???? สมาชิก
จังหวัด: กรุงเทพมหานคร โพสต์: 1,238 | วันที่: 13/05/2006 @ 08:17:00 คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่ ผลการโหวต ค้นคำตอบจากปาก สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย กับมาตรการฟื้น ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ หวังโหนกระแสบอลโลก ดันหุ้น(ขึ้น)ก่อนขายเพิ่มทุนเฉพาะเจาะจง (PP)... ก๊วนหุ้นเจ้าเก่า ชนะชัย-ทวีฉัตร-เรขา มารอ (ปั้น) แล้วครับท่าน
แม้ บริษัท ทราฟฟิกคอร์นเนอร์โฮลดิ้งส์ (TRAF) ของ สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย จะตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ย่ำแย่ ขาดทุนติดต่อกัน 3 ปีซ้อน (2546-2548) จนส่วนผู้ถือหุ้นลดลงมาเหลือ 49 ล้านบาท ขณะเดียวกันบริษัทก็มีหนี้สินสูงมากถึง 340 ล้านบาท ที่สำคัญต้องเร่งชำระเกือบทั้งก้อน
สถานการณ์เช่นนี้ถือว่า วิกฤติ เหลือเพียงทางออกเดียว ก็คือ ยังไงๆ ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ก็ต้อง เพิ่มทุน (สถานเดียว) และต้องเข้าโรงพยาบาล ผ่าตัดใหญ่ ธุรกิจที่ไม่ทำกำไร ออกไปให้หมดโดยเร็ว
ภายใต้รูปการณ์ที่น่าเป็นห่วงของ ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ แต่เหตุใด เซียนหุ้นระดับชาติ หลายคนต่างทยอยกันเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนี้ ตั้งแต่ก่อนวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2549
ขาใหญ่ระดับ พันล้าน ที่เข้ามาป้วนเปี้ยนกับหุ้นของ สุรพงษ์ ได้แก่ ชนะชัย ลีนะบรรจง เข้ามาถือหุ้นอันดับ 2 จำนวน 20.16 ล้านหุ้น ทวีฉัตร-ณัฐพล จุฬางกูร อันดับ 3-4 ถือหุ้นรวมกัน 25.26 ล้านหุ้น เจริญรัฐ-วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ อันดับ 5-6 ถือหุ้นรวมกัน 20 ล้านหุ้น
ในกรณีของตระกูลวิไลลักษณ์ เข้ามารับหุ้นต่อจาก ตระกูลวงศ์สวัสดิ์ เช่นเดียวกับ อัญชุลี ทรัพย์นุ่ม ที่ถือหุ้นอยู่ 5.39 ล้านหุ้น ถือว่าเกี่ยวโยงกับ เจ๊แดง เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ โดยตรง
นอกจากนี้ก็ยังมี เรขา เอี่ยมวุฒิปรีชา ถือหุ้นจำนวน 5.35 ล้านหุ้น สุรพันธ์ พัฒนพิฑูรย์ 2.55 ล้านหุ้น และ สุรศักดิ์ เทวอักษร จำนวน 2 ล้านหุ้น เหล่านี้ ก็คือ รายใหญ่ ที่มีวงเงินเล่นหุ้นจำนวนมาก
แม้แต่ตัวของ สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัททราฟฟิกคอร์นเนอร์โฮลดิ้งส์ ก็มีการโอนหุ้นของตัวเองออกจากพอร์ตหลายครั้ง ไปพักไว้กับบุคคลภายนอก เพื่อความสะดวกในการซื้อ-ขาย
ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 ก็โอนหุ้นออกไปอีก 4 ล้านหุ้น
คำตอบที่ สุรพงษ์ บอก เรื่องการโอนหุ้นจำนวนมากออกจากพอร์ตว่า ต้องการหาสตางค์ไปใช้สิทธิแปลงสภาพวอร์แรนท์กว่า 30 ล้านหุ้น ส่วนการโอนวอร์แรนท์ออกไป เพราะต้องการขายสิทธิแปลงสภาพให้กับบุคคลอื่น
ตอนนั้นผมมีวอร์แรนท์ตั้ง 30 ล้านหน่วย จะเอาตังค์ที่ไหนไปแปลง ก็ต้องขายหุ้นออกไปบางส่วน ส่วนการโอนวอร์แรนท์ออกไป ผมจำไม่ได้ว่าโอนไปเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นการโอนเพื่อขายให้กับคนอื่นไปแปลงสิทธิ แต่ไม่ใช่เอาไปขายให้รายใหญ่
สุรพงษ์ ยืนยันว่า เขา และกลุ่มผู้ถือหุ้นของบริษัทยังคงถือหุ้น ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ครบทุกคนไม่ได้หนีออกไป แต่ก็มีผู้ถือหุ้นรายใหม่เพิ่มขึ้น หากสังเกตรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันปิดสมุดทะเบียนล่าสุด จะเห็นได้ว่ามีเฉพาะกลุ่มวงศ์สวัสดิ์เท่านั้นที่ถอนตัวออกไป โดยขายหุ้นยกล็อต 20 ล้านหุ้น ให้กับกลุ่มวิไลลักษณ์
ขอยืนยันว่าการเข้ามาของกลุ่มวิไลลักษณ์ ไม่ได้ถูกบังคับขาย (จากเจ๊แดง) เราเข้ามาเป็นพันธมิตรธุรกิจระหว่างกัน (คาดว่าผลิตรายการให้กับช่องเคเบิลของกลุ่มสามารถฯ)
ขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นของบริษัทก็มีชื่อ ธาริณี ใบมาก ซึ่ง ธาริณี นี่เอง คือผู้ที่เข้ามาซื้อหุ้น ฟิวเจอร์บิส บริษัทย่อยของ ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ ในสัดส่วน 20%
ส่วน ชนะชัย ลีนะบรรจง ก็เข้ามาเทรดหุ้น TRAF เป็นประจำ ซึ่ง สุรพงษ์ อ้างว่า ชนะชัยเป็นนักเก็งกำไร ลักษณะการเข้าออกถือเป็นเรื่องปกติ
สุรพงษ์ ยอมรับตรงๆ ว่า หุ้น TRAF มีโอกาสอย่างมากที่จะถูกเก็งกำไรจากนักลงทุน เพราะหุ้นมีราคาต่ำ ส่วนสาเหตุที่หุ้นรีบาวนด์จาก 0.86 บาท ขึ้นมาเหนือ 1 บาท ก็เนื่องจากขณะนี้อยู่ช่วงกระแสฟุตบอลโลก ที่ทราฟฟิกคอร์นเนอร์ก็ร่วมผลิตรายการ จึงเชื่อว่ามีโอกาสที่นักลงทุนจะเข้ามาเก็งกำไรอีก
อย่างหุ้นสยามสปอร์ต (SPORT) บอลโลกทุกครั้ง มันก็ขึ้นทุกที...ทราฟฟิกเราก็เป็นหุ้นกีฬา ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะมีนักลงทุนเข้ามาเล่นเก็งกำไรกัน
แผน (ลับ) ที่ สุรพงษ์ แย้มให้ฟัง ถ้ามีคนเข้ามาเก็งกำไรหุ้น TRAF กันมากๆ ทางบริษัทก็อาจใช้จังหวะนี้ขายหุ้นเพิ่มทุนเฉพาะเจาะจง (PP) ที่เหลืออีก 90 ล้านหุ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทมีเงินเข้ามาขยายธุรกิจได้อีก..ขณะนี้กำลังคุยกับกลุ่มผู้ลงทุนอยู่
ถ้าจะขยายธุรกิจเราก็ต้องขายหุ้น PP จะรอเอากำไรมาลงทุนเพิ่มไม่ทันหรอก แต่ก็ต้องดูราคาด้วย ตอนนี้ราคามันอยู่ตรงพาร์ (1 บาท) ขายไปก็ไม่มีประโยชน์ เราอยากรอราคา ไม่ได้เดือดร้อนต้องเร่งขายพรุ่งนี้ จังหวะดีที่สุดน่าจะเป็นไตรมาส 2 ช่วงบอลโลก
ด้านผลประกอบการปี 2549 จะขาดทุน 4 ปีซ้อนหรือไม่นั้น สุรพงษ์ พูดแบบให้ความหวังว่า ปีนี้ต้องดีกว่าปี 2548 เพราะบอลโลกทำให้ชั่วโมงการออกอากาศของบริษัท (ในไตรมาส 2) มีมากขึ้น โดยได้ร่วมมือกับ บีบีทีวี โปรดักส์ชั่น ผลิตรายการฟุตบอลโลก
ธุรกิจโทรทัศน์เป็นตัวทำรายได้หลักของเรา 46% รายการส่วนใหญ่จะเป็นฟุตบอล ซึ่งปกติจะมียอดขายลดลงในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งเป็นช่วงปิดฤดูกาล แต่ปีนี้มีบอลโลกทำให้ชั่วโมงการออกอากาศจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
เขากล่าวอีกว่า ในส่วนของธุรกิจสิ่งพิมพ์ก็มีโอกาสฟื้นตัว อย่างเช่น มายา แชนแนล เริ่มคุ้มทุน และทำกำไรได้บ้างแล้ว ส่วนแมกกาซีนใหม่ก็ได้เลื่อนออกไปก่อน เพื่อลดค่าใช้จ่าย ขณะนี้ก็มีแนวคิดต่อยอดเนื้อหาสิ่งพิมพ์ไปสู่ สื่อ อื่น เช่น สื่ออินเทอร์เน็ต ไวร์เลส โทรศัพท์มือถือ
สุรพงษ์ บอกว่า นสพ.รายวัน บางกอกทูเดย์ ยังขาดทุน 2-3 ล้านบาทต่อเดือน เป็นภาระหลักเพียงฉบับเดียว ทำให้ต้องใช้เงินจากสิ่งพิมพ์อื่นมาจุนเจือ ซึ่งตอนนี้บริษัทได้เร่งปรับรูปแบบและกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทำให้ธุรกิจอยู่ได้ ขณะนี้ได้รับการติดต่อมาจากกลุ่มนักธุรกิจบางราย สนใจจะเข้ามาร่วมทุน หากเจรจาสำเร็จโอกาสจะมีรายได้จากค่าโฆษณาก็สูงขึ้น
ส่วนนโยบายการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทจากนี้ไป สุรพงษ์ กล่าวว่า จะเน้นร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร เพื่อลดความเสี่ยง นอกจากความร่วมมือกับ บีบีทีวี โปรดักส์ชั่น แล้ว ยังจะร่วมมือกับ บริษัท เดนท์สุ บริษัทตัวแทนโฆษณาของญี่ปุ่น เตรียมนำฟุตบอลลีกของญี่ปุ่น หรือ เจลีก มาถ่ายทอดหลังจบฟุตบอลโลก โดยจะออกอากาศ ช่วงเวลา 16.00 น. ผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และช่อง 11 คาดว่าจะได้รับเม็ดเงินค่าโฆษณาจากบริษัทรถยนต์ค่ายญี่ปุ่นในประเทศไทย
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ [/color:669cdfa9e4">
|