???? สมาชิก
จังหวัด: กรุงเทพมหานคร โพสต์: 1,238 | วันที่: 27/02/2006 @ 07:31:35 คุณชอบกระทู้นี้หรือไม่ ผลการโหวต การกลับมามีชื่อ วราวุฒิ ลาภวิสุทธิสิน และปรากฏตัวในฐานะกรรมการคนใหม่บริษัท ปิคนิคคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)หรือPICNI ครั้งนี้ ถือเป็นการเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของ กลุ่มตระกูลลาภวิสุทธิสิน หลังจากที่นางสาวสุภาพร และธีรัชชานนท์ ลาภวิสุทธิสิน 2พี่น้องอยู่ระหว่างการดำเนินคดีอาญาในชั้นศาล[/color:11d19a4c62">
การกลับมาของ วราวุฒิ ในนามของกลุ่มลาภวิสุทธิสินครั้งนี้ ไม่ใช่การเข้ารับตำแหน่งกรรมการเป็นครั้งแรก แต่หากเป็นคำรบที่ 2 หลังจากที่เคยนั่งอยู่ตำแหน่งนี้มานานเกิน 1ปี ในช่วงที่บริษัทกำลังอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ
การหวนคืนกลับมาครั้งนี้ ตรงกับช่วงที่บริษัทกำลังเผชิญปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน และเป็นช่วงที่บริษัทต้องเพิ่มทุนเพื่อใช้หนี้ ทำให้เกิดคำถามถึงการกลับมาอีกครั้งของวราวุฒิ ลาภวิสุทธิสิน ดังนี้
1.การกลับมารับตำแหน่งครั้งนี้ เพราะต้องการกู้สถานการณ์คืนมา ในฐานะที่PICNIยังเป็นธุรกิจของตระกูลลาภวิสุทธิสินใช่หรือไม่
2.การดึงคนในตระกูลอย่างวราวุฒิให้มานั่งตำแหน่งกรรมการ เพื่อที่หวังจะก้าวขึ้นไปสู่ตำแหน่งบริหารที่สูงกว่าหรือไม่
จริงหรือที่ว่า วราวุฒิจะมาเป็นหมากเด็ด ที่เป็นความหวังสุดท้ายของกลุ่มลาภวิสุทธิสินรวมถึงการมากู้วิกฤติเรื่องหุ้น และชื่อเสียงของตระกูลให้กลับมาดีดังเดิม
-ตั้วเฮียลาภวิสุทธิสิน
ชื่อเสียงเรียงนามของ วราวุฒิ ลาภวิสุทธิสิน ในแวดวงตลาดหุ้นคงจะไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่นัก แต่เมื่อเห็นนามสกุลแล้วคงจะรู้ทันทีว่า เป็นญาติพี่น้องของอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สุริยา ลาภวิสุทธิสิน ถูกต้องเลย!
เนื่องจากวราวุฒิหรือรู้จักกันในนามของเฮียอ้วน เป็นลูกชายคนโตของตระกูลลาภวิสุทธิสิน ที่มี นายบรรจง และนางวิมล ลาภวิสุทธิสินเป็นบิดามารดา โดยมีพี่น้องๆร่วมสายเลือดไล่ลำดับไปตั้งแต่ วราวุฒิ สุริยา สุภาพร และน้องคนสุดท้อง ธีรัชชานนท์ซึ่งพี่น้อง 2 คนหลังอยู่ในระหว่างที่ถูกดำเนินคดีข้อหาฉ้อโกง และยักยอกทรัพย์
สำหรับประวัติของวราวุฒิ ไม่ปรากฏให้ชัดเจนเหมือนพี่น้องคนอื่นๆ แต่เท่าที่รู้เคยนั่งเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเนี่ยนแก๊ส แอนด์ เคมิคัลล์ จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลลาภวิสุทธิสิน ก่อนจะใช้บริษัทดังกล่าวเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ทางอ้อม
โดยเข้าซื้อกิจการจาก บริษัท บีจีอีเอส เอ็นจิเนียริ่ง ซิสเต็มส์ จำกัด (มหาชน)ผู้ค้าแก๊สปิโตรเลียมเหลว และให้บริการระบบไฟฟ้า งานวิศวกรรมและระบบสุขาภิบาล ขณะประสบปัญหาเมื่อปี 2544 จนต้องเข้าไปอยู่ในหมวดฟื้นฟูกิจการ
นอกจากนี้วราวุฒิ ยังทำธุรกิจหลากหลาย ไม่ว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจที่ดินแต่ยังวนเวียนทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มตระกูลลาภวิสุทธิสิน โดยเฉพาะการเป็นกรรมการในบริษัท นครา จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าอาคาร สำนักงาน โดยมีบมจ. ปิคนิคคอร์ปอเรชั่นเป็นหนึ่งในลูกค้าหลัก ซึ่งมีการตกลงจ่ายค่าเช่าให้แก่คนในครอบครัวผ่านทางบริษัท นคราคิดเบ็ดเสร็จได้ 18,180,000 บาท ตลอดอายุสัญญา 3 ปี หรือประมาณ 6,060,000 บาทต่อปี
เมื่อตรวจสอบงบการเงินของบริษัท นครา จำกัด ย้อนหลังไป 11 ปี นับตั้งแต่ปี2536-2546เป็นที่น่าสังเกตว่า การบริหารอาคารแห่งนี้ ประสบผลขาดทุนมาโดยตลอดทุกปีและเป็นการ ขาดทุนสะสม ตลอด 11 ปี ที่มากกว่า 392 ล้านบาท
-กรรมการใหม่แต่หน้าเดิม
การกลับเข้ามารับตำแหน่งกรรมการบริษัทของ วราวุฒิ หรือรู้จักกันในนามของเฮียอ้วน พี่ใหญ่ของน้องๆ ตระกูลลาภวิสุทธิสินนั้น ไม่ใช่ครั้งแรกที่ได้เข้ามามีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตระกูลที่อยู่ในตลาดหุ้นโดยตรง แต่เมื่อย้อนกลับไปดูโครงสร้างการถือหุ้นตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่กลุ่มของลาภวิสุทธิสินเข้ามาเป็นผู้ร่วมทุนใหม่ในนามของ บริษัท ยูเนียนแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (ดูล้อมกรอบ)
ทำให้วราวุฒิ และสุภาพร กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 77.64 % หลังจากเข้าถือหุ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทที่ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2545 จากศาลล้มละลายกลางและได้รับอนุมัติจากมติที่ประชุมเจ้าหนี้ของบริษัทในวันที่ 9 สิงหาคม 2545 โดย วราวุฒิเข้ารับตำแหน่งกรรมการของบริษัท เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2546
ต่อมาหลังจากวันที่ 2 ตุลาคม 2546 วราวุฒิ ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นลง โดยมีสุภาพร และธีรัชชานนท์ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทันที ซึ่งถือเป็นการเปิดทางให้กับน้องชายคนสุดท้องของตระกูลลาภวิสุทธิสิน ได้ก้าวขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการในเวลาต่อมาจากนั้น วันที่ 15 ตุลาคม 2547 วราวุฒิก็ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทอย่างเป็นทางการ
จากนั้นในเวลาต่อมาลาภวิสุทธิสินคนนี้ก็หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย โดยไม่มาเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตระกูลที่อยู่ในตลาดหุ้นโดยตรงอีกเลย และชื่อชั้นของวราวุฒิถือว่ายังไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปนัก ซึ่งเลือกเข้ามาเป็นกรรมการ ถือเป็นคนในที่เหมาะสมที่สุดแล้ว ณ เวลานี้
-การกลับมาของผู้สร้าง
ประเด็นการหวนกลับมารับตำแหน่งครั้งนี้ ของคนในที่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของตระกูลลาภวิสุทธิสินน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดของPICNI ในตอนนี้ และต้องไม่ลืมว่าวราวุฒิ เป็นผู้ที่ดันให้บริษัท ยูเนียนแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด เข้าในตลาดหลักทรัพย์ฯ จนกลายเป็นบมจ.ปิคนิคคอร์ปอเรชั่น และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักลงทุนรายย่อย หน่วยงานราชการอย่าง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) รวมถึงบรรดากองทุนรวมทั้งหลาย
เมื่อเทียบชั้นดีกรี และศักดิ์ศรีของผู้สร้างอย่างวราวุฒิ การกลับมาครั้งนี้เป็นทางเลือกที่ดีสุด เพราะหลังจากน้องชาย(ธีรัชชานนท์) ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในระยะเวลาอันสั้น โดยดร. สุพจน์ พัฒนะศรี นักวิชาการจากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ามานั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทนธีรัชชานนท์ ได้ไม่ถึง 2เดือนก็ขอจรลีลาออก
โดยต่อมาได้ตัดสินใจเลือก ณัฐชัย อร่ามรัศมีวานิช ซึ่งเป็นลูกหม้อในบริษัท ปิคนิค เอทานอล จำกัด และเคยอยู่กับPICNI มานานหลายปีเข้ามารับตำแหน่งต่อ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของบริษัทได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เนื่องจากถูกฟ้องร้องจากบรรดากองทุนที่เป็นเจ้าหนี้ตั๋วเงินระยะสั้น(B/E) จนเป็นเรื่องราวใหญ่โต จนทำให้ผู้บริหารกองทุน ที่ลงทุนในตั๋วเงินระยะสั้นได้รับผลกระทบจากการถูกกล่าวโทษจากสำนักงานก.ล.ต. กรณีไม่รอบครอบในการลงทุน รวมถึงการเพิ่มทุนอย่างไม่หยุดหย่อนของหุ้น PICNI ทำให้ราคาหุ้นปัจจุบันมีมูลค่าต่ำกว่า 1 บาท ซึ่งนักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่ต่างได้รับความบอบช้ำไปตามๆ กัน
การดึง วราวุฒิ ลาภวิสุทธิสิน ตั้วเฮียของน้องๆ กลับมาครั้งนี้ จะช่วยลบล้างภาพมัวหมองของบริษัทได้มากน้อยเพียงใด รวมถึงจะช่วยให้การเพิ่มทุนรอบใหม่ประสบความสำเร็จหรือไม่ คงต้องติดตามดูกันต่อไป เพราะไม่มีใครหยั่งรู้ว่า เค้ากำลังทำอะไรอยู่
กำเนิด PICNI
บริษัท ปิคนิคคอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)หรือPICNI เดิมชื่อบริษัท ปิคนิคแก๊ส แอนด์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545 โดยการเข้าซื้อกิจการจาก บริษัท บีจีอีเอส เอ็นจิเนียริ่ง ซีสเต็มส์ จำกัด(มหาชน) โดยปัจจุบันดำเนินธุรกิจหลัก 2 ธุรกิจ คือ ธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ภายใต้เครื่องหมายการค้า ?ปิคนิค แก๊ส? และธุรกิจด้านวิศวกรรม ประเภทรับเหมาติดตั้งระบบอาคาร
โดยวันที่ 22 ตุลาคม 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้บริษัท บีจีอีเอสเอ็นจิเนียริ่ง ซีสเต็มส์ จำกัด(มหาชน)ฟื้นฟูกิจการ โดยแต่งตั้ง บริษัท บีจีอีเอส แพลนเนอร์จำกัด เป็นผู้ทำแผนฟื้นฟูกิจการโดยมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการ และทรัพย์สินของบริษัท บีจีอีเอส เอ็นจิเนียริ่ง ซีสเต็มส์ จำกัด(มหาชน) และมีสิทธิตามกฎหมาย
จากนั้นวันที่ 5 กรกฎาคม 2545 เจ้าหนี้ของบริษัทได้อนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการในจำนวนร้อยละ 82.15 ของหนี้ทั้งหมด โดยมีผู้ร่วมทุนรายใหม่ คือ บริษัท ยูเนียนแก๊ส แอนด์เคมิคัลส์ จำกัด และ/หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ต่อมาวันที่ 5 สิงหาคม ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการให้ บริษัท บีจีอีเอส เอ็นจิเนียริ่ง ซีสเต็มส์ จำกัด(มหาชน)ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการโดยแต่งตั้งให้ บริษัท อัลทิเมทคีย์ จำกัด เป็นผู้บริหารแผนให้เป็นไปตามที่ได้แจ้งต่อที่ประชุมเจ้าหนี้
ต่อมาวันที่ 26 สิงหาคม ทำการจดทะเบียนลดทุนจดทะเบียนที่กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ โดยลดจำนวนหุ้นสามัญชำระแล้วจากเดิมจำนวน 22,500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท เป็น 366,666หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท
ในวันที่ 16 กันยายน บริษัททำการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทจากเดิมชื่อ บีจีอีเอสเอ็นจิเนียริ่ง ซีสเต็มส์ จำกัด(มหาชน) เป็นบริษัท ปิคนิคแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด(มหาชน) ที่กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ ต่อมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วของบริษัทเป็น 73.32 ล้านบาท โดยเป็นการเพิ่มทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วจำนวน 69.66 ล้านบาท เพื่อรองรับการเข้ามาลงทุนของกลุ่มลาภวิสุทธิสิน และการแปลงหนี้เป็นทุนของกลุ่มเจ้าหนี้
วันที่ 11 ธันวาคม เพิ่มทุนจดทะเบียน และทุนชำระแล้วของบริษัทเป็น 400 ล้านบาทโดยเป็นการเพิ่มทุนจดทะเบียน และมีทุนชำระแล้วจำนวน 326.67 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับการซื้อธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลวรวมทั้งเครื่องหมายการค้าจาก บริษัท ยูเนียนแก๊สแอนด์ เคมิคัลส์ จำกัดจากนั้นวันที่ 1 เมษายน 2546 เริ่มประกอบธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว ภายใต้ บรัทปิคนิคแก๊ส แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด(มหาชน) โดยใช้เครื่องหมายการค้า ?ปิคนิคแก๊ส?วันที่ 18 กันยายน บริษัทได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
วันที่ 23 กันยายน บริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 750 ล้านบาท โดยเป็นการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 200 ล้านบาท และหุ้นสามัญเพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพของใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 150 ล้านบาท วันที่ 27 ตุลาคม เปลี่ยนแปลงชื่อเป็นบริษัทปิคนิคแก๊ส แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด(มหาชน) เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันของ บริษัท
ทั้งหมดนี้ คือ ลำดับเวลาของการเปลี่ยนแปลงของบริษัทในช่วงที่วราวุฒิ ลาภวิสุทธิสินเคยเข้ามาข้องเกี่ยว
ที่มา ข่าวหุ้น[/color:11d19a4c62">
|