยละ 26.01 เนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา ธุรกิจเกษตรประสบกับภาวะฝนตกหนักทำให้ผลผลิตข้าวโพดหวาน และผักสดเสียหาย การเพาะปลูก เพิ่มเติมทำได้น้อยกว่าเป้าหมายจึงไม่มีสินค้าคงคลังในช่วงปลายปีมากพอมาขายในช่วงต้นของไตรมาส 1/2549 นี้ เหมือนปีที่ผ่านมา จึงทำให้ยอดขายของธุรกิจโดยรวมของบริษัทย่อยลดลง

ต้นทุนขายในไตรมาส 1 ปี 2549 คำนวณจากยอดขายสุทธิหลังหักค่าขนส่ง คิดเป็นร้อยละ 89.75 ของ ยอดขาย เทียบกับ ไตรมาส 1 ปี 2548 ที่คิดเป็นร้อยละ 89.66 ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร และดอกเบี้ยจ่าย เพิ่มขึ้นจาก 39.70 ล้านบาท ของไตรมาส 1 ปี 2548 เป็น 42.91ล้านบาท ของไตรมาส 1 ปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.09 โดยค่าใช้จ่ายในการบริหารรายการใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมาจากไตรมาส 1/2548 คือรายการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวน 4.94 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมามีกำไร 2.62 ล้านบาท

นายอมเรศ สิงห์ณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บล.แอ๊ดคินซัน เปิดเผยว่า ไม่แนะนำให้นักลงทุนในทั้ง 5 หลักทรัพย์ เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงสูง และผลการดำเนินงานในอนาคตยังไม่ชัดเจนอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น MME ที่ประกาศผลประกอบการในไตรมาส 1/49 ออกมา ปรากฎว่ากำไรดีกว่าที่คาดไว้ แต่ราคาหุ้นก็ปรับเพิ่มขึ้นเกินปัจจัยพื้นฐาน ส่วน IEC ตลาดหลักทรัพย์ก็ยังคงห้ามเล่น Net Settlement ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลลบต่อราคาหุ้นทั้งสิ้น

ข่าวเรื่องหุ้นปั่น ก็เงียบหายไปนานเหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ตลาดฯ ก็ออกมาเตือนว่ามีการตรวจสอบหุ้นปั่นเหล่านี้อยู่ ซึ่งนักลงทุนก็ควรระมัดระวังในการลงทุน และดูให้ดีๆ เพราะยังมองไม่เห็นอนาคตว่า จะเป็นไปในทิศทางใด โดยเฉพาะหุ้นของ PICNI ซึ่งก็ต้องดูกันต่อไป อย่าเพิ่งรีบร้อนตัดสินใจลงทุนนายอมเรศกล่าว

ด้านนายชัย จิรเสวีนุประพันธ์ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.พัฒนสิน เปิดเผยว่า ไม่แนะนำให้ลงทุนในหุ้นดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง และยังอยู่ในการดูแลและควบคุมของตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งหากลงทุนก็จะทำให้มีความเสี่ยงและอาจขาดทุนได้

นอกจากนี้ ก็ยังไม่รู้ว่าอนาคตของหุ้นเหล่านี้จะเป็นอย่างไรต่อไป ยกตัวอย่างเช่น IEC ก็ยังอยู่ในการดูแลของตลาดหลักทรัพย์ APURE ก็ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการลงทุน ASL มีความเสี่ยงในเรื่องของโครงสร้างผู้ถือหุ้น PICNI มีความเสี่ยงในเรื่องของการขายหุ้นเพิ่มทุน MME มีความเสี่ยงในเรื่องราคาหุ้นที่ค่อนข้างผันผวนมากเกินไป


ที่มา efinancethai.com[/color:3e073a74ce">

 กลับขึ้นบน
NIKKEI
สมาชิก

จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โพสต์: 146
#1 วันที่: 15/05/2006 @ 23:49:16 : re: ผ่างบฯหุ้นเจ้าปัญหา IEC-MME-ASL-APURE
.0008 .0008 ท่านอาฟง ลืม BNT อ่ะ ครับ .0008 .0008

.0001 นายวิชัย เบญจพลาพร ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บมจ.บีเอ็นที เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (BNT) ชี้แจงสาเหตุของผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในไตรมาสแรก ปี 2549 สิ้นสุด 31 มีนาคม 2549 มีผลขาดทุนสุทธิ 73.77 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสแรกของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1.31 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ลดลงจากการเลิกธุรกิจการรับจ้างผลิต การเป็นตัวแทนจำหน่าย และการจำหน่าย VDO/VCD/DVD ภาพยนตร์และเพลง รวมจำนวนเงิน 29.4 ล้านบาท หรือเท่ากับ 72.4% ในขณะที่ธุรกิจใหม่ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 22.3 ล้านบาท หรือเท่ากับ 154.9%
แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารลดลง 15.5 ล้านบาท หรือเท่ากับ 28.6% เป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างและขนาดของธุรกิจ แต่รายการที่ไม่ปกติเพิ่มขึ้น 63.0 ล้านบาท หรือเท่ากับ 115.4% เนื่องจากปี 2548 มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ส่งผลให้มีการกลับรายการสำรองต่าง ๆ รวม 54.6 ล้านบาท และในปี 2549 มีค่าใช้จ่ายในการโอนอาคารและที่ดิน พระราม 3 รวม 11.7 ล้านบาท รวมทั้ง ภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาท มาจากผลกำไรของธุรกิจใหม่ที่บริษัทฯ ลงทุน
นอกจากนี้ บริษัทยังได้ชี้แจงเพิ่มเติมตามถึงสาเหตุที่ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549 ว่าโครงสร้างและแผนธุรกิจใหม่ยังไม่สามารถแสดงผลที่เป็นปัจจัยบวกแก่บริษัทและบริษัทย่อยได้อย่างชัดเจน
โดยบริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสุทธิจำนวน 96.55 ล้านบาท(ไม่รวมผลของการโอนกลับรายการบัญชีสำรองต่าง ๆ ของบริษัทและบริษัทย่อย 22.78 ล้านบาท)สำหรับงวดสามเดือน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2549 โดยบริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสะสมเป็นจำนวน 1,039.59 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนของความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยในอนาคตซึ่งอาจมีผลกระทบที่เป็นสาระสำคัญอย่างมากต่องบการเงิน ตามความเห็นของผู้สอบบัญชี
อย่างไรก็ตามบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีการลงทุนสูงและต้องใช้เวลาในการสร้างให้ผู้บริโภคยอมรับในวงกว้าง แต่ธุรกิจดังกล่าวเป็นธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงและต่อเนื่องในระยะยาวประกอบการขยายผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้นด้วยตัวเองและร่วมกับพันธมิตร ทั้งสื่อบัน
เทิง และสื่อโฆษณาหลากหลายรูปแบบ
.0001
 กลับขึ้นบน

 
 

Copy Right © 2009-2012 © Thaihoon.Com